ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้
1. รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
2. Incubator Bank of Japan ประกาศล้มละลาย
3. รัฐบาลและ Bank of Japan (BOJ)ได้เข้าแทรกแซงค่าเงินเยน
-----------------------------------
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยนายกรัฐมนตรีนาย Naoto Kan ได้ให้ความสาคัญกับการเพิ่มการจ้างงานเป็นแกนหลัก และเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจญี่ปุ่นปัจจุบัน เช่นปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัว และภาวะเงินฝืด ซึ่งรัฐบาลวางแผนที่จะให้มีการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อทาให้ประชาชนมีความมั่นใจและหันมาใช้จ่ายมากขึ้น รวมทั้งให้ภาคเอกชนกลับมาลงทุนเพิ่มขึ้น แต่เมื่อดูจากภาพรวมแล้วไม่ได้มีการกาหนดมาตรการใหม่แต่อย่างไรเพียงแต่เป็นการต่ออายุมาตรที่รัฐบาลก่อนหน้าได้เริ่มไว้เช่นการให้ Eco Point แก่ผู้ที่ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานหรือที่พักอาศัยที่ประหยัดพลังงานเป็นต้น นอกจากนี้งบประมาณที่ใช้ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมครั้งนี้เมื่อเทียบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านๆ มาแล้วนับว่ามีจานวนน้อยกว่ามาก เนื่องจากสถานะการคลังที่ไม่สู้ดีนักในปัจจุบัน และเพื่อความรวดเร็วในการดาเนินการ รัฐบาลจึงเลือกที่จะใช้เงินจากงบประมาณสารองประจาปี 2553 เป็นจานวน 920 พันล้านเยนมาใช้ในการดาเนินการมาตรการดังกล่าวเป็นขั้นตอนแรก และวางแผนที่จะเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขั้นตอนที่ต่อไปในการพิจารณาปรับงบประมาณในช่วงสิ้นปี 2553 และอีกครั้งในปีงบประมาณ 2554 รวมแล้ว 3 ขั้นตอน โดยหลายฝ่ายได้ให้ความเห็นว่างบประมาณสาหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้นั้นมีจานวนน้อยเกินไป และมองว่ารัฐบาลมีความเกรงกลัวที่จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์สถานะการณ์เศรษฐกิจในอนาคตได้ นอกจากนั้นการเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในขั้นตอนการพิจารณาปรับงบประมาณช่วงสิ้นปีนั้นน่าจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากรัฐบาลมีความจาเป็นที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาเพื่ออนุมัติงบประมาณดาเนินการนโยบายดังกล่าว แต่จากผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมานั้นพรรครัฐบาลได้รับความพ่ายแพ้จากการเลือกตั้งจนเสียงในสภานั้นเหลือเพียงครึ่งเดียว
เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2553 Incubator Bank of Japan ได้ขอยื่นความจานงล้มละลายต่อ Financial Services Agency (FSA) เนื่องจากผลการปิดยอดบัญชีครึ่งปีแรกพบว่าธนาคารมีจานวนหนี้มากกว่าทรัพย์สินประมาณเท่ากับ 180 พันล้านเยน และในวันเดียวกันยังได้ขอยื่นเข้าแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาลกรุงโตเกียวด้วย ซึ่ง FSA ได้รับรองการล้มละลายของ Incubator Bank of Japan และออกคาสั่งให้หยุดกิจการเป็นเวลา 3 วันเพื่อให้ธนาคารดาเนินการตามขั้นตอนจัดการการล้มละลาย ระหว่างวันที่ 10 — 12 กันยายน 2553 โดย FSA ได้กาหนดให้ธนาคารสามารถชาระคืนเงินฝากแก่ลูกค้าได้ในวงเงินสูงสุดรายละไม่เกิน 10 ล้านเยนบวกกับดอกเบี้ย ซึ่งในส่วนที่เกินกว่าวงเงินที่กาหนดนั้นมีความเป็นไปได้สูงว่าจะไม่ได้รับการชาระคืน เดิม Incubator Bank of Japan จัดตั้งโดยมีนาย Takeshi Kimura อดีตพนักงาน Bank of Japan (BOJ) และที่ปรึกษาของ FSA เป็นแกนหลัก และดารงตาแหน่งเป็นผู้จัดการใหญ่ของธนาคาร โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2552 FSA ได้เข้าไปตรวจสอบกิจการของธนาคารเป็นเวลานานถึง 9 เดือน และพบว่ามีการกระทาผิดกฎหมายสถาบันการเงินจริง จึงได้ดาเนินการส่งฟ้องเป็นคดีอาญา และศาลได้ตัดสินให้จับกุมอดีตผู้จัดการใหญ่ธนาคาร รวมทั้งบรรดาผู้บริหารด้วย ทาให้ธนาคารตกอยู่ในสภาพไม่มั่นคง และภายหลังจากนั้นได้มีการเลือกนาย Gou Ekami มาดารงตาแหน่งผู้จัดการใหญ่แทน และได้ดาเนินการสารวจและฟื้นฟูกิจการธนาคารอย่างเร่งด่วน แต่พบว่าจานวนหนี้สินที่อดีตผู้บริหารได้สร้างไว้โดยการให้เงินกู้กับผู้ประกอบการอย่างไม่โปร่งใส นั้นมีจานวนมากกว่าสินทรัพย์เป็นจานวนมากจนไม่สามารถฟื้นฟูกิจการด้วยตนเองได้ จึงตัดสินใจขอยื่นความจานงล้มละลายต่อ FSA เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2553 โดย FSA ได้ประกาศว่าการล้มละลายของ Incubator Bank of Japan นั้นไม่ได้ส่งผลร้ายแรงต่อระบบการเงินญี่ป่นแต่อย่างใด จึงพิจารณาแล้วเห็นควรให้ดาเนินการชาระคืนเงินฝากแก่ลูกค้าได้
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลและ Bank of Japan (BOJ)ได้เข้าแทรกแซงค่าเงินเยน โดยวิธีการขายเงินเยนและซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในตลาดแลกเปลี่ยน เพื่อเป็นการหยุดค่าเงินเยนที่แข็งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน รวมทั้งผู้ว่าการ BOJ ก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้เช่นเดียวกัน เดิมค่าเงินเยนก่อนที่รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงนั้นอยู่ที่ 82 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการแข็งตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 15 ปี 3 เดือนนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2538 ภายหลังจากการแทรกแซงแล้วค่าเงินเยนปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 85 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ และการที่รัฐบาลและ BOJ ได้เข้าแทรกแซงค่าเงินเยนครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี นับตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2547 โดยการเข้าแทรกแซงครั้งนี้ดาเนินการโดยประเทศญี่ปุ่นแต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ไม่ได้รับความร่วมมือจากประเทศอื่นๆ เช่น ยุโรป และอเมริกาแต่อย่างใด
ภายหลังจากการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยน โดยรัฐบาล และ BOJ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553 แล้วส่งผลให้ค่าเงินเยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ นั้นคงตัวอยู่ที่ระดับ 85 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยได้มีการเปิดเผยว่ารัฐบาลญี่ปุ่นได้ใช้เงินเป็นจานวนถึง 2 ล้านล้านเยนในวันเดียวสาหรับการเข้าแทรกแซงตลาดการเงินทั้งในเอเซีย และตลาดการเงินลอนดอนของอังกฤษ รวมทั้ง ตลาดการเงินนิวยอร์คของสหรัฐฯ เป็นต้น ซึ่งเป็นจานวนที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนครั้งนี้ได้ส่งผลต่อดีตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น ทาให้ราคาหลักทรัพย์นั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และรัฐบาลหวังว่าการเข้าแทรกแซงนี้จะส่งผลให้อุตสาหกรรมการส่งออกนั้นฟื้นตัวขึ้นตามมาเช่นเดียวกัน แต่ในขณะเดียวกัน นาย Jean-Claude Juncker นายกรัฐมนตรีลักเซมเบิร์กได้ออกมาแสดงความเห็นว่ารู้สึกผิดหวังต่อการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนโดยลาพังของญี่ปุ่น เนื่องจากการเข้าแทรกแซงครั้งนี้ได้ทาให้ค่าเงินยูโร ต่อเงินเยนนั้นแข็งตัวขึ้นจนส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการส่งออกของประเทศสหภาพยุโรปที่ใช้ค่าเงินยูโรในปัจจุบัน นอกจากนี้ นาย Kim Choong Soo ผู้ว่าการธนาคารกลางเกาหลีก็ได้แสดงความเห็นว่าการที่ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนโดยลาพังนั้นจะไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้
สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th