- สภาพคล่องทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก แต่อัตรา
ดอกเบี้ยส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน ทั้งอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน 7 วัน และ Interbank มีเพียงอัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันปรับลด
ลงเล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ยังคงปรับตัวลด
ลงจากการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และคาดว่าอาจมีการผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30 % . สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้
ส่วน US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน
- เงินบาทในประเทศค่อนข้างทรงตัว ก่อนจะแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในวันศุกร์ตามค่าเงินเยน ส่วนเงินบาท offshore ยังคงมีทิศทาง
แข็งค่าขึ้น ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่า หลังจากแรงดันจากเงินเฟ้อผ่อนคลายลง และตัวเลขเงินทุนเคลื่อนย้ายในเดือน ธ.ค. แสดง
ถึงเงินทุนไหลออกสุทธิเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินหลังจากดำรง
เงินสดสำรองได้ตามเกณฑ์เฉลี่ยสำหรับการปิดสำรองรายปักษ์ในวันพุธ และจากการสำรองสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วง
เทศกาลตรุษจีนมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยความต้องการลงทุนยังคงหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อ
คืนระยะ 1 และ 7 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.75 และ 4.78125 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยใน
ตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยจาก ร้อยละ 4.78125 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี ในวันพฤหัสบดี และ
ไม่มีการทำธุรกรรมในวันศุกร์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.5 - 4.80 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ยังคง
ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.78 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 97,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
18,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 14 วัน วงเงินรวม 70,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี 4 เดือน 12 ปี และ 19 ปี 6 เดือน
วงเงินรวม 8,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน และพันธบัตรธปท. ที่มีอัตราผลตอบ
แทนสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ 10 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบ
กำหนด 78,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 18,500 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 241,333 ล้านบาท หรือคิดเป็น 48,266 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 27 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 81 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวสูงขึ้นในวันจันทร์ ก่อนที่จะปรับลดลงใน
ช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากมีข่าวว่าอาจจะมีการผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30% สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ ประกอบกับมีการคาดการณ์
ว่า ธปท.อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้าทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 2-17
basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 59 และ 18 basis point ตามลำดับ
สำหรับความเคลื่อนไหวของ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลงซึ่งเป็นผลจากการแถลงของผู้บริหาร Fed ว่าแรงกดดันจาก
เงินเฟ้อได้ผ่อนคลายลง ประกอบกับตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดีนัก อาทิ ตัวเลขค้าปลีก และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการเพิ่มขึ้นของผู้ขอ
รับสวัสดิการว่างงาน ทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 3-10 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ม.ค. 50 35.93
เฉลี่ย 5 - 9 ก.พ. 50 35.70
12 ก.พ. 50 35.73
13 ก.พ. 50 35.73
14 ก.พ. 50 35.73
15 ก.พ. 50 35.73
16 ก.พ. 50 35.68
เฉลี่ย 12 - 16 ก.พ. 50 35.72
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.72 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยค่า
เงินบาทในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ค่อนข้างทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 35.73 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แม้ว่าค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนจะมีทิศทางแข็ง
ค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่และมีความต้องการซื้อเงินบาทจากผู้ส่งออกไทย อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในวันศุกร์ ตามเงินเยนที่ปรับแข็ง
ค่าขึ้นมากหลังจากตัวเลข GDP ในไตรมาสสี่ปี 2549 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สำหรับเงินบาทในตลาด
offshore ยังคงมีทิศทางแข็งค่าขึ้นจากความต้องการเงินบาทในระดับสูง ขณะที่อุปทานเงินบาทในตลาด offshore มีค่อนข้างน้อย ในขณะเดียวกัน
เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบกับเงินเยน และอ่อนที่สุดใน
รอบ 6 สัปดาห์เมื่อเทียบกับเงินยูโร โดยมีปัจจัยกดดันจากแถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ ว่าแรงกดดันจากเงินเฟ้อต่อ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มผ่อนคลายลง ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาไม่ดีนัก โดยเฉพาะตัวเลขเงินทุนเคลื่อนย้ายในเดือน ธ.ค. 49 ซึ่งแสดง
ถึงเงินทุนไหลออกสุทธิเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ดอกเบี้ยส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน ทั้งอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน 7 วัน และ Interbank มีเพียงอัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันปรับลด
ลงเล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ยังคงปรับตัวลด
ลงจากการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และคาดว่าอาจมีการผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30 % . สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้
ส่วน US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน
- เงินบาทในประเทศค่อนข้างทรงตัว ก่อนจะแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในวันศุกร์ตามค่าเงินเยน ส่วนเงินบาท offshore ยังคงมีทิศทาง
แข็งค่าขึ้น ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่า หลังจากแรงดันจากเงินเฟ้อผ่อนคลายลง และตัวเลขเงินทุนเคลื่อนย้ายในเดือน ธ.ค. แสดง
ถึงเงินทุนไหลออกสุทธิเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินหลังจากดำรง
เงินสดสำรองได้ตามเกณฑ์เฉลี่ยสำหรับการปิดสำรองรายปักษ์ในวันพุธ และจากการสำรองสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วง
เทศกาลตรุษจีนมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยความต้องการลงทุนยังคงหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อ
คืนระยะ 1 และ 7 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.75 และ 4.78125 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยใน
ตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยจาก ร้อยละ 4.78125 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี ในวันพฤหัสบดี และ
ไม่มีการทำธุรกรรมในวันศุกร์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.5 - 4.80 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ยังคง
ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.78 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 97,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
18,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 14 วัน วงเงินรวม 70,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี 4 เดือน 12 ปี และ 19 ปี 6 เดือน
วงเงินรวม 8,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน และพันธบัตรธปท. ที่มีอัตราผลตอบ
แทนสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ 10 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบ
กำหนด 78,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 18,500 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 241,333 ล้านบาท หรือคิดเป็น 48,266 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 27 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 81 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวสูงขึ้นในวันจันทร์ ก่อนที่จะปรับลดลงใน
ช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากมีข่าวว่าอาจจะมีการผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30% สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ ประกอบกับมีการคาดการณ์
ว่า ธปท.อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้าทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 2-17
basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 59 และ 18 basis point ตามลำดับ
สำหรับความเคลื่อนไหวของ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลงซึ่งเป็นผลจากการแถลงของผู้บริหาร Fed ว่าแรงกดดันจาก
เงินเฟ้อได้ผ่อนคลายลง ประกอบกับตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดีนัก อาทิ ตัวเลขค้าปลีก และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการเพิ่มขึ้นของผู้ขอ
รับสวัสดิการว่างงาน ทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 3-10 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ม.ค. 50 35.93
เฉลี่ย 5 - 9 ก.พ. 50 35.70
12 ก.พ. 50 35.73
13 ก.พ. 50 35.73
14 ก.พ. 50 35.73
15 ก.พ. 50 35.73
16 ก.พ. 50 35.68
เฉลี่ย 12 - 16 ก.พ. 50 35.72
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.72 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยค่า
เงินบาทในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ค่อนข้างทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 35.73 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แม้ว่าค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนจะมีทิศทางแข็ง
ค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่และมีความต้องการซื้อเงินบาทจากผู้ส่งออกไทย อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในวันศุกร์ ตามเงินเยนที่ปรับแข็ง
ค่าขึ้นมากหลังจากตัวเลข GDP ในไตรมาสสี่ปี 2549 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สำหรับเงินบาทในตลาด
offshore ยังคงมีทิศทางแข็งค่าขึ้นจากความต้องการเงินบาทในระดับสูง ขณะที่อุปทานเงินบาทในตลาด offshore มีค่อนข้างน้อย ในขณะเดียวกัน
เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบกับเงินเยน และอ่อนที่สุดใน
รอบ 6 สัปดาห์เมื่อเทียบกับเงินยูโร โดยมีปัจจัยกดดันจากแถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ ว่าแรงกดดันจากเงินเฟ้อต่อ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มผ่อนคลายลง ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาไม่ดีนัก โดยเฉพาะตัวเลขเงินทุนเคลื่อนย้ายในเดือน ธ.ค. 49 ซึ่งแสดง
ถึงเงินทุนไหลออกสุทธิเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-