2.5 ความน่าจะเป็นของภาวะเศรษฐกิจปี 2550 ในกรณีต่าง ๆ
เงื่อนไข/ปัจจัยภายในประเทศชี้ว่าโอกาสที่การลงทุนจะฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้มีน้อยกว่าในกรณีที่การลงทุนภาคเอกชนจะฟื้นตัวช้า โดยที่
การเบิกจ่ายภาครัฐก็ยังต้องเร่งรัด สำหรับโอกาสที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีจะสูงกว่า 58 ดอลลาร์นั้นมีมากกว่าในกรณีที่ราคาน้ำมันจะต่ำกว่าระดับนี้ เนื่อง
จากราคาน้ำมันได้ลดลงมากแล้วในช่วงปลายปี 2549 และความต้องการในปี 2550 ยังเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนของประเทศ
ต่าง ๆ ที่มีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น ประกอบกับมีความเสี่ยงจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน(10)
นอกจากนี้การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นจะทำให้โอกาสที่เศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่นจะขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ ไว้มีมากกว่า
โอกาสในทางสูง เมื่อประกอบกับโอกาสที่ค่าเงินบาทอาจจะแข็งกว่าที่คาดก็จะทำให้การส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยชะลอตัวกว่าที่คาดไว้
ดังนั้นจึงคาดว่าโอกาสความน่าจะเป็นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2550 จะสูงกว่าค่ากลางของการประมาณการที่ร้อยละ 4.5 นั้นมีน้อย
กว่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่าค่ากลาง นั่นคือ เป็นการกระจายของความน่าจะเป็นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เบ้ด้านต่ำ
(Asymmetric probability distribution) คาดว่าความน่าจะเป็นที่การขยายตัวของเศรษฐกิจทั้งปี 2550 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.0 -
5.0 เป็นร้อยละ 85 เท่ากับที่คาดไว้เดิม แต่ค่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.0-4.5 จะมีมากกว่าความน่าจะเป็นที่
เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5-5.0 ซึ่งเป็นการปรับค่าโอกาสความน่าจะเป็นมาให้น้ำหนักมากกว่ากับความเสี่ยงในทางต่ำ (Down side
risks)
***********************************************************************************************************
(10) ในปี 2549 อิหร่านผลิตน้ำมันดิบประมาณวันละ 3.8 - 3.9 ล้านบาเรล จากปริมาณการผลิตวันละ 29 -- 30 ล้านบาเรล ของกลุ่มโอเปค
***********************************************************************************************************
3. การบริหารนโยบายเศรษฐกิจปี 2550
การบริหารเศรษฐกิจในปี 2550 ควรให้ลำดับความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพ การดำเนินมาตรการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการ
ผลิต และการดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนและภาคธุรกิจเอกชนสามารถปรับตัวในช่วงของการเปลี่ยนผ่านด้านการเมือง และภาวะ
เศรษฐกิจชะลอตัว มาตรการเศรษฐกิจสำคัญที่ควรเร่งรัดดำเนินการ ประกอบด้วย
3.1 เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจปี 2550 เพื่อให้อัตราการเบิกจ่ายภาครัฐอย่างต่ำร้อยละ 80
ของกรอบวงเงินงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณประมาณตามกรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด (5,000 ล้านบาท) และโครงการพัฒนาหมู่บ้าน
ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (5,000 ล้านบาท) รวมถึงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาโลจิสติกส์ระยะเร่งด่วน และการลงทุน
ในโครงการรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามกำหนดการ
3.2 ดูแลประชาชนในท้องถิ่น โดยรักษาราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพ และเตรียมมาตรการเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ที่
อาจเกิดขึ้นในช่วงกลางปี
3.3 ส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยการหาตลาดส่งออกใหม่ที่ยังมีการขยายตัวได้ดีในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมอยู่ใน
ช่วงชะลอตัว พร้อมกับการสร้างความเข้าใจและดูแลความปลอดภัยด้านท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
3.4 ดำเนินมาตรการประหยัดพลังงาน และการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขยายการบริการและส่งเสริม
การใช้ NGV และแก็สโซฮอล์
3.5 สร้างความเข้าใจและความมั่นใจของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและดำเนินมาตรการที่
จะสร้างโอกาสในการค้าและลงทุนเพิ่มขึ้น เช่น การเจรจาและลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic
Partnership Agreement: JTEPA) การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและระบบโลจิสติกส์ การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ การเพิ่มโอกาสการ
ลงทุนในด้านพลังงานและพลังงานทดแทน การลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การเตรียมพื้นที่เศรษฐกิจใหม่สำหรับการขยายการผลิตและการลงทุน เป็น
ต้น
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2550
ประมาณการ
ข้อมูลจริง ปี 2550_f
2547 2548 2549_p 4 ธ.ค.49 6 มีค.50
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 6,489.8 7,087.7 7,813.1 8,474.6 8,438.1
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 101,017.2 109,318.4 120,497.4 129,697.7 129,139.3
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 161.0 176.0 206.1 229.0 237.7
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,507 2,715 3,179 3,505.3 3,637.7
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 6.3 4.5 5.0 4.0-5.0 4.0-5.0
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 13.2 11.1 4.0 6.2 4.8
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 16.2 10.9 3.9 7.0 5.0
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) 5.0 11.3 4.5 4.0 4.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 6.1 5.5 3.2 3.8 4.0
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.2 4.3 3.1 3.8 3.8
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 5.6 13.7 3.4 4.0 5.0
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 9.6 4.3 8.5 5.4 5.5
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 94.9 109.2 128.2 139.0 138.3
อัตราการขยายตัว (%) 21.6 15.0 17.4 9.0 7.9
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 8.4 4.3 9.0 5.0 5.4
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 13.4 9.3 1.6 5.6 5.6
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 93.5 117.7 126.0 139.8 136.1
อัตราการขยายตัว (%) 25.7 25.9 7.0 9.6 8.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 12.3 8.9 -0.8 4.6 5.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1.5 -8.5 2.2 -0.8 2.3
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) (1/) 2.8 -7.9 3.2 0.2 3.1
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 1.7 -4.4 1.5 0.1 1.3
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 2.7 4.5 4.7 3.0-3.5 2.5-3.0
GDP Deflator 3.2 4.5 5.0 4.0 3.5
อัตราการว่างงาน 2.1 1.8 1.5 1.8 1.5-2.0
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 มีนาคม 2550
หมายเหตุ : (1/) Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account, and its
contra entry recorded as income on equity in current account.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เงื่อนไข/ปัจจัยภายในประเทศชี้ว่าโอกาสที่การลงทุนจะฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้มีน้อยกว่าในกรณีที่การลงทุนภาคเอกชนจะฟื้นตัวช้า โดยที่
การเบิกจ่ายภาครัฐก็ยังต้องเร่งรัด สำหรับโอกาสที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีจะสูงกว่า 58 ดอลลาร์นั้นมีมากกว่าในกรณีที่ราคาน้ำมันจะต่ำกว่าระดับนี้ เนื่อง
จากราคาน้ำมันได้ลดลงมากแล้วในช่วงปลายปี 2549 และความต้องการในปี 2550 ยังเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนของประเทศ
ต่าง ๆ ที่มีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น ประกอบกับมีความเสี่ยงจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน(10)
นอกจากนี้การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นจะทำให้โอกาสที่เศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่นจะขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ ไว้มีมากกว่า
โอกาสในทางสูง เมื่อประกอบกับโอกาสที่ค่าเงินบาทอาจจะแข็งกว่าที่คาดก็จะทำให้การส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยชะลอตัวกว่าที่คาดไว้
ดังนั้นจึงคาดว่าโอกาสความน่าจะเป็นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2550 จะสูงกว่าค่ากลางของการประมาณการที่ร้อยละ 4.5 นั้นมีน้อย
กว่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่าค่ากลาง นั่นคือ เป็นการกระจายของความน่าจะเป็นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เบ้ด้านต่ำ
(Asymmetric probability distribution) คาดว่าความน่าจะเป็นที่การขยายตัวของเศรษฐกิจทั้งปี 2550 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.0 -
5.0 เป็นร้อยละ 85 เท่ากับที่คาดไว้เดิม แต่ค่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.0-4.5 จะมีมากกว่าความน่าจะเป็นที่
เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5-5.0 ซึ่งเป็นการปรับค่าโอกาสความน่าจะเป็นมาให้น้ำหนักมากกว่ากับความเสี่ยงในทางต่ำ (Down side
risks)
***********************************************************************************************************
(10) ในปี 2549 อิหร่านผลิตน้ำมันดิบประมาณวันละ 3.8 - 3.9 ล้านบาเรล จากปริมาณการผลิตวันละ 29 -- 30 ล้านบาเรล ของกลุ่มโอเปค
***********************************************************************************************************
3. การบริหารนโยบายเศรษฐกิจปี 2550
การบริหารเศรษฐกิจในปี 2550 ควรให้ลำดับความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพ การดำเนินมาตรการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการ
ผลิต และการดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนและภาคธุรกิจเอกชนสามารถปรับตัวในช่วงของการเปลี่ยนผ่านด้านการเมือง และภาวะ
เศรษฐกิจชะลอตัว มาตรการเศรษฐกิจสำคัญที่ควรเร่งรัดดำเนินการ ประกอบด้วย
3.1 เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจปี 2550 เพื่อให้อัตราการเบิกจ่ายภาครัฐอย่างต่ำร้อยละ 80
ของกรอบวงเงินงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณประมาณตามกรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด (5,000 ล้านบาท) และโครงการพัฒนาหมู่บ้าน
ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (5,000 ล้านบาท) รวมถึงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาโลจิสติกส์ระยะเร่งด่วน และการลงทุน
ในโครงการรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามกำหนดการ
3.2 ดูแลประชาชนในท้องถิ่น โดยรักษาราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพ และเตรียมมาตรการเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ที่
อาจเกิดขึ้นในช่วงกลางปี
3.3 ส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยการหาตลาดส่งออกใหม่ที่ยังมีการขยายตัวได้ดีในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมอยู่ใน
ช่วงชะลอตัว พร้อมกับการสร้างความเข้าใจและดูแลความปลอดภัยด้านท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
3.4 ดำเนินมาตรการประหยัดพลังงาน และการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขยายการบริการและส่งเสริม
การใช้ NGV และแก็สโซฮอล์
3.5 สร้างความเข้าใจและความมั่นใจของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและดำเนินมาตรการที่
จะสร้างโอกาสในการค้าและลงทุนเพิ่มขึ้น เช่น การเจรจาและลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic
Partnership Agreement: JTEPA) การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและระบบโลจิสติกส์ การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ การเพิ่มโอกาสการ
ลงทุนในด้านพลังงานและพลังงานทดแทน การลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การเตรียมพื้นที่เศรษฐกิจใหม่สำหรับการขยายการผลิตและการลงทุน เป็น
ต้น
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2550
ประมาณการ
ข้อมูลจริง ปี 2550_f
2547 2548 2549_p 4 ธ.ค.49 6 มีค.50
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 6,489.8 7,087.7 7,813.1 8,474.6 8,438.1
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 101,017.2 109,318.4 120,497.4 129,697.7 129,139.3
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 161.0 176.0 206.1 229.0 237.7
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,507 2,715 3,179 3,505.3 3,637.7
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 6.3 4.5 5.0 4.0-5.0 4.0-5.0
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 13.2 11.1 4.0 6.2 4.8
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 16.2 10.9 3.9 7.0 5.0
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) 5.0 11.3 4.5 4.0 4.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 6.1 5.5 3.2 3.8 4.0
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.2 4.3 3.1 3.8 3.8
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 5.6 13.7 3.4 4.0 5.0
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 9.6 4.3 8.5 5.4 5.5
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 94.9 109.2 128.2 139.0 138.3
อัตราการขยายตัว (%) 21.6 15.0 17.4 9.0 7.9
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 8.4 4.3 9.0 5.0 5.4
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 13.4 9.3 1.6 5.6 5.6
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 93.5 117.7 126.0 139.8 136.1
อัตราการขยายตัว (%) 25.7 25.9 7.0 9.6 8.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 12.3 8.9 -0.8 4.6 5.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1.5 -8.5 2.2 -0.8 2.3
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) (1/) 2.8 -7.9 3.2 0.2 3.1
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 1.7 -4.4 1.5 0.1 1.3
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 2.7 4.5 4.7 3.0-3.5 2.5-3.0
GDP Deflator 3.2 4.5 5.0 4.0 3.5
อัตราการว่างงาน 2.1 1.8 1.5 1.8 1.5-2.0
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 มีนาคม 2550
หมายเหตุ : (1/) Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account, and its
contra entry recorded as income on equity in current account.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-