5. ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2554
เศรษฐกิจไทยในปี 2554 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2553 โดยมีแรงส่งจากการขยายตัวที่สูงในปี 2553 รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก แต่อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยในปี2554 มีแนวโน้มเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน และความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนรวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติ ขณะที่การขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวและการลงทุนยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของความสงบเรียบร้อยของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ดังนั้นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2554 ควรให้ความสำคัญดังนี้
(1) การดูแลราคาสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพื่อให้เป็นธรรมต่อผู้บริโภค เนื่องจากราคาสินค้าเกษตร และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการผลิต และการบริหารสต็อกของสินค้าที่สำคัญ
(2) การดำเนินนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนที่สมดุลระหว่างการรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจเพื่อรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจและการเงินโลก การเคลื่อนย้ายเงินทุน และเตรียมมาตรการรองรับที่เหมาะสมทั้งภาคการผลิตและการส่งออกที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนของอัตราแลกเปลี่ยน และราคาน้ำมัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(3) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและเร่งรัดโครงการลงทุนสำคัญๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว
(4) การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรและการบริโภคทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
(5) การเร่งแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนต่างชาติ
(6) การเร่งรัดฟื้นฟูความสามัคคีปรองดองของคนไทย และแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของไทยในสายตานักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติ
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2554
---------ข้อมูลจริง------------ ประมาณการ ปี 2554 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 22 พ.ย. 53 21 ก.พ. 54 GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 9,080.5 9,041.6 10,103.0 10,777.3 10,840.5 รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 136,585 135,144 150,090 159,435 160,370 GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 272.2 263.3 317.7 365.3 361.4 รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 4,093.9 3,936.0 4,719.8 5,404.6 5,345.7 อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 2.5 -2.3 7.8 3.5 - 4.5 3.5 — 4.5 การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 1.2 -9.2 9.4 8.0 7.3 ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 3.2 -13.1 13.8 9.8 8.5 ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -4.7 2.7 -2.2 2.5 3.5 การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 2.9 0.1 5.0 4.1 3.9 ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 2.9 -1.1 4.8 4.3 4.0 ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 3.2 7.5 6.0 2.7 3.2 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 5.1 -12.5 14.7 6.0 6.3 มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 175.2 150.7 193.7 211.0 217.9 อัตราการขยายตัว (%) 15.9 -14.0 28.5 11.7 12.5 อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 6.0 -13.6 17.3 6.2 6.8 ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.9 -21.5 21.5 8.0 8.1 มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 175.6 131.4 179.6 199.0 205.8 อัตราการขยายตัว (%) 26.8 -25.2 36.8 13.4 14.6 อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 8.9 -23.1 26.5 7.9 8.1 ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) -0.4 19.4 14.0 12.0 12.1 ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1/ 2.2 21.9 14.8 12.0 12.6 ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 0.8 8.3 4.6 3.3 3.5 เงินเฟ้อ (%) ดัชนีราคาผู้บริโภค 5.5 -0.8 3.3 2.5 - 3.5 2.8 - 3.8 GDP Deflator 3.9 1.9 3.7 2.5 - 3.5 2.8 - 3.8
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 21 กุมภาพันธ์ 2554
หมายเหตุ: 1/ Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account,
and its contra entry recorded as income on equity in current account.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--