รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 20 — 24 กันยายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 28, 2010 10:31 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ผลการเบิกจายงบประมาณในเดือนส.ค. 53 เบิกจายไดจำนวน 110.1 พันลานบาท คิดเปนการหดตัวรอยละ -22.5 ตอป
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือนส.ค. 53 ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -7.0 พันลานบาท
  • ดัชนีผลผลิตสินคาเกษตรในเดือนส.ค. 53 หดตัวที่รอยละ -4.2 ตอป หดตัวเรงขึ้นจากเดือนกอนที่รอยละ -2.5 ตอป สวนดัชนีราคาสินคาเกษตรขยายตัวตอเนื่องเปนเดือนที่ 10 ที่รอยละ31.1 ตอปี มูลคาการสงออกสินคาในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวติดตอกันเปนเดือนที่ 10 ที่รอยละ 23.9 ตอป ขณะที่การนำเขาสินคา ขยายตัวรอยละ 41.1 ตอป
  • ปริมาณจำหนายปูนซิเมนตภายในประเทศเดือนส.ค. 53 หดตัวรอยละ -1.5 ตอป จากเดือนกอนหนาที่ขยายตัวรอยละ 5.8 ตอป
  • ยอดจำหน่ายบ้านมือสอง(Existing Home Sales) ของสหรัฐฯ เดือนส.ค. 53 เพิ่มขึ้นรอยละ 7.6 จากเดือนกอนหนา
  • ดัชนีคำสั่งซื้อผูจัดการภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ (Mfg PMI and Service PMI) เบื้องต้นของยูโรโซนในเดือนก.ย. 53 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 53.6
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของไตหวันในเดือนส.ค. 53 ที่ขยายตัวเรงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 23.4 ต่อปี

Indicators next week

   Indicators                      Forecast            Previous
Aug: MPI (%yoy)                      13.1                 9.0
  • เนื่องจากสถานการณเงินบาทที่แข็งค่า ตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความเปราะบาง จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ และเครื่องประดับ เป็นต้น
Economic Indicators: This Week

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนส.ค. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 110.1 พันล้านบาท คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -22.5 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำจำนวน 92.5 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -22.7 ต่อปี และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้หดตัวร้อยละ -37.1 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญในเดือนส.ค. 53 ได้แก่ รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ของกระทรวงการคลังจำนวน 6.1 พันล้านบาท รายจ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 3.8 พันล้านบาท และรายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 3.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายในช่วง 11 เดือนของปีงบประมาณ 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 1,591.7 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -7.5 ต่อปี โดยคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 53 ที่ร้อยละ 85.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (1.70 ล้านล้านบาท) ทั้งนี้ คาดว่าผลการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 53 จะเป็นไปตามเป้าหมายอย่างน้อยที่ร้อยละ 94.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ วันที่ 17 ก.ย. 53 สามารถเบิกจ่ายสะสมได้ทั้งสิ้น 225.2 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 64.3 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ส.ค.53 ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -7.0 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 49.8 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ของรัฐบาลเกินดุลจำนวน 42.8 พันล้านบาททั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณจำนวน -124.6 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -8.0 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -132.6 พันล้านบาท ซึ่งการขาดดุลดังกล่าวต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลสูงกว่าเป้าหมาย ในขณะที่รัฐบาลมีการกู้เงินตามกรอบการขาดดุล ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ส.ค.53 อยู่ในระดับสูงถึง 393.8 พันล้านบาท

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ส.ค.53 หดตัวที่ร้อยละ -4.2 ต่อปี หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -2.5 ต่อปี (หรือหดตัวที่ร้อยละ -0.8 ต่อเดือน เมื่อขจัดผลทางฤดูกาล)ตามการลดลงของผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง เนื่องจากปัญหาโรคระบาดและศัตรูพืช ในขณะที่ผลผลิตยางพาราปรับขยายตัวในอัตราชะลอลงเช่นกัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการกรีดยาง ส่วนผลผลิตหมวดปศุสัตว์ขยายตัวในอัตราชะลอลง จากผลผลิตสุกรและไก่เนื้อเป็นสำคัญ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต แต่อย่างไรก็ตาม ราคาที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ผลผลิตหมวดปศุสัตว์ยังขยายตัวได้

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ที่ร้อยละ31.1 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.9 ต่อปี จากการขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า ได้แก่ ยางพารา และมันสำปะหลัง ) ยกเว้นข้าว (เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปทานมีจำกัด โดยเฉพาะราคามันสำปะหลังและยางพาราที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเอธานอลและอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีน

มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 ที่ร้อยละ 23.9 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.6 ต่อปี และหากหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว จะหดตัวที่ร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ผลจากการขยายตัวที่เร่งขึ้นในตลาดสำคัญ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน โดยในแง่มิติสินค้า การส่งออกสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 18.7 8.7 และ 27.4 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ที่ร้อยละ 41.1 ต่อปี ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 36.1 ต่อปี หรือขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงมีการขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 42.1 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวดีที่ร้อยละ 38.9 39.4 และ 34.5 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าที่สูงกว่ามูลค่านำเข้าเล็กน้อย ทำให้ดุลการค้าในเดือน ส.ค. 53 เกินดุลที่ 0.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ส.ค. 53 หดตัวร้อยละ -1.5 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อปี หรือหดตัวร้อยละ -8.8 จากเดือนก่อนหน้า เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากปริมาณจำหน่ายมีการขยายตัวในอัตราเร่งมากในช่วงต้นปีที่ผ่านมา และปัจจัยฐานที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ การที่อยู่ในช่วงฤดูฝน ได้ส่งผลให้ยอดจำหน่ายปูนซิเมนต์ปรับตัวลดลงเช่นกัน

Economic Indicators: Next Week

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวที่ ร้อยละ 9.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.1 ต่อปี เนื่องจากสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความเปราะบาง จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ และเครื่องประดับ เป็นต้น

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • เงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ต่อปีหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa)เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและค่าขนส่ง ขณะที่ราคาบ้านไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.04 จากเดือนก่อนหน้ายอดสร้างบ้านใหม่ (Housing Starts) ในเดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 598,000 หลังต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 10.5 (%mom_sa) ขณะที่ยอดอนุมัติสร้างบ้านใหม่อยู่ที่ 569,000 หลังต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.8 (%mom_sa) บ่งชี้สัญญาณที่ดีในภาคอสังหาริมทรัพย์ยอดจำหน่ายบ้านมือสอง (Existing Home Sales) เดือน ส.ค. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 จากเดือนก่อนหน้า (%momsa) มาอย่ที่ 4.13 ล้านหลังต่อปี
Eurozone: mixed signal
  • ดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ (Mfg PMI and Service PMI) เบื้องต้นเดือน ก.ย. 53 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 53.6 บ่งชี้การชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาสที่ 3 อย่างไรก็ตาม ดัชนีดังกล่าวยังอยู่เหนือระดับ 50.0 ซึ่งสะท้อนว่าภาคการผลิตและภาคบริการยังคงขยายตัวอยู่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) เบื้องต้นในเดือน ก.ย. 53 สูงที่สุดในรอบ 27 เดือนที่ระดับ -11.2 สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป
Singapore: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี จากการปรับขึ้นราคาค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรถยนต์เพื่อควบคุมอุปทานของรถยนต์ในตลาด สะท้อนแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังมีไม่มากนัก
Malaysia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี จากราคาอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังการยุติมาตรการตรึงราคาเชื้อเพลิงและอาหารบางประเภทในเดือน ก.ค. 53 ที่ผ่านมา
Taiwan: improving economic trend
  • ยอดคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 23.3 ต่อปี จากคำสั่งซื้อที่เร่งขึ้นไปยังตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ตามฤดูกาลวันหยุดในช่วงสิ้นปีที่กำลังมาถึง สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค. 53 ที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 23.4 ต่อปี ด้านเสถียรภาพในประเทศ อัตราการว่างงานในเดือน ส.ค.53 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ต่อปี จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น 18,000 คน บ่งชี้ว่าอุปสงค์จากในและนอกประเทศยังคงขยายตัวได้ดี
Hong Kong: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 52 ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี จากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรโลก ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีกในระยะต่อไป ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น
Weekly Financial Indicators

นักลงทุนต่างชาติยังคงเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรของไทยต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยยังคงมีแรงซื้อเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรระยะกลางและยาวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์ ถึงแม้จะมีข่าวเกี่ยวกับมาตรการควบคุมเงินบาทในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ตาม

ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว โดยอ่อนค่าลงที่ร้อยละ -0.03 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงที่ร้อยละ-0.81 จากการที่ค่าเงินคู่ค้าหลักแข็งค่าในอัตราที่สูงกว่า ประกอบกับการเข้าบริหารค่าเงินอย่างต่อเนื่องของ ธปท. ให้มีเสถียรภาพมากขึ้น

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ