(2) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยบาเรลละ 55-60 ดอลลาร์ สรอ.
ในปี 2550 ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงคาดว่าราคาเฉลี่ยทั้งปี จะอยู่ในช่วง 55-60 ดอลลาร์ สรอ. โดยมีราคา
เฉลี่ย 58 ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 5.7 จากราคาบาเรลละ 61.52 ดอลลาร์ในปี 2549 และเป็นการปรับลดลงเล็กน้อยจากสมมติฐานบาเรล
ละ 58-62 ดอลลาร์ สรอ.ที่ใช้ในการประมาณการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2549
(3) ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้าชะลอตัว คาดว่าในปี 2550 ระดับราคาสินค้าในตลาดโลกยังมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปี 2549 แต่ใน
อัตราที่ช้าลงอย่างชัดเจน เนื่องจากต้นทุนการผลิตจากราคาน้ำมันและวัตถุดิบชะลอตัว และราคาได้ปรับขึ้นมากในปี 2549 ที่ผ่านมา ราคาเหล็ก
ราคายางพารา และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ได้ผ่านพ้นช่วงสูงสุดไปแล้วและเริ่มชะลอลงในปลายปี 2549 นอกจากนี้ความต้องการในตลาดโลกที่ชะลอลง จะ
ทำให้การแข่งขันด้านราคามีมากขึ้น
คาดว่าราคาส่งออกสินค้าเฉลี่ยในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.5 ต่ำกว่าร้อยละ 4.0 ซึ่งเป็นสมมุติฐานในการ
ประมาณการครั้งก่อน และชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในปี 2549 ตามภาวะราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ชะลอตัวลงทั้งราคาสินค้าเกษตร ราคาเหล็ก
และทองคำ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใต้สถานการณ์การชะลอตัวของความต้องการในตลาดโลก สำหรับราคาสินค้านำเข้ามีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ปรับลดจากสมมุติฐานเดิมร้อยละ 5.0 และชะลอลงจากร้อยละ 6.5 ในปี 2549(7) ซึ่งทำให้อัตราการค้าของประเทศไทย
(Term of trade) ปรับตัวดีขึ้นกว่าในปี 2549 อันเนื่องจากราคาน้ำมันนำเข้าที่ค่อนข้างทรงตัวเป็นสำคัญ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อรายได้ของประเทศ
***********************************************************************************************************
หมายเหตุ (7) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลดดัชนีราคาสินค้าออกลงจากร้อยละ 7.7 และปรับลดดัชนีราคาสินค้านำเข้าจากร้อยละ 8.0 ตาม
การปรับปรุง การจัดทำดัชนีราคาสินค้าออกสินค้าเข้าโดยกระทรวงพาณิชย์
**********************************************************************************************************
2.4 ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2550: คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4-5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 2.5-3.0 และดุล
บัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุลเล็กน้อยประมาณร้อยละ 1.0-1.3 ของ GDP
ในปี 2550 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 โดยมีค่ากลางเท่ากับร้อยละ 4.5 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี
2549 เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการส่งออกจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการลงทุนภาคเอกชนจะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ รวมทั้งโครงการลงทุนภาค
รัฐที่คาดว่าจะมีความพร้อมในการเบิกจ่ายได้ในครึ่งหลังของปี สำหรับการใช้จ่ายครัวเรือนนั้นคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าในปี 2549 เล็กน้อยเนื่องจาก
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง ในด้านเสถียรภาพคาดว่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ดีโดยที่อัตราการว่างงานยังต่ำประมาณ
ร้อยละ 1.5-2.0 อัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นร้อยละ 2.5-3.0 เนื่องจากราคาน้ำมันลดลงค่าเงินบาทแข็งขึ้น และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชะลอตัว ดุลบัญชี
เดินสะพัด8มีแนวโน้มเกินดุลเล็กน้อยประมาณร้อยละ1.0-1.3 ของ GDP
โดยภาพรวมทั้งปี 2550 สศช. ยังคงช่วงการประมาณการไว้เท่ากับการคาดการณ์ในครั้งวันที่ 6 ธันวาคม 2549 โดยมีการปรับการ
ประมาณการองค์ประกอบการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามฐานข้อมูลจริงปี 2549 และเครื่องชี้เศรษฐกิจล่าสุดในปีเดือนมกราคม 2550 ที่แสดงว่า
การลงทุนชะลอตัวต่อเนื่อง แต่มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประจำของรัฐบาลได้ดีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แหล่งที่มาของการขยายตัวทั้งอุปสงค์ภาย
ในประเทศและการส่งออกสุทธิใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ไว้เดิม นั่นคือแรงผลักของทั้งสององค์ประกอบชะลอลงกว่าในปี 2549 การประมาณการเศรษฐกิจ
ในด้านต่าง ๆ มี ดังนี้
-ปรับเพิ่มการประมาณการใช้จ่ายประจำภาครัฐบาลที่เบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในช่วงต้นปีปฏิทิน 2550 รวมทั้งการเร่งรัดงบประมาณตามกรอบ
ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด (5,000 ล้านบาท) และโครงการพัฒนาหมู่บ้านชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (5,000 ล้านบาท) โดยคาด
ว่าทั้งปี 2549 การใช้จ่ายรัฐบาล ณ ราคาคงที่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 สูงกว่าที่คาดการณ์เดิมร้อยละ 4.0 สำหรับการใช้จ่ายภาคเอกชนนั้นคงการ
ประมาณการเดิมที่ร้อยละ 3.8
-ปรับลดการประมาณการการลงทุนภาคเอกชน ตามข้อมูลล่าสุดที่แสดงว่าการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนจะยังไม่เต็มที่ โดยปรับลดจาก
ร้อยละ 7.0 เป็นร้อยละ 5.0 และคงประมาณการการลงทุนภาครัฐที่ร้อยละ 4.0 เท่าเดิม
-ปรับเพิ่มการประมาณการปริมาณการส่งออกจากร้อยละ 5.0 เป็น 5.4 ตามทิศทางการส่งออกในช่วงปลายปี 2549 ซึ่งปริมาณการส่ง
ออกยังขยายตัวได้ดี แต่ราคาสินค้าส่งออกชะลอลงมากกว่าที่คาด จึงได้ปรับลดสมมติฐานราคาส่งออกลงจากที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เป็นร้อยละ
2.5 ดังนั้นจึงปรับลดการคาดการณ์มูลค่าการส่งออกลงเป็นร้อยละ 7.9 จากประมาณการเดิมร้อยละ 9.0(9)
-ปรับลดการประมาณการมูลค่าการนำเข้าลงเล็กน้อยจากร้อยละ 9.6 เป็นร้อยละ 8.0 โดยเป็นผลจากการปรับลดราคาสินค้านำเข้า
แม้จะปรับเพิ่มปริมาณการนำเข้าเป็นร้อยละ 5.0 จากเดิมร้อยละ 4.6 การปรับเพิ่มประมาณการปริมาณการนำเข้านั้นเนื่องมาจาก (i) ทิศทาง
การลดการสะสมสินค้าคงคลังในปี 2549 ซึ่งมีการลงมากกว่าที่คาดไว้เดิม จึงมีความไปได้ที่จะมีความต้องการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น
(ii) การปรับเพิ่มปริมาณการส่งออก และ (iii) ค่าเงินบาทที่แข็งกว่าที่คาดไว้เดิม แต่อย่างไรก็ตามราคาสินค้านำเข้าชะลอตัวเร็วในไตรมาสสุด
ท้ายปี 2549 ประกอบราคาน้ำมันดิบที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ จึงปรับลดการคาดการณ์ราคาสินค้านำเข้าจากเดิมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เป็นร้อยละ 3.0
-ปรับลดการประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2550 เป็นร้อยละ 2.5-3.0 (จากเดิมร้อยละ 3.0-3.5 และต่ำกว่าร้อยละ
4.7 ในปี 2549) ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม และค่าเงินบาทแข็งขึ้น รวมทั้งราคาสินค้านำเข้าและสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นช้ากว่าที่
คาดไว้ แม้ว่าจะปรับลดอัตราเงินเฟ้อแต่ยังคงการประมาณการใช้จ่ายภาคเอกชนเนื่องจากฐานรายได้จะถูกกระทบจากราคาสินค้าเกษตรชะลอตัว และ
รายได้จากการส่งออกในรูปเงินบาทที่ต่ำ รวมทั้งผลต่อเนื่องจากการลงทุนภาคเอกชนที่จะต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม
-ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเล็กน้อยประมาณร้อยละ 1.0-1.3 ของ GDP หรือประมาณ 2,400-3,100 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงร้อยละ 5.0
เศรษฐกิจทั้งปี 2550 อาจจะขยายตัวได้ในระดับต่ำร้อยละ5.0 ได้ภายใต้เงื่อนไข (i) การส่งออกสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ภาย
ใต้ข้อจำกัดที่มากขึ้น และรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8 -10 (ii) การเบิกจ่ายภาครัฐไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของวงเงินงบ
ประมาณและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ โดยให้ความสำคัญในการเร่งรัดการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนประชาชนผู้มีรายได้น้อยในการ
พัฒนาอาชีพ และ โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขและการแก้ปัญหาสังคม (iii) ภาคธุรกิจเอกชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น (iv) การรักษาเสถียรภาพ
ราคาสินค้าเกษตรและป้องกันปัญหาผลกระทบอากาศแห้งแล้งต่อผลผลิตเกษตรได้ และ (v) ราคาน้ำมันดิบดูไบลดลง และเฉลี่ยไม่เกินบาเรลละ 58
ดอลลาร์ สรอ.
(2) การขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีต่ำร้อยละ 4.0
เศรษฐกิจทั้งปี 2550 จะสามารถขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0 ในกรณีที่ (i) การลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวช้ามาก (ii) การเบิกจ่าย
งบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจต่ำ กว่าร้อยละ 80 (iii) เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าที่คาด โดยขยายตัวได้ต่ำกว่าร้อยละ 4 ซึ่งจะทำ
ให้การส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยขยายตัวได้น้อย และ(iv) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่า 58 ดอลลาร์ เนื่องจากความขัดแย้งระหว่าง
สหรัฐฯ และอิหร่านรุนแรงขึ้น หรือมีผลกระทบจากภัยธรรมชาติ
***********************************************************************************************************
หมายเหตุ (8) ตามนิยามใหม่ ธนาคารแห่งประเทศไทย บันทึกรายการ reinvested earning เป็นรายจ่ายบริการในบัญชีเดินสะพัด และ
บันทึกเป็นรายการ รับหรือ inflows ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในส่วนของบัญชี การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่าง
ประเทศ
(9) การปรับลดการประมาณการราคาส่วนหนึ่งเป็นผลของการปรับฐานข้อมูลราคาใหม่ตามกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งราคาส่งออกเพิ่มน้อยกว่า
ฐานราคาเดิมขอธนาคารแห่งประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามทิศทางความเคลื่อนไหวยังคงเป็นไปตามที่คาดเดิม นั่นคือราคาส่งออกและราคานำเข้าจะ
ชะลอตัวในปี 2550
***********************************************************************************************************
(ยังมีต่อ).../2.5 ความน่าจะเป็น..