แท็ก
ตราสารหนี้
- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ โดย ธพ. นำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง แต่อัตรา
ดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้น -
ปานกลางปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ส่วน US Treasury Yield ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องและแข็งค่าที่สุดอีกครั้งในรอบ 9 ปีครึ่งในวันพฤหัสบดีที่ 34.66 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากความต้องการ
ขายดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออก และการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคหลังจากที่ธนาคารจีนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ขณะที่เงินดอลลาร์
สรอ. อ่อนค่าลง เนื่องจากตลาดตีความว่า FED อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วๆ นี้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินเข้ามาลงทุนอย่าง
ต่อเนื่อง โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมากในช่วงต้นสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อ
คืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.5
4.53125 และ 4.53125 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นในวันพุธเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสด
ของลูกค้า ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ระดับเดียวกันที่ร้อยละ 4.5625 ต่อปี ก่อนจะปรับลดลงมาปิด
ตลาดในอัตราเดิมในวันพฤหัสบดี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมากมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.53 - 4.62 ขณะที่
อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.55 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สาม
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 125,300 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
15,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 7 14 และ 364 วัน วงเงินรวม 95,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี 6 เดือน และ 12 ปี วง
เงินรวม 9,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลนอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคาร
สงเคราะห์ อายุ 10 12 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,800 ล้านบาท และพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 8 และ 10 ปี วงเงินรวม
2,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มี ตราสารภาครัฐครบกำหนด 115,616 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 9,684 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 288,205 ล้านบาท หรือคิดเป็น 57,641 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 8 แต่ปริมาณธุรกรรม Outright เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวลดลง เนื่องจากมีความ
ต้องการเข้ามามาก ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการขายทำกำไร ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของ
พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี ปรับลดลง 14-23 basis points พันธบัตรฯ อายุ 3-7 ปี อัตราผลตอบแทนปรับลดลง 1-8 basis points
ส่วนพันธบัตรฯ อายุ 10 ปีขึ้นไป อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 0-9 basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลง 7 basis point ส่วน
ดัชนีหุ้นกู้เอกชนปรับเพิ่มขึ้น 17 basis point
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงช่วงต้น-กลางสัปดาห์ จากตัวเลขขออนุญาตก่อสร้างบ้านที่ลดต่ำลงกว่าที่คาด และการ
ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีกทั้งแถลงการณ์ของ Fed ที่ทำให้นักลงทุนคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตอันใกล้
แต่ต่อมานักลงทุนกลับไม่มั่นใจว่า Fed จะปรับดอกเบี้ยลงตามที่คาดไว้ จึงทำให้อัตราผลตอบแทนในช่วงปลายสัปดาห์ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ณ สิ้น
สัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2-10 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 3 เดือน - 1 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทน
ลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 50 35.69
เฉลี่ย 12 - 16 มี.ค.50 35.04
เฉลี่ย 12 - 16 มี.ค.50 35.04
20 มี.ค. 50 34.80
21 มี.ค. 50 34.76
22 มี.ค. 50 34.66
23 มี.ค. 50 34.80
เฉลี่ย 19 - 23 มี.ค.50 34.77
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 34.77 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากร้อยละ 0.8 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน
หน้า โดยเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 9 ปีครึ่งที่ 34.66 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวัน
พฤหัสบดี ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในช่วงต้น
สัปดาห์ ก่อนที่ ธปท. จะออกมากล่าวเตือนผู้ส่งออกว่ายังไม่ได้มีการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 และการใช้การทำประกันความเสี่ยง
full hedge แทนไม่มีผลกระทบให้เกิดความผันผวนของค่าเงินบาทแต่อย่างใด ซึ่งส่งผลให้ผู้ส่งออกชะลอการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ลงบางส่วน
แต่เงินบาทยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนไหลเข้า และการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาค หลังจากธนาคารกลางจีนมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและ
เงินกู้ร้อยละ 0.37 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.79 และ 6.39 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงในวันศุกร์ ตามการอ่อนค่าของเงินใน
ภูมิภาค ประกอบกับนักลงทุนบางส่วนมีการซื้อคืนเงินดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงมากในช่วงที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์
สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงกลาง
สัปดาห์ไม่ได้แสดงนัยถึงความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่ชัดเจนดังเช่นการประชุมครั้งก่อนหน้า ส่งผลให้ตลาดตีความว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจมีการปรับลด
อัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ลงในระยะเวลาไม่นานนัก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้น -
ปานกลางปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ส่วน US Treasury Yield ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องและแข็งค่าที่สุดอีกครั้งในรอบ 9 ปีครึ่งในวันพฤหัสบดีที่ 34.66 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากความต้องการ
ขายดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออก และการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคหลังจากที่ธนาคารจีนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ขณะที่เงินดอลลาร์
สรอ. อ่อนค่าลง เนื่องจากตลาดตีความว่า FED อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วๆ นี้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินเข้ามาลงทุนอย่าง
ต่อเนื่อง โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมากในช่วงต้นสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อ
คืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.5
4.53125 และ 4.53125 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นในวันพุธเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสด
ของลูกค้า ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ระดับเดียวกันที่ร้อยละ 4.5625 ต่อปี ก่อนจะปรับลดลงมาปิด
ตลาดในอัตราเดิมในวันพฤหัสบดี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมากมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.53 - 4.62 ขณะที่
อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.55 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สาม
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 125,300 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
15,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 7 14 และ 364 วัน วงเงินรวม 95,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี 6 เดือน และ 12 ปี วง
เงินรวม 9,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลนอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคาร
สงเคราะห์ อายุ 10 12 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,800 ล้านบาท และพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 8 และ 10 ปี วงเงินรวม
2,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มี ตราสารภาครัฐครบกำหนด 115,616 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 9,684 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 288,205 ล้านบาท หรือคิดเป็น 57,641 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 8 แต่ปริมาณธุรกรรม Outright เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวลดลง เนื่องจากมีความ
ต้องการเข้ามามาก ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการขายทำกำไร ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของ
พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี ปรับลดลง 14-23 basis points พันธบัตรฯ อายุ 3-7 ปี อัตราผลตอบแทนปรับลดลง 1-8 basis points
ส่วนพันธบัตรฯ อายุ 10 ปีขึ้นไป อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 0-9 basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลง 7 basis point ส่วน
ดัชนีหุ้นกู้เอกชนปรับเพิ่มขึ้น 17 basis point
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงช่วงต้น-กลางสัปดาห์ จากตัวเลขขออนุญาตก่อสร้างบ้านที่ลดต่ำลงกว่าที่คาด และการ
ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีกทั้งแถลงการณ์ของ Fed ที่ทำให้นักลงทุนคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตอันใกล้
แต่ต่อมานักลงทุนกลับไม่มั่นใจว่า Fed จะปรับดอกเบี้ยลงตามที่คาดไว้ จึงทำให้อัตราผลตอบแทนในช่วงปลายสัปดาห์ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ณ สิ้น
สัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2-10 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 3 เดือน - 1 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทน
ลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 50 35.69
เฉลี่ย 12 - 16 มี.ค.50 35.04
เฉลี่ย 12 - 16 มี.ค.50 35.04
20 มี.ค. 50 34.80
21 มี.ค. 50 34.76
22 มี.ค. 50 34.66
23 มี.ค. 50 34.80
เฉลี่ย 19 - 23 มี.ค.50 34.77
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 34.77 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากร้อยละ 0.8 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน
หน้า โดยเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 9 ปีครึ่งที่ 34.66 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวัน
พฤหัสบดี ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในช่วงต้น
สัปดาห์ ก่อนที่ ธปท. จะออกมากล่าวเตือนผู้ส่งออกว่ายังไม่ได้มีการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 และการใช้การทำประกันความเสี่ยง
full hedge แทนไม่มีผลกระทบให้เกิดความผันผวนของค่าเงินบาทแต่อย่างใด ซึ่งส่งผลให้ผู้ส่งออกชะลอการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ลงบางส่วน
แต่เงินบาทยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนไหลเข้า และการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาค หลังจากธนาคารกลางจีนมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและ
เงินกู้ร้อยละ 0.37 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.79 และ 6.39 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงในวันศุกร์ ตามการอ่อนค่าของเงินใน
ภูมิภาค ประกอบกับนักลงทุนบางส่วนมีการซื้อคืนเงินดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงมากในช่วงที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์
สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงกลาง
สัปดาห์ไม่ได้แสดงนัยถึงความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่ชัดเจนดังเช่นการประชุมครั้งก่อนหน้า ส่งผลให้ตลาดตีความว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจมีการปรับลด
อัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ลงในระยะเวลาไม่นานนัก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-