- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องที่ไหลออกไปในช่วงวันหยุดยังไม่ไหลกลับเข้าสู่ระบบมาก
นัก แต่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุ
ปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับพันธบัตรสหรัฐฯ
- เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ในกรอบที่แข็งค่าขึ้น จากความต้องการซื้อเงินบาทของผู้ส่งออกไทย การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดใน
เดือน มี.ค. และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติใน SET ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเช่นกันจากตัวเลขภาคการผลิตที่ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากปริมาณเงินที่ไหลออกไปในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันแรงงานยังไม่ไหล
กลับเข้าสู่ระบบมากนัก ประกอบกับมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการโอนเงินในระบบธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จึงลด
การลงทุนลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14
วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.0 4.03125 และ 4.03125 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย
Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเป็นร้อยละ 4.02 - 4.15 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.05 ต่อปี ในช่วงต้นถึง
กลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.04 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 95,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
10,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 7 และ 14 วัน วงเงินรวม 80,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 17 ปี วงเงิน 5,000 ล้านบาท
แต่พันธบัตร ธปท. มีผู้เสนอประมูลน้อยกว่าวงเงินที่เปิดประมูล จึงมีการจัดสรรพันธบัตร ธปท. เพียง 57,573 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตั๋วเงิน
คลังปรับตัวลดลง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร ธปท. และพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้น ตราสารออกใหม่ในสัปดาห์นี้มีมูลค่ารวม 72,573
ล้านบาท และมีตราสารครบกำหนด 116,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 43,427 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (เฉพาะธุรกรรม outright) มีมูลค่า 208,749 ล้านบาท หรือคิดเป็น 52,187 ล้านบาท
ต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.1 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี มี
อัตราผลตอบแทนลดลง 1-5 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปมีอัตราผลตอบแทนลดลง 6-9 basis points เนื่องจากอัตรา
เงินเฟ้อเดือน เม.ย. ที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้
เอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 39 และ 33 basis point ตามลำดับ
ส่วน US Treasury Yield ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับตัวลดลงจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ลดต่ำลง ต่อมาในวันพฤหัส yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น
จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีภาคการบริการ และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ลดลง ก่อนที่ yield จะปรับตัวลดลงอีกครั้งในวันศุกร์ จากการประกาศ
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ลดลงกว่าที่คาด ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ ปรับตัวลดลง 0-11 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 50 35.01
เฉลี่ย 23 - 27 เม.ย.50 34.77
30 เม.ย. 50 34.74
2 พ.ค. 50 34.73
3 พ.ค. 50 34.72
4 พ.ค. 50 34.71
เฉลี่ย 30 เม.ย. - 4 พ.ค.50 34.73
เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 34.71 - 34.74 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในกรอบที่แข็งค่าขึ้น และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่
34.73 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย แม้ว่าค่าเงินภูมิภาคจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ตามการอ่อนค่า
ของเงินเยน หลังจากธนาคารญี่ปุ่นปรับลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งส่งผลให้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อย่างรวดเร็วมากนัก สำหรับปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ได้แก่ ความต้องการซื้อเงินบาทจากผู้ส่งออกไทยอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขดุลบัญชีเดิน
สะพัดในเดือน มี.ค. ซึ่งยังคงเกินดุลกว่า 2 พันล้านบาท ตลอดจนการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยในระดับสูง ขณะที่เงิน
ดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักโดยเฉพาะในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ หลังจากตัวเลขภาคการผลิตออกมาดี ทำให้นักลงทุน
คลายความกังกลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่รอตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ประจำเดือน เม.
ย. โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 4 พ.ค. ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันต่อค่า
เงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์หน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นัก แต่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุ
ปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับพันธบัตรสหรัฐฯ
- เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ในกรอบที่แข็งค่าขึ้น จากความต้องการซื้อเงินบาทของผู้ส่งออกไทย การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดใน
เดือน มี.ค. และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติใน SET ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเช่นกันจากตัวเลขภาคการผลิตที่ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากปริมาณเงินที่ไหลออกไปในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันแรงงานยังไม่ไหล
กลับเข้าสู่ระบบมากนัก ประกอบกับมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการโอนเงินในระบบธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จึงลด
การลงทุนลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14
วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.0 4.03125 และ 4.03125 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย
Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเป็นร้อยละ 4.02 - 4.15 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.05 ต่อปี ในช่วงต้นถึง
กลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.04 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 95,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
10,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 7 และ 14 วัน วงเงินรวม 80,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 17 ปี วงเงิน 5,000 ล้านบาท
แต่พันธบัตร ธปท. มีผู้เสนอประมูลน้อยกว่าวงเงินที่เปิดประมูล จึงมีการจัดสรรพันธบัตร ธปท. เพียง 57,573 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตั๋วเงิน
คลังปรับตัวลดลง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร ธปท. และพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้น ตราสารออกใหม่ในสัปดาห์นี้มีมูลค่ารวม 72,573
ล้านบาท และมีตราสารครบกำหนด 116,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 43,427 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (เฉพาะธุรกรรม outright) มีมูลค่า 208,749 ล้านบาท หรือคิดเป็น 52,187 ล้านบาท
ต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.1 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี มี
อัตราผลตอบแทนลดลง 1-5 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปมีอัตราผลตอบแทนลดลง 6-9 basis points เนื่องจากอัตรา
เงินเฟ้อเดือน เม.ย. ที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้
เอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 39 และ 33 basis point ตามลำดับ
ส่วน US Treasury Yield ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับตัวลดลงจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ลดต่ำลง ต่อมาในวันพฤหัส yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น
จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีภาคการบริการ และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ลดลง ก่อนที่ yield จะปรับตัวลดลงอีกครั้งในวันศุกร์ จากการประกาศ
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ลดลงกว่าที่คาด ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ ปรับตัวลดลง 0-11 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 50 35.01
เฉลี่ย 23 - 27 เม.ย.50 34.77
30 เม.ย. 50 34.74
2 พ.ค. 50 34.73
3 พ.ค. 50 34.72
4 พ.ค. 50 34.71
เฉลี่ย 30 เม.ย. - 4 พ.ค.50 34.73
เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 34.71 - 34.74 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในกรอบที่แข็งค่าขึ้น และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่
34.73 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย แม้ว่าค่าเงินภูมิภาคจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ตามการอ่อนค่า
ของเงินเยน หลังจากธนาคารญี่ปุ่นปรับลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งส่งผลให้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อย่างรวดเร็วมากนัก สำหรับปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ได้แก่ ความต้องการซื้อเงินบาทจากผู้ส่งออกไทยอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขดุลบัญชีเดิน
สะพัดในเดือน มี.ค. ซึ่งยังคงเกินดุลกว่า 2 พันล้านบาท ตลอดจนการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยในระดับสูง ขณะที่เงิน
ดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักโดยเฉพาะในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ หลังจากตัวเลขภาคการผลิตออกมาดี ทำให้นักลงทุน
คลายความกังกลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่รอตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ประจำเดือน เม.
ย. โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 4 พ.ค. ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันต่อค่า
เงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์หน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-