ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คำตอบของประเทศไทยกับโลกาภิวัตน์
รายงานของยูเอ็นดีพีชื่นชมประเทศไทยยึด "ทางสายกลาง" เป็นแนวทางแก้ไขความยากจน
รับมือกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ
รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทยของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งได้เปิดตัวในวันที่ 9 มกราคม ระบุว่า เศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย เป็นปรัชญาที่สำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับการขจัดความยากจน การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งยังเป็นเกราะคุ้มกันประเทศต่อผลกระทบของวิกฤติทางเศรษฐกิจ รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน นำเสนอประสบการณ์จากหลายภาคส่วนที่นำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ อาทิ ภาคธุรกิจ ภาคเกษตรกรรม ภาคการศึกษา รวมทั้งการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนทุกประเทศ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้ในบทคำนำของรายงานว่า "แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มมีการศึกษาและประยุกต์ใช้อย่างจริงจังในช่วงที่ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 และได้ทวีความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ...หลักการและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสนับสนุนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าการเติบโตอย่างรวดเร็ว ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นโยบายมหภาคที่มีเหตุผล และการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม"
รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน ฉบับล่าสุดนี้ จัดทำขึ้นโดยยูเอ็นดีพี (UNDP) ซึ่งได้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาบรรจุไว้ในรายงานดังกล่าว รายงานนี้เกิดจากการความร่วมมือร่วมใจเป็นระยะเวลาหนึ่งปีเต็มระหว่างหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ และยูเอ็นดีพี ซึ่งต่างทุ่มเทแรงใจให้กับรายงานฉบับนี้ เพื่อต้องการนำเสนอ
แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนแนวทางประยุกต์ใช้เพื่อเผยแพร่ต่อผู้อ่านในประเทศอื่นๆในโลกได้ร่วมเรียนรู้อย่างกว้างขวาง จึงได้มีการเปิดตัวรายงานดังกล่าวในวันนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีฯพณฯ นายกรัฐมนตรีให้เกียรติกล่าวเปิดงาน
รายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอันมีนัยที่น่าประทับใจของประเทศไทย แต่ในอีกมุมหนึ่งที่มีความตรงกันข้ามนั้น ยังคงมีอุปสรรคและประเด็นซึ่งท้าทายการพัฒนาในมิติต่างๆหลายด้าน ที่ควรได้รับการเอาใจใส่ รายงานระบุว่า ประชากรเพียงบางกลุ่มมีรายได้สูงแต่ยังมีประชากรบางพื้นที่หลายแห่งในประเทศยังคงต้องเผชิญกับความยากจน การได้รับบริการพื้นฐานจากภาครัฐในพื้นที่บางแห่งยังไม่ทัดเทียมกัน ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังเป็นเรื่องที่น่าหนักใจ นอกจากนั้น ชีวิตครอบครัวและชุมชนเริ่มสั่นคลอนและขาดความมั่นคง สาเหตุสืบเนื่องจากการย้ายถิ่นของประชากรเข้าสู่ตัวเมือง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้แก่พสกนิกรไทย ประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยอยู่บนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรม สวนทางกับการเติบโตอย่างรวดเร็วแต่ไม่สมดุลและมักจะมีปัญหาต่างๆ ตามมา ดังนั้น การได้มีโอกาสนำรายงานนี้ออกเผยแพร่ จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ในการกำหนดนโยบายประเทศและนำสู่การปฏิบัติ รายงานฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายนำเสนอและเผยแพร่แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงสู่นานาประเทศในวงกว้าง มุ่งนำเสนอข้อมูลเพื่อสร้างความกระจ่างในเนื้อหา นำเสนอบทศึกษาและการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนสู่นานาประเทศโดยผ่านรายงานดังกล่าว
หลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผน และการบริหารจัดการในการก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้โดยนำศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยต้นทุนต่ำสุด เป็นแนวทางเลือกในการตัดสินใจด้วยสติปัญญาและความรอบคอบ สามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความเท่าเทียม และความสามารถในการรับมือกับกระแสโลภาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โดยมีผลกระทบน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็น "กลยุทธ์ในการอยู่รอด" ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน รวมทั้งปัจจัยคุกคามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นางโจแอนนา เมอร์ลิน-โชลเทส ผู้ประสานงานองค์การสหประชาชาติและผู้แทนยูเอ็นดีพีประจำประเทศไทย กล่าวว่า "ทางเราเชื่อว่าแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีการพัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว มักจะได้รับผลกระทบ ดังที่ประเทศไทยเคยประสบแล้วเช่นกัน" นางเมอร์ลิน-โชลเทสกล่าวต่อว่า "แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนา
และบริหารประเทศ ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ และบุคคล สามารถประยุกต์ใช้เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อปกปักรักษาสิ่งแวดล้อม และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นสำหรับทุกคน"
รายงานนำเสนอและอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร และปฏิบัติใช้ได้จริง โดยยกบทศึกษาจริงจากหลายภาคส่วนมาประกอบในรายงาน อาทิ
กลุ่มชุมชน หลักการเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพและการพึ่งพาตนเองในระยะยาว รายงานระบุว่าจากกรณีศึกษาตัวอย่างของชุมชนต่างๆแสดงให้เห็นว่าโครงการพัฒนาชุมชนที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองส่งผลให้เกิดความยั่งยืน เช่น กิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์ การพัฒนาทุนหมุนเวียน การสร้างเครือข่ายสวัสดิการชุมชน และการสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายระหว่างชุมชนต่างๆเพื่อสร้าง
ฐานเศรษฐกิจและวิสาหกิจชุมชน สร้างภูมิคุ้มกันต่อสถานการณ์ที่เข้ามากระทบโดยฉับพลัน เช่น ตัวอย่างของเครือข่ายอินแปง เป็นหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแบบอย่างชุมชนที่มีการพัฒนาและเติบโตอย่างมั่นคง ทั้งได้สร้างเครือข่ายให้มีความหลากหลาย และเชื่อมต่อธุรกิจเพื่อขยายฐานเศรษฐกิจ มีความระมัดระวัง และพึ่งพาตนเอง อันเป็นเกราะป้องกันที่ดีอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ.2540 แม้จะได้รับผลกระทบในช่วงวิกฤติบ้างแต่ก็ไม่มากนัก ทั้งนี้เป็นผลจากภูมิปัญญาและความเชื่อของชาวอินแปงในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ความสำเร็จของเครือข่ายอินแปง ได้นำความภาคภูมิใจมาสู่ชุมชนในการสืบทอดความรู้ และวัฒนธรรมให้แก่คนรุ่นหลัง
ต่อไป
ภาคธุรกิจ เศรษฐกิจพอเพียง ชี้แนวทางการดำเนินงานแก่ภาคธุรกิจเอกชนให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมให้เพิ่มขึ้นในอีกระดับหนึ่ง ปัจจุบันบริษัทเอกชนทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กต่างน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติ และประยุกต์ใช้เพื่อวางแผนและบริหารจัดการองค์กร รายงานระบุต่อว่า แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนให้องค์กรสร้างผลกำไรที่เป็นธรรม สร้างรายได้อย่างยั่งยืน มีจรรยาบรรณในการดำเนินการธุรกิจ ให้ความสำคัญแก่พนักงานในองค์กรทุกคน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีการจัดการบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ และสนับสนุนทรัพยากรจากองค์กรภายใน ซึ่งหลายๆบริษัทที่ดำเนินการโดยใช้แนวทางนี้ ส่งผลให้องค์กรเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างมั่นคงยาวนาน รายงานระบุตัวอย่างความสำเร็จของหลายองค์กร หนึ่งตัวอย่างได้แก่ เครือซีเมนต์ไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ แต่สามารถกู้วิกฤติและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว สาเหตุเพราะองค์กรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของบุคคลากร พนักงานทุกคนมีคุณค่า และบริหารจัดการโดยยึดแนวทางพระราชดำริ
ภาครัฐ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานหลักในการขจัดความยากจน มีความสำคัญต่อการปรับปรุงมาตรฐานของธรรมาภิบาล และเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของชาติเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงโลกที่เข้ามากระทบโดยฉับพลัน รายงานโต้แย้งว่า การแก้ไขความยากจนนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนโครงการระดับชุมชนโดยเน้นให้ชุมชนพึ่งพาตนเองมากกว่าการใช้เม็ดเงินลงทุนในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ภาครัฐควรสนับสนุนการพัฒนาและส่งเสริมโครงการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน และกำหนดนโยบายมหภาค โดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด รายงานชี้ต่อว่า การทุจริตและประพฤติมิชอบคือศัตรูตัวฉกาจต่อความเพียรในการป้องปราบดังกล่าว และหากยังเป็นเช่นนี้
คนจนซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางมักจะตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด หากธรรมาภิบาลไร้คุณภาพ
"เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญานำทางและรูปแบบในการบริหารพัฒนาเศรษฐกิจ อันเป็นผลจาก บริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายเป็นเวลาหลายทศวรรษ --นางเมอร์ลิน-โชลเทส ผู้แทนยูเอ็นดีพีกล่าวต่อว่า "แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง คือของขวัญพระราชทานแก่คนไทยและพลเมืองโลก -- ซึ่งคนไทยควรภาคภูมิใจยิ่ง"
สอบถามข้อมูล --
Nick Keyes: nick.keyes@undp.org; 02 288 1814; 085 115 7236
Cherie Hart: cherie.hart@undp.org; 02 288 2133, 081 918 1564
พรรณิภา เรืองต่อศักดิ์ punnipa.ruangorsak@undp.org, 02 288 2130; 081 398 6064
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
คำตอบของประเทศไทยกับโลกาภิวัตน์
รายงานของยูเอ็นดีพีชื่นชมประเทศไทยยึด "ทางสายกลาง" เป็นแนวทางแก้ไขความยากจน
รับมือกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ
รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทยของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งได้เปิดตัวในวันที่ 9 มกราคม ระบุว่า เศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย เป็นปรัชญาที่สำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับการขจัดความยากจน การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งยังเป็นเกราะคุ้มกันประเทศต่อผลกระทบของวิกฤติทางเศรษฐกิจ รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน นำเสนอประสบการณ์จากหลายภาคส่วนที่นำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ อาทิ ภาคธุรกิจ ภาคเกษตรกรรม ภาคการศึกษา รวมทั้งการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนทุกประเทศ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้ในบทคำนำของรายงานว่า "แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มมีการศึกษาและประยุกต์ใช้อย่างจริงจังในช่วงที่ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 และได้ทวีความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ...หลักการและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสนับสนุนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าการเติบโตอย่างรวดเร็ว ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นโยบายมหภาคที่มีเหตุผล และการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม"
รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน ฉบับล่าสุดนี้ จัดทำขึ้นโดยยูเอ็นดีพี (UNDP) ซึ่งได้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาบรรจุไว้ในรายงานดังกล่าว รายงานนี้เกิดจากการความร่วมมือร่วมใจเป็นระยะเวลาหนึ่งปีเต็มระหว่างหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ และยูเอ็นดีพี ซึ่งต่างทุ่มเทแรงใจให้กับรายงานฉบับนี้ เพื่อต้องการนำเสนอ
แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนแนวทางประยุกต์ใช้เพื่อเผยแพร่ต่อผู้อ่านในประเทศอื่นๆในโลกได้ร่วมเรียนรู้อย่างกว้างขวาง จึงได้มีการเปิดตัวรายงานดังกล่าวในวันนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีฯพณฯ นายกรัฐมนตรีให้เกียรติกล่าวเปิดงาน
รายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอันมีนัยที่น่าประทับใจของประเทศไทย แต่ในอีกมุมหนึ่งที่มีความตรงกันข้ามนั้น ยังคงมีอุปสรรคและประเด็นซึ่งท้าทายการพัฒนาในมิติต่างๆหลายด้าน ที่ควรได้รับการเอาใจใส่ รายงานระบุว่า ประชากรเพียงบางกลุ่มมีรายได้สูงแต่ยังมีประชากรบางพื้นที่หลายแห่งในประเทศยังคงต้องเผชิญกับความยากจน การได้รับบริการพื้นฐานจากภาครัฐในพื้นที่บางแห่งยังไม่ทัดเทียมกัน ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังเป็นเรื่องที่น่าหนักใจ นอกจากนั้น ชีวิตครอบครัวและชุมชนเริ่มสั่นคลอนและขาดความมั่นคง สาเหตุสืบเนื่องจากการย้ายถิ่นของประชากรเข้าสู่ตัวเมือง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้แก่พสกนิกรไทย ประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยอยู่บนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรม สวนทางกับการเติบโตอย่างรวดเร็วแต่ไม่สมดุลและมักจะมีปัญหาต่างๆ ตามมา ดังนั้น การได้มีโอกาสนำรายงานนี้ออกเผยแพร่ จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ในการกำหนดนโยบายประเทศและนำสู่การปฏิบัติ รายงานฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายนำเสนอและเผยแพร่แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงสู่นานาประเทศในวงกว้าง มุ่งนำเสนอข้อมูลเพื่อสร้างความกระจ่างในเนื้อหา นำเสนอบทศึกษาและการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนสู่นานาประเทศโดยผ่านรายงานดังกล่าว
หลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผน และการบริหารจัดการในการก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้โดยนำศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยต้นทุนต่ำสุด เป็นแนวทางเลือกในการตัดสินใจด้วยสติปัญญาและความรอบคอบ สามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความเท่าเทียม และความสามารถในการรับมือกับกระแสโลภาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โดยมีผลกระทบน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็น "กลยุทธ์ในการอยู่รอด" ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน รวมทั้งปัจจัยคุกคามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นางโจแอนนา เมอร์ลิน-โชลเทส ผู้ประสานงานองค์การสหประชาชาติและผู้แทนยูเอ็นดีพีประจำประเทศไทย กล่าวว่า "ทางเราเชื่อว่าแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีการพัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว มักจะได้รับผลกระทบ ดังที่ประเทศไทยเคยประสบแล้วเช่นกัน" นางเมอร์ลิน-โชลเทสกล่าวต่อว่า "แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนา
และบริหารประเทศ ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ และบุคคล สามารถประยุกต์ใช้เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อปกปักรักษาสิ่งแวดล้อม และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นสำหรับทุกคน"
รายงานนำเสนอและอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร และปฏิบัติใช้ได้จริง โดยยกบทศึกษาจริงจากหลายภาคส่วนมาประกอบในรายงาน อาทิ
กลุ่มชุมชน หลักการเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพและการพึ่งพาตนเองในระยะยาว รายงานระบุว่าจากกรณีศึกษาตัวอย่างของชุมชนต่างๆแสดงให้เห็นว่าโครงการพัฒนาชุมชนที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองส่งผลให้เกิดความยั่งยืน เช่น กิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์ การพัฒนาทุนหมุนเวียน การสร้างเครือข่ายสวัสดิการชุมชน และการสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายระหว่างชุมชนต่างๆเพื่อสร้าง
ฐานเศรษฐกิจและวิสาหกิจชุมชน สร้างภูมิคุ้มกันต่อสถานการณ์ที่เข้ามากระทบโดยฉับพลัน เช่น ตัวอย่างของเครือข่ายอินแปง เป็นหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแบบอย่างชุมชนที่มีการพัฒนาและเติบโตอย่างมั่นคง ทั้งได้สร้างเครือข่ายให้มีความหลากหลาย และเชื่อมต่อธุรกิจเพื่อขยายฐานเศรษฐกิจ มีความระมัดระวัง และพึ่งพาตนเอง อันเป็นเกราะป้องกันที่ดีอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ.2540 แม้จะได้รับผลกระทบในช่วงวิกฤติบ้างแต่ก็ไม่มากนัก ทั้งนี้เป็นผลจากภูมิปัญญาและความเชื่อของชาวอินแปงในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ความสำเร็จของเครือข่ายอินแปง ได้นำความภาคภูมิใจมาสู่ชุมชนในการสืบทอดความรู้ และวัฒนธรรมให้แก่คนรุ่นหลัง
ต่อไป
ภาคธุรกิจ เศรษฐกิจพอเพียง ชี้แนวทางการดำเนินงานแก่ภาคธุรกิจเอกชนให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมให้เพิ่มขึ้นในอีกระดับหนึ่ง ปัจจุบันบริษัทเอกชนทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กต่างน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติ และประยุกต์ใช้เพื่อวางแผนและบริหารจัดการองค์กร รายงานระบุต่อว่า แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนให้องค์กรสร้างผลกำไรที่เป็นธรรม สร้างรายได้อย่างยั่งยืน มีจรรยาบรรณในการดำเนินการธุรกิจ ให้ความสำคัญแก่พนักงานในองค์กรทุกคน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีการจัดการบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ และสนับสนุนทรัพยากรจากองค์กรภายใน ซึ่งหลายๆบริษัทที่ดำเนินการโดยใช้แนวทางนี้ ส่งผลให้องค์กรเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างมั่นคงยาวนาน รายงานระบุตัวอย่างความสำเร็จของหลายองค์กร หนึ่งตัวอย่างได้แก่ เครือซีเมนต์ไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ แต่สามารถกู้วิกฤติและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว สาเหตุเพราะองค์กรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของบุคคลากร พนักงานทุกคนมีคุณค่า และบริหารจัดการโดยยึดแนวทางพระราชดำริ
ภาครัฐ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานหลักในการขจัดความยากจน มีความสำคัญต่อการปรับปรุงมาตรฐานของธรรมาภิบาล และเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของชาติเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงโลกที่เข้ามากระทบโดยฉับพลัน รายงานโต้แย้งว่า การแก้ไขความยากจนนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนโครงการระดับชุมชนโดยเน้นให้ชุมชนพึ่งพาตนเองมากกว่าการใช้เม็ดเงินลงทุนในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ภาครัฐควรสนับสนุนการพัฒนาและส่งเสริมโครงการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน และกำหนดนโยบายมหภาค โดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด รายงานชี้ต่อว่า การทุจริตและประพฤติมิชอบคือศัตรูตัวฉกาจต่อความเพียรในการป้องปราบดังกล่าว และหากยังเป็นเช่นนี้
คนจนซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางมักจะตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด หากธรรมาภิบาลไร้คุณภาพ
"เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญานำทางและรูปแบบในการบริหารพัฒนาเศรษฐกิจ อันเป็นผลจาก บริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายเป็นเวลาหลายทศวรรษ --นางเมอร์ลิน-โชลเทส ผู้แทนยูเอ็นดีพีกล่าวต่อว่า "แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง คือของขวัญพระราชทานแก่คนไทยและพลเมืองโลก -- ซึ่งคนไทยควรภาคภูมิใจยิ่ง"
สอบถามข้อมูล --
Nick Keyes: nick.keyes@undp.org; 02 288 1814; 085 115 7236
Cherie Hart: cherie.hart@undp.org; 02 288 2133, 081 918 1564
พรรณิภา เรืองต่อศักดิ์ punnipa.ruangorsak@undp.org, 02 288 2130; 081 398 6064
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-