เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2548 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมนายกฯ กับภาคเอกชนกลุ่ม 4 จังหวัดภาคตะวันออก (จันทบุรี ชลบุรี ตราด และระยอง) ณ โรงแรมมณีจันท์ รีสอร์ท แอนด์ สปอร์ตคลับ จังหวัดจันทบุรี
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกล่าวว่าที่ประชุมได้มีมติในด้านต่างๆ ดังนี้
- การท่องเที่ยวมอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวระหว่างหมู่เกาะช้างของไทย หมู่เกาะเจ้าของกัมพูชา และหมู่เกาะกูกวั๊กของเวียดนาม โดยให้ดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และให้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาประชาสัมพันธ์ ระบบการจัดการเรื่องความมั่นคงปลอดภัย และการจัดตั้ง Tourism crisis & Opportunity Center
- โครงการจันทบุรีนครอัญมณี ให้ กระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมทั้งระบบ โดยมีเงื่อนไข รัฐหักค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.2-0.3 ของมูลค่าการส่งออก ให้ มหาวิทยาลัยบูรพาร่วมกับภาคเอกชน จัดตั้งศูนย์วิเคราะห์และพัฒนาอัญมณี และให้ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกันพิจารณานำระบบ Income Contingent Loan (ICL) มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาบุคลากรด้านอัญมณี
- การแก้ไขปัญหาด้านราคาและตลาดผลไม้ของภาคตะวันออก มอบหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมกับกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแนวทางให้มีผู้ลงทุนรายใหญ่เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริการ กำจัดขยะและของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
- โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ ให้ สศช. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนลงทุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ของภาคตะวันออก รวมทั้งให้ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ เร่งพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ให้ทันกับการขยายตัวของภาคธุรกิจและการท่องเที่ยวอย่างทั่วถึงและเพียงพอ ส่วนการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้ สศช. พิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินการ
- การทบทวนการประเมินราคาที่ดินรายแปลง ให้ กระทรวงการคลัง พิจารณาทบทวนการบังคับใช้บัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินรายแปลง ในเขตจังหวัดระยอง
- การขาดแคลนแรงงานในภาคตะวันออก ให้ กระทรวงแรงงานพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานอย่างเป็นระบบ ทั้งในเรื่องการผลิตแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการ การพัฒนาการยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน และการนำเข้าแรงงานที่ขาดแคลน
- การแก้ปัญหาด้านผลผลิตการเกษตร มอบหมายให้ กระทรวงแรงงานดูแลปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร โดยเฉพาะการเปิดให้มีการจดทะเบียนอนุญาตให้นำเข้าแรงงานต่างด้าว และมอบหมายให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดให้มีการทำประกันภัยทางการเกษตรโดยเร็ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกล่าวว่าที่ประชุมได้มีมติในด้านต่างๆ ดังนี้
- การท่องเที่ยวมอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวระหว่างหมู่เกาะช้างของไทย หมู่เกาะเจ้าของกัมพูชา และหมู่เกาะกูกวั๊กของเวียดนาม โดยให้ดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และให้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาประชาสัมพันธ์ ระบบการจัดการเรื่องความมั่นคงปลอดภัย และการจัดตั้ง Tourism crisis & Opportunity Center
- โครงการจันทบุรีนครอัญมณี ให้ กระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมทั้งระบบ โดยมีเงื่อนไข รัฐหักค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.2-0.3 ของมูลค่าการส่งออก ให้ มหาวิทยาลัยบูรพาร่วมกับภาคเอกชน จัดตั้งศูนย์วิเคราะห์และพัฒนาอัญมณี และให้ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกันพิจารณานำระบบ Income Contingent Loan (ICL) มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาบุคลากรด้านอัญมณี
- การแก้ไขปัญหาด้านราคาและตลาดผลไม้ของภาคตะวันออก มอบหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมกับกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแนวทางให้มีผู้ลงทุนรายใหญ่เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริการ กำจัดขยะและของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
- โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ ให้ สศช. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนลงทุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ของภาคตะวันออก รวมทั้งให้ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ เร่งพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ให้ทันกับการขยายตัวของภาคธุรกิจและการท่องเที่ยวอย่างทั่วถึงและเพียงพอ ส่วนการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้ สศช. พิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินการ
- การทบทวนการประเมินราคาที่ดินรายแปลง ให้ กระทรวงการคลัง พิจารณาทบทวนการบังคับใช้บัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินรายแปลง ในเขตจังหวัดระยอง
- การขาดแคลนแรงงานในภาคตะวันออก ให้ กระทรวงแรงงานพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานอย่างเป็นระบบ ทั้งในเรื่องการผลิตแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการ การพัฒนาการยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน และการนำเข้าแรงงานที่ขาดแคลน
- การแก้ปัญหาด้านผลผลิตการเกษตร มอบหมายให้ กระทรวงแรงงานดูแลปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร โดยเฉพาะการเปิดให้มีการจดทะเบียนอนุญาตให้นำเข้าแรงงานต่างด้าว และมอบหมายให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดให้มีการทำประกันภัยทางการเกษตรโดยเร็ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-