เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารโลก(WB) ร่วมจัดการสัมมนาเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับธนาคารโลกเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Country Development Partnership — Infrastructure : CDP-INFRA) ณ โรงแรมแชงกาลีลา กรุงเทพฯ โดยนายพนัส สิมะเสถียร ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงาน
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการฯ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของความร่วมมือดังกล่าวว่า เพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลไทยสามารถวางแผนและดำเนินนโยบายเพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างประสิทธิภาพขององค์กรสำคัญของรัฐซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล โดย WB จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษา จัดทำรายงานเพื่อศึกษาปัญหา และเสนอแนวคิดเชิงวิเคราะห์ในหัวข้อที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะช่วยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้สูงขึ้น รวมทั้งลดปัญหาความยากจนและยกระดับความเป็นอยู่ของคนไทยให้สูงขึ้นด้วย
ทั้งนี้ CDP เป็นกลไกความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับ WB ซึ่งได้ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2543 โดย CDP เป็นกรอบความร่วมมือในประเทศสมาชิกที่มีรายได้ปานกลาง สำหรับความสัมพันธ์ไทย-WB ดำเนินมาตั้งแต่ปี2492 ซึ่งไทยยังมีฐานะยากจน จึงต้องกู้เงินจาก WB เพื่อนำมาลงทุน/พัฒนาประเทศ แต่เนื่องจากในสอง-สามทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ฐานะโดยรวมและรายได้ประชาชาติสูงขึ้นจึงไม่ต้องพึ่งพาเงินกู้ของ WB ความสัมพันธ์ในแบบลูกหนี้-เจ้าหนี้ไทย-WB จึงเปลี่ยนเป็นหุ้นส่วน(Partnership) มากขึ้น เพื่อตอบสนองความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่นี้ WB จึงได้คิดค้นกรอบความร่วมมือในการพัฒนาประเทศภายใต้ชื่อว่า CDP ขึ้น เพื่อใช้เป็นกลไก/แนวทางในการให้คำปรึกษา รวมทั้งสนับสนุนในหัวข้อทางเทคนิคที่ WB มีความเชี่ยวชาญ
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของไทยนับว่ามีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีทางหลวงและเส้นทางสำคัญเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด ระบบขนส่งทั้งทางอากาศ ทางน้ำและทางเรือ ระบบโทรคมนาคม รวมทั้งบริการน้ำประปาในเขตเมืองใหญ่ แต่การให้บริการสาธารณูปโภคบางประเภทยังมีปัญหา เนื่องจากปัญหาการจราจรใน กทม. และต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูงนอกจากนี้ ความต้องการพลังงานของไทยสูงขึ้นทุกปีในอัตรา 8% ต่อปี (ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ)จึงยังต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ อีกทั้งการสรรหาพลังงานทดแทนในประเทศยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกถีบตัวสูงขึ้น เศรษฐกิจไทยก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย รัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งหาแนวทางแก้ไข เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว
CDP-INFRA แบ่งกรอบความร่วมมือออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) การให้คำปรึกษาในเชิงวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ โดยจัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งชาติและการแปลงแผนสู่ภาคปฏิบัติ (2) ความช่วยเหลือทางเทคนิคในการพัฒนาพลังงานทดแทน (3) ความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อพัฒนาการขนส่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (4) การให้คำปรึกษาด้านเทคนิคเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) (5) การให้ความสนับสนุนโครงการจัดหาน้ำประปาในชนบทเพื่อช่วยพัฒนารายได้ให้แก่เกษตรกร ซึ่ง WB มีแนวคิดที่จะใช้น้ำในการแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ__
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการฯ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของความร่วมมือดังกล่าวว่า เพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลไทยสามารถวางแผนและดำเนินนโยบายเพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างประสิทธิภาพขององค์กรสำคัญของรัฐซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล โดย WB จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษา จัดทำรายงานเพื่อศึกษาปัญหา และเสนอแนวคิดเชิงวิเคราะห์ในหัวข้อที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะช่วยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้สูงขึ้น รวมทั้งลดปัญหาความยากจนและยกระดับความเป็นอยู่ของคนไทยให้สูงขึ้นด้วย
ทั้งนี้ CDP เป็นกลไกความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับ WB ซึ่งได้ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2543 โดย CDP เป็นกรอบความร่วมมือในประเทศสมาชิกที่มีรายได้ปานกลาง สำหรับความสัมพันธ์ไทย-WB ดำเนินมาตั้งแต่ปี2492 ซึ่งไทยยังมีฐานะยากจน จึงต้องกู้เงินจาก WB เพื่อนำมาลงทุน/พัฒนาประเทศ แต่เนื่องจากในสอง-สามทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ฐานะโดยรวมและรายได้ประชาชาติสูงขึ้นจึงไม่ต้องพึ่งพาเงินกู้ของ WB ความสัมพันธ์ในแบบลูกหนี้-เจ้าหนี้ไทย-WB จึงเปลี่ยนเป็นหุ้นส่วน(Partnership) มากขึ้น เพื่อตอบสนองความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่นี้ WB จึงได้คิดค้นกรอบความร่วมมือในการพัฒนาประเทศภายใต้ชื่อว่า CDP ขึ้น เพื่อใช้เป็นกลไก/แนวทางในการให้คำปรึกษา รวมทั้งสนับสนุนในหัวข้อทางเทคนิคที่ WB มีความเชี่ยวชาญ
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของไทยนับว่ามีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีทางหลวงและเส้นทางสำคัญเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด ระบบขนส่งทั้งทางอากาศ ทางน้ำและทางเรือ ระบบโทรคมนาคม รวมทั้งบริการน้ำประปาในเขตเมืองใหญ่ แต่การให้บริการสาธารณูปโภคบางประเภทยังมีปัญหา เนื่องจากปัญหาการจราจรใน กทม. และต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูงนอกจากนี้ ความต้องการพลังงานของไทยสูงขึ้นทุกปีในอัตรา 8% ต่อปี (ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ)จึงยังต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ อีกทั้งการสรรหาพลังงานทดแทนในประเทศยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกถีบตัวสูงขึ้น เศรษฐกิจไทยก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย รัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งหาแนวทางแก้ไข เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว
CDP-INFRA แบ่งกรอบความร่วมมือออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) การให้คำปรึกษาในเชิงวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ โดยจัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งชาติและการแปลงแผนสู่ภาคปฏิบัติ (2) ความช่วยเหลือทางเทคนิคในการพัฒนาพลังงานทดแทน (3) ความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อพัฒนาการขนส่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (4) การให้คำปรึกษาด้านเทคนิคเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) (5) การให้ความสนับสนุนโครงการจัดหาน้ำประปาในชนบทเพื่อช่วยพัฒนารายได้ให้แก่เกษตรกร ซึ่ง WB มีแนวคิดที่จะใช้น้ำในการแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ__
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-