(ต่อ4)ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 3/2549

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 22, 2007 16:12 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          รายจ่ายครัวเรือนจำแนกตามหมวด
หมวดสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมง ลดลงร้อยละ 0.9 เนื่องจากการบริโภคผลไม้ลดลงมาก สอดคล้องกับปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด
หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ และเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวร้อยละ 3.8 เป็นผลมาจากการบริโภคเนื้อสัตว์และสินค้าเกษตรแปร
รูปขยายตัวร้อยละ 4.2 การบริโภคเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 6.8 ส่วนการอุปโภคเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และสิ่งทออื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 1.7
หมวดไฟฟ้าและประปา ขยายตัวร้อยละ 6.2 เป็นการขยายตัวของการใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้าร้อยละ 5.8 และค่าน้ำประปาร้อยละ 7.9
หมวดยานพาหนะ ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 0.2 เทียบกับร้อยละ 3.1 ในไตรมาสที่แล้ว โดยจำนวนรถบรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่
(รถปิกอัพ) ลดลงร้อยละ 9.6 รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ลดลงร้อยละ 4.2 และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คนจดทะเบียนใหม่ (รถยนต์ตู้) ลดลง
ร้อยละ 11.0 ส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0
ปริมาณการจำหน่ายยานยนต์
2548 2549
2548
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
รถยนต์นั่ง (คัน) 185,761 42,260 47,315 40,251 55,935 44,783 49,344 44,676
อัตราเพิ่มร้อยละ -11.2 -19.5 -5.6 -19.8 -0.6 6.0 4.3 11.0
รถยนต์พาณิชย์ (คัน) 517,677 124,245 132,096 118,576 142,760 125,068 115,424 109,000
อัตราเพิ่มร้อยละ 24.2 30.7 30.9 31.9 9.1 0.7 -12.6 -8.1
รถจักรยานยนต์ (พันคัน) 2,053 519 499 478 558 512 502 478
อัตราเพิ่มร้อยละ 4.5 1.2 -0.2 9.5 8.0 -1.3 0.6 0.0
ที่มา : สถาบันยานยนต์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
หมวดโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 8.0 น้อยกว่าร้อยละ 11.9 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากบริการโรงแรมขยายตัวร้อย
ละ 13.6 ชะลอตัวลงตามภาวะการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในไตรมาสนี้ขยาย
ตัวร้อยละ10.3 ส่วนบริการภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 5.7
หมวดขนส่งและสื่อสาร ขยายตัวร้อยละ 6.1 สูงขึ้นจากร้อยละ 4.5 ในไตรมาสที่แล้ว โดยบริการไปรษณีย์และสื่อสารโทรคมนาคมขยาย
ตัวสูงถึงร้อยละ 11.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้กลยุทธ์การแข่งขันเพื่อกระตุ้นตลาด เช่น การนำเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่
รุ่นใหม่ ๆ เข้ามาทำตลาด การสร้างความแตกต่างในการให้บริการและรูปแบบของบริการเสริมที่เหมาะสมกับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม รวมทั้งการลดอัตราค่า
บริการ ส่วนบริการขนส่งในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 2.2
จำนวนหมายเลขจดทะเบียนโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่
(ณ วันสิ้นงวด) 2548 2548 2549
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
โทรศัพท์พื้นฐาน (พันเลขหมาย) 6,671 6,563 6,626 6,656 6,671 6,794 6,694 6,707
จำนวนประชากร / เลขหมาย 9.7 9.8 9.8 9.7 9.7 9.6 9.7 9.7
โทรศัพท์เคลื่อนที่ (พันเลขหมาย) 30,397 28,370 28,929 29,347 30,397 32,222 34,197 35,161
ระบบ Prepaid 26,020 23,894 24,479 24,963 26,020 27,750 29,558 30,292
ระบบ Postpaid 4,377 4,476 4,450 4,384 4,377 4,473 4,639 4,869
โทรศัพท์เคลื่อนที่ (ร้อยละ) 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ระบบ Prepaid 82.1 84.2 84.6 85.1 82.1 86.1 86.4 86.2
ระบบ Postpaid 14.4 15.8 15.4 14.9 14.4 13.9 13.6 13.8
จำนวนประชากร / เลขหมาย 2.1 2.3 2.2 2.2 2.1 2.0 1.9 1.9
ที่มา : บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด
เมื่อพิจารณารายจ่ายของครัวเรือนจำแนกตามลักษณะความคงทนพบว่า รายจ่ายซื้ออาหารขยายตัวร้อยละ 1.8 น้อยกว่าร้อยละ 5.0 ใน
ไตรมาสที่แล้ว ส่วนสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร ขยายตัวร้อยละ 3.2 จำแนกเป็นสินค้าไม่คงทน (ไม่รวมอาหาร) เช่น เครื่องดื่ม ไฟฟ้า
และน้ำประปา ยารักษาโรค และของใช้ในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 6.2 สินค้ากึ่งคงทนประกอบด้วย เสื้อผ้า รองเท้า ภาชนะ และสิ่งทอที่ใช้ในครัว
เรือน ขยายตัวร้อยละ 3.3 การใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทน เช่น ยานยนต์ เครื่องเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ คอมพิวเตอร์ วิทยุและโทรทัศน์ ลดลง
ร้อยละ 2.6 ส่วนรายจ่ายด้านบริการประกอบด้วย โรงแรมและภัตตาคาร บริการบันเทิงและนันทนาการ การศึกษา การรักษาพยาบาล และการใช้จ่าย
ของนักท่องเที่ยวสุทธิ ขยายตัวร้อยละ 2.8
อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน
จำแนกตามลักษณะความคงทน (ร้อยละ)
2548 2548 2549
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
การใช้จ่ายของครัวเรือน 4.3 4.1 4.7 4.6 3.7 3.9 3.3 2.9
อาหาร 2.3 1.7 2.1 4.6 0.6 7.8 5.0 1.8
อื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร 4.8 4.8 5.3 4.6 4.4 2.9 2.9 3.2
สินค้าไม่คงทน 5.7 4.8 7.0 5.2 5.6 5.9 4.5 6.2
สินค้ากึ่งคงทน 3.2 3.7 3.1 2.3 3.8 3.9 2.4 3.3
สินค้าคงทน 0.2 -1.3 0.1 -1.5 3.3 4.3 4.1 -2.6
บริการ 6.9 8.4 7.2 8.3 4.1 -1.3 1.1 2.8
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล
* การเบิกจ่ายทั้งปีงบประมาณ 2549 มีจำนวน 1,270 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 93.4 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย การเบิก
จ่ายในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 17.6
* รายจ่ายเพื่อการอุปโภคทั้งหมดของรัฐบาลในราคาประจำปีมีมูลค่า 254,811 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ
8.6 จำแนกเป็นค่าตอบแทนแรงงาน 168,013 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ส่วนค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิมีจำนวน 6,798 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 4.0
*มูลค่าที่แท้จริงของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลมีอัตราขยายตัวร้อยละ 4.3 เป็นผลมาจากค่าตอบแทนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7
และค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3
การเบิกจ่ายงบประมาณ (พันล้านบาท)
ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ ก.ค. - ก.ย.
หมวดรายจ่าย 2548 2549 % 2548 2549 %
รวม 1,139.8 1,270.0 11.4 296.2 348.4 17.6
อัตราการเบิกจ่ายต่องบประมาณ (%) 91.2 93.4 21.8 25.6
ที่มา : ประมวลจากข้อมูล GFMIS
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้นหรือการลงทุน
" การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.2 ชะลอตัวลงทั้งการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชน "
การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.2 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้ว
* การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 2.9 ชะลอลงทั้งการลงทุนทางด้านการก่อสร้างและการ
* ลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือ โดยการลงทุนทางด้านการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 2.4 ส่วนการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือ
ขยายตัวร้อยละ 3.0 เป็นผลมาจากในไตรมาสนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนเนื่องจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง
* การลงทุนภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ3.8 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 เป็นผลมาจากการลงทุนของรัฐบาลกลาง
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่แล้ว โดยในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 8.1 ส่วนการลงทุนของภาครัฐวิสาหกิจลดลงร้อย
ละ 2.2 เป็นการลดลงทั้งการก่อสร้างและเครื่องจักรเครื่องมือ เนื่องจากยังไม่มีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นใหม่
(ยังมีต่อ).../อัตราการ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ