ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก และแนวโน้มปี 2550

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 5, 2007 15:50 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          - เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ทรงตัวจากช่วงปลายปี 2549 โดยที่การส่งออกสินค้าและบริการเป็นสาขาสนับสนุนการขยายตัวที่สำคัญ และชดเชยการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวลงมากภาพรวมเศรษฐกิจยังมีเสถียรภาพ โดยที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 2.4 ลดลงตามลำดับตั้งแต่ครึ่งหลังปี2549 อัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.6 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 5.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
- การใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเพิ่มขึ้นทั้งการใช้จ่ายประจำและการลงทุน และสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้น โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 และ 2.1 ตามลำดับ ณ ราคาคงที่
- อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินปรับลดลงแต่สภาพคล่องยังอยู่ในระดับสูงและเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ในไตรมาสแรกสินเชื่อยังชะลอตัวต่อเนื่องในเกือบทุกสาขาสำคัญในขณะที่เงินฝากยังเพิ่มขึ้น ทำให้สภาพคล่องทางการเงินยังอยู่ในระดับสูง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นแต่เคลื่อนไหวในช่วงที่แคบลงและมีความใกล้เคียงกับค่าเงินในภูมิภาคมากขึ้น
- การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในไตรมาสแรกปริมาณการใช้ลดลงร้อยละ 5.7 แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ที่ลดลงร้อยละ 3.7 ในปี 2549 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในปี 2548
- คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2550 จะขยายตัวร้อยละ 4.0-4.5 โดยที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี การส่งออกจะยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีแม้จะเริ่มชะลอตัวลงบ้างในครึ่งหลังของปีตามภาวะการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์และส่วนประกอบ สำหรับปัจจัยที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2550 ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำลง การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ และการส่งออก
- เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดีในปี 2550 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีจะเท่ากับร้อยละ 2.0 — 2.5 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 3.0 - 4.0 ของ GDP และอัตราการว่างงานจะยังต่ำร้อยละ 1.5 — 2.0
1. ภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาสแรก
1.1 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 4.3 ทรงตัวจากไตรมาสสุดท้ายปี 2549 โดยแรงสนับสนุนหลักมาจากการส่งออกสุทธิทั้งสินค้าและบริการที่เพิ่มสูง และการใช้จ่ายภาครัฐที่มีการเบิกจ่ายมากขึ้น ซึ่งช่วยชดเชยผลจากการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอตัวลงมาก และการ
ลงทุนภาคเอกชนที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 21 ไตรมาสที่ผ่านมา
ประเด็นหลัก
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 4.3 เท่ากับไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 แต่นับว่ายังอยู่ในช่วงของการชะลอตัวเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.1 5.0 และ 4.7 ในสามไตรมาสแรกของปี 2549 แรงสนับสนุนหลักของเศรษฐกิจยังมาจากการส่งออกที่ขยายตัวได้สูงกว่าที่คาด ในขณะที่การนำเข้ายังชะลอตัว นอกจากนั้นยังมีแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้มากขึ้น โดยการ
ลงทุนภาครัฐ และการใช้จ่ายรัฐบาล ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และ 11.2 ตามลำ ดับ แต่การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 และการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลของการปรับตัวต่อการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี 2548 ต่อเนื่องในปี 2549 ที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงสูงขึ้น นอกจากนี้ในไตรมาสแรกมีการลดการสะสมสินค้าคงคลังลงมากเพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเพื่อการส่งออกที่มีมากกว่าปริมาณการผลิตนอกจากนั้นลักษณะการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีลักษณะไม่สมดุลมากขึ้น นั่นคืออุปสงค์ในประเทศยังปรับตัวช้ากว่าภาคส่งออก และความเชื่อมโยงระหว่างกันมีน้อยลง เนื่องจากกลุ่มสินค้าส่งออกที่ขยายตัวได้มากค่อนข้างกระจุกตัวในกลุ่มสินค้าที่ใช้สัดส่วนวัตถุดิบและชิ้นส่วนนำเข้าสูง
- การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 2.4 จากที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 3.3 2.9 และ 2.3 ในสี่ไตรมาสปี 2549 โดยการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ลดลงร้อยละ 2.9 และทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 6.6 สำหรับการลงทุนในการก่อสร้างนั้นลดลงร้อยละ 0.7 โดยที่การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 15.7 และการก่อสร้างอาคารพาณิชย์และที่อยู่อาศัยขยายตัวช้าลง ปัจจัยหลักที่ทำให้การ
ลงทุนลดลงมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนในโอกาสทางเศรษฐกิจและบรรยากาศทางการเมืองยังอยู่ในระดับต่ำนอกจากนั้นนักลงทุนยังรอดูความชัดเจนในเรื่องการรับร่างภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก และแนวโน้มปี 2550 4 มิถุนายม 2550 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 3 รัฐธรรมนูญ การกำหนดวันเลือกตั้ง และการดำเนินมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการคาดการณ์ว่าแนวโน้มการส่งออกจะชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
- การใช้จ่ายครัวเรือนชะลอตัวลงมาก โดยขยายตัวร้อยละ 1.3 ชะลอตัวลงตามลำดับจากที่มีการขยายตัวร้อยละ 3.9 3.3 2.8 และ 2.5 ในช่วง 4 ไตรมาสของปี 2549 การใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทนยังคงลดลง โดยลดลงร้อยละ 6.2 โดยเฉพาะสินค้าในหมวด ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าแ ละสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อรายได้ที่ชะลอตัวลงอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ยังสูง และความเชื่อมั่นที่ลดลง แต่สำหรับการใช้จ่ายซื้อสินค้าไม่คงทนประเภทอาหาร และสินค้ากึ่งคงทนยังเพิ่มขึ้น
- การส่งออกขยายตัวสูง โดยเฉพาะในด้านปริมาณ แต่ราคาค่อนข้างทรงตัว มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 จากปริมาณที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ4.7 สินค้าส่งออกที่ขยายตัวมาก ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยางสำหรับการส่งออกข้าว และยางพารากลับมาขยายตัวได้ดีกว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วโดยที่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนั้นปริมาณการส่งออกมันสำปะหลังก็เพิ่มขึ้นมากจากความต้องการของประเทศจีนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการผลิตแอลกอฮอล์เพื่อใช้
ในพลังงานทดแทนอย่างไรก็ตามเริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวของการส่งออก เมื่อพิจารณาจากมูลค่าส่งออกในเดือนเมษายนที่ขยายตัวร้อยละ 16.5 โดยที่การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเพียงร้อยละ 10.0 ชะลอตัวลงชัดเจนจากที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 16.2 ในไตรมาสแรก ความเคลื่อนไหวที่สำคัญ ๆ ของการส่งออก มีดังนี้
- สินค้าส่งออกที่ขยายตัวสูงในไตรมาสแรกยังคงเป็นกลุ่มที่ขยายตัวได้ดีมาตลอดช่วงปี 2549 และเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวดีในปีที่แล้วได้แก่คอมพิวเตอร์แผงวงจรไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ วัสดุก่อสร้าง รถยนต์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้นโดยที่สินค้ากลุ่มนี้ยังขยายตัวได้สูงต่อเนื่องในเดือนเมษายน สัดส่วนของสินค้าเหล่านี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 49.0 ของการส่งออกรวม(1)
- การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง แต่เป็นการชะลอตัวที่ช้ากว่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค ได้แก่มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ รวมทั้งจีน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้งด้านการผลิตและความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยในด้านการผลิตนั้นได้มีการขยายฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมากขึ้นตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา โดยเฉพาะการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ทำให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายสำคัญของโลก โดยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกประมาณร้อยละ 45 สำหรับด้านความต้องการ ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีการกระจายตัวมากขึ้นจากตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นไปสู่ประเทศจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น และด้วยอัตราการขยายตัวที่สูง ดังจะเห็นได้จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศจีนในช่วง 4 เดือนแรกของปีที่มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 33.6 และมีสัดส่วนร้อยละ 14.9 จากที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 12.0 และสัดส่วนร้อยละ 13.6 ในปี 2549 ทั้งนี้จีนมีความต้องการนำเข้าทั้งสินค้าประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไม่เฉพาะแต่เพื่อใช้ในการผลิตเพื่อส่งออกแต่รวมถึงการผลิตสินค้าสำเร็จรูปสำหรับจำหน่ายภายในประเทศที่ความต้องการเพิ่มขึ้น
- การส่งออกไปยังตลาดหลักที่ยังขยายตัวได้ดีประกอบด้วยญี่ปุ่นอาเซียนและยุโรป และในขณะเดียวกันก็ได้มีการขยายฐานการส่งออกกว้าง
ขึ้น โดยมีการส่งออกไปยังประเทศอินเดีย ยุโรปตะวันออกอาเซียน ตะวันออกกลาง จีน ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น(2) และใน อัตราการขยายตัวที่สูง ทำให้สามารถชดเชยการส่งออกไปยังสหรัฐที่ชะลอตัวลงได้บางส่วน โดยสินค้าส่งออกไปยังตลาดสหรัฐที่ลดลงแต่ส่งออกไปยังตลาดอื่นได้เพิ่มขึ้นได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบเครื่องจักรเป็นต้น
*********************************************************************************************************
หมายเหตุ (1) รวมหมวดอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง และผลิตภัณฑ์ยาง
(2) ตลาดจีน อินเดีย ยุโรปตะวันออก อาเซียน และตะวันออกกลางคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.0
*********************************************************************************************************
- มูลค่าการนำเข้าสินค้าชะลอตัวลงในไตรมาสแรก แต่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวในเดือนเมษายน ในไตรมาสแรกมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากราคาและปริมาณที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 และ 0.1 ตามลำดับ โดยที่การนำเข้าวัตถุดิบยังขยายตัวสูงตามการส่งออก และการนำเข้าสินค้า
อุปโภคบริโภคขยายตัวสูงจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่การนำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 6.6 ต่อเนื่องจากที่ลดลงร้อยละ3.3 ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วตามการลงทุนภายในประเทศที่ลดลง และการนำเข้าเชื้อเพลิงลดลงต่อเนื่องเช่นกัน อย่างไรก็ตามการนำ เข้าได้เร่งตัวขึ้นในเดือนเมษายน เป็นการ
ขยายตัวร้อยละ 11.2 จากการนำเข้าสินค้าทุนที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 8.6 และการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าอุปโภคบริโภคที่ยังขยายตัวสูงต่อเนื่องร้อยละ 18.9 และ 18.7ตามลำดับ เมื่อปรับปัจจัยทางฤดูกาลออกแล้วก็ยังแสดงถึงแนวโน้มการนำเข้าที่จะฟื้นตัวขึ้นในช่วงต่อไป ซึ่งส่วนหนึ่ง
เป็นเพราะได้มีการลดการสะสมสินค้าคงคลังมาอย่างต่อเนื่อง
- ดุลการค้าเกินดุล 4,127 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรกปี 2550 เทียบกับที่เกินดุลเท่ากับ 2,244.7 ล้านดอลลาร์สรอ. ในปี 2549 แต่ดุลการค้าในเดือนเมษายนกลับมาขาดดุล97.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าที่เร่งตัวขึ้น
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 5,452.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรกของปี จากการเกินดุลการค้าสูง ประกอบกับดุลบริการบริจาคและเงินโอนที่เกินดุล 1,325.2 ล้านดอลลาร์สรอ. สูงกว่าไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันในปี 2549 โดยมีรายรับจากบริการท่องเที่ยวและค่าขนส่งสุทธิเพิ่มขึ้นประกอบกับมีรายได้ที่ส่งกลับจากแรงงานไทยในต่างประเทศเพิ่มขึ้น และเงินโอนสุทธิที่เพิ่มขึ้นจากดุลบริการบริจาคและเงินโอนที่เกินดุล สำหรับในเดือนเมษายนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 43.7 ล้านดอลลาร์ สรอ.
- ภาคการผลิตขยายตัวน้อยกว่าความต้องการสินค้ารวมทำ ให้มีการลดการสะสมสินค้าคงคลังลงมากเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในไตรมาสแรกปี2550 ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.3 เนื่องจากผลผลิตอ้อยและมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตข้าวนาปีและข้าวโพดลดลง
การผลิตนอกภาคเกษตรชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 4.3 อุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่มีผลผลิตลดลง เช่น ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยานยนต์และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องประดับ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัวเป็นสำคัญ ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการลดลงส่งผลให้การลงทุนชะลอตัวลงและส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการชะลอตัวในภาคบริการต่าง ๆ เช่น สาขาการก่อสร้าง โรงแรมและภัตตาคาร การค้าปลีกค้าส่ง บริการทางการเงิน เป็นต้น
(ยังมีต่อ).../ในด้านเสถียรภาพ...

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ