- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแทนดอกเบี้ย R/P
14 วัน จากร้อยละ 4.9375 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี เพื่อช่วยกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลายลง
- หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ
4.75 4.78125 และ 4.78125 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ โดยสภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield )ของพันธบัตรฯ ปรับตัวลดลง
มากจากทิศทางอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ดัชนีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
- เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ท่ามกลางปริมาณซื้อขายที่เบาบาง โดยมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ แต่เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็ก
น้อยในช่วงกลางสัปดาห์หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้น จากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลาง
สหรัฐฯ จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมสิ้นเดือนนี้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ครั้งแรกของปี 2550 ในวันที่ 17 มกราคม กำหนดให้ใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน
พันธบัตรระยะ 1 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแทนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน และคณะกรรมการฯ ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าว
จากร้อยละ 4.9375 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี เนื่องจากเห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ส่วนหนึ่ง
จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง ขณะที่ความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว จึงคาดว่านโยบายการเงินที่ผ่อน
คลายลงจะช่วยเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของปักษ์ แต่ธนาคารพาณิชย์ยังมีความต้องการลงทุน
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วง
ปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.9375 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 5 ต่อปี สำหรับในวัน
พุธ หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนระยะ 1 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแทนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14
วัน สถาบันการเงินได้เสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.75 4.78125 และ 4.78125 ต่อปี สำหรับอัตรา
ดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงปลายสัปดาห์ โดยการทำธุรกรรมส่วนใหญ่หนา
แน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน และสภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากเป็นช่วงต้นปักษ์ที่ธนาคารพาณิชย์ไม่เร่งสำรองเงินสดมากนัก
สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.5 - 5.04 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.95 -
4.97 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 - 4.78 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 96,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
17,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 7 และ 14 วัน วงเงินรวม 70,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 12 ปี และ 19 ปี 6 เดือน วงเงิน
รวม 8,500 ล้านบาท ซึ่งการประมูลตราสารส่วนใหญ่ยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุน ทำให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลง นอกจากนี้ยังมีการประมูล
พันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ อายุ 6 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 103,000 ล้านบาท จึงมี
ปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 6,500 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 210,368 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42,074 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 20 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 84 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง โดยในต้นสัปดาห์
อัตราผลตอบแทนยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ตามการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเมื่อ ธปท.มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ยิ่ง
ทำให้อัตราผลตอบแทนปรับลดลงมากขึ้น ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 13-25 basis points ดัชนี
ราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 107 และ 55 basis point ตามลำดับ
สำหรับความเคลื่อนไหวของ US Treasury Yield แกว่งตัวขึ้นลงตลอดสัปดาห์ ซึ่งปัจจัยส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่อง
จากตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อยู่ในเกณฑ์ดี ตลอดจนความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากมีแรงซื้อเข้ามาทำให้อัตราผลตอบแทนปรับตัว
ลดลงในบางช่วง ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-5 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ธ.ค. 49 35.78
เฉลี่ย 8 -12 ม.ค. 50 36.01
15 ม.ค. 50 36.01
16 ม.ค. 50 35.97
17 ม.ค. 50 35.98
18 ม.ค. 50 36.00
19 ม.ค. 50 35.98
เฉลี่ย 15 -19 ม.ค. 50 35.99
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 35.97 - 36.01 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อน
ข้างเบาบาง โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.99 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทใน
ช่วงต้นสัปดาห์มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่า ธปท. อาจมีการผ่อนผันมาตรการการกันสำรองร้อยละ
30 เพื่อสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน
ธปท. ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากความต้อง
การเงินบาทของผู้ส่งออก สวนทางกับค่าเงินสกุลภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าลงมาก หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่นยังตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ระดับเดิม ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของ
สหรัฐฯ ออกมาดี และดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ธ.ค. 2549 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 8 เดือน ส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังไม่
ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมช่วงปลายเดือนนี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
14 วัน จากร้อยละ 4.9375 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี เพื่อช่วยกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลายลง
- หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ
4.75 4.78125 และ 4.78125 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ โดยสภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield )ของพันธบัตรฯ ปรับตัวลดลง
มากจากทิศทางอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ดัชนีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
- เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ท่ามกลางปริมาณซื้อขายที่เบาบาง โดยมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ แต่เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็ก
น้อยในช่วงกลางสัปดาห์หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้น จากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลาง
สหรัฐฯ จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมสิ้นเดือนนี้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ครั้งแรกของปี 2550 ในวันที่ 17 มกราคม กำหนดให้ใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน
พันธบัตรระยะ 1 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแทนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน และคณะกรรมการฯ ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าว
จากร้อยละ 4.9375 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี เนื่องจากเห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ส่วนหนึ่ง
จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง ขณะที่ความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว จึงคาดว่านโยบายการเงินที่ผ่อน
คลายลงจะช่วยเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของปักษ์ แต่ธนาคารพาณิชย์ยังมีความต้องการลงทุน
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วง
ปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.9375 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 5 ต่อปี สำหรับในวัน
พุธ หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนระยะ 1 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแทนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14
วัน สถาบันการเงินได้เสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.75 4.78125 และ 4.78125 ต่อปี สำหรับอัตรา
ดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงปลายสัปดาห์ โดยการทำธุรกรรมส่วนใหญ่หนา
แน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน และสภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากเป็นช่วงต้นปักษ์ที่ธนาคารพาณิชย์ไม่เร่งสำรองเงินสดมากนัก
สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.5 - 5.04 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.95 -
4.97 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 - 4.78 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 96,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
17,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 7 และ 14 วัน วงเงินรวม 70,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 12 ปี และ 19 ปี 6 เดือน วงเงิน
รวม 8,500 ล้านบาท ซึ่งการประมูลตราสารส่วนใหญ่ยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุน ทำให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลง นอกจากนี้ยังมีการประมูล
พันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ อายุ 6 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 103,000 ล้านบาท จึงมี
ปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 6,500 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 210,368 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42,074 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 20 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 84 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง โดยในต้นสัปดาห์
อัตราผลตอบแทนยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ตามการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเมื่อ ธปท.มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ยิ่ง
ทำให้อัตราผลตอบแทนปรับลดลงมากขึ้น ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 13-25 basis points ดัชนี
ราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 107 และ 55 basis point ตามลำดับ
สำหรับความเคลื่อนไหวของ US Treasury Yield แกว่งตัวขึ้นลงตลอดสัปดาห์ ซึ่งปัจจัยส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่อง
จากตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อยู่ในเกณฑ์ดี ตลอดจนความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากมีแรงซื้อเข้ามาทำให้อัตราผลตอบแทนปรับตัว
ลดลงในบางช่วง ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-5 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ธ.ค. 49 35.78
เฉลี่ย 8 -12 ม.ค. 50 36.01
15 ม.ค. 50 36.01
16 ม.ค. 50 35.97
17 ม.ค. 50 35.98
18 ม.ค. 50 36.00
19 ม.ค. 50 35.98
เฉลี่ย 15 -19 ม.ค. 50 35.99
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 35.97 - 36.01 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อน
ข้างเบาบาง โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.99 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทใน
ช่วงต้นสัปดาห์มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่า ธปท. อาจมีการผ่อนผันมาตรการการกันสำรองร้อยละ
30 เพื่อสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน
ธปท. ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากความต้อง
การเงินบาทของผู้ส่งออก สวนทางกับค่าเงินสกุลภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าลงมาก หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่นยังตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ระดับเดิม ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของ
สหรัฐฯ ออกมาดี และดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ธ.ค. 2549 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 8 เดือน ส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังไม่
ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมช่วงปลายเดือนนี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-