นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สศช. นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการ สศช. และนางสุวรรณี คำมั่น ที่ ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ติดตามความเคลื่อนไหวสถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญๆ สรุปได้ดังนี้
ภาวะสังคมไตรมาสหนึ่ง (ม.ค.-มี.ค.) ปี 2550
คุณภาพคน : ประชาชนมีงานทำเต็มที่ต่อเนื่อง ประชาชนมีงานทำเพิ่มขึ้นจาก 34.64 ล้านคน ในไตรมาสหนึ่งปี 2549 เป็น 35.25 ล้านคนในปี 2550 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.7 โดยภาคเกษตรกรรมมีการจ้างงาน 12.75 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรรวมของไตรมาสหนึ่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น เป็น 22.5 ล้านคน ในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ตามการขยายตัวของสาขาโรงแรมและภัตตาคารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 และสาขาการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ตามการก่อสร้างของโครงการภาครัฐทำให้อัตราการว่างงานโดยรวมลดลงจากร้อยละ 1.9 ในปี 2549 เหลือร้อยละ 1.6 ในปี 2550
เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับทั่วถึงแต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังต้องแก้ไขนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีอัตราการเข้าเรียนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 82.2 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 96.2 ในปี 2549 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีอัตราการเข้าเรียนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.8 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 65.8 ในปี 2549 ในขณะเดียวกันอัตราการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาก็เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 47.0 เป็นร้อยละ 68.0 ในช่วงเดียวกันประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือคุณภาพการศึกษาของเยาวชนยังไม่ดีขึ้นดังเห็นได้จากผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ ปี 2549 พบว่านักเรียนสอบได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 เกือบทุกวิชา โดยระดับประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนสอบวิชาภาษาไทยได้คะแนนเฉลี่ยเพียงร้อยละ 42.74 วิชาภาษาอังกฤษได้คะแนนร้อยละ 34.51 และวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนร้อยละ 38.87 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนร้อยละ 31.15 และวิชาภาษาอังกฤษได้คะแนนร้อยละ 30.85 เป็นต้น
ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง ลดลงจาก 55,247 ราย ในไตรมาสหนึ่งปี 2549 เหลือ 51,193 ราย ในปี 2550 ลดลงคิดเป็นร้อยละ 7.3 โรคที่ประชาชนเจ็บป่วยลดลงมากที่สุด ได้แก่ โรคบิดมีผู้ป่วย 3,912 ราย ลดลงร้อยละ 27.1 รองลงมา คือ โรคปอดบวม มีผู้ป่วย 35,824 ราย ลดลงร้อยละ 8.4 สำหรับสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก โดยมีผู้ป่วย 662 ราย เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 79.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมา คือ โรคไข้หวัดใหญ่ มีผู้ป่วย 4,372 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1
ความมั่นคงทางสังคม : คดีอาชญากรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นโดยคดียาเสพติดยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยผลรวมของคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน และคดีชีวิต ร่างกาย และเพศและคดียาเสพติด มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 55,569 คดี ในไตรมาสหนึ่งปี 2549 เป็น 59,380 คดี ในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.86 โดยคดียาเสพติดเพิ่มขึ้นจาก 26,315 คดี เป็น 30,944 คดี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.59 ส่วนคดีชีวิต ร่างกายและเพศมีลดลง เหลือเพียง 10,649 คดี หรือ ลดลงร้อยละ 5.50 และคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ลดลงเหลือ 17,787 คดี หรือลดลงร้อยละ 1.10 จากช่วงเดียวกัน
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือเด็กและเยาวชนกระทำผิดเพิ่มขึ้นจาก 11,045 คดี ในปี 2549 เพิ่มเป็น 11,755 คดี ในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 โดยสาเหตุสำคัญในการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนยังคงมาจากการคบเพื่อน มีสัดส่วนมากที่สุดถึงร้อยละ 38.5
พฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน : จำนวนผู้สูบบุหรี่ประจำลดลง แต่ผู้สูบบุหรี่เป็นครั้งคราวกลับเพิ่มขึ้นค่าใช้จ่ายในการบริโภคบุหรี่ของครัวเรือนไทย ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 5,327 ล้านบาท ในปี 2549 ลดลงเหลือ5,266 ล้านบาท ในปี 2550 หรือลดลงร้อยละ 1.1 ทั้งนี้เพราะประชาชนที่สูบบุหรี่ประจำลดลงจาก 11.67 ล้านคนในปี 2534 เหลือจำนวน 9.54 ล้านคน ในปี 2549 หรือลดลงร้อยละ 18.2 อย่างไรก็ตามประเด็นที่ต้องเอาใจใส่แก้ไขคือ จำนวนผู้สูบบุหรี่เป็นครั้งคราวที่เพิ่มขึ้นจาก 0.6 ล้านคน ในปี 2534 เป็น 1.5 ล้านคน ในปี 2549 หรือมี
สัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.54 ของประชากรในปี 2534 เป็นร้อยละ 2.97 ในปี 2549 และเด็กและเยาวชนยังสูบบุหรี่ค่อนข้างมาก โดยเด็กระดับอาชีวะสูบบุหรี่ถึงร้อยละ 23.95 ของประชากร ระดับอุดมศึกษาสูบบุหรี่ร้อยละ 22.5 และระดับมัธยมร้อยละ 10.87
การดื่มสุราและเบียร์ยังเพิ่มขึ้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานว่าค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 36,544 ล้านบาท ในไตรมาสหนึ่งปี 2549 เป็น 38,747 ล้านบาท ในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 6.0 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับปริมาณการจำหน่ายสุราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และการจำหน่ายเบียร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 นอกจากนี้การติดตามสภาวการณ์เด็กและ เยาวชนปี 2548-2549 ของสถาบันรามจิตติ พบว่ามีวัยรุ่นตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาขึ้นไปที่ดื่มแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ 38.33 หรือกว่า 4 ล้านคน โดยระดับอุดมศึกษา ดื่มสุรามากที่สุดถึงร้อยละ 49.72 ของประชากร รองลงมาเป็นเด็กอาชีวะ ร้อยละ 49.39 มหาวิทยาลัยมหิดลสำรวจความเห็นของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่ากลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 77 ระบุว่า การโฆษณาเป็นตัวกระตุ้นความต้องการ ความอยากรู้อยากลองที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน และร้อยละ 60 เห็นว่า การห้ามโฆษณาและควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันเยาวชนไม่ให้กลายเป็นนักดื่มหน้าใหม่
การละเมิดสิทธิผู้บริโภคลดลง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครายงานว่าจำนวนเรื่องร้องเรียนของประชาชน ลดลงจาก 1,549 ราย ในปี 2549 เหลือ 1,495 ราย ในปี 2550 หรือลดลงร้อยละ 3.5 โดยการร้องเรียนเกี่ยวกับสัญญาบ้านที่ดินและอาคารชุดมีเพียง 581 ราย ลดลงร้อยละ 28.9 เรื่องสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 1.6 เนื่องจากภาครัฐได้เข้มงวดตรวจสอบสถานประกอบธุรกิจการขายสินค้าและเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค
สิ่งแวดล้อม : มลพิษทางอากาศโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่มีฝุ่นละอองมากกว่าปีที่ผ่านมา ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร บริเวณริมถนนพระราม 6 กระทรวงวิทยาศาสตร์ ถนนพระราม 4 (โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์) ซึ่งถึงแม้จะมีฝุ่นไม่เกิน 120 มคก./ลบ.ม. ตามเกณฑ์มาตรฐาน แต่ก็มีฝุ่นจำนวนมาก ระหว่าง 95-97 มคก./ลบ.ม. ทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคปอดมากขึ้นส่วนจังหวัดสมุทรปราการ และสระบุรีเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาฝุ่นขนาดเล็กรุนแรงเกินมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากเป็นเขตชุมชนและย่านอุตสาหกรรม
สำหรับพื้นที่ภาคเหนือได้รับผลกระทบจากการเผาป่า ทำให้ประชาชนเจ็บป่วยจำนวนมาก โดยจังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณฝุ่นขนาดเล็กเพิ่มขึ้นจาก 65.1 มคก./ลบ.ม. ในไตรมาสหนึ่งปี 2549 เป็น 105.5 มคก./ลบ.ม. ในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.1 และในช่วงเดือนมีนาคมมีปัญหารุนแรงมากที่สุดปริมาณฝุ่นขนาดเล็กปนในอากาศถึง382.7 มคก./ลบ.ม. ส่งผลให้มีประชาชนในจังหวัดภาคเหนือเจ็บป่วย ถึง 74,502 ราย
ระดับเสียงในเขต กทม. ยังดังเกินมาตรฐาน กรุงเทพมหานคร มีสถานีตรวจวัดระดับเสียง 6 เขตแต่มีถึง 5 เขต ที่มีเสียงดังเกินมาตรฐาน 70 เดซิเบลเอ ตลอดมา คือ เขตพระนครมีระดับเสียงเฉลี่ยสูงสุด คือ 75.6 เดซิเบลเอรองลงมา คือ เขตบางกะปิ มีระดับเสียงเฉลี่ย 73.7 เดซิเบลเอ เขตสันติภาพและเขตดินแดง มีระดับเสียงเฉลี่ย72.6 เดซิเบลเอ และเขตธนบุรี 71.9 เดซิเบลเอ สำหรับในเขตภูมิภาคบริเวณที่มีปัญหาระดับเสียงมากที่สุด คืออำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีระดับเสียงเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 71.6 เดซิเบลเอ ส่วนจังหวัดอื่นยังมีเสียงดังไม่เกิน
มาตรฐาน
เรื่องเด่นประจำฉบับ : คุณภาพชีวิตและความยากจนของคนไทย การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7- ฉบับที่ 9 รัฐบาลพยายามกระจายงบประมาณไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น และการจัดสรรงบประมาณให้ประชาชนและชุมชนโดยตรงเริ่มปรากฏชัดเจนในช่วงแผนฯ 8
ต่อเนื่องถึงแผนฯ 9 ซึ่งมีโครงการที่สำคัญ คือ1.การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง และกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนเกิดการรวมตัวกัน เพื่อร่วมคิดและร่วมกันแก้ไขปัญหาของชุมชน 2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและแก้ไขความยากจน 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชน 4. การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจัดสรรรายได้แก่ อปท.เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.7 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 25.05 ของรายได้รัฐบาลทั้งหมดในปี 2549
ผลการพัฒนา : คุณภาพชีวิตและความยากจนของประชาชนดีขึ้นแต่บทบาทของชุมชนยังมีอยู่น้อย ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น ทำให้ผู้ชายมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 67.7 ปีในปี 2535 เป็น 69.9 ปี ในปี 2549 และผู้หญิงมีอายุเพิ่มขึ้นจาก 72.4 ปี เป็น 77.6 ปี ในระยะเดียวกัน เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี อย่างทั่วถึงโดยอัตราการเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 96.2 ในปี 2549 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีอัตราการเข้าเรียนร้อยละ 65.8 ในปี 2549 คนจนลดลงอย่างชัดเจนจาก 15.8 ล้านคน ในปี 2535 เหลือเพียง 6.1
ล้านคน ในปี 2549 หรือมีสัดส่วนคนจนลดลงจากร้อยละ 28.4 ของประชากร เหลือเพียงร้อยละ 9.5 ในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ตามประชาชนยังไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพราะประชาชนที่ตายด้วยอุบัติเหตุ จราจรทางบกมีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 15 คนต่อประชากรแสนคนในปี 2535 เป็น 20.2 คนในปี 2549 คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจาก 76.5 คดีต่อประชากรแสนคนในปี 2535 เป็น 122.2 คดี ในปี 2549 ในขณะที่คดีชีวิต
ร่างกายและเพศเพิ่มขึ้นจาก 31.4 คดีต่อประชากรแสนคนเป็น 69.9 คดี และปัญหายาเสพติดยังเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสังคม
ประเด็นการพัฒนา ที่ยังเป็นปัญหามีทั้งปัญหาของปัจเจกบุคคล คือ การมีพฤติกรรมต่อสุขภาพทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้มากขึ้น และปัญหาที่ต้องอาศัยบทบาทของชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนา เช่นความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ การจัดสวัสดิการแก่ประชาชนในชุมชน
แนวทางการแก้ไขปัญหาให้ได้ผลอย่างยั่งยืนจะต้องพัฒนาตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนและระดับชาติ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งการร่วมคิดวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การกำหนดวิธีแก้ไขปัญหาและการร่วมดำเนินงานโดยชุมชน ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัด โดยยึดหลัก 3 ประการคือ การเชื่อมโยงข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชนกับแผนพัฒนาท้องถิ่น การปรับบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอให้เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินงานของชุมชน และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการใช้งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีแผนดำเนินงาน 5
แผนงาน คือ แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง แผนงานพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน แผนงานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน แผนงานสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ และแผนงานบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้จังหวัดต่างๆ รวม 5,000 ล้านบาท ในการสนับสนุนการดำเนินงานของชุมชนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 เป็นต้นมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมงบประมาณในปี 2551 ให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2550 เพื่อดำเนินงานให้เกิดความต่อเนื่อง
การดำเนินยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดเพื่อสนับสนุนบทบาทของชุมชนดังกล่าว เป็นเครื่องมือให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นสมควรสนับสนุนให้ขยายงานอย่างกว้างขวางทุกชุมชนทุกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันตลอดไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ภาวะสังคมไตรมาสหนึ่ง (ม.ค.-มี.ค.) ปี 2550
คุณภาพคน : ประชาชนมีงานทำเต็มที่ต่อเนื่อง ประชาชนมีงานทำเพิ่มขึ้นจาก 34.64 ล้านคน ในไตรมาสหนึ่งปี 2549 เป็น 35.25 ล้านคนในปี 2550 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.7 โดยภาคเกษตรกรรมมีการจ้างงาน 12.75 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรรวมของไตรมาสหนึ่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น เป็น 22.5 ล้านคน ในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ตามการขยายตัวของสาขาโรงแรมและภัตตาคารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 และสาขาการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ตามการก่อสร้างของโครงการภาครัฐทำให้อัตราการว่างงานโดยรวมลดลงจากร้อยละ 1.9 ในปี 2549 เหลือร้อยละ 1.6 ในปี 2550
เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับทั่วถึงแต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังต้องแก้ไขนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีอัตราการเข้าเรียนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 82.2 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 96.2 ในปี 2549 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีอัตราการเข้าเรียนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.8 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 65.8 ในปี 2549 ในขณะเดียวกันอัตราการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาก็เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 47.0 เป็นร้อยละ 68.0 ในช่วงเดียวกันประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือคุณภาพการศึกษาของเยาวชนยังไม่ดีขึ้นดังเห็นได้จากผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ ปี 2549 พบว่านักเรียนสอบได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 เกือบทุกวิชา โดยระดับประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนสอบวิชาภาษาไทยได้คะแนนเฉลี่ยเพียงร้อยละ 42.74 วิชาภาษาอังกฤษได้คะแนนร้อยละ 34.51 และวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนร้อยละ 38.87 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนร้อยละ 31.15 และวิชาภาษาอังกฤษได้คะแนนร้อยละ 30.85 เป็นต้น
ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง ลดลงจาก 55,247 ราย ในไตรมาสหนึ่งปี 2549 เหลือ 51,193 ราย ในปี 2550 ลดลงคิดเป็นร้อยละ 7.3 โรคที่ประชาชนเจ็บป่วยลดลงมากที่สุด ได้แก่ โรคบิดมีผู้ป่วย 3,912 ราย ลดลงร้อยละ 27.1 รองลงมา คือ โรคปอดบวม มีผู้ป่วย 35,824 ราย ลดลงร้อยละ 8.4 สำหรับสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก โดยมีผู้ป่วย 662 ราย เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 79.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมา คือ โรคไข้หวัดใหญ่ มีผู้ป่วย 4,372 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1
ความมั่นคงทางสังคม : คดีอาชญากรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นโดยคดียาเสพติดยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยผลรวมของคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน และคดีชีวิต ร่างกาย และเพศและคดียาเสพติด มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 55,569 คดี ในไตรมาสหนึ่งปี 2549 เป็น 59,380 คดี ในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.86 โดยคดียาเสพติดเพิ่มขึ้นจาก 26,315 คดี เป็น 30,944 คดี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.59 ส่วนคดีชีวิต ร่างกายและเพศมีลดลง เหลือเพียง 10,649 คดี หรือ ลดลงร้อยละ 5.50 และคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ลดลงเหลือ 17,787 คดี หรือลดลงร้อยละ 1.10 จากช่วงเดียวกัน
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือเด็กและเยาวชนกระทำผิดเพิ่มขึ้นจาก 11,045 คดี ในปี 2549 เพิ่มเป็น 11,755 คดี ในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 โดยสาเหตุสำคัญในการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนยังคงมาจากการคบเพื่อน มีสัดส่วนมากที่สุดถึงร้อยละ 38.5
พฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน : จำนวนผู้สูบบุหรี่ประจำลดลง แต่ผู้สูบบุหรี่เป็นครั้งคราวกลับเพิ่มขึ้นค่าใช้จ่ายในการบริโภคบุหรี่ของครัวเรือนไทย ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 5,327 ล้านบาท ในปี 2549 ลดลงเหลือ5,266 ล้านบาท ในปี 2550 หรือลดลงร้อยละ 1.1 ทั้งนี้เพราะประชาชนที่สูบบุหรี่ประจำลดลงจาก 11.67 ล้านคนในปี 2534 เหลือจำนวน 9.54 ล้านคน ในปี 2549 หรือลดลงร้อยละ 18.2 อย่างไรก็ตามประเด็นที่ต้องเอาใจใส่แก้ไขคือ จำนวนผู้สูบบุหรี่เป็นครั้งคราวที่เพิ่มขึ้นจาก 0.6 ล้านคน ในปี 2534 เป็น 1.5 ล้านคน ในปี 2549 หรือมี
สัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.54 ของประชากรในปี 2534 เป็นร้อยละ 2.97 ในปี 2549 และเด็กและเยาวชนยังสูบบุหรี่ค่อนข้างมาก โดยเด็กระดับอาชีวะสูบบุหรี่ถึงร้อยละ 23.95 ของประชากร ระดับอุดมศึกษาสูบบุหรี่ร้อยละ 22.5 และระดับมัธยมร้อยละ 10.87
การดื่มสุราและเบียร์ยังเพิ่มขึ้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานว่าค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 36,544 ล้านบาท ในไตรมาสหนึ่งปี 2549 เป็น 38,747 ล้านบาท ในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 6.0 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับปริมาณการจำหน่ายสุราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และการจำหน่ายเบียร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 นอกจากนี้การติดตามสภาวการณ์เด็กและ เยาวชนปี 2548-2549 ของสถาบันรามจิตติ พบว่ามีวัยรุ่นตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาขึ้นไปที่ดื่มแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ 38.33 หรือกว่า 4 ล้านคน โดยระดับอุดมศึกษา ดื่มสุรามากที่สุดถึงร้อยละ 49.72 ของประชากร รองลงมาเป็นเด็กอาชีวะ ร้อยละ 49.39 มหาวิทยาลัยมหิดลสำรวจความเห็นของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่ากลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 77 ระบุว่า การโฆษณาเป็นตัวกระตุ้นความต้องการ ความอยากรู้อยากลองที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน และร้อยละ 60 เห็นว่า การห้ามโฆษณาและควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันเยาวชนไม่ให้กลายเป็นนักดื่มหน้าใหม่
การละเมิดสิทธิผู้บริโภคลดลง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครายงานว่าจำนวนเรื่องร้องเรียนของประชาชน ลดลงจาก 1,549 ราย ในปี 2549 เหลือ 1,495 ราย ในปี 2550 หรือลดลงร้อยละ 3.5 โดยการร้องเรียนเกี่ยวกับสัญญาบ้านที่ดินและอาคารชุดมีเพียง 581 ราย ลดลงร้อยละ 28.9 เรื่องสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 1.6 เนื่องจากภาครัฐได้เข้มงวดตรวจสอบสถานประกอบธุรกิจการขายสินค้าและเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค
สิ่งแวดล้อม : มลพิษทางอากาศโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่มีฝุ่นละอองมากกว่าปีที่ผ่านมา ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร บริเวณริมถนนพระราม 6 กระทรวงวิทยาศาสตร์ ถนนพระราม 4 (โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์) ซึ่งถึงแม้จะมีฝุ่นไม่เกิน 120 มคก./ลบ.ม. ตามเกณฑ์มาตรฐาน แต่ก็มีฝุ่นจำนวนมาก ระหว่าง 95-97 มคก./ลบ.ม. ทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคปอดมากขึ้นส่วนจังหวัดสมุทรปราการ และสระบุรีเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาฝุ่นขนาดเล็กรุนแรงเกินมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากเป็นเขตชุมชนและย่านอุตสาหกรรม
สำหรับพื้นที่ภาคเหนือได้รับผลกระทบจากการเผาป่า ทำให้ประชาชนเจ็บป่วยจำนวนมาก โดยจังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณฝุ่นขนาดเล็กเพิ่มขึ้นจาก 65.1 มคก./ลบ.ม. ในไตรมาสหนึ่งปี 2549 เป็น 105.5 มคก./ลบ.ม. ในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.1 และในช่วงเดือนมีนาคมมีปัญหารุนแรงมากที่สุดปริมาณฝุ่นขนาดเล็กปนในอากาศถึง382.7 มคก./ลบ.ม. ส่งผลให้มีประชาชนในจังหวัดภาคเหนือเจ็บป่วย ถึง 74,502 ราย
ระดับเสียงในเขต กทม. ยังดังเกินมาตรฐาน กรุงเทพมหานคร มีสถานีตรวจวัดระดับเสียง 6 เขตแต่มีถึง 5 เขต ที่มีเสียงดังเกินมาตรฐาน 70 เดซิเบลเอ ตลอดมา คือ เขตพระนครมีระดับเสียงเฉลี่ยสูงสุด คือ 75.6 เดซิเบลเอรองลงมา คือ เขตบางกะปิ มีระดับเสียงเฉลี่ย 73.7 เดซิเบลเอ เขตสันติภาพและเขตดินแดง มีระดับเสียงเฉลี่ย72.6 เดซิเบลเอ และเขตธนบุรี 71.9 เดซิเบลเอ สำหรับในเขตภูมิภาคบริเวณที่มีปัญหาระดับเสียงมากที่สุด คืออำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีระดับเสียงเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 71.6 เดซิเบลเอ ส่วนจังหวัดอื่นยังมีเสียงดังไม่เกิน
มาตรฐาน
เรื่องเด่นประจำฉบับ : คุณภาพชีวิตและความยากจนของคนไทย การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7- ฉบับที่ 9 รัฐบาลพยายามกระจายงบประมาณไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น และการจัดสรรงบประมาณให้ประชาชนและชุมชนโดยตรงเริ่มปรากฏชัดเจนในช่วงแผนฯ 8
ต่อเนื่องถึงแผนฯ 9 ซึ่งมีโครงการที่สำคัญ คือ1.การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง และกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนเกิดการรวมตัวกัน เพื่อร่วมคิดและร่วมกันแก้ไขปัญหาของชุมชน 2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและแก้ไขความยากจน 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชน 4. การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจัดสรรรายได้แก่ อปท.เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.7 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 25.05 ของรายได้รัฐบาลทั้งหมดในปี 2549
ผลการพัฒนา : คุณภาพชีวิตและความยากจนของประชาชนดีขึ้นแต่บทบาทของชุมชนยังมีอยู่น้อย ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น ทำให้ผู้ชายมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 67.7 ปีในปี 2535 เป็น 69.9 ปี ในปี 2549 และผู้หญิงมีอายุเพิ่มขึ้นจาก 72.4 ปี เป็น 77.6 ปี ในระยะเดียวกัน เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี อย่างทั่วถึงโดยอัตราการเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 96.2 ในปี 2549 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีอัตราการเข้าเรียนร้อยละ 65.8 ในปี 2549 คนจนลดลงอย่างชัดเจนจาก 15.8 ล้านคน ในปี 2535 เหลือเพียง 6.1
ล้านคน ในปี 2549 หรือมีสัดส่วนคนจนลดลงจากร้อยละ 28.4 ของประชากร เหลือเพียงร้อยละ 9.5 ในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ตามประชาชนยังไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพราะประชาชนที่ตายด้วยอุบัติเหตุ จราจรทางบกมีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 15 คนต่อประชากรแสนคนในปี 2535 เป็น 20.2 คนในปี 2549 คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจาก 76.5 คดีต่อประชากรแสนคนในปี 2535 เป็น 122.2 คดี ในปี 2549 ในขณะที่คดีชีวิต
ร่างกายและเพศเพิ่มขึ้นจาก 31.4 คดีต่อประชากรแสนคนเป็น 69.9 คดี และปัญหายาเสพติดยังเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสังคม
ประเด็นการพัฒนา ที่ยังเป็นปัญหามีทั้งปัญหาของปัจเจกบุคคล คือ การมีพฤติกรรมต่อสุขภาพทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้มากขึ้น และปัญหาที่ต้องอาศัยบทบาทของชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนา เช่นความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ การจัดสวัสดิการแก่ประชาชนในชุมชน
แนวทางการแก้ไขปัญหาให้ได้ผลอย่างยั่งยืนจะต้องพัฒนาตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนและระดับชาติ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งการร่วมคิดวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การกำหนดวิธีแก้ไขปัญหาและการร่วมดำเนินงานโดยชุมชน ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัด โดยยึดหลัก 3 ประการคือ การเชื่อมโยงข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชนกับแผนพัฒนาท้องถิ่น การปรับบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอให้เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินงานของชุมชน และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการใช้งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีแผนดำเนินงาน 5
แผนงาน คือ แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง แผนงานพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน แผนงานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน แผนงานสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ และแผนงานบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้จังหวัดต่างๆ รวม 5,000 ล้านบาท ในการสนับสนุนการดำเนินงานของชุมชนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 เป็นต้นมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมงบประมาณในปี 2551 ให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2550 เพื่อดำเนินงานให้เกิดความต่อเนื่อง
การดำเนินยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดเพื่อสนับสนุนบทบาทของชุมชนดังกล่าว เป็นเครื่องมือให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นสมควรสนับสนุนให้ขยายงานอย่างกว้างขวางทุกชุมชนทุกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันตลอดไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-