แท็ก
ภาวะเศรษฐกิจไทย
2.5 ความน่าจะเป็นของภาวะเศรษฐกิจปี 2550 ในกรณีต่าง ๆ เงื่อนไข/ปัจจัยภายในประเทศชี้ว่าโอกาสที่การลงทุนจะฟื้นตัวเร็วกว่าที่
คาดไว้มีน้อยกว่าในกรณีที่การลงทุนภาคเอกชนจะฟื้นตัวช้า โดยที่การเบิกจ่ายภาครัฐก็ยังต้องเร่งรัด สำหรับโอกาสที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีจะสูงกว่า 62
ดอลลาร์นั้นมีมากกว่าในกรณีที่ราคาน้ำมันจะต่ำกว่าระดับนี้ เนื่องจากราคาน้ำมันได้ลดลงมากแล้วในช่วงปลายปี 2549 และความต้องการในปี 2550 ยัง
เพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนของประเทศต่าง ๆ ที่มีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้นประกอบกับยังมีความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติที่มักจะเกิดขึ้น
ตามฤดูกาลและยังมีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศนอกจากนี้การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นจะทำให้โอกาสที่เศรษฐกิจจีนและ
ญี่ปุ่นจะขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มีมากกว่าโอกาสในทางสูง เมื่อประกอบกับโอกาสที่ค่าเงินบาทอาจจะแข็งกว่าที่คาดก็จะทำให้การส่งออกและ
การท่องเที่ยวของไทยชะลอตัวกว่าที่คาดไว้ได้
ดังนั้นจึงคาดว่าโอกาสความน่าจะเป็นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2550 จะสูงกว่าค่ากลางของการประมาณการที่ร้อยละ4.2 นั้นมีน้อย
กว่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่าค่ากลาง นั่นคือ เป็นการกระจายของความน่าจะเป็นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เบ้ด้านต่ำ
(Asymmetric probability distribution) คาดว่าความน่าจะเป็นที่การขยายตัวของเศรษฐกิจทั้งปี 2550 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.0 — 4.5
เป็นร้อยละ 76 โดยค่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.0-4.2 จะมีมากกว่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงร้อย
ละ 4.2-4.5 ซึ่งเป็นค่าโอกาสความน่าจะเป็นในกรณีการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่าง ๆ นั้นให้น้ำหนักกับความเสี่ยงในทางต่ำมากกว่า (Down side
risks)
3. มาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2550
การบริหารเศรษฐกิจในปี 2550 ควรให้ลำดับความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพ และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ปรับตัวได้อย่างราบรื่น
และในขณะเดียวกันก็ดำเนินมาตรการที่จะช่วยสร้างความสมดุลให้กับระบบเศรษฐกิจ อาทิ การดำเนินมาตรการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการผลิต
การสนับสนุนการลงทุน และการดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนและภาคธุรกิจเอกชนสามารถปรับตัวในช่วงของการเปลี่ยนผ่านด้านการเมือง
และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวได้โดยระมัดระวังไม่ให้กลายเป็นข้อจำกัดในอนาคตโดยการก่อหนี้เพื่อการบริโภคที่เกินกว่าความจำเป็นแท้จริง ดังนั้นในช่วง
ต่อไป จึงควรให้ความสำคัญกับมาตรการ ดังนี้
3.1 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี2550 ของภาครัฐให้ได้ตามเป้าหมายคือส่วนราชการเบิกจ่ายได้ร้อยละ 93 และรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 85 โดยมอบหมายให้เป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม และคณะกรรมการติดตามการใช้จ่ายภาครัฐ ทั้งนี้โดยให้
ความสำคัญกับแผนงานและโครงการที่สามารถกระจายเม็ดเงินงบประมาณลงสู่พื้นที่และประชาชนในระดับหมู่บ้านได้ ที่สำคัญได้แก่ โครงการยุทธศาสตร์
อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด และโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โครงการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
3.2 กำกับดูแลให้สามารถจัดทำ พรบ. งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ได้ตามกำหนด โดยเฉพาะดูแลให้เม็ดเงินขาดดุลงบ
ประมาณ 120,000 ล้านบาท นำไปใช้ในแผนงานและโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการตามนโยบายรัฐบาลที่เป็นการวางพื้นฐานให้
เศรษฐกิจมีความเข้มแข็ง
3.3 สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการลงทุน อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเร่งรัดการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยาย
ตัวของการลงทุนของภาคเอกชน ที่สำคัญคือ
3.3.1 เร่งรัดโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจเกี่ยว
เนื่อง เช่น การก่อสร้างและภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้โดยเร่งรัดโครงการระบบขนส่งมวลชนให้สามารถเปิดประมูลได้ภายในเดือนสิงหาคม 2550
อย่างน้อย 2 สายทาง
3.3.2 เร่งรัดกระบวนการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อให้โครงการลงทุนสามารถเริ่มดำเนินการ
ได้ภายในปีนี้ ที่สำคัญได้แก่ โครงการที่รอการพิจารณาอนุมัติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นต้น
3.3.3 สร้างความมั่นใจให้กับภาคการท่องเที่ยวในสถานการณ์ไม่ปกติ เพื่อสร้างรายได้ภาคท่องเที่ยวให้ได้ตามเป้าหมาย
โดยเฉพาะการดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
3.3.4 ส่งเสริมการพัฒนาและใช้พลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ก๊าซโซฮอล์ ก๊าซธรรมชาติ (NGV)และไบโอ
ดีเซล เป็นต้น
3.4 สร้างความมั่นใจในบรรยากาศเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะการสนับสนุนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้เป็นไปตาม
กำหนด จัดการเลือกตั้งได้อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมตามกำหนดที่ประกาศไว้ และการตรากฎหมายที่สำคัญ เป็นต้น
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2550
ประมาณการ
ข้อมูลจริง
ปี 2550_f
2547 2548 2549_p 6 มี.ค. 50 4 มิ.ย. 50
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 6,489.8 7,087.7 7,813.1 8,438.1 8,399.0
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 101,017.2 109,318.4 120,497.4 129,139.3 128,541.5
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 161.0 176.0 206.1 237.7 240.0
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,507 2,715 3,179 3,637.7 3,672.6
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 6.3 4.5 5.0 4.0-5.0 4.0-4.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 13.2 11.1 4.0 4.8 2.1
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 16.2 10.9 3.9 5.0 1.5
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) 5.0 11.3 4.5 4.0 4.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 6.1 5.5 3.2 4.0 2.8
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.2 4.3 3.1 3.8 2.2
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 5.6 13.7 3.4 5.0 6.3
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 9.6 4.3 8.5 5.5 6.9
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 94.9 109.2 128.2 138.3 144.1
อัตราการขยายตัว (%) 21.6 15.0 17.4 7.9 12.4
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 8.4 4.3 9.0 5.4 7.9
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 13.4 9.3 1.6 5.6 4.3
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 93.5 117.7 126.0 136.1 136.4
อัตราการขยายตัว (%) 25.7 25.9 7.0 8.0 8.3
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 12.3 8.9 -0.8 5.0 3.8
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1.5 -8.5 2.2 2.3 7.7
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1/ 2.8 -7.9 3.2 3.1 8.5
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 1.7 -4.4 1.5 1.3 3.6
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 2.7 4.5 4.7 2.5-3.0 2.0-2.5
GDP Deflator 3.2 4.5 5.0 3.5 3.3
อัตราการว่างงาน 2.1 1.8 1.5 1.5-2.0 1.5-2.0
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 4 มิถุนายน 2550
หมายเหตุ 1/ Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account,
and its contra entry recorded as income on equity in current account.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
คาดไว้มีน้อยกว่าในกรณีที่การลงทุนภาคเอกชนจะฟื้นตัวช้า โดยที่การเบิกจ่ายภาครัฐก็ยังต้องเร่งรัด สำหรับโอกาสที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีจะสูงกว่า 62
ดอลลาร์นั้นมีมากกว่าในกรณีที่ราคาน้ำมันจะต่ำกว่าระดับนี้ เนื่องจากราคาน้ำมันได้ลดลงมากแล้วในช่วงปลายปี 2549 และความต้องการในปี 2550 ยัง
เพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนของประเทศต่าง ๆ ที่มีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้นประกอบกับยังมีความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติที่มักจะเกิดขึ้น
ตามฤดูกาลและยังมีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศนอกจากนี้การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นจะทำให้โอกาสที่เศรษฐกิจจีนและ
ญี่ปุ่นจะขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มีมากกว่าโอกาสในทางสูง เมื่อประกอบกับโอกาสที่ค่าเงินบาทอาจจะแข็งกว่าที่คาดก็จะทำให้การส่งออกและ
การท่องเที่ยวของไทยชะลอตัวกว่าที่คาดไว้ได้
ดังนั้นจึงคาดว่าโอกาสความน่าจะเป็นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2550 จะสูงกว่าค่ากลางของการประมาณการที่ร้อยละ4.2 นั้นมีน้อย
กว่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่าค่ากลาง นั่นคือ เป็นการกระจายของความน่าจะเป็นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เบ้ด้านต่ำ
(Asymmetric probability distribution) คาดว่าความน่าจะเป็นที่การขยายตัวของเศรษฐกิจทั้งปี 2550 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.0 — 4.5
เป็นร้อยละ 76 โดยค่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.0-4.2 จะมีมากกว่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงร้อย
ละ 4.2-4.5 ซึ่งเป็นค่าโอกาสความน่าจะเป็นในกรณีการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่าง ๆ นั้นให้น้ำหนักกับความเสี่ยงในทางต่ำมากกว่า (Down side
risks)
3. มาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2550
การบริหารเศรษฐกิจในปี 2550 ควรให้ลำดับความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพ และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ปรับตัวได้อย่างราบรื่น
และในขณะเดียวกันก็ดำเนินมาตรการที่จะช่วยสร้างความสมดุลให้กับระบบเศรษฐกิจ อาทิ การดำเนินมาตรการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการผลิต
การสนับสนุนการลงทุน และการดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนและภาคธุรกิจเอกชนสามารถปรับตัวในช่วงของการเปลี่ยนผ่านด้านการเมือง
และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวได้โดยระมัดระวังไม่ให้กลายเป็นข้อจำกัดในอนาคตโดยการก่อหนี้เพื่อการบริโภคที่เกินกว่าความจำเป็นแท้จริง ดังนั้นในช่วง
ต่อไป จึงควรให้ความสำคัญกับมาตรการ ดังนี้
3.1 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี2550 ของภาครัฐให้ได้ตามเป้าหมายคือส่วนราชการเบิกจ่ายได้ร้อยละ 93 และรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 85 โดยมอบหมายให้เป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม และคณะกรรมการติดตามการใช้จ่ายภาครัฐ ทั้งนี้โดยให้
ความสำคัญกับแผนงานและโครงการที่สามารถกระจายเม็ดเงินงบประมาณลงสู่พื้นที่และประชาชนในระดับหมู่บ้านได้ ที่สำคัญได้แก่ โครงการยุทธศาสตร์
อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด และโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โครงการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
3.2 กำกับดูแลให้สามารถจัดทำ พรบ. งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ได้ตามกำหนด โดยเฉพาะดูแลให้เม็ดเงินขาดดุลงบ
ประมาณ 120,000 ล้านบาท นำไปใช้ในแผนงานและโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการตามนโยบายรัฐบาลที่เป็นการวางพื้นฐานให้
เศรษฐกิจมีความเข้มแข็ง
3.3 สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการลงทุน อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเร่งรัดการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยาย
ตัวของการลงทุนของภาคเอกชน ที่สำคัญคือ
3.3.1 เร่งรัดโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจเกี่ยว
เนื่อง เช่น การก่อสร้างและภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้โดยเร่งรัดโครงการระบบขนส่งมวลชนให้สามารถเปิดประมูลได้ภายในเดือนสิงหาคม 2550
อย่างน้อย 2 สายทาง
3.3.2 เร่งรัดกระบวนการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อให้โครงการลงทุนสามารถเริ่มดำเนินการ
ได้ภายในปีนี้ ที่สำคัญได้แก่ โครงการที่รอการพิจารณาอนุมัติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นต้น
3.3.3 สร้างความมั่นใจให้กับภาคการท่องเที่ยวในสถานการณ์ไม่ปกติ เพื่อสร้างรายได้ภาคท่องเที่ยวให้ได้ตามเป้าหมาย
โดยเฉพาะการดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
3.3.4 ส่งเสริมการพัฒนาและใช้พลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ก๊าซโซฮอล์ ก๊าซธรรมชาติ (NGV)และไบโอ
ดีเซล เป็นต้น
3.4 สร้างความมั่นใจในบรรยากาศเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะการสนับสนุนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้เป็นไปตาม
กำหนด จัดการเลือกตั้งได้อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมตามกำหนดที่ประกาศไว้ และการตรากฎหมายที่สำคัญ เป็นต้น
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2550
ประมาณการ
ข้อมูลจริง
ปี 2550_f
2547 2548 2549_p 6 มี.ค. 50 4 มิ.ย. 50
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 6,489.8 7,087.7 7,813.1 8,438.1 8,399.0
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 101,017.2 109,318.4 120,497.4 129,139.3 128,541.5
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 161.0 176.0 206.1 237.7 240.0
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,507 2,715 3,179 3,637.7 3,672.6
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 6.3 4.5 5.0 4.0-5.0 4.0-4.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 13.2 11.1 4.0 4.8 2.1
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 16.2 10.9 3.9 5.0 1.5
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) 5.0 11.3 4.5 4.0 4.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 6.1 5.5 3.2 4.0 2.8
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.2 4.3 3.1 3.8 2.2
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 5.6 13.7 3.4 5.0 6.3
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 9.6 4.3 8.5 5.5 6.9
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 94.9 109.2 128.2 138.3 144.1
อัตราการขยายตัว (%) 21.6 15.0 17.4 7.9 12.4
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 8.4 4.3 9.0 5.4 7.9
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 13.4 9.3 1.6 5.6 4.3
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 93.5 117.7 126.0 136.1 136.4
อัตราการขยายตัว (%) 25.7 25.9 7.0 8.0 8.3
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 12.3 8.9 -0.8 5.0 3.8
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1.5 -8.5 2.2 2.3 7.7
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1/ 2.8 -7.9 3.2 3.1 8.5
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 1.7 -4.4 1.5 1.3 3.6
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 2.7 4.5 4.7 2.5-3.0 2.0-2.5
GDP Deflator 3.2 4.5 5.0 3.5 3.3
อัตราการว่างงาน 2.1 1.8 1.5 1.5-2.0 1.5-2.0
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 4 มิถุนายน 2550
หมายเหตุ 1/ Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account,
and its contra entry recorded as income on equity in current account.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-