เมื่อวันที่ 26-27 มีนาคม 2548 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นแกนหลักทางด้านวิชาการในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน" เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเตรียมพร้อมในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด และสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับแผนนิติบัญญัติ และแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามที่กฎหมายกำหนด
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะกรรมการรวบรวมข้อมูลการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาและได้รับความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2548 นั้น โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินโดยให้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สศช. และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ทั้งนี้ "แผนบริหารราชการแผ่นดิน" จะต้องมีสาระสำคัญ เกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการหรือบุคคลที่รับผิดชอบในแต่ละภารกิจหรือเจ้าภาพหลักและเจ้าภาพร่วม ประมาณการรายได้ รายจ่ายและทรัพยากรต่างๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการและการติดตามประเมินผล
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สศช. สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) และ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้ร่วมกันยกร่างแผนบริหาร
ราชการแผ่นดิน 4 ปี แบ่งออกเป็น 9 ยุทธศาสตร์หลัก ซึ่งได้มอบหมายให้ สศช. รับผิดชอบ 5 กลุ่มแรก คือ
กลุ่มที่ 1 การขจัดความยากจนและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ กลุ่มที่ 2 การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานและรัฐวิสาหกิจ กลุ่มที่ 3 การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ กลุ่มที่ 4 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่ 5 การพัฒนาความสัมพันธ์และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่วนกลุ่มที่ 6-8 แบ่งความรับผิดชอบดังนี้คือ กลุ่มที่ 6 ก.พ.ร. และ สลค. การส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กลุ่มที่ 7 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ สลค. การส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม และกลุ่มที่ 8 สมช. การรักษาความมั่นคงของรัฐ และภายหลังการประชุมได้เพิ่มกลุ่มที่ 9 การรองรับการเปลี่ยนแปลงและพลวัตรโลก โดยมอบให้ สศช. และ สงป. รับผิดชอบ
ทั้งนี้ สศช. ได้รวบรวมและนำเรียนเสนอ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และ ครม. พิจารณาและได้รับการอนุมัติจาก ครม. แล้ว เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548 มีสาระสำคัญดังนี้
สาระสำคัญของแผนฯ แสดงทิศทางและวิธีการทำงานของรัฐบาล ระบุถึงประเด็นยุทธศาสตร์
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดและเป้าหมาย กลยุทธ์หลัก และเจ้าภาพไว้อย่างชัดเจน ซึ่งแผนฯ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง แนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศ วิสัยทัศน์ของรัฐบาล กรอบการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ส่วนที่สอง ยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบด้วย 9 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. การขจัดความยากจน ในระดับประเทศ ระดับชุมชน และระดับบุคคล
2 การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ โดยการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต การอนุรักษ์
สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามและพัฒนาภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพมาตรฐาน การเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม การเตรียมความพร้อมแก่สังคมเพื่อให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่แข็งแรงและน่าอยู่
3 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ โดยการปรับโครงสร้างภาคเกษตร
อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และการค้า การบริหารการเงินการคลัง การพัฒนาวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนารัฐวิสาหกิจ และการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินยุทธศาสตร์
4 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างสมดุลของการใช้ประโยชน์
และการอนุรักษ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การคุ้มครองและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม การฟื้นฟูทรัพยากรดินและใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของเอกชนและชุมชนท้องถิ่น และการควบคุมมลพิษจากขยะ น้ำเสีย ฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น และเสียง
5 การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยการดำเนินนโยบายต่างประเทศเชิงรุก การ
ส่งเสริมความสัมพันธ์กับนานาประเทศ การส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบพหุภาคีและการสร้างบทบาท
ไทยในเวทีโลก ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการทูตเพื่อประชาชน
6 การพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยการปรับปรุงกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การพัฒนาระบบราชการ การป้องกันและปราบปรามทุจริต และการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในภาคเอกชนและสังคม
7 การส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม โดยการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วน
ร่วมและสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการประชาสังคม การส่งเสริมและพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
8 การรักษาความมั่นคงของรัฐ โดยการพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การป้องกัน
ประเทศ และการรักษาความมั่นคงของรัฐ
9 การรองรับการเปลี่ยนแปลงและพลวัตโลก ส่วนที่สาม ว่าด้วยกลไกการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วยการมอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพ งบประมาณสนับสนุนยุทธศาสตร์ และแนวทางการติดตามตรวจสอบประเมินผล
ประโยชน์ของแผนฯ จะใช้สำหรับอ้างอิงหรือเป็นแม่บทในการถ่ายทอดกลยุทธ์หลักลงไปในระดับกระทรวง ทบวง กรม หรือมิติการปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ปกติในระดับกลุ่มจังหวัดและจังหวัดหรือมิติพื้นที่ รวมถึงกลไกการทำงานข้ามหน่วยงานและพื้นที่ หรือมิติตามระเบียบวาระงานพิเศษในรูปแบบของการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี อันจะช่วยทำให้การบริหารราชการแผ่นดินและการจัดสรรทรัพยากรเกิดความสอดคล้องบูรณาการ และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
บทสรุป แผนการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นเครื่องมือสมัยใหม่ที่จะช่วยทำให้รัฐบาลสามารถบริหารปกครองประเทศในเชิงรุก มีการมอบหมายเจ้าภาพหรือผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนเกิดบูรณาการ สามารถประสานแนวทาง มาตรการ และวิธีการทำงานของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน รวมถึงการเชื่อมโยงการวางแผนเข้ากับกระบวนการจัดสรรทรัพยากร การติดตามตรวจสอบและประเมินผล อันจะช่วยทำให้เกิดพลังและสามารถขับเคลื่อนการทำงานของภาครัฐในทุกระดับและทุกมิติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะกรรมการรวบรวมข้อมูลการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาและได้รับความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2548 นั้น โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินโดยให้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สศช. และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ทั้งนี้ "แผนบริหารราชการแผ่นดิน" จะต้องมีสาระสำคัญ เกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการหรือบุคคลที่รับผิดชอบในแต่ละภารกิจหรือเจ้าภาพหลักและเจ้าภาพร่วม ประมาณการรายได้ รายจ่ายและทรัพยากรต่างๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการและการติดตามประเมินผล
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สศช. สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) และ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้ร่วมกันยกร่างแผนบริหาร
ราชการแผ่นดิน 4 ปี แบ่งออกเป็น 9 ยุทธศาสตร์หลัก ซึ่งได้มอบหมายให้ สศช. รับผิดชอบ 5 กลุ่มแรก คือ
กลุ่มที่ 1 การขจัดความยากจนและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ กลุ่มที่ 2 การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานและรัฐวิสาหกิจ กลุ่มที่ 3 การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ กลุ่มที่ 4 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่ 5 การพัฒนาความสัมพันธ์และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่วนกลุ่มที่ 6-8 แบ่งความรับผิดชอบดังนี้คือ กลุ่มที่ 6 ก.พ.ร. และ สลค. การส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กลุ่มที่ 7 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ สลค. การส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม และกลุ่มที่ 8 สมช. การรักษาความมั่นคงของรัฐ และภายหลังการประชุมได้เพิ่มกลุ่มที่ 9 การรองรับการเปลี่ยนแปลงและพลวัตรโลก โดยมอบให้ สศช. และ สงป. รับผิดชอบ
ทั้งนี้ สศช. ได้รวบรวมและนำเรียนเสนอ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และ ครม. พิจารณาและได้รับการอนุมัติจาก ครม. แล้ว เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548 มีสาระสำคัญดังนี้
สาระสำคัญของแผนฯ แสดงทิศทางและวิธีการทำงานของรัฐบาล ระบุถึงประเด็นยุทธศาสตร์
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดและเป้าหมาย กลยุทธ์หลัก และเจ้าภาพไว้อย่างชัดเจน ซึ่งแผนฯ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง แนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศ วิสัยทัศน์ของรัฐบาล กรอบการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ส่วนที่สอง ยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบด้วย 9 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. การขจัดความยากจน ในระดับประเทศ ระดับชุมชน และระดับบุคคล
2 การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ โดยการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต การอนุรักษ์
สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามและพัฒนาภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพมาตรฐาน การเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม การเตรียมความพร้อมแก่สังคมเพื่อให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่แข็งแรงและน่าอยู่
3 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ โดยการปรับโครงสร้างภาคเกษตร
อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และการค้า การบริหารการเงินการคลัง การพัฒนาวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนารัฐวิสาหกิจ และการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินยุทธศาสตร์
4 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างสมดุลของการใช้ประโยชน์
และการอนุรักษ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การคุ้มครองและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม การฟื้นฟูทรัพยากรดินและใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของเอกชนและชุมชนท้องถิ่น และการควบคุมมลพิษจากขยะ น้ำเสีย ฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น และเสียง
5 การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยการดำเนินนโยบายต่างประเทศเชิงรุก การ
ส่งเสริมความสัมพันธ์กับนานาประเทศ การส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบพหุภาคีและการสร้างบทบาท
ไทยในเวทีโลก ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการทูตเพื่อประชาชน
6 การพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยการปรับปรุงกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การพัฒนาระบบราชการ การป้องกันและปราบปรามทุจริต และการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในภาคเอกชนและสังคม
7 การส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม โดยการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วน
ร่วมและสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการประชาสังคม การส่งเสริมและพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
8 การรักษาความมั่นคงของรัฐ โดยการพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การป้องกัน
ประเทศ และการรักษาความมั่นคงของรัฐ
9 การรองรับการเปลี่ยนแปลงและพลวัตโลก ส่วนที่สาม ว่าด้วยกลไกการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วยการมอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพ งบประมาณสนับสนุนยุทธศาสตร์ และแนวทางการติดตามตรวจสอบประเมินผล
ประโยชน์ของแผนฯ จะใช้สำหรับอ้างอิงหรือเป็นแม่บทในการถ่ายทอดกลยุทธ์หลักลงไปในระดับกระทรวง ทบวง กรม หรือมิติการปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ปกติในระดับกลุ่มจังหวัดและจังหวัดหรือมิติพื้นที่ รวมถึงกลไกการทำงานข้ามหน่วยงานและพื้นที่ หรือมิติตามระเบียบวาระงานพิเศษในรูปแบบของการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี อันจะช่วยทำให้การบริหารราชการแผ่นดินและการจัดสรรทรัพยากรเกิดความสอดคล้องบูรณาการ และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
บทสรุป แผนการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นเครื่องมือสมัยใหม่ที่จะช่วยทำให้รัฐบาลสามารถบริหารปกครองประเทศในเชิงรุก มีการมอบหมายเจ้าภาพหรือผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนเกิดบูรณาการ สามารถประสานแนวทาง มาตรการ และวิธีการทำงานของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน รวมถึงการเชื่อมโยงการวางแผนเข้ากับกระบวนการจัดสรรทรัพยากร การติดตามตรวจสอบและประเมินผล อันจะช่วยทำให้เกิดพลังและสามารถขับเคลื่อนการทำงานของภาครัฐในทุกระดับและทุกมิติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-