- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี เพื่อช่วย
กระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่อนคลาย
- หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ
4.5 4.53125 และ 4.53125 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ โดยสภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงในช่วงกลาง
ถึงปลายสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ไทยและ
สหรัฐฯ ปรับตัวลดลง
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการตัดสินใจผ่อนคลายมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของ ธปท. และการแข็งค่า
ของเงินสกุลภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากนักลงทุนส่วนใหญ่ลด
- ความต้องการถือครองทรัพย์สินสกุลดอลลาร์ สรอ. ลง จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาต่ำและสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และ
อิหร่าน
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่
ร้อยละ 4.50 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในช่วงเป้าหมาย ขณะที่ความเสี่ยงต่อการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจมีเพิ่มขึ้นจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะส่งผลต่อ
การขยายตัวของภาคการส่งออก คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน
ระยะต่อไป
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการสำรองเงิน
เพื่อการปิดสำรองรายปักษ์ในวันอังคารมาลงทุนเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ
4.65625 และ 4.625 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.625 และ 4.59375 ต่อปี ตามลำดับ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน
ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี สำหรับในวันพุธ หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อย
ละ 0.25 สถาบันการเงินได้เสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.5 4.53125 และ 4.53125 ต่อปี
สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงปลายสัปดาห์ ยกเว้นอัตรา
ดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5625 ต่อปี เนื่องจากมีความต้องการกู้ยืมระยะดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น แต่สภาพคล่องโดย
รวมทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากเป็นช่วงต้นปักษ์ที่ธนาคารพาณิชย์ไม่เร่งสำรองเงินสดมากนัก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์มีการสำรองสภาพ
คล่องไว้เพียงพอสำหรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดยาว สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.0 -
4.8 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.78 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.53 - 4.55 ต่อปี ในช่วงกลางถึง
ปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 188,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
35,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 7 14 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 145,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี 4 เดือน และ
12 ปี วงเงินรวม 8,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 79,000 ล้าน
บาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 66,000 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 340,678 ล้านบาท
หรือคิดเป็น 68,136 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 63 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 69 อัตราผลตอบแทน (yield) ของ
พันธบัตรฯ ปรับตัวลดลง เนื่องจากการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธ และการผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30% ในวันศุกร์ ทำ
ให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 10-21 basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัว
เพิ่มขึ้น 62 และ 55 basis point ตามลำดับ
สำหรับความเคลื่อนไหวของ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนย้ายเงินลงทุนมาจากตลาดหลักทรัพย์
เพราะการปรับตัวลงอย่างรุนแรงของตลาดหุ้นทั่วโลก และความกังวลต่อสถานการณ์ในประเทศอิหร่าน ตลอดจนตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดีเท่าที่
ควร อาทิ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนที่ลดลงมากกว่าที่คาด ทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 2-26 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 50 35.69
เฉลี่ย 19 - 23 ก.พ. 50 35.66
26 ก.พ. 50 35.61
27 ก.พ. 50 35.54
28 ก.พ. 50 35.39
1 มี.ค. 50 35.43
2 มี.ค. 50 35.35
เฉลี่ย 26 ก.พ. - 2 มี.ค.50 35.46
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.6 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงิน
บาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการที่ ธปท. ตัดสินใจผ่อนคลายมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 และยก
เลิกมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานต่างประเทศในวันจันทร์ นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยบวกจากการแข็งค่าของเงินสกุล
ภูมิภาคและเงินเยน และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยความกังวลว่า
ธปท. อาจมีการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และข่าวการลาออกจากตำแหน่งของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.
คลัง ซึ่งส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากข้อมูล
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะตัวเลข GDP ประจำไตรมาสสี่ปี 2549 ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด นอกจากนี้ ความ
กังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน และความเห็นจากอดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ
มีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ลดความต้องการถือครองทรัพย์สินสกุลดอลลาร์ สรอ. ลง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
กระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่อนคลาย
- หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ
4.5 4.53125 และ 4.53125 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ โดยสภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงในช่วงกลาง
ถึงปลายสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ไทยและ
สหรัฐฯ ปรับตัวลดลง
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการตัดสินใจผ่อนคลายมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของ ธปท. และการแข็งค่า
ของเงินสกุลภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากนักลงทุนส่วนใหญ่ลด
- ความต้องการถือครองทรัพย์สินสกุลดอลลาร์ สรอ. ลง จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาต่ำและสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และ
อิหร่าน
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่
ร้อยละ 4.50 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในช่วงเป้าหมาย ขณะที่ความเสี่ยงต่อการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจมีเพิ่มขึ้นจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะส่งผลต่อ
การขยายตัวของภาคการส่งออก คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน
ระยะต่อไป
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการสำรองเงิน
เพื่อการปิดสำรองรายปักษ์ในวันอังคารมาลงทุนเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ
4.65625 และ 4.625 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.625 และ 4.59375 ต่อปี ตามลำดับ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน
ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี สำหรับในวันพุธ หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อย
ละ 0.25 สถาบันการเงินได้เสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.5 4.53125 และ 4.53125 ต่อปี
สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงปลายสัปดาห์ ยกเว้นอัตรา
ดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5625 ต่อปี เนื่องจากมีความต้องการกู้ยืมระยะดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น แต่สภาพคล่องโดย
รวมทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากเป็นช่วงต้นปักษ์ที่ธนาคารพาณิชย์ไม่เร่งสำรองเงินสดมากนัก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์มีการสำรองสภาพ
คล่องไว้เพียงพอสำหรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดยาว สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.0 -
4.8 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.78 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.53 - 4.55 ต่อปี ในช่วงกลางถึง
ปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 188,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
35,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 7 14 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 145,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี 4 เดือน และ
12 ปี วงเงินรวม 8,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 79,000 ล้าน
บาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 66,000 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 340,678 ล้านบาท
หรือคิดเป็น 68,136 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 63 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 69 อัตราผลตอบแทน (yield) ของ
พันธบัตรฯ ปรับตัวลดลง เนื่องจากการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธ และการผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30% ในวันศุกร์ ทำ
ให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 10-21 basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัว
เพิ่มขึ้น 62 และ 55 basis point ตามลำดับ
สำหรับความเคลื่อนไหวของ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนย้ายเงินลงทุนมาจากตลาดหลักทรัพย์
เพราะการปรับตัวลงอย่างรุนแรงของตลาดหุ้นทั่วโลก และความกังวลต่อสถานการณ์ในประเทศอิหร่าน ตลอดจนตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดีเท่าที่
ควร อาทิ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนที่ลดลงมากกว่าที่คาด ทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 2-26 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 50 35.69
เฉลี่ย 19 - 23 ก.พ. 50 35.66
26 ก.พ. 50 35.61
27 ก.พ. 50 35.54
28 ก.พ. 50 35.39
1 มี.ค. 50 35.43
2 มี.ค. 50 35.35
เฉลี่ย 26 ก.พ. - 2 มี.ค.50 35.46
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.6 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงิน
บาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการที่ ธปท. ตัดสินใจผ่อนคลายมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 และยก
เลิกมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานต่างประเทศในวันจันทร์ นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยบวกจากการแข็งค่าของเงินสกุล
ภูมิภาคและเงินเยน และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยความกังวลว่า
ธปท. อาจมีการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และข่าวการลาออกจากตำแหน่งของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.
คลัง ซึ่งส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากข้อมูล
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะตัวเลข GDP ประจำไตรมาสสี่ปี 2549 ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด นอกจากนี้ ความ
กังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน และความเห็นจากอดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ
มีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ลดความต้องการถือครองทรัพย์สินสกุลดอลลาร์ สรอ. ลง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-