๒.๕ การแก้ไขปัญหาอุทกภัยและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย การแก้ไขปัญหาอุทกภัยและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ในช่วง พ.ศ. ๒๕๔๙รัฐบาลได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรจากปัญหาอุทกภัย ๔๗ จังหวัด อย่างเร่งด่วน โดยจัดหาน้ำสะอาดแจกจ่ายราษฎรกว่า ๒ ล้านลิตร ก่อสร้างฝายต้นน้ำ ๑๐,๐๐๐ แห่งและได้ให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร โดยจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตร เช่น เครื่องสูบน้ำ อาหารสัตว์ การให้บริการเวชภัณฑ์และวัคซีนการสนับสนุนพันธุ์พืชอายุสั้น การจัดตั้งศูนย์บริการการเกษตรเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆ รวม ๙๐๙ ศูนย์ รวมทั้งประสานการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ทั้งในด้านการช่วยเหลือประชาชนที่บาดเจ็บและเสียชีวิต การซ่อมแซมและจัดหาที่อยู่อาศัยการฟื๔นฟูวิถีชีวิตชุมชน การให้ความช่วยเหลือเกษตรกร การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอย และผู้ว่างงาน รวมทั้งผู้ประสบภัยโดยการจ้างงานในลักษณะทำความสะอาด บูรณะอาคารสถานที่ สิ่งสาธารณประโยชน์ที่ได้รับความเสียหาย จำนวน ๔๕,๖๐๐ คน และฝึกอาชีพ ๓๕๖ รุ่น/๔,๗๓๗ คน
คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๙ ได้อนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม รวมทั้งกรอบวงเงินงบประมาณในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและบูรณะฟื๔นฟูความเสียหายในพื้นที่ ๔๗ จังหวัด เป็นเงินทั้งสิ้น ๒๒,๔๖๘,๗๕๗,๐๓๓ บาท และรัฐบาลได้ปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้มีความทันสมัย ทำให้สามารถลดระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือประชาชนจากเดิมที่ต้องใช้เวลา ๓ เดือน - ๑ ปี เป็นภายใน ๓๑ วัน ทำให้สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปแล้วกว่า ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งรัฐบาลได้รับภาระหนี้แทนสมาชิกที่เสียชีวิต และขยายการชำระหนี้เงินกู้ ๓ ปี โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยกรณีสมาชิกประสบภัยร้ายแรง ซึ่งมีสมาชิกสหกรณ์ได้รับความช่วยเหลือ ๓๖๒ สหกรณ์และ ๕๗,๓๓๐ กลุ่มเกษตรกร ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสภาวะอุทกภัย รัฐบาลมีมาตรการให้ความช่วยเหลือคือการตอบแทนข้าราชการที่มีผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน โดยให้ประกาศเกียรติคุณ และให้วันลาพักผ่อนเพิ่มอีก ๑๐ วัน และให้สิทธิกู้เงินซ่อมแซมที่อยู่อาศัยสำหรับข้าราชการที่ประสบอุทกภัย
๒.๖ การจัดทำแผนแม่บทการบรรเทาอุทกภัยระยะกลางและระยะยาวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนแม่บทการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ซึ่งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ๓ ด้าน คือ
(๑) คณะอนุกรรมการด้านการใช้ที่ดินและการป้องกันน้ำท่วม
(๒) คณะอนุกรรมการด้านการเกษตรและการชลประทาน และ
(๓) คณะอนุกรรมการด้านการบริหารจัดการน้ำ เพื่อจัดทำแผนแห่งชาติการบรรเทาอุทกภัยเสนอคณะรัฐมนตรี สาระสำคัญของแผนดังกล่าวประกอบด้วยมาตรการ ๖ ประการ ได้แก่ ๑) การป้องกันและฟื๔นฟูสภาพ พื้นที่ต้นน้ำ ๒) การฟื๔นฟูแหล่งน้ำ ทางน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ ๓) การพัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำ ระบบระบายน้ำและการผันน้ำ ๔) การจัดการด้านการใช้ที่ดินและการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เศรษฐกิจหลัก ๕) การปรับปรุงรูปแบบการเกษตรและการใช้พื้นที่เกษตรเป็นที่รับน้ำนอง และ ๖) การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนแผนการบรรเทาผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนดังกล่าวตามกรอบวงเงินงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๙ จำนวน ๑๑๒,๓๒๐ ล้านบาทและอนุมัติตามหลักการกรอบวงเงินงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๑ จำนวน ๑๐,๕๗๗ ล้านบาท เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๐
๒.๗ การแก้ไขปัญหาผลกระทบจากปัญหามลพิษทางน้ำในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง และพระนครศรีอยุธยาประสบปัญหามลพิษทางน้ำอย่างรุนแรง ทำให้ปลาในแม่น้ำเจ้าพระยา และปลาในกระชังของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดดังกล่าวได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก รัฐบาลได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบสาเหตุ และความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเกษตรกร ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับคณะทำงานตรวจสอบสาเหตุที่แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองพบว่า เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปลาในกระชังตายและคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๐ ให้ความช่วยเหลือในการจ่ายเงินค่าชดเชยให้เกษตรกรในอัตรา ๒๕๗ บาท/ตารางเมตร รายละไม่เกิน ๘๐ ตารางเมตร (หรือไม่เกิน ๒๐,๕๖๐ บาท/ราย) จำนวน ๒๓๑ ราย เพื่อเป็นการเยียวยาเฉพาะหน้า และได้จัดทำเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ โดยจะใช้จากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้กรมควบคุมมลพิษประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อจัดทำแผนหลักในการแก้ไขปัญหาภัยน้ำเสียในระบบลุ่มน้ำแบบบูรณาการให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี โดยดำเนินการในลุ่มน้ำที่มีปัญหาภัยน้ำเสียรุนแรงเป็นลำดับแรก
ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังนั้นให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ให้ชัดเจน เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นหากไม่มีข้อขัดข้องทางกฎหมาย ภาครัฐจะทดรองจ่ายเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เจรจาเบื้องต้นไว้ไปก่อน แล้วดำเนินการเรียกร้องเงินค่าเสียหายคืนจากผู้กระทำความผิดในภายหลัง โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น จังหวัดอ่างทองพระนครศรีอยุธยา กรมประมงรวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานสืบหาสาเหตุที่ทำให้ปลาตาย และฟื๔นฟูคุณภาพน้ำเพื่อนำไปใช้เรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ กำลังจัดทำแผนปฏิบัติการ กรณีเกิดฉุกเฉินและภัยพิบัติมลพิษทางน้ำ
(ยังมีต่อ).../๒.๘ การแก้ไข..