2.2.2 ประเด็นภายในประเทศที่ต้องระมัดระวังประกอบด้วย
(1) การลงทุนภาคเอกชนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ในปี 2549 การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่องและวงเงินลงทุนโครงการ
ลงทุนที่ได้รับอนุมัติสิทธิประโยชน์การลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในปี 2549 ลดลงร้อยละ 34.6 ซึ่งจะส่งผลถึงการลงทุนจริงในปี 2550
ประกอบกับนักลงทุนยังรอดูสถานการณ์การเมืองและการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจต่าง ๆ และความเชื่อมั่นของนักธุรกิจยังอยู่ในระดับต่ำ จึงอาจส่งผล
ให้การลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ แม้ว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยลง อย่างไรก็ตามการสร้างความความเข้าใจและความมั่นใจของนักลงทุน
ทั้งในและต่างประเทศเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดำเนินการต่อเนื่อง โดยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและดำเนินมาตรการที่จะสร้างโอกาสในการค้าและลงทุนเพิ่ม
ขึ้น เช่น การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและระบบโลจิสติกส์ การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ การเพิ่มโอกาสการลงทุนในด้านพลังงานและพลังงาน
ทดแทน การลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การเตรียมพื้นที่เศรษฐกิจใหม่สำหรับการขยายการผลิตและการลงทุน เป็นต้น
การลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
วงเงิน (พันล้านบาท) 2548 2549 ม.ค.
2549 2550
- วงเงินขอรับการส่งเสริม 673.7 514.3 18.4 40.6
(%) (5.7) (-23.7) (-85.5) (120.7)
- วงเงินได้รับอนุมัติส่งเสริม 571.3 373.5 16.1 39.8
(%) (-4.9) (-34.6) (-25.0) (145.7)
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(2) การปรับตัวของภาคการผลิตเพื่อการส่งออกภายใต้มาตรการทางการค้าที่เข้มงวดมากขึ้น อาจจะเป็นข้อจำกัดด้านการ
ส่งออก อาทิ (i) การทบทวนสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) ของสหรัฐฯ สำหรับการส่งออกอัญมณีซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกต้องเสียภาษีร้อยละ 6.5 นอก
จากนี้สหรัฐฯ ยังจะพิจารณาว่าในปี 2550 จะตัดสิทธิ GSP ที่ให้กับการส่งออกโทรทัศน์ของไทยหรือไม่เนื่องจากพิจารณาว่าประเทศไทยมีศักยภาพใน
การส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์สูงขึ้น จนทำให้ส่วนแบ่งตลาดของไทยเพิ่มขึ้น (ii) กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเตรียมประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยการจำกัด
การใช้สารอันตรายในเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Restriction on Hazardous Substances: RoHS) ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบ
การขนาดกลางขนาดเล็กต้องปรับตัวที่จะรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น และ (iii) คณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมกำหนดให้ผู้ส่งออกสินค้าอาหารและอาหาร
ของสัตว์น้ำต้องมีใบรับรองการตรวจสอบสารไดออกซินก่อนส่งออกไปประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการส่งออกสูงขึ้น
(3) ราคาสินค้าเกษตรชะลอตัวและจะกระทบรายได้เกษตรกร โดยเฉพาะราคายางพารา ข้าวโพด และข้าวเปลือก ใน
ปี 2548-2549 ราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยสนับสนุนฐานรายได้เกษตรกรที่สำคัญ แต่ในปี 2550 ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกมีแนวโน้มชะลอ
ตัวเนื่องจากมีการปรับราคาไปมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และภาวะการผลิตในตลาดโลกมีแนวโน้มปกติ นอกจากนี้เกษตรกรไทยยังมีความเสี่ยงในเรื่อง
อากาศแห้งแล้งจากภาวะฝนทิ้งช่วงที่ทำให้การเพาะปลูกต้องล่าช้าออกไปหรือผลผลิตเสียหาย
2.3 สมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2550: เศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 4.2 ราคาน้ำมันดิบดูไบราคาบาเรลละ 55-60
ดอลลาร์ สรอ.
(1) เศรษฐกิจโลกในปี 2550 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 ในปี 2549 และร้อยละ 4.4 ใน
ปี 2548 จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจหลัก ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น และเอเชีย ซึ่งจะเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่เข้มงวด
มากขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การชะลอตัวของวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ และผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2547
(ยังมีต่อ).../(2) ราคาน้ำมันดิบ..