รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 6 - 10 กันยายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 13, 2010 10:35 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 1.73 แสนคัน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 32.5 ต่อปี
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ส.ค. 53 ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 72.8
  • ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เตรียมเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มูลค่า 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • GDP ญี่ปุ่นไตรมาสที่ 2 ปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี (%yoy) หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq)
  • มูลค่าการส่งออกของจีนในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 34.4 ต่อปี
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.25
  • อัตราการว่างงานออสเตรเลียเดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 52 ที่ร้อยละ 5.1 ของกำลังแรงงานรวม

Indicators next week

   Indicators                      Forecast            Previous
Aug: Tourist arrival (%yoy)           9.0                14.2
  • คาดว่าจะเป็นการเดินทางเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (คิดเป็นร้อยละ 70 ของด่านทั้งหมด) จำนวน0.83 ล้านคน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี
Aug: TISI                           110.0               108.6
  • คาดว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดี เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองได้คลี่คลายลง อีกทั้งยอดคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศมีการขยายตัวต่อเนื่อง
Economic Indicators: This Week

ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 1.73 แสนคัน คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 32.5 ต่อปีเร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.5 ต่อปี (หรือขยายตัวที่ร้อยละ 9.3 ต่อเดือน เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกแล้ว)โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) รายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะราคายางพารา และมันสำปะหลัง ที่ขยายตัวในอัตราเร่ง โดยในเดือน ก.ค. 53 รายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 26.9 ต่อปี ทำให้ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 72.4 ต่อปี และ ร้อยละ 27.2 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 38.0 ต่อปี และร้อยละ 11.0 ต่อปี ตามลำดับ 2) ปัจจัยฐานต่ำเมื่อปีที่แล้วและ 3) สถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลายลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดีขึ้น และเริ่มมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ส.ค. 53 ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 72.8 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ระดับ 71.4 บ่งชี้ว่าผู้บริโภคมีความมั่นใจว่าภาวะเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น โดยมีปัจจัยบวกจาก 1) ภาพรวมเศรษฐกิจยังคงส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง สะท้อนจากภาคการส่งออกยังขยายตัว อีกทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ในขณะที่ภาคการผลิต ทั้งเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้หน่วยงานเศรษฐกิจ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย และสศช. ปรับขึ้นคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 53 และ 2)สถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลายมากขึ้น

Economic Indicators: Next Week

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ส.ค. 53 คาดว่าจะมีจำนวน 1.20 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายที่ร้อยละ 9.0 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 14.2 ต่อปี โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเริ่มปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติ หลังจากที่ปรับตัวลดลงมากเหลือเพียง 0.8 ล้านคน ในช่วงที่มีปัญหาการเมืองในประเทศ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ชะลอลงจากเดือนก่อน เนื่องจาก นักท่องเที่ยวได้เดินทางเข้ามามากกว่าปกติไปแล้วในเดือนก่อนหน้าภายหลังปัญหาการเมืองคลี่คลายลง ทั้งนี้ คาดว่าจะเป็นการเดินทางเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (คิดเป็นร้อยละ 70 ของด่านทั้งหมด) จำ นวน 0.83 ล้านคน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 53 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 110.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 108.6 โดยคาดว่าจะมีสาเหตุมาจากการที่ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดี เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองได้คลี่คลายลงและการขับเคลื่อนแผนปรองดองเป็นรูปธรรมมากขึ้น อีก ทั้งยอดคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศมีการขยายตัวต่อเนื่อง

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • ประธานาธิบดี Barack Obama เตรียมเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยแผนขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา และการลงทุนของภาคธุรกิจ รวมทั้งแผนการลงทุนในโครงข่ายการขนส่ง เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและกระตุ้นการจ้าง งานภายในประเทศ สินเชื่อเพื่อการบริโภคในเดือน ก.ค. 53 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 มาอยู่ที่ระดับ 3.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากความกังวลของผู้บริโภคต่อสภาวะเศรษฐกิจ การส่งออกในเดือนก.ค. 53 ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 21.4 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 21.3 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลลดลงมาอยู่ที่ 42.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
Japan: mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี (%yoy) หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) จากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ คำสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชนในเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 7 เดือน ที่ร้อยละ 8.8 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือขยายตัวร้อยละ 15.9 ต่อปี (%yoy) ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนที่ร้อยละ 26.1 ต่อปี (%yoy) จากการขยายตัวของดุลการค้าเป็นสำคัญ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนส.ค. 53 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 42.4 บ่งชี้ความกังวลของประชาชนต่อภาวะรายได้และการจ้างงาน ธนาคารกลางประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.1 และขยายวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพิ่มเติมให้แก่ภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
China: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 34.4 ต่อปีแผ่วลงจากเดือนก่อน ด้านมูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 35.2 ต่อปี แผ่วลงจากเดือนก่อนหน้าเช่นกัน
Taiwan: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 26.6 ต่อปีแผ่วลงจากเดือนก่อน จากการส่งออกไปยังจีน และยุโรปที่แผ่วลง ด้านมูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ ต่อปี 28 ต่อปี แผ่วลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 42.7 ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค. 53 หดตัวร้อยละ -0.5 ต่อปี จากฐานที่สูงในในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากในช่วงดังกล่าวเกิดพายุไต้ฝุ่นขึ้นที่ประเทศไต้หวัน ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้น
South Korea: mixed signal
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.25 เนื่องจากจากความผันผวนในทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
Philippines: mixed signal
  • การส่งออกเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ร้อยละ 35.9 ต่อ หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 (% mom) สะท้อนถึงการส่งออกที่เริ่มมีแนวโน้มชะลอลงจากความต้องการสินค้าหลัก เช่น อิเล็กทรอนิคส์
Australia: improving economic trend
  • อัตราการว่างงานเดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 52 ที่ร้อยละ 5.1 ของกำลังแรงงานรวม สะท้อนถึงทิศทางการขยายตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจออสเตรเลีย อย่างไรก็ตามธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ที่ระดับร้อยละ 4.5 จากความไม่แน่นอนในทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
Weekly Financial Indicators

นักลงทุนเริ่มเทขายหลักทรัพย์และพันธบัตรระยะยาวเพื่อทำกำไร แต่เงินทุนต่างชาติสุทธิโดยรวมที่ไหลเข้ามาใน 2 ตลาดดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับที่สูง นักลงทุนเริ่มเทขายพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะยาวเพื่อทำกำไรหลังจากที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวในช่วงเดือนที่ผ่านมาปรับตัวลดลงมากว่า 30 bps และเริ่มกลับเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นมากขึ้น ส่งผลให้ผลตอบแทนระยะสั้นปรับตัวลดลงในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ต่างชาติยังเข้าซื้อสุทธิในสัปดาห์นี้แล้วกว่า 10,000 ล้านบาท เช่น เดียวกับการเข้าซื้อสุทธิในตลาดหลักทรัพย์อีกกว่า 10,000 ล้านบาทซึ่งล้วนเป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.06 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และแข็งค่าขึ้นกว่าทุกสกุลในภูมิภาค ตามแรงซื้อของต่างชาติที่มีเข้ามาในตลาดพันธบัตรและหลักทรัพย์ ทั้งนี้ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าประเทศคู่ค้าส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.21 และเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาถึงร้อยละ 6.74 จากช่วงต้นปี

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ