กรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ยึดหลักพื้นฐาน 4 ประการ
สร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ โดยเปลี่ยนจากการรับจ้างผลิตสู่
การเป็นผู้ผลิต นโยบายสังคมเชิงรุก และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค โดยใช้ยุทธศาสตร์และ
มาตรการสำคัญ 6 ประการ เป็นกรอบการจัดทำและการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) ได้จัดประชุมชี้แจง "แนวทางการแปลงกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศในภาพรวม" โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผอ.สำนักที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนนโยบายและ
ยุทธศาสตร์จากทุกกระทรวง ทบวง กรม เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว ซึ่ง ครม.
ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 และได้มอบหมายให้ สศช. ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปใน
กรอบของข้าราชการประจำ เพื่อนำเสนอต่อ ครม. ชุดใหม่ ภายใน 30 วันนับตั้งแต่ได้แถลงนโยบายต่อ
รัฐสภา ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2547
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชี้แจง
ภาพรวมของกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (48-51) ว่า
การปรับโครงสร้างดังกล่าวเป็นภารกิจร่วมของทุกภาคเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งภาคการผลิต/บริการ ภาค
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม และการเตรียมความพร้อมทางด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
กฎหมายและการบริหาร และการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งทุก
ภาคส่วนที่ร่วมดำเนินการจำเป็นต้องมีการประสานกันอย่างเป็นบูรณาการทั้งในระดับแนวความคิด การ
กำหนดทิศทางการพัฒนา การจัดทำแผนปฏิบัติการ และการจัดทำแผนลงทุน
ในการดำเนินการดังกล่าว จึงขอให้แต่ละหน่วยงานทบทวนยุทธศาสตร์ โครงการหรือแผนงาน
ปัจจุบันว่ามีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือไม่ และมีโครงการ/แผนงานใดที่จะต้องทำเพิ่มเติม
อีก โดยศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์ โครงสร้าง และแนวโน้มของแต่ละสาขาการผลิต พร้อมชี้ให้เห็น
ประเด็นปัญหาและนโยบายสำคัญที่จะนำไปสู่การปรับโครงสร้างภาคการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และ
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งพัฒนากรอบแผนงาน และโครงการต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างของแต่ละสาขาภายใต้ทิศทางการพัฒนาที่นำเสนอ โดยประสานงานร่วมกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แผนงาน/โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับความเป็นจริงในทางปฏิบัติ
ดังนั้น หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องนำเสนอ (1) ทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาของแต่ละกลุ่ม
ภารกิจที่กำหนดไว้ในกรอบยุทธศาสตร์ (2) แผนปฏิบัติการ (3) แผนการลงทุน ทั้งนี้ โดยเสนอกรอบวงเงิน
ลงทุนคร่าว ๆ ว่า ใน 4 ปีข้างหน้าที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการปรับโครงสร้าง รวมทั้งจะต้องทบทวน
และบูรณาการยุทธศาสตร์แผนงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมกับในภารกิจ 4 ปีข้างหน้า และนำส่งให้
สศช. เพื่อนำไปทำเป็นแผนบริหารราชการแผ่นดิน ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
แล้วจึงนำมาทำเป็นแผนปฏิบัติการของกระทรวง และแผนการลงทุนต่อไป
ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ได้แก่ (1)
ยุทธศาสตร์เพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (2) ยุทธศาสตร์เพิ่มมูลค่า
ภาคอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ (3) ยุทธศาสตร์การขยายฐานภาคบริการ (4) ยุทธศาสตร์
การพัฒนาสังคมเชิงรุก (5) ยุทธศาสตร์ความมั่นคงและการต่างประเทศ และ (6) ยุทธศาสตร์การปรับปรุง
ประสิทธิภาพภาครัฐ
การปรับโครงสร้างฯ ตามแนวทางดังกล่าว ได้แบ่งกลุ่มภารกิจเพื่อปรับโครงสร้าง (Cluster) ซึ่ง
ประกอบด้วยกลุ่มภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างของภาคการผลิตสินค้าและบริการโดยตรง (Real
Sector) และกลุ่มภารกิจสนับสนุนการปรับโครงสร้างของภาคการผลิต (Supporting Sector) รวมทั้งหมด
7 กลุ่มภารกิจหลัก ได้แก่ (1) กลุ่มภาคการผลิตและบริการ (2) กลุ่มการลงทุนด้านสังคม (3) กลุ่มระบบโล
จิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน (4) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาวิจัยและนวัตกรรม (5) กลุ่ม
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (6) กลุ่มความมั่นคงและการต่างประเทศ และ (7) กลุ่มการบริหาร
จัดการที่ดี กฎหมายและระเบียบ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ โดยเปลี่ยนจากการรับจ้างผลิตสู่
การเป็นผู้ผลิต นโยบายสังคมเชิงรุก และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค โดยใช้ยุทธศาสตร์และ
มาตรการสำคัญ 6 ประการ เป็นกรอบการจัดทำและการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) ได้จัดประชุมชี้แจง "แนวทางการแปลงกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศในภาพรวม" โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผอ.สำนักที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนนโยบายและ
ยุทธศาสตร์จากทุกกระทรวง ทบวง กรม เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว ซึ่ง ครม.
ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 และได้มอบหมายให้ สศช. ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปใน
กรอบของข้าราชการประจำ เพื่อนำเสนอต่อ ครม. ชุดใหม่ ภายใน 30 วันนับตั้งแต่ได้แถลงนโยบายต่อ
รัฐสภา ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2547
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชี้แจง
ภาพรวมของกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (48-51) ว่า
การปรับโครงสร้างดังกล่าวเป็นภารกิจร่วมของทุกภาคเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งภาคการผลิต/บริการ ภาค
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม และการเตรียมความพร้อมทางด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
กฎหมายและการบริหาร และการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งทุก
ภาคส่วนที่ร่วมดำเนินการจำเป็นต้องมีการประสานกันอย่างเป็นบูรณาการทั้งในระดับแนวความคิด การ
กำหนดทิศทางการพัฒนา การจัดทำแผนปฏิบัติการ และการจัดทำแผนลงทุน
ในการดำเนินการดังกล่าว จึงขอให้แต่ละหน่วยงานทบทวนยุทธศาสตร์ โครงการหรือแผนงาน
ปัจจุบันว่ามีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือไม่ และมีโครงการ/แผนงานใดที่จะต้องทำเพิ่มเติม
อีก โดยศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์ โครงสร้าง และแนวโน้มของแต่ละสาขาการผลิต พร้อมชี้ให้เห็น
ประเด็นปัญหาและนโยบายสำคัญที่จะนำไปสู่การปรับโครงสร้างภาคการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และ
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งพัฒนากรอบแผนงาน และโครงการต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างของแต่ละสาขาภายใต้ทิศทางการพัฒนาที่นำเสนอ โดยประสานงานร่วมกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แผนงาน/โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับความเป็นจริงในทางปฏิบัติ
ดังนั้น หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องนำเสนอ (1) ทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาของแต่ละกลุ่ม
ภารกิจที่กำหนดไว้ในกรอบยุทธศาสตร์ (2) แผนปฏิบัติการ (3) แผนการลงทุน ทั้งนี้ โดยเสนอกรอบวงเงิน
ลงทุนคร่าว ๆ ว่า ใน 4 ปีข้างหน้าที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการปรับโครงสร้าง รวมทั้งจะต้องทบทวน
และบูรณาการยุทธศาสตร์แผนงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมกับในภารกิจ 4 ปีข้างหน้า และนำส่งให้
สศช. เพื่อนำไปทำเป็นแผนบริหารราชการแผ่นดิน ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
แล้วจึงนำมาทำเป็นแผนปฏิบัติการของกระทรวง และแผนการลงทุนต่อไป
ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ได้แก่ (1)
ยุทธศาสตร์เพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (2) ยุทธศาสตร์เพิ่มมูลค่า
ภาคอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ (3) ยุทธศาสตร์การขยายฐานภาคบริการ (4) ยุทธศาสตร์
การพัฒนาสังคมเชิงรุก (5) ยุทธศาสตร์ความมั่นคงและการต่างประเทศ และ (6) ยุทธศาสตร์การปรับปรุง
ประสิทธิภาพภาครัฐ
การปรับโครงสร้างฯ ตามแนวทางดังกล่าว ได้แบ่งกลุ่มภารกิจเพื่อปรับโครงสร้าง (Cluster) ซึ่ง
ประกอบด้วยกลุ่มภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างของภาคการผลิตสินค้าและบริการโดยตรง (Real
Sector) และกลุ่มภารกิจสนับสนุนการปรับโครงสร้างของภาคการผลิต (Supporting Sector) รวมทั้งหมด
7 กลุ่มภารกิจหลัก ได้แก่ (1) กลุ่มภาคการผลิตและบริการ (2) กลุ่มการลงทุนด้านสังคม (3) กลุ่มระบบโล
จิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน (4) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาวิจัยและนวัตกรรม (5) กลุ่ม
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (6) กลุ่มความมั่นคงและการต่างประเทศ และ (7) กลุ่มการบริหาร
จัดการที่ดี กฎหมายและระเบียบ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-