Executive Summary
- การจ้างงานเดือนก.ค. 53 อยู่ที่ 38.4 ล้านคน ลดลง 3.8 แสนคนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.0 ต่อปีสำหรับอัตราการว่างงานเดือนก.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.2
- รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนส.ค. 53มีจำนวนทั้งสิ้น 244.9 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.3 ต่อปี และสูงกว่าประมาณการ 46.4 พันล้านบาทหรือร้อยละ 23.4
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ เดือนส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 18.7 ต่อปี
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือนส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 39.1 ต่อปี
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 102.4 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน ณ เดือน ส.ค.53 อยู่ที่ 115.4
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนส.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 58.1 ต่อปี
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนส.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 47.7 ต่อปี
- นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนส.ค. 53 มีจำนวน 1.25 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 8.9 ต่อปี
Indicators next week
Indicators Forecast Previous Aug: API (%yoy) -2.0 -2.4
- จากการลดลงของผลผลิตสำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปรัง และมันสำปะหลัง เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคระบาดและศัตรูพืช ในขณะที่ผลผลิตยางพารา คาดว่าจะปรับตัวลดลงเช่นกัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการกรีดยาง
การจ้างงานเดือนก.ค. 53 อยู่ที่ 38.4 ล้านคน ลดลง 3.8 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.0 ต่อปี ซึ่งเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ขณะที่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า การจ้างงานลดลงจำนวน 2.5 แสนคนสาเหตุสำคัญมาจากการจ้างงานภาคการเกษตรที่ยังคงลดลงมากถึง1.38 ล้านคน ซึ่งเป็นผลจากปัญหาภัยแล้ง อย่างไรก็ตาม พบว่ามีการเคลื่อนย้ายแรงงานเกษตรมานอกภาคการเกษตรโดยจำนวนการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านคน สำหรับอัตราการว่างงานเดือนก.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.2 โดยคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานจำนวนทั้งสิ้น 3.5 แสนคน โดยเป็นผู้ว่างงานในภาคการค้าและบริการ 8.6 หมื่นคน ภาคอุตสาหกรรม 7.4 หมื่นคน ภาคเกษตร 1.7 หมื่นคน และผู้ที่กำลังว่างงานจำนวน 1.7 แสนคน
รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนส.ค. 53 มีจำ นวนทั้งสิ้น 244.9 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.3 ต่อปี และสูงกว่าประมาณการ46.4 พันล้านบาทหรือร้อยละ 23.4 สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจนทั้งด้านการใช้จ่ายภายในประเทศและรายได้ประชากร โดยภาษีฐานการบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในเดือนส.ค. 53 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 19.9 หรือขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและปรับผลทางฤดูกาลแล้ว สะท้อนการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน ในขณะที่ภาษีฐานรายได้ (ผลรวมของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 28.1 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ผลจากการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิรอบครึ่งปี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ เดือน ส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 18.7 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 12.9 ต่อปีหรือคิดเป็นขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและปรับผลทางฤดูกาลแล้ว โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากกำลังซื้อของประชาชนที่เพิ่มขึ้นตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น ตามราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นมากส่งผลให้ในช่วง 8 เดือนแรกปี 53 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 19.7 ต่อปี
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ส.ค.53 ขยายตัวร้อยละ 39.1 ต่อปี ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน บ่งชี้ถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างรวมทั้งประเทศในเดือนก.ค. 53 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.8 ต่อปี ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังมีความต้องการที่แท้จริง (Real Demand) จากผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีการเปิดตัวโครงการใหม่ๆ เพื่อรองรับอุปสงค์ที่เพิ่มมากขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 102.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 108.6 เป็นผลจากการปรับลดลงของดัชนียอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทที่กระทบต่อการส่งออกการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ฝนที่ตกหนักที่ทำให้เกิดน้ำ ท่วมในหลายพื้นที่ และความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงมีค่าเกิน 100 สะท้อนว่าผู้ประกอบการยังคงมีควา มเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจที่ดีในระดับหนึ่ง ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน ณ เดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ 115.4 ลดลงจากเดือนก.ค.53 ที่อยู่ในระดับ 117.6 เนื่องจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่ายอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิต และผลประกอบการจะปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภายในประเทศและภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณชะลอตัว
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัว ต่อเนื่องที่ร้อยละ 58.1 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 64.1 ต่อปี (หรือขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 ต่อเดือน เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้นตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และ 2) ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 47.7 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 44.0 ต่อปี แต่หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.5 ต่อเดือน เมื่อหักปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) โดยได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และความต่อเนื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ประกอบกับปัจจัยฐานต่ำเมื่อปีที่แล้วที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงอย่างมาก
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ส.ค.53 มีจำนวน 1.25 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 8.9 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 14.2 ต่อปีและเมื่อพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวที่ร้อยละ -2.0 ต่อเดือน โดยเป็นการหดตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจากยุโรปและอเมริกาเป็นหลัก อย่างไรก็ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จำนวน 1.25 ล้านคน นับเป็นการปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 51 และปัญหาทางการเมืองในประเทศ
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ส.ค.53 คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -2.0 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ -2.4 ต่อปีตามการลดลงของผลผลิตสำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปรัง และมันสำปะหลังเนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคระบาดและศัตรูพืช ในขณะที่ผลผลิตยางพารา คาดว่าจะปรับตัวลดลงเช่นกัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการกรีดยาง
Global Economic Indicators: This Week
- วันที่ 15 ก.ย. 53 ทางการญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2547 หลังจากที่ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมากที่สุดในรอบ 15 ปี เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ภายหลังการประกาศแทรกแซงค่าเงินเยนดังกล่าวค่าเงินเยนได้อ่อนค่าลงกว่าร้อยละ 2.86 เมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า
- ยอดค้าปลีกเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) หรือขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี (%yoy) จากยอดจำหน่ายอาหาร สินค้าในครัวเรือน และน้ำมัน สำหรับยอดค้าปลีกไม่รวมยานยนต์ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า บ่งชี้การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค. 53 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) จากผลผลิตสินค้าบริโภคที่ลดลง
- ยอดส่งออกและนำเข้าเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 18 ต่อปี และร้อยละ 24 ต่อปีตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลที่ 200 ล้านยูโร ลดลงอย่างมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล 1.4 พันล้านยูโร
- ยอดค้าปลีกเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 18.4 ต่อปี จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฟอร์นิเจอร์และรถยนต์ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 40.4 ต่อปีและร้อยละ 35.2 ต่อปี ตามลำดับ การลงทุนในเขตเมืองเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.8 ต่อปีชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม(NBS PMI) เดือน ส.ค. 53 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 51.7 บ่งชี้การขยายตัวของภาคการผลิต เงินเฟ้อทั่วไปเดือน ส.ค. 53 เร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี
- อัตราการว่างงานเดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของกำลังแรงงานรวม บ่งชี้สัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศอย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกที่ยังคงขยายตัวอย่างเปราะบางยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดในระยะต่อไป
- ยอดค้าปลีกเดือน ก.ค. 53 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -1.2 ต่อปีหรือขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า(%mom_sa) จากการปรับตัวดีขึ้นของยอดจำหน่ายสินค้าทุกประเภท สะท้อนการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ การส่งออกไม่รวมน้ำมันในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 31.2 ต่อปี หรือขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) จากการส่งออกสินค้าเวชภัณฑ์ที่ขยายตัวร้อยละ 64.7 ต่อปี หลังจากที่หดตัวในเดือนก่อนหน้า
นักลงทุนต่างชาติยังคงเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรของไทยต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยยังคงมีแรงซื้อเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรระยะกลางและยาวอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงกลางสัปดาห์ ตลาดคาดการณ์ว่า ธปท. จะออกมาตรการควบคุมค่าเงินบาท ส่งผลให้มีแรงขายจากต่างชาติในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ตามทาง ธปท. ประกาศว่าไม่ได้มีมาตรการควบคุมเงินใหลเข้าแต่อย่างใด ส่งผลให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาทั้งในตลาดหลักทรัพย์และตราสารหนี้และทำให้ดัชนี SET ปรับตัวขึ้นมาอีกครั้งหลังปรับตัวลงในช่วงต้นสัปดาห์
ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงที่ร้อยละ -0.23 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเช่นเดียวกับดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงที่ร้อยละ -0.53 จากการเข้าบริหารค่าเงินของ ธปท. ให้มีเสถียรภาพมากขึ้น และสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออก
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th