- สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ก่อนจะตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ แต่อัตราดอกเบี้ย
R/P 1 และ 7 วัน ยังเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 4.90625 - 4.9375 และ 4.9375 - 5.0 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตรา
ดอกเบี้ย R/P 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวสูงขึ้น จากแรงเทขายที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีราคาลดต่ำลง และ
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ปรับตัวสูงขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ จากความต้องการซื้อดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกและนักลงทุนเพื่อปิดฐานะเงินตราต่าง
ประเทศ นอกจากนี้ เงินบาทยังปรับแข็งค่าขึ้นมากในตลาด offshore เนื่องจากนักลงทุนต้องการขาย short เงินบาทและเพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการ
สำหรับการซื้อเงินบาทในประเทศ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกิน
จากการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่และการนำส่งเงินสบทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
งวดสิ้นปีมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวยังเคลื่อนไหวไม่เปลี่ยน
แปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของปี โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้
ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาด
เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.9375 และ 5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.0
ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 -4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี
ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 96,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
29,000 ล้านบาท ซึ่งแบ่งประมูลเป็น 2 ครั้งในวันจันทร์และวันศุกร์ และมีการประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 7 วัน 13 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม
61,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 และ 20 ปี วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังที่ประมูลในวันจันทร์ปรับตัว
สูงขึ้นมากจากสัปดาห์ก่อน แต่ปรับตัวลดลงเล็กน้อยในการประมูลในวันศุกร์ ส่วนพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ในขณะที่พันธบัตร ธปท. มี
อัตราผลตอบแทนลดลง ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 80,247 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 15,753 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 242,110 ล้านบาท หรือคิดเป็น 48,422 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 53 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 80 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะปานกลาง - ยาวยังคงปรับตัวสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังมีแรงเทขายจากนักลงทุน ซึ่งเป็นผลมาจากการออกมาตรการเพื่อสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาทของ ธปท. ในสัปดาห์
ก่อน โดยอัตราผลตอบแทน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 10-36 basis points ส่วน
พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี อัตราผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวลดลง 102 และ 50 basis
point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น โดยในช่วงต้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากการยอดค้า
ปลีกที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ก่อนที่จะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ จากการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งทำให้นักลงทุนเชื่อว่า Fed
จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในระยะเวลาอันใกล้นี้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นระหว่าง 3-11
basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ธ.ค. 49 35.78
เฉลี่ย 18 - 22 ธ.ค. 49 35.85
25 ธ.ค. 49 36.36
26 ธ.ค. 49 36.34
27 ธ.ค. 49 36.29
28 ธ.ค. 49 36.21
29 ธ.ค. 49 36.05
เฉลี่ย 25 - 29 ธ.ค. 49 36.25
เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ท่ามกลางปริมาณซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากตลาด
ต่างประเทศหลายตลาดปิดทำการเนื่องในวันหยุดเทศกาลคริสต์มาสและเป็นช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่ แต่เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 36.25 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 1.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้เงินบาทในประเทศแข็งค่าขึ้น ได้แก่ ความต้องการ
ขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทยและนักลงทุนเพื่อปิดฐานะเงินตราต่างประเทศก่อนสิ้นปี ประกอบกับนักลงทุนเกรงว่าอาจเกิดความไม่แน่นอน
จากการออกมาตรการของ ธปท. จึงมีความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. และถือเงินบาทเพิ่มขึ้น สำหรับเงินบาทในตลาดต่างประเทศ
(offshore) ปรับแข็งค่าขึ้นมากโดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์ จากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของนักลงทุนเพื่อขาย short เงินบาท
และเพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการสำหรับการซื้อเงินบาทในประเทศ ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก
โดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์ จากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
R/P 1 และ 7 วัน ยังเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 4.90625 - 4.9375 และ 4.9375 - 5.0 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตรา
ดอกเบี้ย R/P 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวสูงขึ้น จากแรงเทขายที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีราคาลดต่ำลง และ
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ปรับตัวสูงขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ จากความต้องการซื้อดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกและนักลงทุนเพื่อปิดฐานะเงินตราต่าง
ประเทศ นอกจากนี้ เงินบาทยังปรับแข็งค่าขึ้นมากในตลาด offshore เนื่องจากนักลงทุนต้องการขาย short เงินบาทและเพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการ
สำหรับการซื้อเงินบาทในประเทศ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกิน
จากการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่และการนำส่งเงินสบทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
งวดสิ้นปีมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวยังเคลื่อนไหวไม่เปลี่ยน
แปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของปี โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้
ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาด
เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.9375 และ 5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.0
ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 -4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี
ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 96,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
29,000 ล้านบาท ซึ่งแบ่งประมูลเป็น 2 ครั้งในวันจันทร์และวันศุกร์ และมีการประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 7 วัน 13 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม
61,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 และ 20 ปี วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังที่ประมูลในวันจันทร์ปรับตัว
สูงขึ้นมากจากสัปดาห์ก่อน แต่ปรับตัวลดลงเล็กน้อยในการประมูลในวันศุกร์ ส่วนพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ในขณะที่พันธบัตร ธปท. มี
อัตราผลตอบแทนลดลง ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 80,247 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 15,753 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 242,110 ล้านบาท หรือคิดเป็น 48,422 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 53 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 80 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะปานกลาง - ยาวยังคงปรับตัวสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังมีแรงเทขายจากนักลงทุน ซึ่งเป็นผลมาจากการออกมาตรการเพื่อสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาทของ ธปท. ในสัปดาห์
ก่อน โดยอัตราผลตอบแทน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 10-36 basis points ส่วน
พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี อัตราผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวลดลง 102 และ 50 basis
point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น โดยในช่วงต้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากการยอดค้า
ปลีกที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ก่อนที่จะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ จากการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งทำให้นักลงทุนเชื่อว่า Fed
จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในระยะเวลาอันใกล้นี้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นระหว่าง 3-11
basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ธ.ค. 49 35.78
เฉลี่ย 18 - 22 ธ.ค. 49 35.85
25 ธ.ค. 49 36.36
26 ธ.ค. 49 36.34
27 ธ.ค. 49 36.29
28 ธ.ค. 49 36.21
29 ธ.ค. 49 36.05
เฉลี่ย 25 - 29 ธ.ค. 49 36.25
เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ท่ามกลางปริมาณซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากตลาด
ต่างประเทศหลายตลาดปิดทำการเนื่องในวันหยุดเทศกาลคริสต์มาสและเป็นช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่ แต่เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 36.25 บาทต่อ
ดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 1.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้เงินบาทในประเทศแข็งค่าขึ้น ได้แก่ ความต้องการ
ขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทยและนักลงทุนเพื่อปิดฐานะเงินตราต่างประเทศก่อนสิ้นปี ประกอบกับนักลงทุนเกรงว่าอาจเกิดความไม่แน่นอน
จากการออกมาตรการของ ธปท. จึงมีความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. และถือเงินบาทเพิ่มขึ้น สำหรับเงินบาทในตลาดต่างประเทศ
(offshore) ปรับแข็งค่าขึ้นมากโดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์ จากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของนักลงทุนเพื่อขาย short เงินบาท
และเพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการสำหรับการซื้อเงินบาทในประเทศ ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก
โดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์ จากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-