แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
มหาวิทยาลัยบูรพา
ภาวะเศรษฐกิจไทย
โรงแรมคอนราด
การส่งออก
* เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ขยายตัวร้อยละ 4.2 และทั้งปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 5.0 สูงกว่าร้อยละ 4.5 ในปี 2548 การส่งออกสินค้าและบริการเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวที่สำคัญ และชดเชยการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตามความเคลื่อนไหวรายไตรมาสแสดงว่าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงของการชะลอตัว
* เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อลดลงตามลำดับ ในไตรมาสที่สี่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 3.3 ซึ่งลดลงต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2549 เท่ากับร้อยละ 4.7 อัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.51 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
* อัตราดอกเบี้ยสถาบันการเงินทรงตัวในช่วงไตรมาสที่สี่หลังปรับเพิ่มต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2548 เงินฝากขยายตัวช้าลง ในขณะที่สินเชื่อชะลอตัวต่อเนื่องในเกือบทุกสาขาสำคัญ ทำให้สภาพคล่องทางการเงินยังอยู่ในระดับสูง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องโดยแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาสสี่ จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้น มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 สำหรับการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2549 ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงสั้น ๆ
* การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในประเทศลดลง ร้อยละ 2.0ในปี 2549 แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 และลดลง 1.2 ในปี 2547 และ 2548 ตามลำดับ
* คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2550 จะขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 โดยมีข้อจำกัดด้านการส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและการลงทุนที่จะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ในขณะที่ปัจจัยที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2550 ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อลดลงจะสนับสนุนให้การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวกว่าในปี 2549 และกรอบวงเงินงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจที่สูงกว่าในปี 2549
* เสถียรภาพเศรษฐกิจปี 2550 อัตราเงินเฟ้อจะเท่ากับร้อยละ 2.5 -- 3.0 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 -- 1.3 ของ GDP และอัตราการว่างงานจะยังต่ำร้อยละ 1.5 -- 2.0
1. ภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาสที่สี่ และทั้งปี 2549
1.1 เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอตัวลงต่อเนื่องจาก 3 ไตรมาสแรกของปีแต่รวมทั้งปีเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5.0 สูงกว่าปี 2548 เนื่องจากปริมาณการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีกว่าในปี 2548 ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าลดลง จึงชดเชยการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศ
ประเด็นหลัก
(1) เศรษฐกิจไตรมาสที่สี่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 6.1 5.0 และ 4.7 ใน 3 ไตรมาสแรกของปี โดยเป็นการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นผลของการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงก่อนหน้าและอัตราดอกเบี้ยแท้จริงสูงขึ้น ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจยังอยู่ในระดับต่ำ จะเห็นว่าในไตรมาสสี่สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัวร้อยละ 8.1 ช้าลงกว่าที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9.7 ในช่วง 3 ไตรมาสก่อนหน้าซึ่งเป็นการชะลอตัวลงของทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการเช่าซื้อ สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐบาลลดลงเนื่องจากอยู่ในช่วงรอการอนุมัติ พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2550 ส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณต้องล่าช้าออกไป แต่ปริมาณการส่งออกยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณการนำเข้าลดลงตามภาวะการลงทุนและการใช้จ่ายที่ชะลอตัว ดังนั้นในไตรมาสสี่การส่งออกสุทธิยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ
- การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่สี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และร้อยละ 2.3 ชะลอตัวต่อเนื่องจาก 3 ไตรมาสแรก โดยใน 3 ไตรมาสแรกการใช้จ่ายเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 3.3 และ 2.8 ตามลำดับ และการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 6.4 และ 3.8 ในช่วงเดียวกัน และการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 แต่การใช้จ่ายรัฐบาลแท้จริงลดลง ร้อยละ 4.2
- การส่งออกในไตรมาสที่สี่ยังขยายตัวได้ดี และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าชะลอตัวมาก การส่งออกมีมูลค่า 33,981 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 โดยที่ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เนื่องจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังขยายตัวได้ดี และการพัฒนารูปแบบสินค้าและเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ในสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีตามความต้องการของตลาด สำหรับ การนำเข้ามีมูลค่า 31,258 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ชะลอตัวจากไตรมาสที่สามที่เพิ่มขึ้น 12.2 โดยที่ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.5
- การนำเข้าชะลอลงทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าทุนลดลงร้อยละ 3.4 สินค้าทุนที่ลดลงมาก คือ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบซึ่งลดลงร้อยละ 9.6 และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งลดลงร้อยละ 0.8 และเป็นการลดลงต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ดุลการค้าเกินดุล 2,723 ล้านดอลลาร์ สรอ.และดุลบริการที่เกินดุลทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3,582 ล้านดอลลาร์ สรอ.
- ด้านการผลิตในไตรมาสที่สี่ปี 2549 ภาคเกษตรขยายตัวเพียงร้อยละ 0.9 เนื่องจากผลกระทบภาวะน้ำท่วมในหลายจังหวัดที่กระทบผลผลิตข้าวและพืชผักผลไม้อื่น ๆ และการผลิตไก่เนื้อที่ชะลอลงเนื่องจากจากการระบาดของไข้หวัดนกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม การผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.6 ใกล้เคียงกับการขยายตัวในไตรมาสที่สาม การผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการเกือบทุกสาขาขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างทรงตัว ยกเว้นสาขาก่อสร้างซึ่งชะลอตัวเนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงก่อนหน้าทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยชะลอลง นอกจากนี้ภาคการเงินก็ชะลอตัวลงเช่นกัน เนื่องจากการให้สินเชื่อขยายตัวช้าลงและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลดลง กลุ่มสินค้าที่มีการผลิตชะลอลงมากได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานยนต์ รองเท้าหนัง และเครื่องใช้ไฟฟ้าบางรายการ เป็นต้น
(2) โดยรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 5.0 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 2548 เนื่องจากแรงสนับสนุนจากปริมาณส่งออกสินค้าซึ่งขยายตัวสูงร้อยละ 9.0 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวดี เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ในปี 2548 ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ในปี 2548 ซึ่งเป็นไปตามภาวะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัว ซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 และ 3.9 ตามลำดับ(1) เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูง อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น และความกังวลต่อสถานการณ์ภายในประเทศทั้งเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนลดลง ลักษณะการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2549 มี ดังนี้
********************************************************************************************************
(1) การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.3 และ 10.9 ตามลำดับในปี 2548
********************************************************************************************************
(ยังมีต่อ).../(2.1)แรงขับ..
* เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อลดลงตามลำดับ ในไตรมาสที่สี่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 3.3 ซึ่งลดลงต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2549 เท่ากับร้อยละ 4.7 อัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.51 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
* อัตราดอกเบี้ยสถาบันการเงินทรงตัวในช่วงไตรมาสที่สี่หลังปรับเพิ่มต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2548 เงินฝากขยายตัวช้าลง ในขณะที่สินเชื่อชะลอตัวต่อเนื่องในเกือบทุกสาขาสำคัญ ทำให้สภาพคล่องทางการเงินยังอยู่ในระดับสูง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องโดยแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาสสี่ จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้น มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 สำหรับการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2549 ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงสั้น ๆ
* การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในประเทศลดลง ร้อยละ 2.0ในปี 2549 แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 และลดลง 1.2 ในปี 2547 และ 2548 ตามลำดับ
* คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2550 จะขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 โดยมีข้อจำกัดด้านการส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและการลงทุนที่จะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ในขณะที่ปัจจัยที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2550 ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อลดลงจะสนับสนุนให้การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวกว่าในปี 2549 และกรอบวงเงินงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจที่สูงกว่าในปี 2549
* เสถียรภาพเศรษฐกิจปี 2550 อัตราเงินเฟ้อจะเท่ากับร้อยละ 2.5 -- 3.0 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 -- 1.3 ของ GDP และอัตราการว่างงานจะยังต่ำร้อยละ 1.5 -- 2.0
1. ภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาสที่สี่ และทั้งปี 2549
1.1 เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอตัวลงต่อเนื่องจาก 3 ไตรมาสแรกของปีแต่รวมทั้งปีเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5.0 สูงกว่าปี 2548 เนื่องจากปริมาณการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีกว่าในปี 2548 ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าลดลง จึงชดเชยการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศ
ประเด็นหลัก
(1) เศรษฐกิจไตรมาสที่สี่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 6.1 5.0 และ 4.7 ใน 3 ไตรมาสแรกของปี โดยเป็นการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นผลของการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงก่อนหน้าและอัตราดอกเบี้ยแท้จริงสูงขึ้น ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจยังอยู่ในระดับต่ำ จะเห็นว่าในไตรมาสสี่สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัวร้อยละ 8.1 ช้าลงกว่าที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9.7 ในช่วง 3 ไตรมาสก่อนหน้าซึ่งเป็นการชะลอตัวลงของทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการเช่าซื้อ สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐบาลลดลงเนื่องจากอยู่ในช่วงรอการอนุมัติ พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2550 ส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณต้องล่าช้าออกไป แต่ปริมาณการส่งออกยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณการนำเข้าลดลงตามภาวะการลงทุนและการใช้จ่ายที่ชะลอตัว ดังนั้นในไตรมาสสี่การส่งออกสุทธิยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ
- การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่สี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และร้อยละ 2.3 ชะลอตัวต่อเนื่องจาก 3 ไตรมาสแรก โดยใน 3 ไตรมาสแรกการใช้จ่ายเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 3.3 และ 2.8 ตามลำดับ และการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 6.4 และ 3.8 ในช่วงเดียวกัน และการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 แต่การใช้จ่ายรัฐบาลแท้จริงลดลง ร้อยละ 4.2
- การส่งออกในไตรมาสที่สี่ยังขยายตัวได้ดี และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าชะลอตัวมาก การส่งออกมีมูลค่า 33,981 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 โดยที่ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เนื่องจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังขยายตัวได้ดี และการพัฒนารูปแบบสินค้าและเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ในสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีตามความต้องการของตลาด สำหรับ การนำเข้ามีมูลค่า 31,258 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ชะลอตัวจากไตรมาสที่สามที่เพิ่มขึ้น 12.2 โดยที่ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.5
- การนำเข้าชะลอลงทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าทุนลดลงร้อยละ 3.4 สินค้าทุนที่ลดลงมาก คือ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบซึ่งลดลงร้อยละ 9.6 และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งลดลงร้อยละ 0.8 และเป็นการลดลงต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ดุลการค้าเกินดุล 2,723 ล้านดอลลาร์ สรอ.และดุลบริการที่เกินดุลทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3,582 ล้านดอลลาร์ สรอ.
- ด้านการผลิตในไตรมาสที่สี่ปี 2549 ภาคเกษตรขยายตัวเพียงร้อยละ 0.9 เนื่องจากผลกระทบภาวะน้ำท่วมในหลายจังหวัดที่กระทบผลผลิตข้าวและพืชผักผลไม้อื่น ๆ และการผลิตไก่เนื้อที่ชะลอลงเนื่องจากจากการระบาดของไข้หวัดนกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม การผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.6 ใกล้เคียงกับการขยายตัวในไตรมาสที่สาม การผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการเกือบทุกสาขาขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างทรงตัว ยกเว้นสาขาก่อสร้างซึ่งชะลอตัวเนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงก่อนหน้าทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยชะลอลง นอกจากนี้ภาคการเงินก็ชะลอตัวลงเช่นกัน เนื่องจากการให้สินเชื่อขยายตัวช้าลงและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลดลง กลุ่มสินค้าที่มีการผลิตชะลอลงมากได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานยนต์ รองเท้าหนัง และเครื่องใช้ไฟฟ้าบางรายการ เป็นต้น
(2) โดยรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 5.0 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 2548 เนื่องจากแรงสนับสนุนจากปริมาณส่งออกสินค้าซึ่งขยายตัวสูงร้อยละ 9.0 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวดี เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ในปี 2548 ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ในปี 2548 ซึ่งเป็นไปตามภาวะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัว ซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 และ 3.9 ตามลำดับ(1) เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูง อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น และความกังวลต่อสถานการณ์ภายในประเทศทั้งเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนลดลง ลักษณะการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2549 มี ดังนี้
********************************************************************************************************
(1) การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.3 และ 10.9 ตามลำดับในปี 2548
********************************************************************************************************
(ยังมีต่อ).../(2.1)แรงขับ..