(ต่อ3)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสาม และแนวโน้มปี 2553-2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 30, 2010 15:13 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2554

ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

(1) แรงส่งจากการขยายตัวในปี 2553 ทำให้มีการขยายตัวต่อเนื่อง สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะอุปสงค์ภายในประเทศซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี2554 และเป็นการชดเชยผลกระทบจากการชะลอตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศ

(2) การเพิ่มขึ้นของฐานรายได้ของผู้บริโภคฐานรากและระบบเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจาก (1) การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างขั้นต่ำ รวมถึงเงินเดือนพนักงานเอกชน (2) รายได้เกษตรกรมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากระดับราคาสินค้าเกษตรหลักๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งราคายางพารา มันสำปะหลัง และอ้อยรวมทั้งการดำเนินมาตรการประกันรายได้เกษตรกร (3) การปรับเพิ่มวงเงินงบประมาณปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 21.8 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2553 จะทำให้การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวสูงขึ้นด้วย (4) อัตราการว่างงานเฉลี่ยที่ต่ำ และ (5) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับดีขึ้นต่อเนื่อง จากปัจจัยข้างต้นจะเป็นแรงสนับสนุนสำคัญในการส่งเสริมให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายได้ดีอย่างตัวต่อเนื่อง

(3) อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะในครึ่งแรกของปี 2554 จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจาก (1) สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าประเทศเหล่านี้จะมีการปรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2554 และ (2) ประเทศกำลังพัฒนามีความกังวลต่อการแข็งตัวของค่าเงิน จึงพยายามหลีกเลี่ยงการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดผลกระทบจากปริมาณเงินไหลเข้าและนำไปสู่การแข็งตัวของค่าเงินเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของประเทศกำลังพัฒนาอาจจะเกิดขึ้นได้ หากมีแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัด

(1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง โดยเฉพาะการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและ ญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต้องพึ่งแรงสนับสนุนจากอุปสงค์จากต่างประเทศเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามอุปสงค์จากต่างประเทศของทั้งสองประเทศมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวน ดังนั้นจะทำให้เครื่องจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศในปี 2554 มีแนวโน้มอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2553 และเมื่อรวมกับเครื่องมือทางด้านนโยบายการเงินและการคลังที่มีอยู่อย่างจำกัด จะทำให้เศรษฐกิจของสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีแนวโน้มขยายตัวในระดับต่ำ จากสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของเศรษฐกิจสหรัฐฯและจีน เนื่องจากสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นประเทศคู่ค้าหลักของทั้งสองประเทศ

(2) สถานการณ์ทางการเมืองและความขัดแย้งของคนในสังคม แม้ว่าจะมีความสงบมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 เมื่อเทียบกับช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา แต่ถือว่ายังไม่มั่นคง ส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องของการดำเนินนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่ชะลอของการลงทุนในประเทศไทย และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาในด้านอื่นๆ

(3) สถานการณ์การผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกรที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจาก (1)ความแปรปรวนของสภาพอากาศ โดยเฉพาะปัญหาอุทกภัยในปลายปี 2553 ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกของปี 2554 (2) การแข็งค่าของค่าเงินบาทและเมื่อเทียบกับการอ่อนของตัวค่าเงินด่องของเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งสำคัญในด้านการส่งออกข้าว

(4) การไหลเข้าและออกของเงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งเกิดจากการที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศหลักชะลอตัวทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินมาสู่ประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย มีผลทำให้ค่าเงินของภูมิภาคนี้ รวมถึงค่าเงินบาทของไทยได้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความได้เปรียบในการแข่งขันด้านการส่งออกลดลง รวมทั้งการเข้ามาเก็งกำไรในตลาดทุน และตลาดอสังหาริมทรัพย์อาจส่งผลให้ระดับราคาสินทรัพย์ (Asset Price) สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เห็นได้จากในไตรมาสสาม ปี 2553 ราคาบ้านเดี่ยวปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 14 ไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2550

(5) การขาดแคลนแรงงานในบางอุตสาหกรรม นับเป็นอุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่งต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม แม้ว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว แต่ผู้ผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ทำให้โอกาสการขยายตัวของธุรกิจลดลงตามไปด้วย

(6) แรงกดดันจากเงินเฟ้อซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นในกรณีที่ราคาผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้ออาจนำไปสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังมีความเสี่ยงต้องเผชิญกับปริมาณเงินไหลเข้า และนำเป็นสู่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าในที่สุด ทำให้ในปี 2554 มีแนวโน้มเผชิญกับความยากลำบากในการใช้เครื่องมือแก้ปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

"...สมมติฐานการประมาณเศรษฐกิจปี 2554 :

(1) เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกขยายตัวร้อยละ 3.6-4.0 และร้อยละ 6.5-7.5

(2) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเท่ากับ 80-90 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล

(3) ราคาส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และ 5.3 ตามลำดับ และ

(4) จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยมีจำนวน 15.8 ล้านคน..."

ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2554

(1) เศรษฐกิจโลกในปี 2554 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.6 - 4.0 ชะลอลงจากปี 2553 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.3 เป็นการขยายตัวจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเป็นหลัก การที่ภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวเป็นผลมาจากความกังวลของผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ จากการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจสำคัญๆของโลก จนนำไปสู่สงครามค่าเงิน โดยหลังจากสหรัฐฯได้ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเชิงปริมาณเงินรอบ 2 (Quantitative Easing: QE2) ได้สร้างแรงกดดันให้ค่าเงินประเทศต่างๆ แข็งค่าขึ้น และส่งผลกระทบต่อกลุ่มประเทศที่มีการพึ่งพาการส่งออกในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งมีการฟื้นตัวอย่างเปราะบางอยู่แล้ว และเมื่อรวมกับการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีนที่ปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ.แต่ยังควบคุมให้อ่อนตัวเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร จะเป็นการสร้างแรงกดดันมากขึ้นต่อการส่งออกและภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของสหภาพยุโรป ดังนั้นการฟื้นตัวของกลุ่มสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น เป็นประเด็นสำคัญต่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจโลกในปี 2554 ส่วนปริมาณการค้าโลกในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5-7.5 ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 7.5 ในปี 2553

(2) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2554 เท่ากับ 80-90 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ที่ 77 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2553 โดยที่สถาบันต่างๆ คาดว่าราคาน้ำมัน (WTI) ในปี 2554 จะอยู่ในช่วง 76.6-100.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ (1) แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจของเอเชีย (2) การเก็งกำไรในช่วงเศรษฐกิจโลกขยายตัวและสภาพคล่องในตลาดการเงินสูง โดยรวมความต้องการใช้น้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2553 แต่ความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นยังอยู่ในระดับที่สามารถถูกชดเชยได้โดยการผลิตจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกของ OPEC ทำให้ความตึงตัวของตลาดน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำ และเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันในปี 2554 เพิ่มขึ้นไม่เร็วเกินไป

(3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2553ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.7 เนื่องจากการปรับเข้าสู่ฐานที่สูงขึ้น แต่ยังมีปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาส่งออกยังขยายตัวได้ (1) ราคาส่งออกสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น และปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงจากผลกระทบจากภัยธรรมชาติ (2) การปรับเพิ่มสูงขึ้นของค่าจ้างภายในประเทศ และ (3) การปรับขึ้นราคาสินค้า หลังจากมีการตรึงราคาอย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบการในช่วงเศรษฐกิจหดตัว ตามนโยบายจากภาครัฐบาล ด้านราคานำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ชะลอเมื่อเทียบกับปี 2553 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.0 เนื่องมาจากราคาน้ำมันในปี 2554 มีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าในปี 2553 กล่าวคือ ราคาน้ำมันปี 2554 มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 8 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล จาก 77.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในปี 2553 เป็น 85.0 ดอลลาร์สรอ. ต่อบาร์เรลในปี 2554 ขณะที่ราคาน้ำมันปี 2553 มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 15.0 ดอลลาร์สรอ. ต่อบาร์เรล จาก 61.6 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในปี 2552 เป็น 77.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ บาร์เรล ในปี2553

(4) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2554 คาดว่าจะมีประมาณ 15.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 15.2 ล้านคน

  • ประมาณการเศรษฐกิจปี 2554 : เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 2.5-3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 3.3 ของ GDP

"...เศรษฐกิจไทยในปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 2.5-3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 3.3ของ GDP

องค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2554

(1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมขยายตัวร้อยละ 4.1 โดยที่การใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.3 ชะลอลงจากที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 และ 4.9 ในปี 2553 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ของภาคครัวเรือน เนื่องจาก (1) การเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ และการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ประกอบกับ (2) ฐานรายได้ของครัวเรือนภาคเกษตรยังคงปรับตัวได้ดี จากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอุปสงค์และราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวดีขึ้น ทั้งเพื่อการบริโภคและการผลิตเพื่อเป็นพลังงานทดแทน รวมทั้งนโยบายการประกันรายได้เกษตร ดังนั้นการปรับตัวดีขึ้นของครัวเรือนทั้งภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร เมื่อรวมกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะส่งผลให้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2553 ในด้านการใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.7

(2) การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 8.0 เป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2553 ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.7 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 9.8 ชะลอลงจากคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.9 ในปี 2553 เป็นผลมาจากฐานที่ปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการลงทุนในปี 2554 ถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยมีแรงสนับสนุน จากการขยายตัวของการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งความชัดเจนในการแก้ปัญหากฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด การแข็งค่าของเงินบาท และอัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวในระดับต่ำ ด้านการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5

(3) การส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.7 ชะลอลงจากที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 25.1 ในปี 2553 โดยทั้งปริมาณและราคาส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากการปรับตัวเข้าสู่ฐานที่สูงขึ้น รวมทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลง ประกอบกับการแข็งตัวของค่าเงินบาทจะเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงกดดันต่อการส่งออกของไทย รวมทั้งการส่งออกสินค้าเกษตรมีแนวโน้มหดตัวเนื่องจากผลผลิตภาคการเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยในปลายปี2553 ภายใต้แนวโน้มดังกล่าวคาดว่าปริมาณและราคาส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 6.2 และ 5.5 ตามลำดับโดยปริมาณการส่งออกทั้งสินค้าและบริการจะขยายตัวร้อยละ 6.0 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 14.3 ในปี 2553

(4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.4 ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2553 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 33.5 ซึ่งเป็นการชะลอลงทั้งปริมาณและราคาการนำเข้า ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.9 และ 5.3 เมื่อเทียบกับปี 2553 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 25.5 และ 8.0ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากฐานที่สูง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการลงทุน การบริโภค คเอกชน และเมื่อรวมกับการแข็งตัวค่าเงินบาทจะทำให้การนำเข้าขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณการนำเข้าทั้งสินค้าและบริการจะขยายตัวร้อยละ 8.0 ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2553ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 20.9

(5) ดุลการค้าเกินดุลคาดว่าจะเกินดุลประมาณ 12.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากที่คาดว่าจะเกินดุล 13.3พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2553 ซึ่งเป็นผลมาจากมูลค่าการนำเข้าเพิ่มมากกว่ามูลค่าการส่งออก เมื่อรวมกับดุลบริการที่คาดว่าจะเกินดุลเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 12.0 พันล้านดอลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 3.3 ของ GDP ซึ่งเป็นการเกินดุลลดลงจากประมาณ 13.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในปี 2553

(6) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจปี 2554 การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง แรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.5-3.5 ปรับตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกันกับการประมาณการอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 3.2 ในปี 2553 และอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.3

6. ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2554

การปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ทางการภายเมืองในประเทศ รวมทั้งพลวัตรที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดีทำให้เศรษฐกิจไทยในปี2553 มีอัตราการขยายตัวในระดับสูง และเป็นแรงส่งต่อให้มีการขยายตัวอย่างยั่งยืนมากขึ้น สำหรับในปี 2554แรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในตลาดโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง เมื่อรวมกับฐานที่เริ่มสูงขึ้นในปี 2553 ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลง และส่งผลกระทบต่อการบริหารเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน อัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมัน รวมถึงความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติ นอกจากนั้นการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวและการลงทุนยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของความสงบเรียบร้อยของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ดังนั้นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2554 ควรให้ความสำคัญดังนี้

(1) การเร่งฟื้นฟูผลกระทบจากอุทกภัยในปลายปี 2553 ทั้งด้านการชดเชยรายได้เกษตรกร และระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้เร่งวางแผนในระยะยาวในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรและบริโภค ทั้งในกรณีภัยแล้ง และอุทกภัย

(2) การบริหารจัดการด้านราคาสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากความเสียหายของผลผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากอุทุกภัย และต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของแรงงานขั้นต่ำ และการปรับเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ของสินค้าที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

(3) การส่งเสริมและจูงใจให้ภาคธุรกิจส่งออกใช้เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ โดยมีผลิตภัณฑ์ป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย ง่ายต่อการใช้ และมีต้นทุนต่ำ นอกจากนั้นสำหรับ SME ที่มีข้อจำกัดทางด้านการเข้าถึงและความสามารถในการใช้เครื่องป้องกันความเสี่ยง ภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น และควรสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือดังกล่าวในระยะยาว

(4) การเร่งแก้ปัญหาและบริหารจัดการแรงงานทั้งในส่วนที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม และแรงงานที่ขาดแคลนในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และแนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น เช่น การจัดฝึกอบรมสำหรับแรงงานเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

(5) การเร่งรัดฟื้นฟูความสามัคคีปรองดองของคนไทย โดยการเร่งรัดการดำเนินการตามแผนการปรองดองอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการรักษาภาพลักษณ์ของประไทยในสายตานักท่องเที่ยวและนักลงทุนชาวต่างชาติ

ผลกระทบของการแข็งค่าของเงินบาทต่อภาวะเศรษฐกิจไทย

สถานการณ์ค่าเงินบาทในช่วงวันที่ 1 มกราคม — 19 พฤศจิกายน 2553 การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเฉลี่ย 10 เดือนแรกของปี 2553 อยู่ที่ 32.01 บาท/ดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 7.17จาก ค่าเงินบาทเฉลี่ย 10 เดือนแรกของปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ 34.27 บาท/ดอลลาร์ สรอ. และแข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.59เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของปี 2552 และในช่วงวันที่ 1 — 19 พฤศจิกายน 2553 ค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่องมาอยู่ที่ 29.74 บาท/ดอลลาร์ สรอ. และเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่นๆ ค่าเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเช่นกันโดยดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate) เดือนตุลาคม 2553 ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 80.76 จากระดับ 76.93ในเดือนธันวาคม 2552 ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทาให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเนื่องจาก

(1) การเติบโตอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชีย

(2) เงินทุนไหลเข้ามากขึ้น จากภาคการค้าและการลงทุน ทาให้ดุลการชาระเงินเกินดุลติดต่อกันมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2551

(3) การคาดการณ์ถึงความต่อเนื่องของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ตามวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

ผลกระทบของการแข็งค่าของเงินบาทต่อภาวะเศรษฐกิจไทย

(1) ผลการศึกษาโดยอาศัยแบบจาลองดุลยภาพทั่วไป โดยสมมติให้ค่าเงินบาท (Nominal terms) แข็งค่าร้อยละ 10

(เทียบกับการแข็งค่าจริงเฉลี่ยร้อยละ 7.17 ในช่วง 10 เดือนแรกของปี) จะส่งผลกระทบที่สาคัญทางด้านอุปสงค์ ดังนี้

          ร้อยละ   การบริโภคภาคเอกชน   การลงทุน   การส่งออก   การนาเข้า   การส่งออกสุทธิ   ระดับราคาผู้บริโภค   รวม
          GDP          2.27           3.10       -2.42      2.03       -16.55           1.24       -0.33

(2) ผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการผลิตมีแนวโน้มที่จะหดตัวในระยะยาวและส่งผลกระทบย้อนกลับมายังรายได้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจในอีกรอบหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจไทยที่แสดงไว้ในตารางข้างต้นอาจสูงเกินจริง เนื่องจาก (1) ค่าของเงินบาทแข็งค่าขึ้นเหมือนกับค่าเงินของประเทศอื่น ๆ ที่แข็งค่าขึ้นไปด้วยกัน และ (2) ผลกระทบในด้านลบต่อการส่งออกอยู่ในขอบเขตจากัด จากการดูแลให้เงินบาทมีการเคลื่อนไหวสอดคล้องกับค่าเงินของประเทศคู่แข่งขันในขณะที่การแข็งค่าของเงินบาทจะช่วยลดต้นทุนการนาเข้าและสนับสนุนการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนได้

ข้อเสนอแนะในการดำเนินนโยบาย ในปี 2554 ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ความเปราะบางของเศรษฐกิจในประเทศเศรษฐกิจหลัก การออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของประเทศสหรัฐฯ และญี่ปุ่น และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศจีน เป็นต้น ซึ่งมีข้อเสนอแนะมาตรการในการลดผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ดังนี้

(1) เพิ่มช่องทางการไหลออกของเงินทุน (Out Flow channel) มากขึ้น โดยเฉพาะการเร่งรัดให้รัฐวิสาหกิจและเอกชนเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในต่างประเทศ ในประเทศที่เป็นคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญ รวมทั้งการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้นที่เป็นการเก็งกำไรค่าเงิน เพื่อลดความผันผวน

(2) ควรส่งเสริมและจูงใจให้ภาคธุรกิจส่งออก/นำเข้า ใช้เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ และควรเพิ่มช่องทางการเข้าถึงและเพิ่มความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงสำหรับ SME ทั้งนี้ ภาครัฐอาจให้ความช่วยเหลือทางด้านสภาพคล่องในเบื้องต้นแก่กลุ่มผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาหรือขาดศักยภาพ

(3) เร่งรัดการปรับโครงสร้างการชำระหนี้ที่เป็นเงินสกุลตราต่างประเทศที่ค่าเงินบาทมีความได้เปรียบอยู่รวมทั้งรัฐบาลควรให้การสนับสนุนผู้ส่งออกที่ยังพึ่งพิงวัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก มีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น

ประมาณการเศรษฐกิจปี 2553 และ 2554

                                             ข้อมูลจริง                        ประมาณการ
                                                                      ปี 2553              ปี 2554
                                         ปี 2551     ปี 2552     23 ส.ค.53    22 พ.ย.53    22 พ.ย.53
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท)            9,080.5    9,041.6      10,000.9     10,072.3     10,777.3
   รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี)             135,528.8    135,144       148,162      149,634      159,435
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.)      272.2      263.3         307.7        316.7        365.3
   รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี)      4,062.2    3,936.0       4,558.8      4,705.5      5,404.6
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %)         2.5       -2.3       7.0-7.5          7.9    3.5 - 4.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %)                   1.2       -9.2           9.2          9.7          8.0
   ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %)                  3.2      -13.1          12.1         13.9          9.8
   ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %)                    -4.7        2.7           1.7         -1.3          2.5
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %)                  2.9        0.1           4.0          5.0          4.1
   ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %)                  2.9       -1.1           4.1          4.9          4.3
   ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %)                  3.2        7.5           3.9          5.5          2.7
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %)        5.1      -12.5          15.1         14.3          6.0
   มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)    175.2      150.7         189.7        188.8        211.0
      อัตราการขยายตัว (%)                    15.8      -13.9          25.7         25.1         11.7
      อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)              6.0      -13.6          17.2         16.4          6.2
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %)        8.9      -21.5          20.6         20.9          8.0
   มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)    175.6      131.3         174.8        175.5        199.0
      อัตราการขยายตัว (%)                    26.5      -25.2          32.9         33.5         13.4
      อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)              8.9      -23.1          24.9         25.5          7.9
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)                 -0.4       19.4          14.9         13.3         12.0
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1/          2.2       21.9          15.1         13.6         12.0
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%)                      0.8        8.3           4.9          4.3          3.3
เงินเฟ้อ (%)
   ดัชนีราคาผู้บริโภค                            5.4       -0.9       3.0-3.5          3.2    2.5 - 3.5
   GDP Deflator                             3.9        1.9       3.0-3.5          3.5    2.5 - 3.5

ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 22 พฤศจิกายน 2553

หมายเหตุ 1/ Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account, and its contra entry recorded as income on equity in current account

--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ