๑.๘ สนับสนุนการกระจายอำนาจอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจ เนื่องจากเป็นพื้นฐานสนับสนุนการปกครอง
ตามระบอบประชาธิปไตย ให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองและปกครองตนเองได้ และสามารถให้บริการตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นอย่างมี
ประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาลโดยในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
๑.๘.๑ ผลการดำเนินงานหลัก รัฐบาลได้สนับสนุนให้มีการถ่ายโอนภารกิจ จัดสรรรายได้ ปรับแก้กฎหมาย และจัดทำแผนการกระจาย
อำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเอื้ออำนวยให้การกระจายอำนาจสัมฤทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมสรุปได้ดังนี้
๑.๘.๑.๑ ด้านการถ่ายโอนภารกิจ รัฐบาลได้ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง โดย
ทยอยถ่ายโอนภารกิจทั้งสิ้น ๑๘๑ ภารกิจ จาก ๒๔๕ ภารกิจ ใน ๖ ด้าน ประกอบด้วย ๑) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ๒) ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต
๓) ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย ๔) ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว
๕) ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และ ๖) ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑.๘.๑.๒ ด้านการจัดสรรรายได้ให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลได้จัดสรรรายได้ให้
แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๑๗ ต่อรายได้รัฐบาล โดยเพิ่มจากปี ๒๕๔๙ ซึ่งได้รับจัดสรรรายได้ร้อยละ ๒๔.๕ ต่อรายได้รัฐบาล
๑.๘.๑.๓ ด้านการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้ออำนวยให้การ กระจายอำนาจมีสัมฤทธิผล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาล
ได้แก้ไขกฎหมายที่สำคัญ คือ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งมี
สาระสำคัญ ดังนี้ "...โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ คิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้สุทธิของรัฐบาล
ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า และมีจุดมุ่งหมายที่จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายได้เพิ่มคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลในอัตราไม่น้อยกว่า
ร้อยละสามสิบห้า..." การแก้กฎหมายดังกล่าวได้ วยแก้ไขปัญหาความไม่สอดคล้องระหว่างการถ่ายโอนงาน-เงิน-คน ช่วยลดภาระทางการเงินของ
ประเทศ และจะทำให้การ ระจายอำนาจสามารถดำเนินการลุล่วงได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริง
๑.๘.๑.๔ การจัดทำร่างแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. .... รัฐบาลกำลัง
จัดทำร่างแผนการกระจายอำนาจฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. .... โดยมีสาระ ดังนี้
๑) หลักการ ยึดหลักการ ๓ ด้าน คือ ด้าน ความเป็นอิสระ ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและส่วนท้องถิ่น ด้าน
ประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๒) การจัดสรรรายได้ ปรับให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๙ อตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาล
๓) การพัฒนาระบบบริหาร ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการเงิน การคลัง ปรับปรุงรายได้ที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเอง ปรับปรุงภาษีอากรที่รัฐแบ่ง/จัดสรร/จัดเก็บให้ปรับปรุงแนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุน พัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้าง ระบบ
บัญชี ระบบการติดตามตรวจสอบและประเมินผล
๔) การถ่ายโอนบุคลากร ยึดหลัก งานไป-เงินไป-ตำแหน่งไป ตามความสมัครใจของบุคลากร และปรับมาตรฐาน
บริหารงาน คคลให้เทียบเท่าเจ้าหน้าที่รัฐประเภทอื่น
๕) การกำกับดูแล ดำเนินการในลักษณะที่จำเป็น โดยส่งเสริมให้ประชาชนและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการกำกับ
ดูแล ละมีระบบประกันคุณภาพบริการสาธารณะ
๑.๘.๑.๕ การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒)
รัฐบาลอยู่ระหว่างการยกร่างแผนปฏิบัติการฯ (ฉบับที่ ๒) โดยมีสาระสำคัญ ๖ ด้าน ประกอบด้วย๑) ด้านภารกิจ ๒) ด้านการเงิน การคลัง และงบ
ประมาณ ๓) ด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง ๔) ด้านการถ่ายโอนบุคลากรและพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคล
ส่วนท้องถิ่น ๕) ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน/ภาคประชาสังคมและการตรวจสอบติดตามประเมินผล และ ) ด้านการแก้ไขหรือจัดให้มี
กฎหมายที่ดำเนินการตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
" ร่างแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) ด้านภารกิจ กำหนดให้
ถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม ๑๑๕ งาน โดยเป็นภารกิจที่อยู่ระหว่างการถ่ายโอน ๔๑ งาน ภารกิจ
ที่ต้องปรับปรุงขั้นตอนการถ่ายโอน ๓๒ งาน และภารกิจใหม่ ๔๒ งาน ระยะเวลาถ่ายโอนตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ - ๒๕๕๓ "
๑.๘.๒ ผลการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครือข่ายและการพัฒนาองค์ความรู้ในการ
บริหารจัดการและการปกครองท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง สรุปได้ดังนี้
๑.๘.๒.๑ การจัดตั้งศูนย์เครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น (Clinic Center)
รัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์เครือข่ายเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างส่วนราชการ
สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในลักษณะเครือข่ายการบริหารจัดการ ละการปกครองท้องถิ่น โดยในปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลได้ขยายศูนย์เครือข่ายฯ เพิ่มอีก ๖ จังหวัด จากเดิม ๑๕ จังหวัด ห้ครอบคลุมทุกจังหวัดในภูมิภาค
๑.๘.๒.๒ การพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลได้ดำเนินการพัฒนา
คลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
๑) การฝึกอบรมสัมมนา รัฐบาลได้ฝึกอบรม บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๘,๗๖๓ คน แยกเป็นฝ่ายการ
เมือง ๔,๒๕๑ คน และฝ่ายประจำ ๔,๕๑๒ คน
๒) การจัดหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลร่วมกับมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีและปริญญา
โท เพื่อพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น ประกอบด้วย หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการปกครองท้องถิ่น (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต) หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่น
(มหาวิทยาลัยของรัฐ ๓๔ แห่งทั่วประเทศ) และ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต)
๓) ระบบงานคลังคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลได้ดำเนินการทดสอบ
ระบบงานคลังคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทดสอบการลงบันทึกและรายงานข้อมูลการคลังผ่านระบบ
บัญชีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ เดือนมีนาคม ๒๕๕๐ ได้เริ่มจัดอบรมระบบงานคลังคอมพิวเตอร์ฯ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจะจัดอบรมให้ครบ ๕
แห่ง ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๐
๔) โครงการนำร่องการถ่ายโอนสถานีอนามัยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลจะทดลองถ่ายโอนสถานีอนามัย
จำนวน ๓๕ แห่ง ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล ที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการดีเด่น ปี ๒๕๔๘ และปี ๒๕๔๙ และได้เข้าร่วมโครงการหลักประกัน
สุขภาพระดับพื้นที่ การถ่ายโอนสถานีอนามัย ๓๕ แห่งดังกล่าว เป็นโครงการนำร่องเพื่อถอดบทเรียนมาปรับปรุงและ ขยายผลการถ่ายโอนสถานีอนามัย
ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลในระยะต่อไป
๕) การสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษาสืบเนื่องจากการถ่ายโอนสถานศึกษาตามบัญชี ๑ จำนวน ๗๑ แห่ง
รัฐบาลได้ สนับสนุนการเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยอนุมัติงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๐ (ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด และ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเด็กนัก
เรียน ตลอดจนพัฒนาครูและบุคลากรของการศึกษาให้มีคุณภาพ พัฒนาอาคารสถานที่ พัฒนาอนามัยเด็ก พัฒนาโรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน รวม
๓๖ โครงการ คิดเป็นวงเงิน ๔๗.๔ ล้านบาท
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ตามระบอบประชาธิปไตย ให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองและปกครองตนเองได้ และสามารถให้บริการตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นอย่างมี
ประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาลโดยในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
๑.๘.๑ ผลการดำเนินงานหลัก รัฐบาลได้สนับสนุนให้มีการถ่ายโอนภารกิจ จัดสรรรายได้ ปรับแก้กฎหมาย และจัดทำแผนการกระจาย
อำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเอื้ออำนวยให้การกระจายอำนาจสัมฤทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมสรุปได้ดังนี้
๑.๘.๑.๑ ด้านการถ่ายโอนภารกิจ รัฐบาลได้ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง โดย
ทยอยถ่ายโอนภารกิจทั้งสิ้น ๑๘๑ ภารกิจ จาก ๒๔๕ ภารกิจ ใน ๖ ด้าน ประกอบด้วย ๑) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ๒) ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต
๓) ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย ๔) ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว
๕) ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และ ๖) ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑.๘.๑.๒ ด้านการจัดสรรรายได้ให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลได้จัดสรรรายได้ให้
แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๑๗ ต่อรายได้รัฐบาล โดยเพิ่มจากปี ๒๕๔๙ ซึ่งได้รับจัดสรรรายได้ร้อยละ ๒๔.๕ ต่อรายได้รัฐบาล
๑.๘.๑.๓ ด้านการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้ออำนวยให้การ กระจายอำนาจมีสัมฤทธิผล ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาล
ได้แก้ไขกฎหมายที่สำคัญ คือ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งมี
สาระสำคัญ ดังนี้ "...โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ คิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้สุทธิของรัฐบาล
ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า และมีจุดมุ่งหมายที่จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายได้เพิ่มคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลในอัตราไม่น้อยกว่า
ร้อยละสามสิบห้า..." การแก้กฎหมายดังกล่าวได้ วยแก้ไขปัญหาความไม่สอดคล้องระหว่างการถ่ายโอนงาน-เงิน-คน ช่วยลดภาระทางการเงินของ
ประเทศ และจะทำให้การ ระจายอำนาจสามารถดำเนินการลุล่วงได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริง
๑.๘.๑.๔ การจัดทำร่างแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. .... รัฐบาลกำลัง
จัดทำร่างแผนการกระจายอำนาจฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. .... โดยมีสาระ ดังนี้
๑) หลักการ ยึดหลักการ ๓ ด้าน คือ ด้าน ความเป็นอิสระ ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและส่วนท้องถิ่น ด้าน
ประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๒) การจัดสรรรายได้ ปรับให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๙ อตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาล
๓) การพัฒนาระบบบริหาร ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการเงิน การคลัง ปรับปรุงรายได้ที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเอง ปรับปรุงภาษีอากรที่รัฐแบ่ง/จัดสรร/จัดเก็บให้ปรับปรุงแนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุน พัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้าง ระบบ
บัญชี ระบบการติดตามตรวจสอบและประเมินผล
๔) การถ่ายโอนบุคลากร ยึดหลัก งานไป-เงินไป-ตำแหน่งไป ตามความสมัครใจของบุคลากร และปรับมาตรฐาน
บริหารงาน คคลให้เทียบเท่าเจ้าหน้าที่รัฐประเภทอื่น
๕) การกำกับดูแล ดำเนินการในลักษณะที่จำเป็น โดยส่งเสริมให้ประชาชนและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการกำกับ
ดูแล ละมีระบบประกันคุณภาพบริการสาธารณะ
๑.๘.๑.๕ การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒)
รัฐบาลอยู่ระหว่างการยกร่างแผนปฏิบัติการฯ (ฉบับที่ ๒) โดยมีสาระสำคัญ ๖ ด้าน ประกอบด้วย๑) ด้านภารกิจ ๒) ด้านการเงิน การคลัง และงบ
ประมาณ ๓) ด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง ๔) ด้านการถ่ายโอนบุคลากรและพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคล
ส่วนท้องถิ่น ๕) ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน/ภาคประชาสังคมและการตรวจสอบติดตามประเมินผล และ ) ด้านการแก้ไขหรือจัดให้มี
กฎหมายที่ดำเนินการตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
" ร่างแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) ด้านภารกิจ กำหนดให้
ถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม ๑๑๕ งาน โดยเป็นภารกิจที่อยู่ระหว่างการถ่ายโอน ๔๑ งาน ภารกิจ
ที่ต้องปรับปรุงขั้นตอนการถ่ายโอน ๓๒ งาน และภารกิจใหม่ ๔๒ งาน ระยะเวลาถ่ายโอนตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ - ๒๕๕๓ "
๑.๘.๒ ผลการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครือข่ายและการพัฒนาองค์ความรู้ในการ
บริหารจัดการและการปกครองท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง สรุปได้ดังนี้
๑.๘.๒.๑ การจัดตั้งศูนย์เครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น (Clinic Center)
รัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์เครือข่ายเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างส่วนราชการ
สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในลักษณะเครือข่ายการบริหารจัดการ ละการปกครองท้องถิ่น โดยในปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลได้ขยายศูนย์เครือข่ายฯ เพิ่มอีก ๖ จังหวัด จากเดิม ๑๕ จังหวัด ห้ครอบคลุมทุกจังหวัดในภูมิภาค
๑.๘.๒.๒ การพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลได้ดำเนินการพัฒนา
คลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
๑) การฝึกอบรมสัมมนา รัฐบาลได้ฝึกอบรม บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๘,๗๖๓ คน แยกเป็นฝ่ายการ
เมือง ๔,๒๕๑ คน และฝ่ายประจำ ๔,๕๑๒ คน
๒) การจัดหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลร่วมกับมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีและปริญญา
โท เพื่อพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น ประกอบด้วย หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการปกครองท้องถิ่น (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต) หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่น
(มหาวิทยาลัยของรัฐ ๓๔ แห่งทั่วประเทศ) และ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต)
๓) ระบบงานคลังคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลได้ดำเนินการทดสอบ
ระบบงานคลังคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทดสอบการลงบันทึกและรายงานข้อมูลการคลังผ่านระบบ
บัญชีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ เดือนมีนาคม ๒๕๕๐ ได้เริ่มจัดอบรมระบบงานคลังคอมพิวเตอร์ฯ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจะจัดอบรมให้ครบ ๕
แห่ง ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๐
๔) โครงการนำร่องการถ่ายโอนสถานีอนามัยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลจะทดลองถ่ายโอนสถานีอนามัย
จำนวน ๓๕ แห่ง ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล ที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการดีเด่น ปี ๒๕๔๘ และปี ๒๕๔๙ และได้เข้าร่วมโครงการหลักประกัน
สุขภาพระดับพื้นที่ การถ่ายโอนสถานีอนามัย ๓๕ แห่งดังกล่าว เป็นโครงการนำร่องเพื่อถอดบทเรียนมาปรับปรุงและ ขยายผลการถ่ายโอนสถานีอนามัย
ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลในระยะต่อไป
๕) การสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษาสืบเนื่องจากการถ่ายโอนสถานศึกษาตามบัญชี ๑ จำนวน ๗๑ แห่ง
รัฐบาลได้ สนับสนุนการเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยอนุมัติงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๐ (ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด และ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเด็กนัก
เรียน ตลอดจนพัฒนาครูและบุคลากรของการศึกษาให้มีคุณภาพ พัฒนาอาคารสถานที่ พัฒนาอนามัยเด็ก พัฒนาโรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน รวม
๓๖ โครงการ คิดเป็นวงเงิน ๔๗.๔ ล้านบาท
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-