(ต่อ4)รายงานผลการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 22, 2007 15:18 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ๑.๔.๒ การจัดทำแผนแม่บทส่งเสริมและพัฒนาการใช้ทรัพยากรสื่อสารมวลชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง ได้มีการแต่งตั้งคณะ
กรรมการฯเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล โดยมีหน้าที่ ๑) จัดทำแผนแม่บทส่งเสริมและพัฒนาการใช้ทรัพยากรสื่อสารมวลชน เพื่อ
การปฏิรูปสังคมและการเมือง เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ๒) เสนอแนะการจัดทำกฎหมาย กฎระเบียบและมาตรการที่จำเป็นต่อการส่งเสริมและ
พัฒนาการใช้ทรัพยากรสื่อสารมวลชนตามนโยบายของรัฐบาล และแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคอันเกิดจากการใช้ทรัพยากรสื่อสารมวลชน รวมทั้ง
แนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่จำเป็น ๓) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคล เพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่คณะ
กรรมการฯ มอบหมาย ๔) เชิญผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้แทนภาคเอกชนมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ข้อคิดเห็น รวมทั้งเรียกเอกสารที่
เกี่ยวข้องเพื่อใช้ ประกอบการพิจารณา โดยต่อมา ประธานคณะกรรมการฯ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ เพื่อช่วยคณะกรรมการฯ
ดำเนินการดังต่อไปนี้ ๑) คณะอนุกรรมการศึกษา และวางแผน ๒) คณะอนุกรรมการรวบรวมกฎหมาย ๓) คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น และ
๔) คณะอนุกรรมการบริหารแผนงานและงบประมาณ
๑.๔.๓ การปฏิรูปสังคมสื่อของรัฐเพื่อ ประชาชน โดยได้ดำเนินการเกี่ยวกับข้อพิพาทสถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี เพื่อรักษาผลประโยชน์ของ
รัฐและประชาชนจนนำไปสู่การบอกเลิกสัญญาสัมปทาน และรัฐบาลได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนแล้วได้ผลักดันให้เป็นสื่อสาธารณะและได้ยกร่าง
พระราชบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรแพร่ภาพและกระจายเสียงในรูปแบบของสื่อสาธารณะ พ.ศ. .... ที่กำหนดรูปแบบและหลักประกันความเป็นสื่อ
สาธารณะ ๓ ด้าน คือ๑) ความเป็นอิสระจากการครอบงำและแทรกแซงจากผู้มีอำนาจ ทั้งทางการเมืองและธุรกิจ ๒) วางหลักประกันให้มีการจัด
ระบบเพื่อให้ได้มาซึ่งงบประมาณรายจ่ายในการดำเนินงานจากแหล่งต่าง ๆ โดยไม่ทำให้สื่อต้องพึ่งพิงรายได้อันมีที่มาจากธุรกิจเอกชน เช่น การ
โฆษณา เพราะจะทำให้สูญเสียความเป็นอิสระตามเจตนารมณ์ของการเป็นสื่อสาธารณะ และ ๓) ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่าง
เหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหา และการดำเนินการที่คำนึงถึงพันธกิจของความเป็นสื่อเพื่อสาธารณะและจริยธรรม คุณธรรมความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
๑.๔.๔ การให้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยแก่ประชาชน การสร้างความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการมีส่วนร่วม และการปลูกฝัง
จิตสำนึกของประชาธิปไตยนับเป็นภารกิจสำคัญที่รัฐบาลจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนในทุกภาคส่วน โดยจะเห็นได้
จากการที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีวัตถุประสงค์ใน
การเสริมสร้างประชาธิปไตย โดยมีเป้าหมายหลัก เช่น๑) ให้ประชาชนยึดมั่นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๒) ให้
ประชาชนเลือกคนดี ๓) ให้มีการเลือกตั้งด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม ๔) ให้มีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย และ ๕) ส่งเสริมให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือก
ตั้ง โดยขณะนี้ได้มีการ จัดตั้งศูนย์พัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ศพป.) เพื่อขับเคลื่อนการ
พัฒนาการเมือง และสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิ
เสรีภาพ และหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ โดยมีอาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย (อสพป.) จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ของประชากรทั้งประเทศ
(ประมาณ๑๕ ล้านคน) เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมการส่งเสริมประชาธิปไตยในทุกพื้นที่ อีกทั้งได้ดำเนินการจัดทำการเรียนรู้ผ่านกรณี
ศึกษา และคู่มือส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยผ่านกรณีศึกษาใน ๕ ส่วน จำนวน ๔๑ เรื่อง ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ วิถีประชาธิปไตยระดับประเทศ
จำนวน ๖ เรื่อง ส่วนที่ ๒ วิถีประชาธิปไตยระดับท้องถิ่น จำนวน ๗ เรื่อง ส่วนที่ ๓ วิถีประชาธิปไตยระดับชุมชน จำนวน ๑๑ เรื่องส่วนที่ ๔ วิถี
ประชาธิปไตยระดับกลุ่ม/ระหว่างบุคคล จำนวน ๗ เรื่อง และส่วนที่ ๕ วิถีประชาธิปไตยระดับบุคคล จำนวน ๑ เรื่อง
๑.๕ ส่งเสริมเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อสารมวลชน
๑.๕.๑ การส่งเสริมเสรีภาพการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน รัฐบาลได้พัฒนานโยบายในการส่งเสริมการสื่อสาร และเผยแพร่ประชา
สัมพันธ์ของสื่อมวลชนโดยกำกับดูแลด้านเนื้อหาและสาระของรายการที่ออกอากาศผ่านทางสื่อวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และเคเบิลทีวีให้เป็นไป
ตามกฎหมาย ตลอดจนการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อวิทยุโทรทัศน์กับกลุ่มผู้ชม โดยได้ประสานความร่วมมือ การสร้างความเข้าใจกับสถานีวิทยุ
โทรทัศน์ต่าง ๆ และเน้นการมีส่วนร่วมโดยสมัครใจของสถานีวิทยุโทรทัศน์ทั้งทางด้านการส่งเสริมและพัฒนาระบบกำกับดูแลตนเอง การกำหนดแนวทาง
และดำเนินการร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งนำระบบติดตามการดำเนินงานของสื่อมวลชนมาใช้แทนการควบคุม
ส่งผลให้สื่อมวลชนนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน อาทิ ดำเนินการเผยแพร่รายการ บทความ ข่าวและสารคดีต่าง
ๆ ตามนโยบายการปฏิรูปการเมืองการปกครอง และการบริหาร และการประชาสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาเศรษฐกิจระดับรากแก้ว
๑.๕.๒ กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อเป็นการวางรากฐานการพัฒนากิจการสื่อสารมวลชนใน
ระยะยาว รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อศึกษา รวบรวมข้อมูล และรับ
ฟังความคิดเห็นของประชาชนประกอบการยกร่างกฎหมาย ตลอดจนการบริหารแผนและงบประมาณนอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีการเปิดเวทีสัมมนาเพื่อรับ
ฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปแล้ว และจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในภาคอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูล
ในการยกร่างกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเมื่อร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้วเสร็จ จะจัดให้มีการรับฟัง
ความคิดเห็นอีกครั้งหนึ่งก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๕
๑.๕.๓ การแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาสถานภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ไขการดำเนินการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เพื่อศึกษา
สถานภาพและปัญหา โดยได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลรายละเอียดและปรึกษาหารือ เช่น ผู้แทนสมาคมเคเบิลทีวี ผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านดาว
เทียม ๑๔ สถานี ผู้แทนสถานีโทรทัศน์ช่อง ๑๑ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคด้านบริหารจัดการ ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนัก
วิชาการ ทั้งนี้ เพื่อจะได้นำมาพิจารณาเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดำเนินการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมได้อย่างเป็นระบบและมี
ประสิทธิภาพ
(ยังมีต่อ).../๑.๖ ส่งเสริมบท..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ