บทความเรื่อง ทิศทางการลงทุนภาครัฐและเอกชน ปี 2550 โดย ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สศช.
1. ภาพรวมสถานการณ์การลงทุนในประเทศไทย:
1.1 ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติต่อประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 20 ในปี 2548 จากผลจากการสำรวจความเห็นของนักลงทุนราย
ใหญ่ของโลกที่มีต่อประเทศทั้งหมด 68 ประเทศ(1) พบว่า ไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนในลำดับรองจากประเทศจีน อินเดีย และมาเลเซีย (ตารางที่
1) แต่อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความเห็นของบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่นพบว่า ไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนเป็นอันดับ 3 รองมาจากเพียงสหรัฐอเมริกา
และจีน(2)
ตารางที่ 1. ลำดับความเชื่อมั่นในการลงทุน (FDI Confidence Ranking) 2001--2005
2001 2002 2003 2004 2005
Thailand 14 20 16 20 20
China 2 1 1 1 1
India 7 15 6 3 2
Malaysia 22 .. 23 15 ..
ที่มา: Global Business Policy Council 2005
1.2 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีความสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว เนื่องจาก FDI, การลงทุน การ
ส่งออกและ GDP มีความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน โดยสัดส่วนของเงินทุนไหลเข้า (Gross FDI or FDI Inflow) ต่อการลง
ทุนเอกชนในช่วงปี 2544-2548 อยู่ในระดับที่สูงแม้ว่ามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 61.5 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 39.9(3) (แผนภาพที่
1) สำหรับในช่วง9 เดือนแรกของปี 2549สัดส่วนเงินลงทุนไหลเข้าต่อการลงทุนเอกชนอยู่ที่ร้อยละ 29.6 ซึ่งในการที่ Gross FDI เป็นองค์
ประกอบสำคัญของการลงทุนภาคเอกชนจึงมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ หากการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศ (Gross FDI) ตกต่ำอย่างต่อ
เนื่องจะมีผลเชิงลบต่อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาวได้
**********************************************************************************************************
หมายเหตุ 1 The Foreign Direct Investment Confidence Index เป็นการสำรวจความเห็นของผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ของโลก ซึ่ง
ดำเนินการทุกปี โดย A.T. Kearney
2 JETRO (2006) "FY 2005 Survey of Japanese Firms' International Operations", Tokyo: Japan
External Trade Organization.
3 คำนวณจาก Nominal term, และภายใต้นิยามใหม่ที่ Reinvested earnings ถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของ FDI ในบัญชี
Financial account
**********************************************************************************************************
1) มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศในรูปเงินทุนไหลเข้า (Inflows or Gross FDI) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นภายหลังจากการชะลอ
ตัวอย่างมากในปี 2545 แต่เป็นการขยายตัวในอัตราที่ลดลงในช่วงปี 2547-2548 (แผนภาพที่ 2 และตารางที่ 2) ในขณะเดียวกัน มีการเพิ่มขึ้นของ
มูลค่าการไหลออกของ FDI เช่นกัน จึงเป็นผลทำให้มูลค่าการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของการไหลออกของ FDI เพิ่มสูงขึ้น
อย่างมากในปี 2545 และ 2547 คิดเป็นร้อย 22 และ 33 ตามลำดับ (ตารางที่ 2)
แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญของการลงทุนจากต่างประเทศ คือ การติดตามความเคลื่อนไหวของ Gross FDI ซึ่งหากมีแนวโน้ม
มูลค่าและอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจะส่งผลต่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ ทั้งด้านการลงทุน ส่งออกและจ้างงาน ทั้งนี้ ไม่ควรมีข้อกังวลมากนักต่อการ
ไหลออกของ FDI เนื่องจากในทางปฏิบัตินักลงทุนต่างชาติมักขายหุ้นให้กับคนไทยเพื่อดำเนินการต่อ ดังนั้น Physical assets จากการลงทุนจากต่าง
ประเทศจะยังคงอยู่ในประเทศไทย
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เงินทุนไหลเข้าตั้งแต่ปี 2545 มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัว เป็นผลมาจาก4 (1) ธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงมีกำลังการ
ผลิตส่วนเกินโดยเฉพาะในหมวด 4 ธนาคารแห่งประเทศไทย บทความเรื่อง อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของการลงทุนโดยตรงจากตางประเทศของไทย
อุตสาหกรรม (เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง) ซึ่งได้ขยายการผลิตไปแล้วในปี 2543-2544 (2) การนำเข้าเงินกู้ใน
เครือ (Direct loan) ปรับลดลงเนื่องจากความต้องการเงินกู้จากบริษัทแม่เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ลดลง (3) การเปลี่ยนมาใช้สภาพคล่องภายใน
ประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ และ (5) บริษัทเริ่มมีกำไรและกำไรสะสมจึงนำมาใช้แทนการนำเข้าเงินลงทุนประเภทเงินกู้ในเครือ
ตารางที่ 2. อัตราการขยายตัวของ Inflows, Outflows, and Net FDI
Growth of...
(y-o-y, %) 2002 2003 2004 2005p
Net FDI -32.43 51.42 -4.05 49.56
Inflows (Gross FDI) -3.09 9.37 16.65 14.10
Outflows 22.43 -10.81 33.51 -6.66
ที่มา: ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย
2) การลงทุนโดยตรงสุทธิจากต่างประเทศ (Net FDI) ในอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวคิดเป็นร้อยละ 8.87 (y-o-y ปี
2548/2547) โดยมีอัตราการขยายตัวเป็นบวกในอุตสาหกรรม อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์จาก
ปิโตรเลียม นอกจากนี้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 การลงทุนจากต่างประเทศสุทธิในอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้
ไฟฟ้ายังคงมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ดังที่เห็นได้จากมูลค่าการลงทุนสุทธิในช่วงเวลาดังกล่าวมีมูลค่ารวมสูงถึง 711.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3. การลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ จำแนกตามอุตสาหกรรม (US$, Millions))
y-o-y
2004 2005p 05/04 2006
(%) Q1 p Q2 p Q3 p
Industry 3,786.0 4,122.0 8.87 1,170.1 835.8 1,056.3
Food & sugar 337.3 -10.2 -103.02 -1.7 16.7 -31.9
Textiles 38.0 86.4 127.37 28.7 22.4 23.1
Metal & non metallic 480.1 246.7 -48.61 72.3 103.8 121.9
Electrical appliances 797.0 861.2 8.06 244.5 218.2 248.8
Machinery & transport
equipment 1,280.3 1,509.9 17.93 438.8 298.2 370.0
Chemicals 387.3 464.7 19.98 99.8 106.4 75.1
Petroleum products 22.5 351.9 1,464.00 81.7 23.2 67.4
Construction materials 45.1 9.1 -79.82 1.1 5.4 -1.1
Others 398.4 602.3 51.18 204.9 41.5 182.9
Financial institutions 221.7 662.4 198.78 120.1 129.6 119.2
Trade 182.9 330.9 80.92 551.2 257.7 273.5
Construction 70.7 38.7 -45.26 8.4 4.0 12.7
Mining & quarrying 192.3 -556.7 -389.50 -103.9 -86.6 -276.5
Agriculture 5.7 2.6 -54.39 1.2 0.9 1.1
Services 303.3 189.1 -37.65 250.6 83.9 43.3
Investment -236.7 172.5 -172.88 2,259.5 -3.9 -2.0
Real estate -344.0 1,067.5 -410.32 295.6 406.6 380.7
Others 774.1 1,383.1 78.67 -343.1 140.0 259.8
Total 4,956.0 7,412.1 49.56 4,209.7 1,767.9 1,867.9
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
1.3 ทิศทางการลงทุนของประเทศไทยในปี 2550
1) การลงทุนรวมในปี 2550 จะขยายตัวที่ร้อยละ 6.2 โดยการลงทุนภาคเอกชนมีอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 7 และการลงทุนภาค
รัฐมีการขยายตัวที่ร้อยละ 4 (ประมาณการเศรษฐกิจของ สศช. ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2549 และรายละเอียดปรากฎในภาคผนวก) ในขณะที่จากการ
คาดการณ์ภาวะการลงทุนของธนาคารโลกได้ชี้ ภาวะการขยายตัวการลงทุนในปี 2549 และ2550 อยู่ในระดับต่ำกว่าการคาดการณ์ของ สศช. โดยได้
ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนรวมไว้ไม่เกินร้อยละ 5 ในทั้งสองปีดังกล่าว ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนภาคเอกชนด้าน
เครื่องมือเครื่องจักร และการลงทุนก่อสร้างในปี 2549 มีการชะลอตัวลงอย่างชัดเจน
2) การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในปี 2550 ยังไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน คาดว่านักลงทุนส่วนหนึ่งยังชะลอการตัดสินใจจนกว่าจะเห็น
ความชัดเจนของรัฐบาลชุดต่อไป สำหรับนักลงทุนต่างชาติยังคงมีข้อกังวลในประเด็นการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติธุรกิจต่างด้าวซึ่งมีประเด็นการ
พิจารณาทั้งในเรื่องสิทธิการออกเสียง ความเป็นเจ้าของของผู้ถือหุ้นต่างชาติ และการอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติดำเนินธุรกิจในกิจการที่เคยคุ้มครองไว้
เฉพาะคนไทย (การปรับปรุงบัญชีที่ 3 ของ พระราชบัญญัติฯ) นอกจากนี้ ตัวชี้วัดการลงทุนในระยะที่ผ่านมาแสดงว่า ความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังอยู่ใน
ระดับต่ำ และอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง (แผนภาพที่ 4) แต่อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ นั่นคือ อัตราการใช้
กำลังการผลิตในหลายอุตสาหกรรมมีระดับสูงเกินร้อยละ 80 ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่ดีอันหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มการลงทุนในบางอุตสาหกรรมที่มีระดับการ
ใช้กำลังการผลิตสูงในอนาคตอันใกล้นี้
สำหรับ เครื่องชี้วัดการลงทุนในระยะสั้นและปานกลางคือ วงเงินทุนของโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน และวงเงินได้รับอนุมัติส่ง
เสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 32.7 และร้อยละ 43.8 ตามลำดับในช่วง 10 เดือนแรกของ
ปี 2549 (ตารางที่ 4) ดังนั้นการลงทุนที่แท้จริงในปี 2550 (และระยะต่อเนื่อง 2-3 ปี) อาจยังไม่ฟื้นตัวได้เต็มที่
ตารางที่ 4. ภาพรวมการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมจาก BOI
การส่งเสริมการลงทุนโดย BOI 2548 10 เดือน (มค.- ต.ค.)
2548 2549
วงเงินขอรับการส่งเสริม (พันล้านบาท) 674.3 630.9 424.8
(5.8) (34.6) (-32.7)
วงเงินที่ได้รับอนุมัติส่งเสริม (พันล้านบาท) 571.3 486.3 272.9
(-4.9) (50.8) (-43.8)
ที่มา สศช. ภาวะเศรษฐกิจไตรมาสสาม และแนวโน้มปี 2549-2550
หมายเหตุ: ตัวเลขในวงเล็บคืออัตราการขยายตัวมีหน่วยเป็นร้อยละ
3) แม้ว่าภาพรวมการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีแนวโน้มลดลง แต่กลับมีการขยายตัวของการลงทุนที่ได้รับ
อนุมัติฯ ในอุตสาหกรรมสำคัญอาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติคยังมีการขยายตัวในระยะ 10 เดือนแรกของปี
2549 ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการลงทุนสุทธิจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งจะเครื่องชี้การลงทุนที่แท้จริงในอุตสาหกรรมดัง
กล่าวในระยะ 2-3 ปีถัดจากนี้ โดยที่จะเป็นการลงทุนเพิ่มขึ้นเฉพาะในบางสาขาอุตสาหกรรมตามที่ระบุข้างต้นเป็นส่วนใหญ่
4) การลงทุนภาครัฐในปี 2550: การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐจะยังคงไม่เพิ่มขึ้นมากนัก นับตั้งแต่ไตรมาสที่สามของปี 2549 เป็นต้น
มา เนื่องจากอยู่ระหว่างการรอประกาศใช้พระราชบัญญัติ งบประมาณปี 2550 สำหรับภาพรวมงบประมาณรายจ่ายฯ ปี 2550 และโครงการการลงทุน
ของรัฐที่สำคัญ มีดังนี้
(1) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี 2550 มีมูลค่ารวม 1,566,200 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.5 ของ GDP ในปี
2550 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 จากปีงบประมาณที่ผ่านมา ทั้งนี้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ มีสัดส่วนสูงสุดคิดเป็นร้อย
ละ 37.9 รองลงมาคืองบประมาณเพื่อการรักษาความมั่นคงและธรรมา ภิบาล และการปรับปรุงการบริหารงานภาครัฐคิดเป็นร้อยละ 22.3 และ
21.1 ตามลำดับ
(2) โครงการลงทุนที่สำคัญยังคงมุ่งเน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Physical Infrastructure) โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อ
พัฒนาที่อยู่อาศัยและระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Mass Transit) ซึ่งมีการตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการในปี 2550 แล้ว อาทิ โครงการบ้านเอื้อ
อาทร ระยะที่ 3, 4 และ 5 และโครงการบ้านมั่นคง รวมเป็นเงินงบประมาณ 6,958.6 ล้านบาท และมีโครงการรถไฟฟ้าที่ได้รับการจัดสรรเงินงบ
ประมาณในปี 2550 แล้ว และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีนี้ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว และสีแดง(ตารางที่6)
ตารางที่ 6. โครงการลงทุนสำคัญที่ได้รับการจัดสรรเงินประมาณในปี 2550
หน่วย : ล้านบาท
โครงการ เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ
ที่อยู่อาศัย
1. โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 3, 4 และ 5 5,683.00 52,463.27
2. โครงการบ้านมั่นคง 1,275.60 1,652.00
ระบบรถไฟฟ้า
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ 1,433.00 -
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค 1,450.00 -
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ 412.00 -
4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงอ่อนนุช - สมุทรปราการ 220.00 -
5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ 250.00 -
6. โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วง บางซื่อ - รังสิต 100.00 -
7. โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วง สุวรรณภูมิ-มักกะสัน-พญาไทย - 7,151.00-
หมายเหตุ 1. ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2550 (ก่อนเข้ากรรมาธิการ)
2. เงินนอกงบประมาณได้แก่ เงินรายได้ และเงินกู้
3. เงินงบประมาณจัดสรรสำหรับโครงการระบบรถไฟฟ้าโครงการที่ 1 - 6 เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
และค่าจ้างที่ปรึกษา
นอกจากนี้ รัฐยังให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ (Intermediate Infrastructure) เช่น โครงการลงทุนด้าน
สาธารณสุขและการศึกษา ซึ่งมีกิจกรรมและการลงทุนที่สำคัญในปี 2550 เช่น กิจกรรมการให้บริการสุขภาพในระบบหลักประกัน (เงินงบประมาณจัด
สรร 22,275.05 ล้านบาท) และการลงทุนก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียน และจัดหาคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็ว
สูงสำหรับการศึกษาภาคบังคับ (เงินงบประมาณจัดสรรเพื่อการลงทุนจำนวน 3,672.34 ล้านบาท) เป็นต้น
2. การกระตุ้นการลงทุนในระยะยาวนั้นจำเป็นต้องมีบรรยากาศการลงทุนในประเทศที่ดี แม้ว่าในระยะสั้นและปานกลางยังคงมีปัจจัยที่มี
ผลกระทบต่อการลงทุนและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย อาทิ การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติธุรกิจต่างด้าวและการควบคุมการเก็งกำไร โดย
เฉพาะอย่างยิ่งมาตรการด้าน Capital control ซึ่งแม้ว่าจะมีผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดพันธบัตร (Bond) ไม่มากนัก เนื่องจาก
ผู้ค้าในตลาดฯ ถึงร้อยละ 90 เป็นคนไทย แต่มาตรการนี้จะมีผลกระทบต่อการลงทุนและบรรยากาศการลงทุนต่อการนำเข้าเงินกู้ในเครือ (Direct
loan) รวมทั้งการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดยเฉพาะการซื้อขายใน Mutual funds ซึ่งมักส่งผลต่อลงทุนต่อเนื่องในตลาดอสังหาริมทรัพย์
ด้วย ดังนั้น หากสถานะของค่าเงินบาทเริ่มคงที่และอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว การพิจารณาผ่อนปรนหรือยกเลิก Capital control จะส่งผลดีต่อ
การลงทุนของประเทศไทยได้
แต่อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวแล้วปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนที่ดีและส่งผลให้มีการขยายตัวการลงทุนเพิ่มขึ้นนั้นมีองค์
ประกอบจากหลากหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากปัจจัยที่ส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนที่ดีนั้น ต้องใช้ระยะเวลาในการเตรียมการหรือปรับปรุง
แก้ไข อาทิ การปรับปรุงกฎระเบียบข้อบังคับ การผลิตแรงงานที่มีคุณภาพและตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมและบริการ และการจัดบริการโครง
สร้างพื้นฐาน ซึ่งหากไม่ได้มีการดำเนินการแก้ไข อย่างจริงจังแล้ว อาจส่งผลในระยะยาวโดยทำให้การลงทุนในประเทศอาจจะมีโอกาสฟื้นตัวได้ยาก
สำหรับผลการศึกษาของโครงการสำรวจระดับการเพิ่มผลผลิตและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งดำเนินการโดยธนาคารโลกและ
สศช. มีประเด็นสำคัญในส่วนที่เกี่ยวข้องบรรยากาศการลงทุน ดังนี้
2.1 อุปสรรคของประกอบธุรกิจในประเทศไทย
1) ผู้ประกอบกิจการในประเทศไทยระบุว่าปัญหาด้านกฎระเบียบข้อบังคับของภาครัฐ การขาดแคลนแรงงาน และความไม่เพียงพอของ
โครงสร้างพื้นฐานเป็นอุปสรรคสำคัญของการดำเนินธุรกิจหรือการลงทุนในประเทศไทย (แผนภาพที่ 6) และผู้ประกอบกิจการยังได้ระบุถึงปัญหาด้าน
ทักษะและการศึกษาของแรงงาน รวมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับอัตราภาษี ขั้นตอนด้านภาษี และขั้นตอนด้านการนำเข้าและส่งออก
(ศุลกากร) เป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย (แผนภาพที่ 7) ทั้งนี้ จากการสอบถามทั้งที่ใช้แบบสอบถามปลายเปิดและแบบสอบถาม
ปลายปิด(5) ให้ผลเป็นในทิศทางเดียวกัน
********************************************************************************************************
(5) แบบสำรวจคำถามปลายปิดได้กำหนดประเด็นอุปสรรคไว้ 18 ข้อที่เป็นข้อจำกัดต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเมื่อได้นำผลกาสำรวจมาจัดลำดับตามความถี่
ที่กิจกิจการได้ตอบว่าเป็นปัญหาอุปสรรคที่มีความรุนแรงมากถึงมากที่สุดแล้ว พบว่า มีประเด็นอุปสรรค 10 ข้อ ตามที่ปรากฏในแผนภาพที่ 6.
********************************************************************************************************
2) ปัญหาและอุปสรรคต่อการลงทุนทั้งด้านกฎระเบียบข้อบังคับ แรงงานคุณภาพขาดแคลน และความไม่เพียงพอของโครงสร้างพื้นฐานมี
แนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเมื่อขนาดของกิจการใหญ่ขึ้น (ตารางที่ 8) และมีความรุนแรงของปัญหาในระดับที่ไม่แตกต่างกันนักเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง
กิจการที่มีคนไทยเป็นเจ้าของและกิจการที่มีคนต่างชาติเป็นเจ้าของ ยกเว้น ปัญหาด้านขั้นตอนด้านศุลกากรและกฎระเบียบด้านการค้าซึ่งมีระดับความ
รุนแรงสูงกว่าในกิจการที่มีคนต่างชาติเป็นเจ้าของ
2.2 การปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเป็นเรื่องจำเป็น ในระยะที่ผ่านมา (พฤษภาคม-
สิงหาคม 2549) สศช.ได้เป็นแกนหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน ร่วมกันจัดทำ
ข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนของประเทศ โดยมีสาระสำคัญของข้อเสนอแนวทางฯ ดังนี้ (อนึ่ง ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรม
ส่งเสริมการลงทุนอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างสำนักงานฯ ด้วย)
1) ในภาพรวมประเทศไทยได้ให้การส่งเสริมการลงทุนในส่วนของมาตรการทางการเงิน และมาตรการทางภาษีมากพอ
สมควรและไม่น้อยกว่าประเทศคู่แข่งขัน ทั้งนี้ มาตรการทางการเงินและมาตรการทางภาษีเพื่อการส่งเสริมการลงทุนยังคงมีความจำเป็น โดยต้องคำนึง
ถึงการกำหนดสิทธิพิเศษให้กับอุตสาหกรรม บริการที่มีศักยภาพและอุตสาหกรรมใหม่ เช่น ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio-Fuel
& Bio-Material) ธุรกิจโรงแรม และที่อยู่อาศัย (Housing) และเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์เพื่อรองรับการขยายการลงทุน(Re-investment)
สำหรับผู้ประกอบการเดิม
2) มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีจะเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในระยะยาวในการดึงดูดการลงทุนตรงให้สอดคล้องกับทิศทางที่กำหนดไว้
ในกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ (เกษตร อุตสาหกรรมและบริการ) รวมทั้งสนับสนุนแนวทางในการขับเคลื่อนให้ประเทศเข้าสู่
เศรษฐกิจฐานความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุน ที่ควรผนวกรวมกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะ
กรรมการส่งเสริมการลงทุนจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการ 4 ประการ ได้แก่ การขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ (Stability)
การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม (Value creation and innovation) การเชื่อมโยงเศรษฐกิจข้ามพรมแดน (Cross-border
cooperation) และ การลงทุนในสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว (Proactive social investment) โดยมีรายละเอียดของข้อ
เสนอฯ ดังนี้
(1) การเชื่อมโยงมาตรการส่งเสริมการลงทุนกับปัจจัยสนับสนุนด้านแรงงาน
* กระทรวงแรงงานควรจัดทำฐานข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการจ้างงาน และนำระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการขออนุญาตทำงานในระบบ Single Window
* ร่วมมือกับหน่วยผลิตและฝึกอบรม ได้แก่ สถาบันเฉพาะทาง สถาบันฝึกอบรมทั้งของภาครัฐและเอกชน
เป็นต้น เพื่อเตรียมคนรองรับการลงทุนที่จะเกิดขึ้น
(2) การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งองค์ความรู้และการวิจัยพัฒนาเพื่อไปสู่ Knowledge-Based Economy
* ส่งเสริม Regional Innovation System เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาองค์ความรู้ นวัต
กรรม และการรวมกลุ่มธุรกิจ รวมทั้งการพัฒนา Technology Licensing Network โดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นแกนกลาง
* จัดให้มี Matching Fund สำหรับการสร้างนวัตกรรม โดยกองทุนหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมใน
การทำวิจัย สนับสนุนบุคลากร และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
* ส่งเสริมการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดย
ให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดูแล
(3) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ที่ดิน ไฟฟ้า ระบบโลจิสติกส์ รองรับการลงทุน
* กำหนดเขตพื้นที่พิเศษและอุตสาหกรรม ภายใต้แนวคิด คลัสเตอร์ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุนควรประเมินสถานภาพและความพร้อมของพื้นที่และปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ทั้งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดจนระบบโลจิสติกส์
* ร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการกำหนดพื้นที่และการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่มีอยู่ใน
ปัจจุบันให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ
* จัดหาแหล่งเงินสนับสนุนในรูป Matching Fund จากภาคเอกชน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ
อำนวยความสะดวกและรองรับการลงทุน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1. ภาพรวมสถานการณ์การลงทุนในประเทศไทย:
1.1 ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติต่อประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 20 ในปี 2548 จากผลจากการสำรวจความเห็นของนักลงทุนราย
ใหญ่ของโลกที่มีต่อประเทศทั้งหมด 68 ประเทศ(1) พบว่า ไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนในลำดับรองจากประเทศจีน อินเดีย และมาเลเซีย (ตารางที่
1) แต่อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความเห็นของบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่นพบว่า ไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนเป็นอันดับ 3 รองมาจากเพียงสหรัฐอเมริกา
และจีน(2)
ตารางที่ 1. ลำดับความเชื่อมั่นในการลงทุน (FDI Confidence Ranking) 2001--2005
2001 2002 2003 2004 2005
Thailand 14 20 16 20 20
China 2 1 1 1 1
India 7 15 6 3 2
Malaysia 22 .. 23 15 ..
ที่มา: Global Business Policy Council 2005
1.2 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีความสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว เนื่องจาก FDI, การลงทุน การ
ส่งออกและ GDP มีความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน โดยสัดส่วนของเงินทุนไหลเข้า (Gross FDI or FDI Inflow) ต่อการลง
ทุนเอกชนในช่วงปี 2544-2548 อยู่ในระดับที่สูงแม้ว่ามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 61.5 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 39.9(3) (แผนภาพที่
1) สำหรับในช่วง9 เดือนแรกของปี 2549สัดส่วนเงินลงทุนไหลเข้าต่อการลงทุนเอกชนอยู่ที่ร้อยละ 29.6 ซึ่งในการที่ Gross FDI เป็นองค์
ประกอบสำคัญของการลงทุนภาคเอกชนจึงมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ หากการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศ (Gross FDI) ตกต่ำอย่างต่อ
เนื่องจะมีผลเชิงลบต่อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาวได้
**********************************************************************************************************
หมายเหตุ 1 The Foreign Direct Investment Confidence Index เป็นการสำรวจความเห็นของผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ของโลก ซึ่ง
ดำเนินการทุกปี โดย A.T. Kearney
2 JETRO (2006) "FY 2005 Survey of Japanese Firms' International Operations", Tokyo: Japan
External Trade Organization.
3 คำนวณจาก Nominal term, และภายใต้นิยามใหม่ที่ Reinvested earnings ถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของ FDI ในบัญชี
Financial account
**********************************************************************************************************
1) มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศในรูปเงินทุนไหลเข้า (Inflows or Gross FDI) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นภายหลังจากการชะลอ
ตัวอย่างมากในปี 2545 แต่เป็นการขยายตัวในอัตราที่ลดลงในช่วงปี 2547-2548 (แผนภาพที่ 2 และตารางที่ 2) ในขณะเดียวกัน มีการเพิ่มขึ้นของ
มูลค่าการไหลออกของ FDI เช่นกัน จึงเป็นผลทำให้มูลค่าการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของการไหลออกของ FDI เพิ่มสูงขึ้น
อย่างมากในปี 2545 และ 2547 คิดเป็นร้อย 22 และ 33 ตามลำดับ (ตารางที่ 2)
แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญของการลงทุนจากต่างประเทศ คือ การติดตามความเคลื่อนไหวของ Gross FDI ซึ่งหากมีแนวโน้ม
มูลค่าและอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจะส่งผลต่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ ทั้งด้านการลงทุน ส่งออกและจ้างงาน ทั้งนี้ ไม่ควรมีข้อกังวลมากนักต่อการ
ไหลออกของ FDI เนื่องจากในทางปฏิบัตินักลงทุนต่างชาติมักขายหุ้นให้กับคนไทยเพื่อดำเนินการต่อ ดังนั้น Physical assets จากการลงทุนจากต่าง
ประเทศจะยังคงอยู่ในประเทศไทย
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เงินทุนไหลเข้าตั้งแต่ปี 2545 มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัว เป็นผลมาจาก4 (1) ธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงมีกำลังการ
ผลิตส่วนเกินโดยเฉพาะในหมวด 4 ธนาคารแห่งประเทศไทย บทความเรื่อง อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของการลงทุนโดยตรงจากตางประเทศของไทย
อุตสาหกรรม (เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง) ซึ่งได้ขยายการผลิตไปแล้วในปี 2543-2544 (2) การนำเข้าเงินกู้ใน
เครือ (Direct loan) ปรับลดลงเนื่องจากความต้องการเงินกู้จากบริษัทแม่เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ลดลง (3) การเปลี่ยนมาใช้สภาพคล่องภายใน
ประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ และ (5) บริษัทเริ่มมีกำไรและกำไรสะสมจึงนำมาใช้แทนการนำเข้าเงินลงทุนประเภทเงินกู้ในเครือ
ตารางที่ 2. อัตราการขยายตัวของ Inflows, Outflows, and Net FDI
Growth of...
(y-o-y, %) 2002 2003 2004 2005p
Net FDI -32.43 51.42 -4.05 49.56
Inflows (Gross FDI) -3.09 9.37 16.65 14.10
Outflows 22.43 -10.81 33.51 -6.66
ที่มา: ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย
2) การลงทุนโดยตรงสุทธิจากต่างประเทศ (Net FDI) ในอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวคิดเป็นร้อยละ 8.87 (y-o-y ปี
2548/2547) โดยมีอัตราการขยายตัวเป็นบวกในอุตสาหกรรม อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์จาก
ปิโตรเลียม นอกจากนี้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 การลงทุนจากต่างประเทศสุทธิในอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้
ไฟฟ้ายังคงมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ดังที่เห็นได้จากมูลค่าการลงทุนสุทธิในช่วงเวลาดังกล่าวมีมูลค่ารวมสูงถึง 711.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3. การลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ จำแนกตามอุตสาหกรรม (US$, Millions))
y-o-y
2004 2005p 05/04 2006
(%) Q1 p Q2 p Q3 p
Industry 3,786.0 4,122.0 8.87 1,170.1 835.8 1,056.3
Food & sugar 337.3 -10.2 -103.02 -1.7 16.7 -31.9
Textiles 38.0 86.4 127.37 28.7 22.4 23.1
Metal & non metallic 480.1 246.7 -48.61 72.3 103.8 121.9
Electrical appliances 797.0 861.2 8.06 244.5 218.2 248.8
Machinery & transport
equipment 1,280.3 1,509.9 17.93 438.8 298.2 370.0
Chemicals 387.3 464.7 19.98 99.8 106.4 75.1
Petroleum products 22.5 351.9 1,464.00 81.7 23.2 67.4
Construction materials 45.1 9.1 -79.82 1.1 5.4 -1.1
Others 398.4 602.3 51.18 204.9 41.5 182.9
Financial institutions 221.7 662.4 198.78 120.1 129.6 119.2
Trade 182.9 330.9 80.92 551.2 257.7 273.5
Construction 70.7 38.7 -45.26 8.4 4.0 12.7
Mining & quarrying 192.3 -556.7 -389.50 -103.9 -86.6 -276.5
Agriculture 5.7 2.6 -54.39 1.2 0.9 1.1
Services 303.3 189.1 -37.65 250.6 83.9 43.3
Investment -236.7 172.5 -172.88 2,259.5 -3.9 -2.0
Real estate -344.0 1,067.5 -410.32 295.6 406.6 380.7
Others 774.1 1,383.1 78.67 -343.1 140.0 259.8
Total 4,956.0 7,412.1 49.56 4,209.7 1,767.9 1,867.9
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
1.3 ทิศทางการลงทุนของประเทศไทยในปี 2550
1) การลงทุนรวมในปี 2550 จะขยายตัวที่ร้อยละ 6.2 โดยการลงทุนภาคเอกชนมีอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 7 และการลงทุนภาค
รัฐมีการขยายตัวที่ร้อยละ 4 (ประมาณการเศรษฐกิจของ สศช. ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2549 และรายละเอียดปรากฎในภาคผนวก) ในขณะที่จากการ
คาดการณ์ภาวะการลงทุนของธนาคารโลกได้ชี้ ภาวะการขยายตัวการลงทุนในปี 2549 และ2550 อยู่ในระดับต่ำกว่าการคาดการณ์ของ สศช. โดยได้
ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนรวมไว้ไม่เกินร้อยละ 5 ในทั้งสองปีดังกล่าว ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนภาคเอกชนด้าน
เครื่องมือเครื่องจักร และการลงทุนก่อสร้างในปี 2549 มีการชะลอตัวลงอย่างชัดเจน
2) การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในปี 2550 ยังไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน คาดว่านักลงทุนส่วนหนึ่งยังชะลอการตัดสินใจจนกว่าจะเห็น
ความชัดเจนของรัฐบาลชุดต่อไป สำหรับนักลงทุนต่างชาติยังคงมีข้อกังวลในประเด็นการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติธุรกิจต่างด้าวซึ่งมีประเด็นการ
พิจารณาทั้งในเรื่องสิทธิการออกเสียง ความเป็นเจ้าของของผู้ถือหุ้นต่างชาติ และการอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติดำเนินธุรกิจในกิจการที่เคยคุ้มครองไว้
เฉพาะคนไทย (การปรับปรุงบัญชีที่ 3 ของ พระราชบัญญัติฯ) นอกจากนี้ ตัวชี้วัดการลงทุนในระยะที่ผ่านมาแสดงว่า ความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังอยู่ใน
ระดับต่ำ และอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง (แผนภาพที่ 4) แต่อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ นั่นคือ อัตราการใช้
กำลังการผลิตในหลายอุตสาหกรรมมีระดับสูงเกินร้อยละ 80 ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่ดีอันหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มการลงทุนในบางอุตสาหกรรมที่มีระดับการ
ใช้กำลังการผลิตสูงในอนาคตอันใกล้นี้
สำหรับ เครื่องชี้วัดการลงทุนในระยะสั้นและปานกลางคือ วงเงินทุนของโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน และวงเงินได้รับอนุมัติส่ง
เสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 32.7 และร้อยละ 43.8 ตามลำดับในช่วง 10 เดือนแรกของ
ปี 2549 (ตารางที่ 4) ดังนั้นการลงทุนที่แท้จริงในปี 2550 (และระยะต่อเนื่อง 2-3 ปี) อาจยังไม่ฟื้นตัวได้เต็มที่
ตารางที่ 4. ภาพรวมการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมจาก BOI
การส่งเสริมการลงทุนโดย BOI 2548 10 เดือน (มค.- ต.ค.)
2548 2549
วงเงินขอรับการส่งเสริม (พันล้านบาท) 674.3 630.9 424.8
(5.8) (34.6) (-32.7)
วงเงินที่ได้รับอนุมัติส่งเสริม (พันล้านบาท) 571.3 486.3 272.9
(-4.9) (50.8) (-43.8)
ที่มา สศช. ภาวะเศรษฐกิจไตรมาสสาม และแนวโน้มปี 2549-2550
หมายเหตุ: ตัวเลขในวงเล็บคืออัตราการขยายตัวมีหน่วยเป็นร้อยละ
3) แม้ว่าภาพรวมการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีแนวโน้มลดลง แต่กลับมีการขยายตัวของการลงทุนที่ได้รับ
อนุมัติฯ ในอุตสาหกรรมสำคัญอาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติคยังมีการขยายตัวในระยะ 10 เดือนแรกของปี
2549 ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการลงทุนสุทธิจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งจะเครื่องชี้การลงทุนที่แท้จริงในอุตสาหกรรมดัง
กล่าวในระยะ 2-3 ปีถัดจากนี้ โดยที่จะเป็นการลงทุนเพิ่มขึ้นเฉพาะในบางสาขาอุตสาหกรรมตามที่ระบุข้างต้นเป็นส่วนใหญ่
4) การลงทุนภาครัฐในปี 2550: การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐจะยังคงไม่เพิ่มขึ้นมากนัก นับตั้งแต่ไตรมาสที่สามของปี 2549 เป็นต้น
มา เนื่องจากอยู่ระหว่างการรอประกาศใช้พระราชบัญญัติ งบประมาณปี 2550 สำหรับภาพรวมงบประมาณรายจ่ายฯ ปี 2550 และโครงการการลงทุน
ของรัฐที่สำคัญ มีดังนี้
(1) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี 2550 มีมูลค่ารวม 1,566,200 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.5 ของ GDP ในปี
2550 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 จากปีงบประมาณที่ผ่านมา ทั้งนี้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ มีสัดส่วนสูงสุดคิดเป็นร้อย
ละ 37.9 รองลงมาคืองบประมาณเพื่อการรักษาความมั่นคงและธรรมา ภิบาล และการปรับปรุงการบริหารงานภาครัฐคิดเป็นร้อยละ 22.3 และ
21.1 ตามลำดับ
(2) โครงการลงทุนที่สำคัญยังคงมุ่งเน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Physical Infrastructure) โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อ
พัฒนาที่อยู่อาศัยและระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Mass Transit) ซึ่งมีการตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการในปี 2550 แล้ว อาทิ โครงการบ้านเอื้อ
อาทร ระยะที่ 3, 4 และ 5 และโครงการบ้านมั่นคง รวมเป็นเงินงบประมาณ 6,958.6 ล้านบาท และมีโครงการรถไฟฟ้าที่ได้รับการจัดสรรเงินงบ
ประมาณในปี 2550 แล้ว และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีนี้ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว และสีแดง(ตารางที่6)
ตารางที่ 6. โครงการลงทุนสำคัญที่ได้รับการจัดสรรเงินประมาณในปี 2550
หน่วย : ล้านบาท
โครงการ เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ
ที่อยู่อาศัย
1. โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 3, 4 และ 5 5,683.00 52,463.27
2. โครงการบ้านมั่นคง 1,275.60 1,652.00
ระบบรถไฟฟ้า
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ 1,433.00 -
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค 1,450.00 -
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ 412.00 -
4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงอ่อนนุช - สมุทรปราการ 220.00 -
5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ 250.00 -
6. โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วง บางซื่อ - รังสิต 100.00 -
7. โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วง สุวรรณภูมิ-มักกะสัน-พญาไทย - 7,151.00-
หมายเหตุ 1. ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2550 (ก่อนเข้ากรรมาธิการ)
2. เงินนอกงบประมาณได้แก่ เงินรายได้ และเงินกู้
3. เงินงบประมาณจัดสรรสำหรับโครงการระบบรถไฟฟ้าโครงการที่ 1 - 6 เป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
และค่าจ้างที่ปรึกษา
นอกจากนี้ รัฐยังให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ (Intermediate Infrastructure) เช่น โครงการลงทุนด้าน
สาธารณสุขและการศึกษา ซึ่งมีกิจกรรมและการลงทุนที่สำคัญในปี 2550 เช่น กิจกรรมการให้บริการสุขภาพในระบบหลักประกัน (เงินงบประมาณจัด
สรร 22,275.05 ล้านบาท) และการลงทุนก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียน และจัดหาคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็ว
สูงสำหรับการศึกษาภาคบังคับ (เงินงบประมาณจัดสรรเพื่อการลงทุนจำนวน 3,672.34 ล้านบาท) เป็นต้น
2. การกระตุ้นการลงทุนในระยะยาวนั้นจำเป็นต้องมีบรรยากาศการลงทุนในประเทศที่ดี แม้ว่าในระยะสั้นและปานกลางยังคงมีปัจจัยที่มี
ผลกระทบต่อการลงทุนและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย อาทิ การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติธุรกิจต่างด้าวและการควบคุมการเก็งกำไร โดย
เฉพาะอย่างยิ่งมาตรการด้าน Capital control ซึ่งแม้ว่าจะมีผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดพันธบัตร (Bond) ไม่มากนัก เนื่องจาก
ผู้ค้าในตลาดฯ ถึงร้อยละ 90 เป็นคนไทย แต่มาตรการนี้จะมีผลกระทบต่อการลงทุนและบรรยากาศการลงทุนต่อการนำเข้าเงินกู้ในเครือ (Direct
loan) รวมทั้งการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดยเฉพาะการซื้อขายใน Mutual funds ซึ่งมักส่งผลต่อลงทุนต่อเนื่องในตลาดอสังหาริมทรัพย์
ด้วย ดังนั้น หากสถานะของค่าเงินบาทเริ่มคงที่และอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว การพิจารณาผ่อนปรนหรือยกเลิก Capital control จะส่งผลดีต่อ
การลงทุนของประเทศไทยได้
แต่อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวแล้วปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนที่ดีและส่งผลให้มีการขยายตัวการลงทุนเพิ่มขึ้นนั้นมีองค์
ประกอบจากหลากหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากปัจจัยที่ส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนที่ดีนั้น ต้องใช้ระยะเวลาในการเตรียมการหรือปรับปรุง
แก้ไข อาทิ การปรับปรุงกฎระเบียบข้อบังคับ การผลิตแรงงานที่มีคุณภาพและตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมและบริการ และการจัดบริการโครง
สร้างพื้นฐาน ซึ่งหากไม่ได้มีการดำเนินการแก้ไข อย่างจริงจังแล้ว อาจส่งผลในระยะยาวโดยทำให้การลงทุนในประเทศอาจจะมีโอกาสฟื้นตัวได้ยาก
สำหรับผลการศึกษาของโครงการสำรวจระดับการเพิ่มผลผลิตและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งดำเนินการโดยธนาคารโลกและ
สศช. มีประเด็นสำคัญในส่วนที่เกี่ยวข้องบรรยากาศการลงทุน ดังนี้
2.1 อุปสรรคของประกอบธุรกิจในประเทศไทย
1) ผู้ประกอบกิจการในประเทศไทยระบุว่าปัญหาด้านกฎระเบียบข้อบังคับของภาครัฐ การขาดแคลนแรงงาน และความไม่เพียงพอของ
โครงสร้างพื้นฐานเป็นอุปสรรคสำคัญของการดำเนินธุรกิจหรือการลงทุนในประเทศไทย (แผนภาพที่ 6) และผู้ประกอบกิจการยังได้ระบุถึงปัญหาด้าน
ทักษะและการศึกษาของแรงงาน รวมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับอัตราภาษี ขั้นตอนด้านภาษี และขั้นตอนด้านการนำเข้าและส่งออก
(ศุลกากร) เป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย (แผนภาพที่ 7) ทั้งนี้ จากการสอบถามทั้งที่ใช้แบบสอบถามปลายเปิดและแบบสอบถาม
ปลายปิด(5) ให้ผลเป็นในทิศทางเดียวกัน
********************************************************************************************************
(5) แบบสำรวจคำถามปลายปิดได้กำหนดประเด็นอุปสรรคไว้ 18 ข้อที่เป็นข้อจำกัดต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเมื่อได้นำผลกาสำรวจมาจัดลำดับตามความถี่
ที่กิจกิจการได้ตอบว่าเป็นปัญหาอุปสรรคที่มีความรุนแรงมากถึงมากที่สุดแล้ว พบว่า มีประเด็นอุปสรรค 10 ข้อ ตามที่ปรากฏในแผนภาพที่ 6.
********************************************************************************************************
2) ปัญหาและอุปสรรคต่อการลงทุนทั้งด้านกฎระเบียบข้อบังคับ แรงงานคุณภาพขาดแคลน และความไม่เพียงพอของโครงสร้างพื้นฐานมี
แนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเมื่อขนาดของกิจการใหญ่ขึ้น (ตารางที่ 8) และมีความรุนแรงของปัญหาในระดับที่ไม่แตกต่างกันนักเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง
กิจการที่มีคนไทยเป็นเจ้าของและกิจการที่มีคนต่างชาติเป็นเจ้าของ ยกเว้น ปัญหาด้านขั้นตอนด้านศุลกากรและกฎระเบียบด้านการค้าซึ่งมีระดับความ
รุนแรงสูงกว่าในกิจการที่มีคนต่างชาติเป็นเจ้าของ
2.2 การปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเป็นเรื่องจำเป็น ในระยะที่ผ่านมา (พฤษภาคม-
สิงหาคม 2549) สศช.ได้เป็นแกนหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน ร่วมกันจัดทำ
ข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนของประเทศ โดยมีสาระสำคัญของข้อเสนอแนวทางฯ ดังนี้ (อนึ่ง ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรม
ส่งเสริมการลงทุนอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างสำนักงานฯ ด้วย)
1) ในภาพรวมประเทศไทยได้ให้การส่งเสริมการลงทุนในส่วนของมาตรการทางการเงิน และมาตรการทางภาษีมากพอ
สมควรและไม่น้อยกว่าประเทศคู่แข่งขัน ทั้งนี้ มาตรการทางการเงินและมาตรการทางภาษีเพื่อการส่งเสริมการลงทุนยังคงมีความจำเป็น โดยต้องคำนึง
ถึงการกำหนดสิทธิพิเศษให้กับอุตสาหกรรม บริการที่มีศักยภาพและอุตสาหกรรมใหม่ เช่น ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio-Fuel
& Bio-Material) ธุรกิจโรงแรม และที่อยู่อาศัย (Housing) และเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์เพื่อรองรับการขยายการลงทุน(Re-investment)
สำหรับผู้ประกอบการเดิม
2) มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีจะเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในระยะยาวในการดึงดูดการลงทุนตรงให้สอดคล้องกับทิศทางที่กำหนดไว้
ในกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ (เกษตร อุตสาหกรรมและบริการ) รวมทั้งสนับสนุนแนวทางในการขับเคลื่อนให้ประเทศเข้าสู่
เศรษฐกิจฐานความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุน ที่ควรผนวกรวมกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะ
กรรมการส่งเสริมการลงทุนจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการ 4 ประการ ได้แก่ การขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ (Stability)
การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม (Value creation and innovation) การเชื่อมโยงเศรษฐกิจข้ามพรมแดน (Cross-border
cooperation) และ การลงทุนในสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว (Proactive social investment) โดยมีรายละเอียดของข้อ
เสนอฯ ดังนี้
(1) การเชื่อมโยงมาตรการส่งเสริมการลงทุนกับปัจจัยสนับสนุนด้านแรงงาน
* กระทรวงแรงงานควรจัดทำฐานข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการจ้างงาน และนำระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการขออนุญาตทำงานในระบบ Single Window
* ร่วมมือกับหน่วยผลิตและฝึกอบรม ได้แก่ สถาบันเฉพาะทาง สถาบันฝึกอบรมทั้งของภาครัฐและเอกชน
เป็นต้น เพื่อเตรียมคนรองรับการลงทุนที่จะเกิดขึ้น
(2) การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งองค์ความรู้และการวิจัยพัฒนาเพื่อไปสู่ Knowledge-Based Economy
* ส่งเสริม Regional Innovation System เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาองค์ความรู้ นวัต
กรรม และการรวมกลุ่มธุรกิจ รวมทั้งการพัฒนา Technology Licensing Network โดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นแกนกลาง
* จัดให้มี Matching Fund สำหรับการสร้างนวัตกรรม โดยกองทุนหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมใน
การทำวิจัย สนับสนุนบุคลากร และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
* ส่งเสริมการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดย
ให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดูแล
(3) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ที่ดิน ไฟฟ้า ระบบโลจิสติกส์ รองรับการลงทุน
* กำหนดเขตพื้นที่พิเศษและอุตสาหกรรม ภายใต้แนวคิด คลัสเตอร์ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุนควรประเมินสถานภาพและความพร้อมของพื้นที่และปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ทั้งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดจนระบบโลจิสติกส์
* ร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการกำหนดพื้นที่และการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่มีอยู่ใน
ปัจจุบันให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ
* จัดหาแหล่งเงินสนับสนุนในรูป Matching Fund จากภาคเอกชน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ
อำนวยความสะดวกและรองรับการลงทุน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-