(ต่อ5)รายงานผลการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 22, 2007 15:51 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ๑.๖ ส่งเสริมบทบาทขององค์กรภาคเอกชนและภาคประชาชน ควบคู่กับองค์กรภาคราชการ  รัฐบาลได้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของ
ประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง สามารถพิทักษ์สิทธิ์และผลประโยชน์ของตนและสังคมไทย โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนและชุมชนด้วยกระบวนการเรียนรู้และการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน ชุมชนและสังคมมีความเข้มแข็ง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์บน
พื้นฐานของคุณธรรม ความรู้ และความพอเพียง นอกจากนั้นรัฐบาลยังดำเนินโครงการที่สอดรับกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด คือ โครงการ
พัฒนา หมู่บ้าน/ชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พพพ.) เพื่อมุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ภายใต้กระบวนการแผนแม่บท
ชุมชน โดยให้หมู่บ้าน/ชุมชนสามารถบริหารจัดการและพึ่งตนเอง ไปสู่การสร้างชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ รัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (GCC : 1111)ให้บริการทั้งทางโทรศัพท์ โทรสาร และ e-mail ตลอด ๒๔
ชั่วโมง ผ่านเลขหมาย ๑๑๑๑ จำนวน ๑๕๔ จุด ทั่วประเทศ (จุดให้บริการ ๑๒๔ จุด และรับเรื่องราวร้องทุกข์๓๐ จุด) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่ม
ช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน โดยดำเนินการปรับปรุงฐานข้อมูลภาครัฐจาก ๒ กระทรวง ๑ ส่วนงานอิสระ ให้ทันสมัย สามารถให้
บริการในด้านต่าง ๆ เช่น การหางานการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน บริการรับแจ้งเหตุเบาะแสต่าง ๆ รวมทั้งการรับข้อเสนอแนะ และข้อคิด
เห็นเป็นต้น ทั้งนี้ (ในช่วง ๖ เดือนแรกของ) ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕ (ตุลาคม ๒๕๔๙ - มีนาคม ๒๕๕) มีปริมาณการใช้กว่า ๓ ล้านครั้ง หรือเฉลี่ย
เท่ากับ ๕ แสนครั้งต่อเดือน
๑.๗ มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรบุคคลและการจัดองค์กรภาครัฐรัฐบาลให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับทิศทางการนำพา
ประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมมีความเข้มแข็ง และประชาชนมีความสุขด้วยการดำรงชีพ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้การรับราชการมี
ความเป็นมืออาชีพ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถดำรงชีพอย่างพอเพียง มีมโนสุจริต ตลอดจนมีสมรรถนะขีดความสามารถในการให้บริการ
ประชาชน ตามแนวทางพระราชทาน "เข้าใจเข้าถึง พัฒนา" โดยในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
๑.๗.๑ การพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลในภาคราชการพลเรือน รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเพิ่มสมรรถนะของข้าราชการ และการพัฒนา
ระบบบริหารงานให้มีความเป็นมืออาชีพ เพื่อช่วยให้การให้บริการประชาชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น สรุปได้ดังนี้
๑.๗.๑.๑ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยกำหนดภารกิจและบทบาทหน้าที่ของข้าราชการและเจ้า
หน้าที่ของรัฐให้เหมาะสมชัดเจนทั้งในเรื่องของความก้าวหน้าในอาชีพการงาน การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การกำหนดให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบ
คุณธรรม ตลอดจนปรับระบบตำแหน่งให้เหมาะสมกับลักษณะงานเพื่อจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (คณะ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม) นอกจากนี้ยัง
กระจายอำนาจการบริหารทรัพยากรบุคคลให้หน่วยงานต่าง ๆ มากขึ้น
๑.๗.๑.๒ กำหนดกรอบแนวทางการบริหารและพัฒนาข้าราชการให้มีความเป็นมืออาชีพ โดยมี ข้อกำหนดที่ชัดเจนในเรื่อง
ของการ เลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ ซึ่งกำหนดเรื่องคุณธรรม จริยธรรม นอกเหนือจากความรู้ความสามารถในวิชาชีพ นอกจากนี้ ยังได้กำหนด
มาตรการจูงใจในการรับราชการ โดยจัดระบบค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ และผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งได้ปรับปรุงระบบจำแนก
ตำแหน่งของข้าราชการเพื่อให้ข้าราชการสามารถแสดงศักยภาพในการทำงานได้อย่างเต็มที่ สำหรับด้านการพัฒนาองค์ความรู้ นอกจากจะส่งเสริมให้มี
การฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ความสามารถในขณะรับราชการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องแล้ว รัฐบาลยังดำเนินการจัดตั้งวิทยาลัยข้าราชการพลเรือน
เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาข้าราชการก่อนเริ่ม ปฏิบัติงานด้วย ทั้งนี้ ได้กำหนดให้หน่วยราชการต่าง ๆ ประเมินผลด้วยความถูกต้องเสมอภาค เป็น
ธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อให้ข้าราชการมีความมั่นใจในระบบคุณธรรม นอกจากนี้ยังนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูงมาใช้ในการพัฒนา
บุคลากรภาครัฐด้วย
๑.๗.๑.๓ เตรียมความพร้อมให้กับส่วนราชการต่าง ๆ ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจในระบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ตามแนวทางพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนท่าได้ปรับปรุงใหม่ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมาให้การฝึกอบรมเรื่องการบริหารงานบุคคล
แบบใหม่และการจัดตั้งศูนย์สาธารณะด้านการจัดการทุนมนุษย์ เพื่อสร้างความร่วมมือ ส่งเสริม สนับสนุนกันในลักษณะเครือข่ายให้ทุกภาคส่วนของสังคม
เห็นความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
๑.๗.๑.๔ การรับเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียนจากประชาชนรัฐบาลได้เปิดรับเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียน และให้บริการ
ข้อมูลแก่ประชาชนผ่านสื่อต่าง ๆ และจากโครงการศูนย์ข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชนในรูปแบบ Contact Center จำนวน ๓ จุดบริการ ประกอบด้วย
ศูนย์บริการโทรศัพท์ครบวงจร สามารถให้บริการได้ทั้งทางโทรศัพท์ โทรสาร ผ่านเลขหมายโทรศัพท์ ๑๑๑๑ หรือทางจดหมายที่ตู้ ปณ. ๑๑๑๑ และทาง
เว็บไซต์ www.1111.go.th รวมทั้งการรับเรื่องราวร้องทุกข์ณ จุดบริการประชาชน (counter service) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น
รัฐบาลยังดำเนินการปรับปรุงฐานข้อมูลภาครัฐให้ทันสมัย เพื่อรองรับการให้บริการ ประชาชน
๑.๗.๑.๕ พัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการ โดยเปิดโอกาสให้เข้าร่วมโครงการ สินเชื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการ้ ซึ่ง
เป็นโครงการปล่อย สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ข้าราชการไปชำระหนี้เก่าที่เสียดอกเบี้ยสูง ซึ่งโครงการนี้ได้ดำเนินการอย่างประสบความสำเร็จ โดยมีผู้เข้า
ร่วมจำนวนทั้งสิ้น ๓๓,๕๗๗ คน
๑.๗.๒ การพัฒนาระบบการตรวจราชการแนวใหม่ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการตรวจราชการแนวใหม่ตามหลักธรรมาภิบาลให้บังเกิดผลใน
ทางปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยจัดทำแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวง เพื่อมุ่งผล
สัมฤทธิ์ตามนโยบายของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕ ซึ่งมีการจัดทำคำรับรองการตรวจราชการแบบบูรณาการตามกรอบตัวชี้วัดที่ผ่านความเห็น
ชอบร่วมกันระหว่างหัวหน้าส่วนราชการแล้วโดยดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕ เป็นปีแรก รวมทั้งได้จัดทำคู่มือการตรวจราชการแบบบูรณาการ
และแผนพัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากรในระบบการตรวจราชการ เพื่อให้การตรวจราชการตอบสนองต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและใช้เป็น
เครื่องมือของผู้บริหารในการติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อไป นอกจากนี้ยังได้บูรณาการระบบสารสนเทศ (PMOC) ซึ่ง
เป็นปัจจัยพื้นฐานของระบบงานสนับสนุนเรื่องความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูล ทั้งในส่วนของข้อมูลก่อนการตรวจราชการและการรายงานผลการตรวจ
ราชการ เพื่อสะท้อนภาพยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง
(ยังมีต่อ).../๑.๘ สนับสนุน..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ