รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 27 กันยายน - 1 ตุลาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 5, 2010 11:43 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.53 ขยายตัวร้อยละ 8.6 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.1 ต่อปี
  • สินเชื่อเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.7 ต่อปี ด้านเงินฝากสถาบันการเงินขยายตัวร้อยละ 6.7 ต่อปี
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือนส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 13.4 ต่อปี
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี
  • GDPสหรัฐไตรมาสที่ 2 ปี 53 (Final GDP) ขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี (%qoq_at annual rate)
  • การส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนส.ค. 53 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 15.8 ต่อปี
  • ดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิต (NBS PMI) ของจีนในเดือนก.ย. 53 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 53.8
  • การส่งออกของเกาหลีใต้เดือนก.ย. 53 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 17.2 ต่อปี
  • เศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 7.2 ต่อปี

Indicators next week

   Indicators                      Forecast            Previous
Aug: อัตราการว่างงาน                   0.9                  0.9
(ร้อยละต่อกำลังแรงงานรวม)
  • เนื่องจากคาดว่าความต้องการแรงงานในภาคการผลิตและภาคบริการจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามสภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่การจ้างงานภาคเกษตรคาดว่าจะยังไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากยังไม่เข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยว
Economic Indicators: This Week

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.53 ขยายตัวร้อยละ 8.6 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร่อยละ 13.1 ต่อปี และเมื่อพิจารณาโดยปรับผลของฤดูกาลแล้วพบว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนก.ค.53 หดตัวร้อยละ -3.6 ต่อเดือน โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลลบต่อดัชนีฯ ได้แก่ ฮาร์ดดิสกไดรฟ์ น้ำตาล เฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่สามารถขยายตัว ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ อาหาร และปิโตรเลียม สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนส.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 64.0 ของกำลังการผลิตรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 64.8 โดยหากปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าอยู่ที่ร้อยละ 63.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.7 ของกำลังการผลิตรวม

สินเชื่อเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 9.7 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนเป็นสำคัญ แม้ว่ามาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นสินเชื่อภาคครัวเรือนในเดือนที่ผ่านมาจะสิ้นสุดในเดือน มิ.ย. 53 ไปแล้วก็ตามด้านสินเชื่อภาคธุรกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น จากเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ว่าความต้องการสินเชื่อที่เริ่มชัดเจน ด้านเงินฝากสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 6.7 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปีหรือขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อเดือน จาก (1) ปัจจัยฐานต่ำในเดือนก่อนหน้าจากการออกพันธบัตรไทยเข้มแข็งในเดือน ก.ค. 52 และ (2) การโยกยายเงินฝากไปลงทุนในสินทรัพยที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ตั๋วแลกเงิน ประกันชีวิต และทองคำ

ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑเหล็กรวมภายในประเทศในเดือนส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 13.4 ตอป เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี และเมื่อปีผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าขยายตัวร้อยละ 5.9 จากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักมาจากปริมาณการจำหนายเหล็กในหมวดก่อสร้าง ซึ่งมาจากเหล็กเส้นกลมที่ขยายตัวร้อยละ 28.3 ต่อปี รวมถึงเหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่มาจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีขยายตัวร้อยละ 39.7 ต่อปี การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนถึงการเริ่มฟื้นตัวของการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพยและอุตสาหกรรมที่ใช้เป็นส่วนประกอบภายในประเทศต่อเนื่อง

ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยในเดือนส.ค. 53 เกินดุลเล็กน้อยที่ 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการเกินดุลการค้าที่ 851 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุลที่ประมาณ 571 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าที่ยังเกินดุลมาจากการขยายตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าที่ยังอยู่ในระดับสูงที่ 23.6 ต่อปี โดยเฉพาะในหมวดยานยนต์ ยางพารา เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑพลาสติก อย่างไรก็ตาม ดุลบริการ เงินโอน และรายได้ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยมีสาเหตุมาจากรายจ่ายผลประโยชน์การลงทุน และรายจ่ายบริการอื่นๆ โดยเฉพาะค้าลิขสิทธิ์อื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นแม้ว่ารายรับจากการท่องเที่ยวได้ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ดุลบัญชีเงินทุนที่เกินดุลในปริมาณที่สูงต่อเนื่องที่ 2,972 ล้านดอลลาร์สหรัฐได้ส่งผลให้ดุลการชำระเงินรวมเกินดุลที่ 3,589 ลานดอลลาร์สหรัฐ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 อยู้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี เนื่องจากฐานในการคำนวณในปีก่อนหน้าที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ราคาสินค้าสำคัญที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ 1) ผักและผลไม้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 ต่อปี เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกบางแห่งได้รับความเสียหายจากภาวะฝนตกหนักและน้ำท่วมขัง ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดน้อยลง 2) ข้าว แป้งและผลิตภัณฑจากแป้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ต่อปี เนื่องจากปริมาณผลผลิตข้าวสารเหนียวที่ออกสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้ราคามีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และ 3) ไฟ้ฟา น้ำประปาฯ ขยายตัวในระดับเดิมจากเดือนก่อน ที่ร้อยละ 9.0 ต่อปี เนื่องจากหมดอายุมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายน้ำประปา และหากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้หดตัวที่ร้อยละ -0.07 (%mom) ขณะที่อัตราเงินเฟ่อพื้นฐานขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อปีชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี โดยดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อปี โดยสินค้าสำคัญในหมวดนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ในหมวดเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กตัวซี เหล็กแผ่นเรียบดำ และตะแกรงเหล็ก ในขณะที่หมวดไม้และผลิตภัณฑไม้ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี ผลจากหมวดบานประตู หน้าต่าง ไม้ปารเก้ วงกบหน้าต่าง และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี โดยมีสินค้าสำคัญ อาทิเช่น อิฐโปรง อิฐมอญ ยางมะตอย เป็นตน ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวเป็นการขยายตัวตามสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีสัญญาณการฟื้นตัวขึ้น ทำให้ความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น

Economic Indicators: Next Week

อัตราการว่างงานเดือนส.ค. 53 คาดว่าจะอยู่ในระดับที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากคาดว่าความต้องการแรงงานในภาคการผลิตและภาคบริการจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามสภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่การจ้างงานภาคเกษตรคาดว่าจะยังไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากยังไม่เข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยว

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 53 (Final GDP) ขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี (%qoq_at annual rate) เพิ่มขึ้นจากที่เคยประกาศไว้เดิมที่ร้อยละ 1.6 (%qoq at annual rate) จากการเพิ่มขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน ดัชนีความเชื่อมั่นผูบริโภคในเดือน ก.ย. 53 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 48.5 บ่งชี้ความกังวลของผู้บริโภคตอสถานการณ์ดานเศรษฐกิจ ราคาอสังหาริมทรัพยในเดือน ก.ค. 53 (Case-Shiller Home Price Index-20yy) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากต้นปี
Japan: mixed signal
  • ผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ (Tankan Survey) ในไตรมาสที่ 3 ปี 53 อยู่ที่ระดับ +8.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ +1.0 อย่างไรก็ตาม ดัชนีดังกล่าวในไตรมาสที่ 4 ปี 53 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ -1.0 สะท้อนว่าผู้ประกอบการมีความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นในและระบุว่าแผนการลงทุนของผู้ประกอบการรายใหญ่มีแนวโน้มชะลอลง การส่งออกในเดือน ส.ค.53 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 15.8 ต่อปี (%yoy) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 17.9 ต่อปีส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 103.2 พันลานเยน สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค. 53 ที่หดตัวรอยละ -0.3 จากเดือนกอหนา (%mom)
China: improving economic trend
  • ทางการจีนประกาศว่าจะเก็บภาษีที่อยู่อาศัยในบางเมือง จากเดิมที่ภาษีดังกล่าวเก็บเฉพาะภาคธุรกิจ เพื่อลดแรงกดดันจากการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ ดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการฝายผลิต (NBS PMI) ในเดือน ก.ย. 53 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 53.8 บ่งชี้การขยายตัวของภาคการผลิตในไตรมาสที่ 3 ของปี
Philippines: improving economic trend
  • มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 16.2 ต่อปี หรือเร่งขึ้นร้อยละ 11.1 จากเดือนก่อนหน้า จากการบริโภคในประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง นอกจากนี้เนื่องด้วยการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าไปผลิตเพื่อการส่งออก สศค. จึงมองว่าการส่งออกในระยะต่อไปน่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น
South Korea: improving economic trend
  • การส่งออกเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อน หน้าที่ร้อยละ 17.2 ต่อปี จากปัจจัยฐานต่ำที่เริ่มหมดไป อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า จะพบว่ามูลค่าการส่งออกยังคงใก้ลเคียงกัน บ่งชี้ว่าการขยายตัวของภาคการส่งออกยังทรงตัวได้ดี จะด้านการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 16.7 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 28.6 ต่อปี จากปัจจัยฐานที่เริ่มสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นจากฝนที่ตกหนักในช่วงดังกล่าว
Vietnam: improving economic trend
  • เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวรอยละ 7.2 ต่อปี หรือขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 2.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq sa) จากแรงส่งของการภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
Weekly Financial Indicators

นักลงทุนต่างชาติยังคงเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรของไทยอย่างต่อเนื่องในสัปดาหนี้ โดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพยที่มีแรงซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลใหดัชนี SET ปรับตัวสูงสุดในรอบเกือบ 14 ปี ทั้งนี้การเข้าซื้ออย่างต่อเนื่องนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากการคาดการณ์ว่า FED อาจทำมาตรการ QE ในระยะต่อไป ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจไทยและภูมิภาคยังคงออกมาดี ส่งผลให้ยังมีภาวะ risk appetite และการลงทุนของต่างชาติอย่างต่อเนื่อง

ค่าเงินบาทในสัปดาหนี้ปรับตัวแข็งคาขึ้นอย่างมาก โดยแข็งค่าขึ้นที่ร้อยละ 1.37 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกับดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.38 สอดคล้องกับการเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพยและพันธบัตรของไทยของนักลงทุนต่างชาติ ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าสุดนับตั้งแตปี 1997

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ