ฐานะการคลังภาครัฐบาล (รัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ตามระบบ สศค. ไตรมาสที่ 3 (เมษายน — มิถุนายน 2553) และในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 2, 2010 09:00 —กระทรวงการคลัง

นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เผยฐานะการคลังของภาครัฐบาลตามระบบ สศค. (Government Finance Statistics : GFS) ในไตรมาสที่ 3 เกินดุลกว่า 2.5 แสนล้านบาท ส่งผลให้ 9 เดือนแรกดุลการคลังภาครัฐเกินดุลกว่า 6 หมื่นล้านบาท จากการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลและรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น

ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2553 (เมษายน — มิถุนายน 2553) ภาครัฐบาล (รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) มีรายได้ทั้งสิ้น 764,880 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว 135,022 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.4 จากการจัดเก็บรายได้ ของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่รายจ่ายภาครัฐบาลมีจำนวน 512,448 ล้านบาท ต่ำกว่าระยะเดียวกันปีที่แล้ว 24,306 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 ส่งผลให้ดุลการคลังภาครัฐบาลเกินดุลจำนวน 252,432 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 159,328 ล้านบาท สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553 ภาครัฐบาล มีรายได้ทั้งสิ้น 1,871,575 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 18.7 ของ GDP) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว 344,390 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.6 ขณะที่รายจ่ายภาครัฐบาลมีจำนวน 1,810,351 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 62,779 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.6 ส่งผลให้ดุลการคลังภาครัฐบาลเกินดุลการคลังจำนวน 61,224 ล้านบาท (ช่วงเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 220,387 ล้านบาท)

นายสาธิต รังคสิริ สรุปว่า “การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นมากเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้รายได้ของ อปท. ที่รัฐบาลเก็บให้และแบ่งให้บนฐานภาษีของรัฐบาลเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงในทิศทางเดียวกันกับรายได้รัฐบาล และทำให้ดุลการคลังของภาครัฐ ในปีงบประมาณ 2553 นี้ เกินดุลในอัตราที่สูง”

ดุลการคลังภาครัฐตามระบบ สศค.

ในไตรมาสที่ 3 และ 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553

หน่วย: ล้านบาท

                          ที่มา                                      ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ                                           9 เดือนแรก ของปีงบปร
                                                                                2553       2552          เปรียบเทียบ                         2553                2552        เปรียบเทียบ
                                                                                                        จำนวน       ร้อยละ                                                 จำนวน       ร้อยละ
1. รายได้ (1.1+1.2+1.3)                                                        764,880    629,858        135,022      21.4                   1,871,575    1,527,185        344,390      22.6
     1.1 รัฐบาล                                                                578,491    477,736        100,755      21.1                   1,278,322    1,052,746        225,576      21.4
     1.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                   61,715     58,760          2,955         5                     263,150      189,784         73,366      38.7
     1.3 บัญชีเงินนอกงบประมาณ                                                    124,674     93,362         31,312      33.5                     330,103      284,655         45,448        16

2. รายจ่าย (2.1+2.2+2.3+2.4)                                                   512,448    536,754        -24,306      -4.5                   1,810,351    1,747,571         62,779       3.6
     2.1 รัฐบาล                                                                386,036    437,357        -51,322     -11.7                   1,321,927    1,384,148        -62,221      -4.5
     2.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น1                                                  65,087     47,524         17,564        37                     218,772      124,700         94,072      75.4
     2.3 เงินกู้ต่างประเทศ                                                            327        250             77      30.8                         777          742             35       4.7
     2.4 บัญชีเงินนอกงบประมาณ (รวมการให้กู้ยืมสุทธิ)                                    60,998     51,623          9,375      18.2                     268,875      237,981         30,893        13
3. ดุลการคลังภาครัฐบาล (1-2)                                                     252,432     93,104        159,328     171.1                      61,224     -220,387        281,611     127.8
4. ดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล                                                     310,470    129,078        181,392     140.5                     144,361     -167,053        311,415     186.4

หมายเหตุ 1ประมาณการรายจ่าย อปท. โดยใช้ข้อมูลสิทธิเรียกร้องจาก อปท. ในระบบธนาคาร (Net Claims of Banking System on Local Government) หักด้วยรายได้ของ อปท.

รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จาก www.fpo.go.th

สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3584

ฐานะการคลังภาครัฐบาล (รัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

ตามระบบ สศค. ไตรมาสที่ 3 (เมษายน — มิถุนายน 2553)

และในช่วง 9 เดือนแรก (ตุลาคม 2552 — มิถุนายน 2553) ของปีงบประมาณ 2553

ฐานะการคลังของภาครัฐบาลตามระบบ สศค. (ระบบ Government Finance Statistics : GFS) ในไตรมาสที่ 3 (เมษายน - มิถุนายน 2553) ของปีงบประมาณ 2553 ภาครัฐบาล (รัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) เกินดุลการคลังทั้งสิ้น 252,432 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.5 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้ว 159,328 ล้านบาท ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีสัญญาณ ฟื้นตัวที่ชัดเจน โดยสรุปได้ ดังนี้

1. ผลการดำเนินงานของภาครัฐบาลในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2553

1.1 รายได้ภาครัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 764,880 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 7.7 ของ GDP) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ปีที่แล้ว 135,022 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.4 ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมหลักเพิ่มขึ้นได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และรถยนต์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และอากรขาเข้า ตามลำดับ ส่งผลให้รายได้รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สูงขึ้นกว่าช่วง เดียวกันปีที่แล้ว 100,755 และ 2,955 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.1 และ 5.0 ตามลำดับ นอกจากนี้บัญชีเงินนอกงบประมาณ (กองทุนนอกงบ ประมาณและเงินฝากนอกงบประมาณ) มีรายได้สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 31,312 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.5 เนื่องจากได้รับการจัดสรรเงิน อุดหนุนเพิ่มขึ้น

1.2 รายจ่ายของภาครัฐบาล (รวมการให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาล) ซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจจริง มีจำนวน 512,448 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีที่แล้ว 24,306 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 เนื่องจากการเบิกจ่ายของรัฐบาลลดลงโดยมีจำนวน 386,036 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 51,322 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.7 ขณะที่ อปท. มีรายจ่ายจำนวน 65,087 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง เดียวกันปีที่แล้ว 17,564 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.0 และรายจ่ายจากบัญชีเงินนอกงบประมาณและเงินให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาลรวม 60,998 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 9,375 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.2 ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการเบิกจ่ายของกองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติและกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศมีการเบิกจ่าย 327 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77 ล้านบาท

1.3. ดุลการคลังภาครัฐบาล จากรายได้และรายจ่ายข้างต้นภาครัฐบาลเกินดุลการคลังจำนวน 252,432 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 2.5 ของ GDP เกินดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 159,328 ล้านบาท สำหรับดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล (Primary Balance) ซึ่งเป็นดุลการคลังที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของรัฐบาลและทิศทางของนโยบายการคลังของรัฐบาลอย่างแท้จริง (โดยไม่รวมรายได้และ รายจ่ายดอกเบี้ย และการชำระคืนต้นเงินกู้) เกินดุลทั้งสิ้น 310,470 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 3.1 ของ GDP) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เกินดุล 129,078 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.3 ของ GDP)

ดุลการคลังภาครัฐตามระบบ สศค. ไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2553

หน่วย: ล้านบาท

                           ที่มา                              ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ                                            เปรียบเทียบ
                                                                     2553               % of GDP1     2552      % of GDP1       จำนวน       ร้อยละ
1. รายได้ (1.1+1.2+1.3)                                                         764,880          7.7    629,858          6.3        135,022      21.4
      1.1 รัฐบาล                                                                578,491          5.8    477,736          4.8        100,755      21.1
      1.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                   61,715          0.6     58,760          0.6          2,955         5
      1.3 บัญชีเงินนอกงบประมาณ                                                    124,674          1.2     93,362          0.9         31,312      33.5

2. รายจ่าย (2.1+2.2+2.3+2.4)                                                    512,448          5.1    536,754          5.4        -24,306      -4.5
      2.1 รัฐบาล                                                                386,036          3.9    437,357          4.4        -51,322     -11.7
      2.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                   65,087          0.7     47,524          0.5         17,564        37
      2.3 เงินกู้ต่างประเทศ                                                            327            0        250            0             77      30.8
      2.4 บัญชีเงินนอกงบประมาณ (รวมการให้กู้ยืมสุทธิ)                                    60,998          0.6     51,623          0.5          9,375      18.2
3. ดุลการคลังภาครัฐบาล (1-2)2                                                     252,432          2.5     93,104          0.9        159,328     171.1
4. ดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล                                                      310,470          3.1    129,078          1.3        181,392     140.5

หมายเหตุ

1 GDP ปี 2552 และประมาณการปี 2553 เท่ากับ 9,050.7 และ 10,000.9 พันล้านบาท ตามลำดับ (ข้อมูลจาก สศช.)

2 ประมาณการรายจ่าย อปท. โดยใช้ข้อมูลสิทธิเรียกร้องจาก อปท. ในระบบธนาคาร (Net Claims of Banking System on Local Government) หักด้วยรายได้ของ อปท.

2. ฐานะการคลังตามระบบ สศค. 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553 (ตุลาคม 2552- มิถุนายน2553)

2.1 รายได้ภาครัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,871,575 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.7 ของ GDP เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ปีที่แล้ว 344,390 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.6 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของรายได้รัฐบาล อปท. และบัญชีเงินนอกงบประมาณ โดย มีรายละเอียด ดังนี้

1) รัฐบาลมีรายได้รวม 1,278,322 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 12.8 ของ GDP) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 225,576 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.4 ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมหลัก (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) ที่เพิ่มขึ้น

2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ทั้งสิ้น 263,150 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.6 ของ GDP และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 73,366 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.7 ทั้งนี้เนื่องจากการจัดสรรเงินที่รัฐบาลแบ่งให้และเก็บให้อปท. เพิ่มขึ้น

3) บัญชีเงินนอกงบประมาณซึ่งประกอบด้วยกองทุนนอกงบประมาณและเงินฝากนอกงบประมาณจำนวน 330,103 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 3.3 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 45,448 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.0

2.2 รายจ่ายของภาครัฐบาล (รวมการให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาล) ซึ่งมีผลต่อ

การกระตุ้นเศรษฐกิจจริง มีจำนวน 1,810,351 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.1 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 62,779 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.6 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบัญชีเงินนอกงบประมาณ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1) รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 1,321,927 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.2 ของ GDP (ปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 15.3 ของ GDP) และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 62,221 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5

2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายจ่ายจำนวนทั้งสิ้น 218,772 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.2 ของ GDP (ปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 1.4 ของ GDP) และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 94,072 ล้านบาท หรือร้อยละ 75.4

3) เงินกู้ต่างประเทศ (Project Loans) มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 777 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 35 ล้านบาท

4) บัญชีเงินนอกงบประมาณ (รวมรายจ่ายและเงินให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาล) จำนวน 268,875 ล้านบาท สูงกว่าช่วง เดียวกันปีที่แล้ว 30,893 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.0 สาเหตุมาจากรายจ่ายของกองทุนเพิ่มขึ้น เช่น รายจ่ายเพื่อชดเชยราคาน้ำมันของ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น 2.3. ดุลการคลังภาครัฐบาล เกินดุลการคลัง 61,224 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.6 ของ GDP (ปีที่แล้วที่ขาดดุลจำนวน 220,387 ล้านบาท) สำหรับดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล (Primary Balance) ซึ่งเป็นดุลการคลังที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของรัฐบาลและทิศทางของนโยบาย การคลังของรัฐบาลอย่างแท้จริง (ไม่รวมรายได้และรายจ่ายดอกเบี้ย และการชำระคืนต้นเงินกู้) ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553 เกินดุลทั้งสิ้น 144,361 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.4 ของ GDP) ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 167,053 ล้านบาท

ดุลการคลังภาครัฐตามระบบ สศค. ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553

หน่วย: ล้านบาท

                        ปีงบประมาณ                           9 เดือนแรก ของปีงบประมาณ                                             เปรียบเทียบ
                                                                     2553              % of GDP1      2552       % of GDP1       จำนวน       ร้อยละ
1. รายได้ (1.1+1.2+1.3)                                                      1,871,575         18.7    1,527,185         10.9        344,390      22.6
      1.1 รัฐบาล                                                             1,278,322         12.8    1,052,746         11.6        225,576      21.4
      1.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                 263,150          2.6      189,784          2.1         73,366      38.7
      1.3 บัญชีเงินนอกงบประมาณ                                                   330,103          3.3      284,655          3.1         45,448        16

2. รายจ่าย (2.1+2.2+2.3+2.4)                                                 1,810,351         18.1    1,747,571         19.3         62,779       3.6
      2.1 รัฐบาล                                                             1,321,927         13.2    1,384,148         15.3        -62,221      -4.5
      2.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                 218,772          2.2      124,700          1.4         94,072      75.4
      2.3 เงินกู้ต่างประเทศ                                                           777            0          742            0             35       4.7
      2.4 บัญชีเงินนอกงบประมาณ (รวมการให้กู้ยืมสุทธิ)                                  268,875          2.7      237,981          2.6         30,893        13
3. ดุลการคลังภาครัฐบาล (1-2)2                                                     61,224          0.6     -220,387         -2.4        281,611     127.8
4. ดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล                                                     144,361          1.4     -167,053         -1.8        311,415     186.4

หมายเหตุ

1 GDP ปี 2552 และประมาณการปี 2553 เท่ากับ 9,050.7 และ 10,000.9 พันล้านบาท ตามลำดับ (ข้อมูลจาก สศช.)

2 ประมาณการรายจ่าย อปท. โดยใช้ข้อมูลสิทธิเรียกร้องจาก อปท. ในระบบธนาคาร (Net Claims of Banking System on Local Government) หักด้วยรายได้ของ อปท.

จัดทำโดย: สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 99/2553 1 กันยายน 53--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ