ความนำ
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของสวีเดน (Sida) ร่วมกับสถาบันอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาแห่งประเทศสวีเดน (SMHI) ได้
จัดการฝึกอบรมหลักสูตร Climate Change - Mitigation and Adaptation ที่เมือง Norrkoping ประเทศ Sweden ระหว่างวันที่ 5-30
มีนาคม 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาค
ส่วนต่างๆ ของสังคม โดยเฉพาะส่วนที่ยังขาดความพร้อมและมีความเสี่ยงสูง ทั้งระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก รวมทั้งการเตรียมความ
พร้อมและการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 24 คน 19 ชาติ จากภูมิภาคเอเชีย ยุโรป ละตินอเมริกา และแอฟริกา ส่วนใหญ่เป็นเจ้า
หน้าที่ในหน่วยงานของรัฐบาล ที่ปฏิบัติงานด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา การจัดการสาธารณภัย หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม หน่วยงานวางแผน และ
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จุดเด่นของหลักสูตรนี้ คือ รูปแบบการฝึกอบรมที่มีการฝึกปฏิบัติ เช่น การทดลองโมเดลคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ วิเคราะห์การจัดการลุ่มน้ำจากฐานข้อมูลจริง รวมทั้งมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ
ประสบการณ์อย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดมุมมองและองค์ความรู้ที่หลากหลาย เป็นสหวิทยาการ ทั้งยังสะท้อนปัญหาในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นในโครงสร้าง
เศรษฐกิจ สังคม และระบบการบริหารงานของประเทศและภูมิภาคต่างๆ ของโลก นอกจากนั้น หลักสูตรยังวางกรอบให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำเอา
ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้และผลักดันให้เกิดผลทางปฏิบัติ ผู้เข้าอบรมต้องจัดทำข้อเสนอโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลดผลกระทบหรือการปรับตัวเพื่อรอง
รับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยนำกลับมาดำเนินงานในช่วง 6 เดือน จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ และเตรียมการนำเสนอใน
การประชุมปฏิบัติการระดับภูมิภาค ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2007
รายงานฉบับนี้ มุ่งเสนอประเด็นสำคัญเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับบทบาท
หน้าที่โดยตรงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำหรับประเด็นทางด้านเทคนิควิทยาศาสตร์และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ
ภาวะโลกร้อนโดยละเอียด สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก Stern Review และรายงานของ IPCC (Intergovernmental Panel on
Climate Change)
1. สถานการณ์ภาวะโลกร้อน : หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
ปัจจุบัน วิกฤติภาวะโลกร้อน ได้รับการยืนยันด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนรอบด้านมากยิ่งขึ้น นักวิทยาศาสตร์มากกว่า
2,500 คน จาก 130 ประเทศ ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก มีการจัดเก็บตัวเลข
สถิติ ข้อมูล มาตั้งแต่ปี 1970 ระบบข้อมูลได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ฐานข้อมูลของหลายภูมิภาคมีความสมบูรณ์ สามารถติดตามการ
เปลี่ยนแปลงและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของปัจจัยต่างๆ ได้ รายงานการวิจัยและผลการศึกษาทั้งหมดล้วนบ่งชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า โลก
กำลังเผชิญกับวิกฤติภาวะโลกร้อน และการปรวนแปรของสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ และความ
อยู่รอดของสังคมมนุษย์ในอนาคต โดยสาเหตุสำคัญมาจากการกระทำของมนุษย์ อุณหภูมิโลกสูงขึ้นประมาณ 0.6-0.7 C ตั้งแต่ปี 1900
จากการสำรวจของนักวิทยาศาสตร์พบว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในชั้นบรรยากาศโลกเพิ่มขึ้นจาก 270 ppm ในช่วงปี 1750-1850
ซึ่งเป็นช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม เพิ่มเป็น 380 ppm ในปัจจุบัน แต่ถ้ารวมก๊าซเรือนกระจกทั้ง 6 ชนิด (คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัส
ออกไซด์ ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) ซัลเฟอร์เฮกซาร์ฟลูออไรด์ (SF) ซึ่งเพิ่มขึ้นโดยรวมประมาณปีละ 2.3
ppm. ทำให้มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศสูงถึง 430 ppm ซึ่งเป็นปริมาณมากที่สุดในรอบ 650,000 ปี ก๊าซเรือนกระจกส่งผลโดยตรงต่อ
ระบบภูมิอากาศของโลก ซึ่งเป็นระบบทที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เชื่อมโยงกับองค์ประกอบอื่นในระบบนิเวศ ทั้งการระเหยของน้ำในมหาสมุทร
พื้นผิวโลก ที่ปกคลุมด้วย หิมะ น้ำแข็ง ดิน และพืชพรรณ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้ระบบภูมิ
อากาศของโลกเปลี่ยนแปลง และอุณหภูมิโลกอุ่นขึ้น
รายงานล่าสุดของ IPCC ยืนยันผลการศึกษาที่ผ่านมา โดยระบุว่า ในช่วงระยะเวลา 100 ปี อุณหภูมิโลกสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 0.6 องศา
และมีผลทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ประมาณ 10-20 cm เปรียบเทียบกับช่วงเวลา 3000 ปีก่อน ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพียง 1-2 cm. เท่านั้น
หลายภูมิภาคของโลก เกิดการยกตัวของพื้นที่ชายฝั่ง เช่น ประเทศแถบสแกนดิเนเวียน เนื่องจากอุณหภูมิผิวน้ำที่สูงขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวของน้ำใน
มหาสมุทรดันรุกเข้าไปในพื้นแผ่นดิน นอกจากนั้น ปริมาณน้ำทะเล ยังเพิ่มขึ้นจากการละลายของหิมะและแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมผิวโลก น้ำแข็งปริมาณ
มากที่สุด คือแผ่นน้ำแข็งที่เป็นเกาะกรีนแลนด์ และทวีปแอนตาร์กติก ในศตวรรษก่อน บริเวณพื้นที่ดังกล่าวได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากอุณหภูมิ
โลกที่สูง ก้อนน้ำแข็งมหึมาของพื้นที่ดังกล่าว ยังคงรักษาความเย็นและจับตัวกันเป็นน้ำแข็ง แต่ปัจจุบัน ก้อนน้ำแข็งดังกล่าวเริ่มละลายในอัตราที่สูง
อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และมีโอกาสที่จะเคลื่อนที่หลุดออกจากเกาะกรีนแลนด์และขั้วโลก กลายเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ ที่จะลอยอยู่ในมหาสมุทรและ
ค่อยๆ ละลายไป
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกในช่วงปี 1900-2000
อุณหภูมิผิวโลก อุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงขึ้นประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส (ค่าเฉลี่ยวัด
จากพื้นผิวโลก สูงขึ้นไป 1.5 เมตร และต่ำจากพื้นผิว 1.0 เมตร และ
เป็นค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิตลอดทั้งปี) โดยระยะ 30 ปีที่ผ่านมา
อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉลี่ย 0.2 องศาต่อทศวรรษ)
หิมะและธารน้ำแข็ง น้ำแข็งขั้วโลก ธารน้ำแข็ง และหิมะที่ปกคลุมผิวโลกกำลังละลายใน
อัตราที่เพิ่มสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อน ภายในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่าน
มาก ธารน้ำแข็งในบางพื้นที่ลดลงถึง 1 ใน 4 หิมะที่ปกคลุมเทือกเขา
หิมาลัย แอนดีส และคิริมานจาโร ลดปริมาณลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
ระดับน้ำทะเล ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น และผิวน้ำในมหาสมุทรที่ระดับ 300 เมตร มี
อุณหภูมิสูงขึ้น น้ำทะเลเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทำให้มีความ
เป็นกรดสูงขึ้น
ปริมาณน้ำฝนและ ปริมาณน้ำฝน ทางซีกโลกเหนือมีปริมาณเพิ่มขึ้น ในขณะที่ซีกโลกใต้
ระบบอุทกวิทยา มีปริมาณลดลง ระบบอุทกวิทยาของโลกเปลี่ยนแปลง น้ำแข็งและ
หิมะที่ละลายเพิ่มปริมาณน้ำในแม่น้ำสายต่างๆ ในระยะแรก แต่จะ
ขาดแคลนน้ำในระยะยาว น้ำในทะเลสาบ แม่น้ำ และมหาสมุทร ใน
ภูมิภาคต่างๆ ของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตหลายชนิดพันธุ์เคลื่อนย้ายเข้าใกล้ขั้วโลกมากขึ้น โดยเฉลี่ย
เป็นระยะทาง 6 กิโลเมตรทุกๆ 10 ปี มีส่งบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลง
ของฤดูกาล ฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้บาน และการวางไข่ที่เร็วขึ้นกว่าเดิม
เศรษฐกิจโลกมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าอัตราการเพิ่มประชากรถึงร้อยละ 40 นับแต่ปี 1950 ด้วยแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ไม่
คำนึงถึงความยั่งยืนและผลกระทบสิ่งแวดล้อม จำนวนประชากรโลกยังคงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 95 อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งโลกยังมีคนยากจนอยู่ถึง
1.1 พันล้านคน ทำให้โลกมีความต้องการใช้พลังงานมากขึ้น ในขณะที่ระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติกำลังเสื่อมโทรมลง ปัจจัยเหล่านี้เป็นแรง
กดดันทำให้ภาวะโลกร้อนกลายเป็นปัญหาวิกฤติที่ซ้ำเติมปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่เดิมให้มีความซับซ้อนรุนแรงมากขึ้น
ประเด็นที่ต้องพิจารณาอีกเรื่องหนึ่งคือ การที่ผู้ก่อเหตุและผู้รับผลกระทบ เป็นคนละกลุ่มกัน ต้นเหตุของภาวะโลกร้อนมากจากประเทศ
อุตสาหกรรมและประเทศที่พัฒนาแล้ว สัดส่วนของก๊าซเรือนกระจกมากจากสาขาพลังงานและขนส่งเป็นส่วนใหญ่ แต่ผลกระทบกลับตกอยู่กับประเทศที่
กำลังพัฒนาและยากจนโดยเฉพาะแอฟริกา โดยผลกระทบที่รุนแรงจะเกิดขึ้นในภาคการเกษตร และการจัดการน้ำ
2. โมเดล สถานการณ์จำลอง และการคาดการณ์อนาคต
วิธีการคาดการณ์อุณหภูมิโลก ทำโดยการคำนวณจากโมเดลทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค (General Circulation Model หรือเรียก
ว่า Global Climate Model : GCM) และ Model ที่ใช้และนำมาอ้างอิงอย่างแพร่หลายเช่น ECHAM ของเยอรมัน, HADLEY ของอังกฤษ CCSM
ของอเมริกา ข้อมูลสำคัญที่ต้องนำเข้าในแบบจำลอง คือ ข้อมูลด้านการถ่ายทอดพลังงานระหว่างองค์ประกอบที่สำคัญของระบบภูมิอากาศ 5 องค์
ประกอบ คือ อากาศ น้ำ พื้นผิวดิน พืชสัตว์และสิ่งมีชีวิต และน้ำแข็งที่ปกคลุมผิวโลก
แบบจำลองภูมิอากาศโลก ให้ภาพกว้างบนพื้นที่ขนาดประมาณ 100 ตารางกิโลเมตร ซึ่งไม่สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศใน
ระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศได้ จำเป็นต้องใช้แบบจำลองระดับภูมิภาค (Regional Climate Model: RCM) RCM ต้องใช้ฐานข้อมูลจากแบบ
จำลองระดับโลก แต่จะเพิ่มข้อมูลและองค์ประกอบที่เป็นจริงในระดับพื้นที่เข้าไว้ด้วย เช่น สภาพทางธรณีวิทยา ระบบนิเวศ สภาพชายฝั่ง
ภูเขา และแหล่งน้ำ เป็นต้น ทำให้แบบจำลองมีความละเอียด และการคาดการณ์ทำได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เช่น ปริมาณน้ำฝน การเกิดพายุ และภัย
ธรรมชาติต่างๆ
แบบจำลองภูมิอากาศโลกยังต้องนำเข้าข้อมูลที่สำคัญอีกชุดหนึ่ง คือ ข้อมูลปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การหาปริมาณก๊าซ
เรือนกระจกในอดีต เป็นข้อมูลที่สืบค้นได้จากฟองอากาศภายในชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์คติค แต่การคาดการณ์ก๊าซเรือนกระจกในอนาคต คำนวณ
จากการสร้างสถานการณ์และภาพจำลอง (Scenarios) ภายใต้เงื่อนไขด้านพื้นที่ กายภาพ ประชากร เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี
และการขยายตัวของโลกาภิวัตน์ที่แตกต่างกันไปมากกว่า 30 แบบ
การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศจะขึ้นอยู่กับทิศทางการพัฒนาและทางเลือกต่างๆ เช่น จะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ หรือ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะเน้นโลกาภิวัตน์ หรือเน้นภูมิภาค ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อนในศตวรรษหน้า แบบจำลอง
และภาพอนาคตแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ
Summary Characteristics of IPCC socio-economic scenarios
IPCC Scenario A1 F1 A2 B1 B2
Direction World Market National Enterprise Global Sustainability Local Stewardship
Population Growth Low (7 billion) High (15 billion) Low (7 billion) High (15 billion)
World GDP Growth Very high Medium High Medium
3.5% ($550 trillion) 2% ($243 trillion) 2.75% ($328 trillion) 2% ($235 trillion)
Ratio of GDP per High (1.6) Low (4.2) High (1.8) Medium (3.0)
capita in rich7poor
countries
Emission High Medium High Low Medium Low
ที่มา: Stern Review
ผลการคำนวณจากแบบจำลองของ IPCC แสดงให้เห็นว่า ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกในศตวรรษหน้าจะเพิ่ม
ขึ้น มีค่าการเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 500 -1,000 ppm ค่าก๊าซเรือนกระจกที่คำนวณได้ ร่วมกับข้อมูลสถิติทางอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยา จึงทำให้
สามารถคาดการณ์อุณหภูมิในอนาคตข้างหน้าได้ การประมวลผลข้อมูลประเมินว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้น 1.5 - 5.1 องศาเซลเซียส และมี
โอกาสประมาณ 2-20% ที่อุณหภูมิอาจสูงมากกว่า 5 องศา น้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 0.09 - 0.88 เมตร ค่าความเป็นกรดของน้ำในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นในเขตละติจูดเหนือ เขตร้อนชื้นและเขตศูนย์สูตร ลดลงในเขตแห้งแล้งและเขตทะเลทราย ปริมาณฝนตกหนักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ความถี่และความรุนแรงของภัยธรรมชาติเพิ่มขึ้น
ผลสรุปจากโมเดลและสถานการณ์จำลองที่ใช้ในการคำนวณเหล่านี้ ยังไม่รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของกระแส
น้ำในมหาสมุทร หรือกรณีที่เกาะกรีนแลนด์ และน้ำแข็งขั้วโลกขนาดใหญ่อาจแตกออกกระแทกตัวสู่มหาสมุทร ซึ่งอาจทำให้เกิดคลื่นยักษ์เป็นบริเวณ
กว้าง
3. แหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจก
ปัญหาโลกร้อนมีสาเหตุสำคัญที่สุดมาจากก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานน้ำมัน ถ่านหิน และแก๊ส รวมทั้งการเพาะปลูก
เก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตร โดยธรรมชาติ วัฏจักรคาร์บอนของต้นไม้ พืช สัตว์ ดิน น้ำ มหาสมุทร และการเคลื่อนไหวของระบบภูมิอากาศ
เป็นวัฏจักรที่อยู่ในภาวะสมดุล แต่กระบวนการดังกล่าวไม่สามารถจัดการกับวิกฤติการณ์ปัจจุบันได้ ในอดีตก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 90 เกิดขึ้นจาก
ภาคอุตสาหกรรมของประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ในอนาคตประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ จะเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ
เนื่องจากความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจ จำนวนประชากร และความต้องการใช้พลังงาน ที่เพิ่มขึ้น
Emission of Co2: Selected Countries
Country Co2/percapita Share of total Country Co2/percapita Share of total
(Metric ton)
(Metric ton) (%) (%)
USA 19.8 23.0 Sweden 5.9 0.2
UK 9.4 2.2 China 3.2 16.5
France 6.2 1.5 India 1.2 5.1
Germany 9.8 3.2 Brazil 1.6 1.2
Thailand 3.5 Saudi Arabia 13.0 1.2
LDC'S 0.2 0.5 Developing 2.2 42.7
World 3.7 OECD 11.2 51.1
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่มาจากภาคพลังงานและมีอัตราเพิ่มประมาณร้อยละ 2.2 ต่อปี จีนจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1
ใน 3 ของโลก การใช้ที่ดินและการตัดไม้ทำลายป่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณร้อยละ 18 ส่วนใหญ่มาจากอินโดนีเซีย และบราซิล ก๊าซเรือนกระจก
ในภาคเกษตรมาจากการใช้ปุ๋ย ปศุสัตว์ และนาข้าว ส่วนภาคการขนส่งมีแนวโน้มจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายในปี 2050 ส่วนใหญ่มาจาก
การขนส่งทางถนน
4. ผลกระทบ
4.1 ทรัพยากรน้ำ:
ภัยแล้งและอุทกภัยเพิ่มความรุนแรงขึ้น ประชากรโลกราว 1 ใน 6 อาจเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มอย่างรุนแรง
ทรัพยากรน้ำของโลก เกิดจากระบบหมุนเวียนของน้ำผิวโลกกับปริมาณน้ำฝน ซึ่งปริมาณฝนทั้งโลกมีประมาณ 110,000 km3 /year สามารถแบ่งออก
ได้เป็น Green Water (น้ำที่หมุนเวียนตามธรรมชาติอยู่ในระบบนิเวศ ได้แก่ป่าไม้ ทุ่งหญ้า พื้นที่ชุ่มน้ำ และการเพาะปลูกที่ใช้น้ำฝน) 70,000
km3 และ Blue Water (น้ำจืดที่มีการจัดเก็บไว้ใช้ในอุปโภคบริโภคของประชากร รวมทั้งน้ำที่ไหลลงสู่ทะเล) 40,000 km3 ภาวะโลกร้อนจะส่ง
ผลต่อทรัพยากรน้ำทั้งสองระบบ
ภาวะโลกร้อน ทำให้ฤดูแล้งยาวนานขึ้น มีการระเหยของน้ำมากขึ้น แหล่งเก็บกักน้ำจะมีปริมาณน้ำที่เก็บกักได้น้อยลง ภัยแล้งและ
อุทกภัยจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นในหลายพื้นที่ ฝนจะตกมากขึ้นบริเวณละติจูดเหนือ ฝนลดน้อยลงในพื้นที่เขตแล้ง พื้นผิวดินที่อุ่นขึ้นเพิ่มปริมาณการระเหยของ
น้ำ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลัน แหล่งน้ำชลประทานในประเทศกำลังพัฒนาประมาณร้อยละ 70-90 จะได้รับแรงกดดันและผล
กระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน บางส่วนของแอฟริกาใต้ และอเมริกาใต้ จะประสบปัญหาน้ำขาดแคลน ปริมาณน้ำท่าลดลงประมาณร้อย
ละ 10-30 หากอุณหภูมิสูง 2 องศา อาจลดลงถึงร้อยละ 40-50 หากอุณหภูมิสูงขึ้น 4 องศา ในขณะเดียวกัน เอเชียใต้ ยุโรปเหนือ และรัสเซีย จะมี
ปริมาณน้ำท่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-20 หากอุณหภูมิสูงขึ้น 2 องศา
มีรายงานการศึกษาซึ่งระบุว่า พื้นที่ประสบภัยแล้งราวร้อยละ 10 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3-4 องศา พื้นที่ประสบ
ภัยแล้งอย่างรุนแรงจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 3-30 ในยุโรปตอนใต้ ภัยแล้งอาจเกิดขึ้นทุก 10 ปี จากสถิติเดิมที่เคยเกิดขึ้นทุก 100 ปี
ธารน้ำแข็งที่ปกคลุมเทือกเขาสูงของโลก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำดื่มของประชากร 1 ใน 6 ของโลก โดยเฉพาะเทือกเขาหิมาลัยซึ่ง
เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำสำคัญของโลก 7 สาย กำลังได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เนื่องจากหิมะที่ปกคลุมเทือกเขาสูงทุกแห่งกำลังละลาย ธารน้ำ
แข็งค่อยๆ ลดปริมาณลง ภายในครึ่งศตวรรษหน้า ประชากรโลกจะต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มอย่างรุนแรง
4.2 การเกษตรและอาหาร: การลดลงของผลผลิตพืชอาหารในกลุ่มประเทศที่ยากจน
ภาคเกษตรมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตของประชากรโลก ผลผลิตการเกษตรมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 24 ของผลผลิต
โลก จ้างแรงงานร้อยละ 22 พื้นที่การเกษตรครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 40 ของผืนแผ่นดิน และประชากรที่ยากจนร้อยละ 75 พึ่งพาการเกษตรในการ
ดำรงชีวิต
ผลผลิตการเกษตรได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยตรง เนื่องจากพืชจะมีผลผลิตที่สมบูรณ์ในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมช่วงหนึ่ง
เท่านั้น พืชแต่ละสายพันธุ์มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิแตกต่างกัน พืชเขตร้อนหลายชนิดมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
มาก อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นเพียงเล็กน้อยสามารถทำให้ผลผลิตพืชลดลงได้ จากการศึกษาพันธุ์ข้าวที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ พบว่าข้าวบางพันธุ์ถ้ามีอุณหภูมิ
สูงเกิน 36 องศา จะเสียความสมบูรณ์ถึงร้อยละ 90 ถั่วลิสง จะเสียความสมบูรณ์ทั้งหมดเมื่ออุณหภูมิเกิน 42 องศา และพืชตระกูลมะนาวจะ
สามารถขยายพันธุ์ได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 15-25 องศาเท่านั้น การคาดการณ์ผลผลิตการเกษตรและอาหารของโลกพบว่า ภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้ผล
ผลิตพืชในเขตหนาวหรือทางละติจูดเหนือเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกจะมีมากขึ้น และฤดูการเพาะปลูกยาวนานขึ้น แต่หาก
อุณหภูมิเฉลี่ยขึ้นเกินกว่า 3 องศา ผลผลิตพืชจะลดลง
สำหรับพืชในเขตมรสุมและเขตแห้งแล้งผลผลิตพืชจะลดลง หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1-2 องศา ผลผลิตพืชอาหารในเขต Sub-Saharan และ
ประเทศแถบแอฟริกา จะมีปริมาณลดลงประมาณร้อยละ 25 ในปี 2080 หลายประเทศในภูมิภาคดังกล่าวมีข้อจำกัดในการปรับแบบแผนการเพาะปลูก
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง เช่น แอฟริกา เอเชียตะวันตก เช่น อินเดีย ตะวันออกกลาง ประเทศที่เพาะปลูกข้าวโพดเป็นหลัก เช่น บางส่วนของ
แอฟริกา และละตินอเมริกา จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เนื่องจากข้าวโพดเป็นพืชที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมาก โดยภาพรวม
พืชอาหารของโลกจะลดลงประมาณ 5% หากอุณหภูมิสูงขึ้น 2 องศา และลดลง 10% หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 4 องศาและบางภูมิภาคของโลกจะไม่สามารถ
ทำการเพาะปลูกได้เลย
สำหรับประมงและสัตว์น้ำ ผลผลิตจะลดลงโดยรวม เนื่องจากสภาพความเป็นกรดของน้ำในมหาสมุทรที่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ของน้ำในมหาสมุทรส่งผลต่อปะการังซึ่งเป็นแหล่งอาหาร รวมทั้งส่งผลต่อการสร้างเปลือกและโครงกระดูกของสัตว์ทะเล
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อภาคการเกษตร จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัว ความสามารถดังกล่าวถูกกำหนดจากระดับราย
ได้ โครงสร้างการตลาด แบบแผนการเพาะปลูก โครงสร้างพื้นฐาน เช่น เพาะปลูกในเขตน้ำฝน หรือเขตชลประทาน ดังนั้น ประเทศแถบเส้น
ละติจูดเหนือ ซึ่งมีความสามารถในการปรับตัวสูง จะได้รับประโยชน์จากการเพาะปลูกและผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากภาวะโลกร้อน แต่การคาดการณ์นี้
ไม่ได้รวมถึงเงื่อนไขต่างๆ ของการปรับเปลี่ยนหรือการปรับตัว เช่น การอพยพเคลื่อนย้ายแรงงาน การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่การเกษตร
นอกจากนั้น ก็ยังไม่ได้ประเมินผลกระทบอื่นๆ เช่น น้ำท่วม พายุ ภัยแล้ง และคลื่นความร้อน ที่อาจมีความรุนแรงและมีความถี่สูงขึ้นใน
ภูมิภาคนี้ด้วย
แนวทางการปรับตัวของภาคเกษตรเพื่อรองรับภาวะโลกร้อน ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ความแห้งแล้ง ช่วงระยะ
เวลาการเพาะปลูกที่สั้นลง ควรเริ่มด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สร้างฐานข้อมูลระดับพื้นที่ ทำการศึกษาเพื่อ
กำหนดเขตพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบรุนแรง สร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยมาตรการด้านโครงสร้าง การใช้ประโยชน์ที่ดิน พัฒนาระบบชล
ประทาน บริหารและกระจายความเสี่ยง สร้างระบบประกันภัย สร้างทางเลือกและกระจายแหล่งที่มาของรายได้
4.3 สาธารณภัย: เพิ่มขึ้นทั้งความถี่ ความรุนแรง และมูลค่าการสูญเสีย
ภัยธรรมชาติ ทั้งอุทกภัย วาตภัย และภัยแล้ง มีความรุนแรงและความถี่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ภัยพิบัติรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงปี
1960-1970 มีจำนวน 16 ครั้ง ช่วงปี 1980-1990 มีจำนวน 44 ครั้ง ช่วงปี 1990-1998 เกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ถึง 72 ครั้ง มูลค่าความสูญเสีย
ทางเศรษฐกิจและค่าใช้จ่ายของภาคประกันภัยสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
สาธารณภัยเป็นผลกระทบที่เป็นรูปธรรม และก่อให้เกิดความตื่นตัวครั้งใหญ่ของสาธารณชน ทศวรรษที่ผ่านมา ทุกภูมิภาคของโลกเผชิญกับภัย
พิบัติ ทั้งน้ำท่วม ลมพายุ ไต้ฝุ่น เฮอริเคน ภัยแล้ง และคลื่นความร้อน ซึ่งมีความถี่และระดับความรุนแรงทำลายสถิติในรอบนับร้อยปี รายงานการศึกษา
ล่าสุด ชี้ให้เห็นว่า ภาวะโลกร้อน และน้ำในมหาสมุทรที่อุ่นขึ้น ทำให้การก่อตัวของพายุไต้ฝุ่นและเฮอริเคนทวีความรุนแรงเกินกว่าระดับการเปลี่ยน
แปลงตามวัฏจักรตามธรรมชาติ
สาธารณภัยจะก่อความเสียหายได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติ ซึ่งมาจากองค์ประกอบทั้งด้านสังคม
เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อม กลุ่มคนที่ยากจนและอ่อนแอจึงมีความเสี่ยงมากกว่า พายุที่มีความรุนแรงในระดับเดียวกัน เกิดขึ้นในสหรัฐ
อเมริกา มีคนตายเพียง 20 คน แต่ใน บังคลาเทศ มีผู้เสียชีวิตถึง 140,000 คน ดังนั้น การพัฒนาขีดความสามารถหรือภูมิคุ้มกันในการรับมือกับภัย
พิบัติ ด้วยมาตรการลดผลกระทบ การเตรียมความพร้อม และการช่วยเหลือฉุกเฉิน จะช่วยป้องกันความสูญเสียจากภัยพิบัติได้
4.4 ระบบนิเวศ: แนวโน้มการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ราวร้อยละ 20-30
ระบบนิเวศมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศมาก ชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจะอพยพย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาอุณหภูมิที่พอเหมาะกับ
การดำรงชีวิตและการขยายพันธุ์ แต่ถิ่นที่อยู่ที่เหมาะสมจะถูกจำกัดลงเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงขอบเขตถิ่นที่อยู่จะมีผลกระทบเชิงลบต่อความความหลาก
หลายทางชีวภาพและการทำหน้าที่ของระบบนิเวศ ทั้งเรื่องน้ำ ห่วงโซ่อาหาร และการขยายพันธุ์ ทำให้การสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์มีแนวโน้มสูงขึ้น
ประมาณว่า หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นประมาณ 1.5-2.5 องศา จะทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ประมาณร้อยละ 20-30 แต่ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 3
องศา สิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวดิน อาจสูญพันธุ์ได้ถึงร้อยละ 20-50
พื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เช่น แนวปะการังและระบบนิเวศชายฝั่ง มีความอ่อนไหวต่ออุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น และมีความ
สามารถในการปรับตัวต่ำ ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1-3 องศา จะทำให้ปะการังตาย ปรากฏการณ์ปะการังเปลี่ยนสีจะขยายพื้นที่อย่างกว้างขวาง เขต
ชายฝั่งของทวีปแอฟริกา อเมซอน รัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลียจะได้รับผลกระทบโดยตรง ระบบนิเวศของพื้นที่ชายฝั่งจำนวนมากอาจถูกทำลาย
จากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะต้องเผชิญกับปัญหาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การ
กัดเซาะชายฝั่ง และแรงกดดันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล
4.5 สุขภาพอนามัยและโรคระบาด: การเพิ่มขึ้นของมาเลเรีย และการขาดสารอาหาร
ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม การแพร่กระจายของโรคระบาด และการเสียชีวิตจากอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งอาจมี
อุณหภูมิสูงถึง 45 องศา ในบางพื้นที่ องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ตั้งแต่ปี 1970 ภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึงปีละ
150,000 คน จากโรคท้องร่วง มาเลเรีย และการขาดสารอาหาร ทวีปแอฟริกาได้รับผลกระทบนี้อย่างชัดเจน ในขณะเดียวกัน การแพร่ระบาด
ของมาเลเรียในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ได้ขยายวงจาก 3 ประเทศ ไปยังรัสเซียกับอีก 6 ประเทศใกล้
เคียง รายงานการศึกษาระบุว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้น 2 องศา จะทำให้ประชากรของทวีปแอฟริกามากกว่า 40-60 ล้านคน ต้องเผชิญกับการระบาดของ
โรคมาเลเรียเพิ่มขึ้น
4.6 โครงสร้างพื้นฐาน:
(ยังมีต่อ)