(ต่อ2)ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 3/2549

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 22, 2007 14:38 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          *  อโลหะ ขยายตัวร้อยละ 9.3 ชะลอตัวจากร้อยละ 10.2 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการผลิตปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างชะลอลง
ตามภาวะการก่อสร้าง
* โลหะ ลดลงต่อเนื่องร้อยละ 4.6 จากความต้องการในประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแร่สังกะสีลดลงมาก
อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี ยังคงขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 8.9 แม้ว่าจะชะลอลงจากร้อยละ 10.4 ในไตรมาสก่อน เป็นผล
มาจากอุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่งออกยังขยายตัวได้ดี เช่น อุตสาหกรรม Hard Disk Drive และ แผงวงจรไฟฟ้า (Integrated Circuit)
อุตสาหกรรมสำคัญในกลุ่มนี้มีดังนี้
* เครื่องจักรสำนักงานฯ ขยายตัวสูงร้อยละ 23.3 เป็นผลจากกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โดยเฉพาะ Hard Disk
Drive ขยายตัวสูงตามการส่งออกที่ยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง
* เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า ขยายตัวสูงร้อยละ 28.1 โดยการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า (Integrated Circuit) ยังขยายตัวได้ดี
ตามภาวะความต้องการในตลาดโลก
* โทรทัศน์ วิทยุ และอุปกรณ์ฯ หดตัวลงร้อยละ 14.4 เนื่องจากการผลิตลดลงโดยเฉพาะกลุ่มโทรทัศน์ขนาดเล็ก และเครื่องเล่นวิทยุ
จากความต้องการในประเทศที่ลดลง
* ยานยนต์ ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 3.4 จากร้อยละ 8.9 ในไตรมาสก่อน ชะลอลงทั้งในกลุ่มของการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถ
ยนต์เพื่อการพาณิชย์ เนื่องจากการจำหน่ายภายในประเทศหดตัวลง ในขณะที่ปริมาณการส่งออกยังขยายตัว
สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซ
" การใช้ไฟฟ้าขยายตัวทุกกลุ่ม ยกเว้นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ "
ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 6.3 จากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากหมวดไฟฟ้า ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 85.4 ของสาขาขยายตัวร้อยละ
7.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อน ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้า โดยรวมที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้
การใช้ไฟฟ้าเกือบทุกประเภทเพิ่มขึ้น เช่น ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัย กิจการขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่และกิจการเฉพาะอย่าง ยกเว้นผู้ใช้
ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ ที่ชะลอตัวลง ส่วนหมวดประปา ขยายตัวร้อยละ 3.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อน สำหรับโรงแยกก๊าซธรรมชาติลด
ลงร้อยละ 5.0 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 ตามปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติที่ลดลง
อัตราการขยายตัวของปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าจำแนกตามประเภทผู้ใช้ (ร้อยละ)
2548 2549
2548
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
ที่อยู่อาศัย 4.0 4.8 6.0 2.7 2.5 5.8 0.3 5.8
สัดส่วน 21.6 20.8 23.1 21.6 20.9 20.9 22.5 21.4
กิจการขนาดเล็ก 7.7 10.5 10.9 7.1 2.7 5.6 0.9 6.5
สัดส่วน 10.1 9.9 10.4 10.1 9.9 9.9 10.2 10.1
กิจการขนาดกลาง 3.6 1.1 4.3 3.4 5.7 8.5 4.5 6.9
สัดส่วน 17.7 17.4 17.3 17.8 18.0 18.0 17.6 17.9
กิจการขนาดใหญ่ 6.2 9.2 8.8 3.9 3.4 3.1 4.1 7.4
สัดส่วน 41.9 42.9 40.5 41.6 42.6 42.1 41.0 41.9
กิจการเฉพาะอย่าง 2.4 0.7 5.2 3.1 0.4 11.5 3.3 5.7
สัดส่วน 3.0 3.0 3.1 3.0 3.0 3.1 3.1 3.0
ส่วนราชการ 1.0 3.9 2.4 0.4 -2.7 0.3 -2.9 5.4
สัดส่วน 3.3 3.2 3.3 3.4 3.1 3.1 3.1 3.4
อื่นๆ 13.8 19.9 18.6 19.8 -0.6 7.0 9.3 5.3
สัดส่วน 2.5 2.8 2.4 2.4 2.5 2.8 2.5 2.4
รวม 5.3 6.7 7.4 4.0 3.2 5.1 2.8 6.7
ที่มา : การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน
" การผลิตก๊าซธรรมชาติแลน้ำมันดิบการผลิตลดลง แต่แร่อื่นๆขยายตัวสูงขึ้น "
ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 ต่ำกว่าร้อยละ 6.6 ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติ ก๊าชธรรมชาติเหลวและน้ำมัน
ดิบ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 63.4 ของสาขา ลดลงร้อยละ 2.9 จากไตรมาสก่อน ที่ขยายตัวร้อยละ 11.0 ก๊าซธรรมชาติลดลงร้อยละ 5.0 จากที่ขยาย
ตัวร้อยละ 3.7 โดยการผลิตลดลงเกือบทุกแหล่งยกเว้นแหล่งเอราวัณ ที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 น้ำมันดิบลดลงร้อยละ 3.4 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว
สูงถึงร้อยละ 36.1 ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติเหลว ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากร้อยละ 11.2 ในไตรมาสก่อน ลิกไนต์ลดลงต่อเนื่องร้อยละ 3.5 อย่างไร
ก็ตาม แร่อื่นๆ ประกอบด้วยยิปซัม หินอ่อน แกรนิตและอื่นๆ ขยายตัวสูงร้อยละ 17.8 จากร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อน
สาขาการก่อสร้าง
" การก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 5.1 "
ขยายตัวร้อยละ 5.1 การก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชนชะลอลงเหลือ ร้อยละ 6.7 และ ร้อยละ 2.6 จากร้อยละ 9.1 และร้อยละ
2.9 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ทั้งนี้เนื่องจากการก่อสร้างภาครัฐยังไม่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่เกิดขึ้นใหม่ ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชน
ชะลอลงส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการหยุดชะงักเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ทำให้ในไตรมาสนี้การก่อสร้างอาคารเพื่อที่อยู่อาศัย
อาคารเพื่อการพาณิชย์และอาคารโรงงานชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้ประกอบการบางส่วนชะลอการลงทุนตามสถานการณ์ทางการเมือง
สาขาคมนาคมและขนส่ง
" โทรคมนาคมขยายตัวสูงขึ้น แต่บริการขนส่งชะลอลงโดยเฉพาะการขนส่งสินค้า "
ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.8 จากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อน โดยบริการโทรคมนาคมขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.4 จากร้อยละ 5.1
ในไตรมาสก่อน ส่วนบริการการขนส่งขยายตัวร้อยละ 3.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากการขนส่งสินค้าขยายตัวชะลอลง
ตามภาวะการผลิตของสาขาเกษตรและอุตสาหกรรม
อัตราการขยายตัวรายการสำคัญในสาขาคมนาคมและขนส่ง (ร้อยละ)
2548 2549
2548
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
การขนส่ง 2.4 2.2 2.0 2.6 2.7 4.6 4.5 3.2
การขนส่งทางบก 4.7 5.6 4.7 6.2 2.4 1.8 -0.6 0.1
การขนส่งทางอากาศอากาศ -2.5 -4.8 -2.6 -3.6 0.9 7.7 11.1 5.8
การขนส่งทางน้ำ 12.5 13.8 10.6 11.3 14.4 4.5 3.9 6.6
ยังมีต่อ).../สาขาค้าส่งปลีก...

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ