- สภาพคล่องทรงอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาด R/P 1 วัน แต่
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนจากสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield )ของพันธบัตรฯ ยังคงปรับตัว
ลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนตามทิศทางอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ดัชนีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ ตามการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาค การคาดการณ์ว่า ธปท. จะผ่อนคลายมาตรการควบคุมเงิน
ทุน ตลอดจนความต้องการซื้อเงินบาทจากนักลงทุนและผู้ส่งออก ขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เทียบกับเงินสกุลหลัก จาก
ความต้องการซื้อคืนของนักลงทุน
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการ
เตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือนและการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคารหน้ามาลงทุนระยะสั้นเป็น
จำนวนมาก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้รับเงินจากภาครัฐเพื่อเตรียมจ่ายเงินเดือน จึงนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น โดยการทำธุรกรรม
ส่วนใหญ่ยังคงหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ร้อยละ
4.75 4.78125 และ 4.78125 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อน
ไหวระหว่างร้อยละ 4.75 - 4.85 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.78 ต่อปี ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 97,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
14,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 11 14 และ 364 วัน วงเงินรวม 75,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี 4 เดือน 12 ปี และ
19 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 8,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในสัปดาห์ก่อนหน้า และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 80,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 17,500 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 234,616 ล้านบาท หรือคิดเป็น 46,923 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 12 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 85 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง ตามทิศทางอัตรา
ดอกเบี้ยในตลาดเงินที่มีแนวโน้มลดลง แม้ว่าในปลายสัปดาห์อัตราผลตอบแทนจะปรับตัวสูงขึ้นจากการขายทำกำไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ
ณ สิ้นสัปดาห์ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน 0-19 basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 40 และ 16 basis
point ตามลำดับ
สำหรับความเคลื่อนไหวของ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นสหรัฐ
และยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนที่เพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้อัตราผลตอบแทนจะปรับตัวลดลงในช่วงกลางสัปดาห์ แต่โดยรวมอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่
ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-11 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ธ.ค. 49 35.78
เฉลี่ย 15 - 19 ม.ค. 50 35.99
22 ม.ค. 50 35.98
23 ม.ค. 50 35.96
24 ม.ค. 50 35.90
25 ม.ค. 50 35.82
26 ม.ค. 50 35.80
เฉลี่ย 22 - 26 ม.ค. 50 35.89
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.89 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีทิศทางแข็ง
ค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ ปัจจัยที่สนับสนุนค่าเงินในสัปดาห์นี้ได้แก่ การแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยน การคาดการณ์ของนักลงทุนว่า ธปท. อาจมีการ
ผ่อนผันมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ตลอดจนความต้องการซื้อเงินบาทของนักลงทุนจากการคาดการณ์ว่าเงินบาทในประเทศมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นตาม
ตลาดต่างประเทศ (offshore) และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกเพื่อตัดขาดทุนหลังจากคาดว่าเงินบาทยังจะปรับแข็งค่าขึ้นอีก
ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. ก็แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก จากความต้องการซื้อคืนเงินดอลลาร์ สรอ. ของนักลงทุน เนื่อง
จากคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในระยะเวลาอันใกล้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนจากสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield )ของพันธบัตรฯ ยังคงปรับตัว
ลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนตามทิศทางอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ดัชนีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ ตามการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาค การคาดการณ์ว่า ธปท. จะผ่อนคลายมาตรการควบคุมเงิน
ทุน ตลอดจนความต้องการซื้อเงินบาทจากนักลงทุนและผู้ส่งออก ขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เทียบกับเงินสกุลหลัก จาก
ความต้องการซื้อคืนของนักลงทุน
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการ
เตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือนและการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคารหน้ามาลงทุนระยะสั้นเป็น
จำนวนมาก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้รับเงินจากภาครัฐเพื่อเตรียมจ่ายเงินเดือน จึงนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น โดยการทำธุรกรรม
ส่วนใหญ่ยังคงหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ร้อยละ
4.75 4.78125 และ 4.78125 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อน
ไหวระหว่างร้อยละ 4.75 - 4.85 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.78 ต่อปี ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 97,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
14,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 11 14 และ 364 วัน วงเงินรวม 75,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี 4 เดือน 12 ปี และ
19 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 8,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในสัปดาห์ก่อนหน้า และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 80,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 17,500 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 234,616 ล้านบาท หรือคิดเป็น 46,923 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 12 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 85 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง ตามทิศทางอัตรา
ดอกเบี้ยในตลาดเงินที่มีแนวโน้มลดลง แม้ว่าในปลายสัปดาห์อัตราผลตอบแทนจะปรับตัวสูงขึ้นจากการขายทำกำไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ
ณ สิ้นสัปดาห์ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน 0-19 basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 40 และ 16 basis
point ตามลำดับ
สำหรับความเคลื่อนไหวของ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นสหรัฐ
และยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนที่เพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้อัตราผลตอบแทนจะปรับตัวลดลงในช่วงกลางสัปดาห์ แต่โดยรวมอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่
ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-11 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ธ.ค. 49 35.78
เฉลี่ย 15 - 19 ม.ค. 50 35.99
22 ม.ค. 50 35.98
23 ม.ค. 50 35.96
24 ม.ค. 50 35.90
25 ม.ค. 50 35.82
26 ม.ค. 50 35.80
เฉลี่ย 22 - 26 ม.ค. 50 35.89
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.89 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีทิศทางแข็ง
ค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ ปัจจัยที่สนับสนุนค่าเงินในสัปดาห์นี้ได้แก่ การแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยน การคาดการณ์ของนักลงทุนว่า ธปท. อาจมีการ
ผ่อนผันมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ตลอดจนความต้องการซื้อเงินบาทของนักลงทุนจากการคาดการณ์ว่าเงินบาทในประเทศมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นตาม
ตลาดต่างประเทศ (offshore) และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกเพื่อตัดขาดทุนหลังจากคาดว่าเงินบาทยังจะปรับแข็งค่าขึ้นอีก
ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. ก็แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก จากความต้องการซื้อคืนเงินดอลลาร์ สรอ. ของนักลงทุน เนื่อง
จากคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในระยะเวลาอันใกล้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-