รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม - 3 กันยายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 6, 2010 11:19 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 53 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,202.41 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.2 ของ GDP
  • สินเชื่อเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 8.9 ต่อปีในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยในเดือน ก.ค. 53 ขาดดุลที่ที่ 1,134 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวเท่ากับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯเดือน ส.ค. 53 ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53.5
  • อัตราการว่างงานยูโรโซนเดือน ก.ค. 53 คงที่ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 10.0 ของกำลังแรงงานรวม
  • GDP อินเดียไตรมาสที่ 2 ปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 ต่อปี ในขณะที่ GDP ออสเตรเลียไตรมาสที่ 2 ปี 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี

Indicators next week

   Indicators                      Forecast            Previous
July: Unemployment
(% of total labor force)              1.1                 1.2
  • เนื่องจากเริ่มมีการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต และการว่างงานที่ปรับตัวลดลงในภาคบริการโดยเฉพาะสาขาโรงแรมและภัตตาคาร รวมถึงปัญหาภัยแล้งที่หมดไป
Aug: Motorcycle Sales (%yoy)         15.0                14.5
  • เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนได้จากรายได้เกษตรกรที่ยังขยายตัวต่อเนื่องตามราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะราคายางพาราและมันสำปะหลังที่ขยายตัวในอัตราเร่ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนต่อไป
Economic Indicators: This Week

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 53 มีจำ นวนทั้งสิ้น 4,202.41 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 58.15 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.2 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ โดยเพิ่มขึ้นสุทธิ 58.0 พันล้านบาท 2.07 พันล้านบาท และ 0.28 พันล้านบาท ตามลำ ดับ ขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ลดลงสุทธิ 2.2 พันล้านบาท

สินเชื่อเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 8.9 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนเป็นสำคัญ แม้ว่ามาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นสินเชื่อภาคครัวเรือนในเดือนที่ผ่านมาจะสิ้นสุดแล้วก็ตาม ด้าน

สินเชื่อภาคธุรกิจหดตัวร้อยละ -0.4 จากเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ว่าความต้องการสินเชื่อยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ด้านเงินฝากสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปี ผลจากปัจจัยฐานต่ำจากการออกพันธบัตรไทยเข้มแข็งในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อย่างไรก็ ตาม เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะพบว่า เงินฝากขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.8 ต่อเดือน สะท้อนว่ามีแนวโน้มการโยกย้ายเงินฝากไปตลาดทุนมากขึ้น

ปริมาณจำหน่ายเหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 ต่อปี ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.7 ต่อปี ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวมาจากปริมาณจำหน่ายเหล็กในหมวดเหล็กเส้นที่ขยายตัวร้อยละ 28.0 ต่อปี ซึ่งสะท้อนถึงสถานการณ์การก่อสร้างของภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในหมวดวัสดุก่อสร้าง และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 21.3 และ 16.8 ต่อปี ตามลำดับ

ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยในเดือน ก.ค. 53 ขาดดุลที่ที่ 1,134 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการขาดดุลทั้งดุลการค้าและดุลบริการ รายได้ และเงินโอน โดยสาเหตุสำคัญมาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ปรับตัวลดลงหลังจากที่มีการเร่งส่งออกไปเดือนก่อนหน้า โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 15,475 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมื่อหักมูลค่าการนำเข้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องที่ 16,266 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้วส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลเท่ากับ -791 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะเดียวกัน ดุลบริการ รายได้และเงินโอนในเดือน ก.ค. 53 ขาดดุลต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ -343 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลจากรายได้จากการท่องเที่ยวที่อยู่ในระดับที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ อีกทั้งยังเป็นช่วงจ่ายเงินปันผลของการลงทุนต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าอย่างไรก็ตาม ดุลบัญชีเงินทุนที่เกินดุลในปริมาณที่สูงได้ส่งผลให้ดุลการชำระเงินรวมเป็นบวกที่ 1,412 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี จากฐานการคำนวณที่ต่ำในปีที่ผ่านมา ประกอบกับราคาสินค้าสำคัญปรับตัวขึ้น ได้แก่ 1) ผักและผลไม้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.0 ต่อปี เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกบางแห่งได้รับความเสียหายจากภาวะฝนตกหนักและน้ำ ท่วมขัง ส่งผลให้ผลผลิตเกิดความเสียหาย ประกอบกับเป็นเป็นช่วงเทศกาลสารทจีน 2) ไฟฟ้า น้ำประปาฯ ขยายตัวในระดับเดิมจากเดือนก่อน ที่ร้อยละ 9.0 ต่อปีเนื่องจากหมดอายุมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายน้ำประปาและ 3) ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ต่อปี เนื่องจาก ปริมาณข้าวสารเหนียวที่ออกมาไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดส่งผลให้มีการปรับราคาเพิ่มขึ้น และหากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้ขยายตัวที่ร้อยละ 0.23 (%mom) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.16 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวเท่ากับเดือนก่อน หน้าที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปีสาเหตุสำคัญมาจากดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อปี โดยสินค้าสำคัญในหมวดนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ในหมวดเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กตัวซี เหล็กฉาก ลวดเหล็กเสริมคอนกรีต และ ท่อเหล็ก ในขณะที่หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี ผลจากหมวดไม้ปาร์เก้ วงกบหน้าต่าง บานประตูและหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี โดยมีสินค้าสำคัญ อาทิเช่น อิฐมอญ อิฐโปร่ง กระจกใส เป็นต้น เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบในการผลิตปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ การ ขยายตัวดังกล่าวเป็นการขยายตัวตามสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีสัญญาณการฟื้นตัวขึ้น ทำให้ความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น

Economic Indicators: Next Week

อัตราการว่างงานเดือน ก.ค. 53 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 4.3 แสนคน ปรับลดลงเนื่องจากเริ่มมีการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต และการว่างงานที่ปรับตัวลดลงในภาคบริการ โดยเฉพาะสาขาโรงแรมและภัตตาคาร รวมถึงปัญหาภัยแล้งที่หมดไป

ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ส.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 15.0 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.5 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยบวกจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนได้จากรายได้เกษตรกรที่ยังขยายตัวต่อเนื่องตามราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะราคายางพาราและมันสำปะหลังที่ขยายตัวในอัตราเร่ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนต่อไป

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 53.5 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.0 อย่างไรก็ตาม ดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนช่วงวิกฤตที่ผ่านมา ซึ่งเฉลี่ยแล้วอยู่ในระดับสูงกว่า 100 ผนวกกับอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 9.5 ของกำลังแรงงานรวม บ่งชี้ว่าภาคการบริโภคของสหรัฐฯ อาจจะยังไม่ฟื้นตัวในอนาคตอันใกล้

Eurozone: improving economic trend

อัตราการว่างงานเดือน ก.ค. 53 คงที่ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 10.0 ของกำ ลังแรงงานรวม และมีความเป็นไปได้ที่ตัวเลขดังกล่าวอาจมีการปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงไม่ฟื้นตัว และเศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทัวไปขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี ปัจจัยหลักมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง น่าจะส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรปสามารถดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปได้

Japan: improving economic trend

ยอดค้าปลีกเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 3.9 ต่อปี จากการขยายตัวของยอดขายรถยนต์ ยอดขายเสื้อผ้า ตามฤดูกาลลดราคาเสื้อผ้า และยอดขายเครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้นจากอากาศร้อน บ่งชี้การบริโภคที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

South Korea: improving economic trend

มูลค่าการส่งออกในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ที่ร้อยละ 32.9 ต่อปี บ่งชี้ว่าอุปสงค์จากนอกประเทศเริ่มส่งสัญญาณชะลอลงตามการแผ่วลงของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 29.3 ต่อปี ด้านอัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวทรงตัวที่ร้อยละ 2.6 ต่อปื

India: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุหลักจากการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อปี ด้านการบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 60 ของ GDPขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี บ่งชี้ถึงเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะในอัตราที่ชะลอตัวลงก็ตาม อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอลง อาจส่งผลให้เศรษฐกิจอินเดียแผ่วลงในช่วงที่เหลือของปี 53

Australia: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุหลักจากภาคการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวในระดับสูง เนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น ตามการจ้างงานที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมาในอุตสาหกรรมเหมืองแร่และถ่านหิน ในขณะที่ภาคการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดีเช่นเดียวกัน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 35.8 ต่อปี จากการที่เศรษฐกิจของตลาดส่งออกหลัก เช่นจีนและสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชะลอลง

Weekly Financial Indicators

นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจที่จะลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรของไทย โดยยังคงมีแรงซื้อเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรระยะกลางและยาวอย่างต่อเนื่อง โดยในสัปดาห์นี้ ได้รับปัจจัยบวกจากการคลายความกังวลจากกรณีมาบตาพุดลงและข่าวที่อาจมีการจัดตั้งธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศจีน ในขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยและค่าเงินบาทขาขึ้น ประกอบกับเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเมืองที่ดียังคงเป็นปัจจัยดึงดูดเงินทุนให้ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.52 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ แต่เป็นการแข็งค่าขึ้นไปในทิศทางเดียวกันกับค่าเงินภูมิภาค ตามแรงซื้อของต่างชาติที่มีเข้ามาในตลาดพันธบัตรและหลักทรัพย์ตามความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย

ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.12 เนื่องจากค่าเงินบาทเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับค่าเงินในภูมิภาค

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ