วาระแห่งชาติและวาระสำคัญของรัฐบาล

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 25, 2007 14:39 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          รายงานผลการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์  จุลานนท์  วาระแห่งชาติและวาระสำคัญของรัฐบาล
๑. วาระแห่งชาติของรัฐบาล
๑.๑ การจัดงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕ รัฐบาลได้รับพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินงานเฉลิมพระเกียรติ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อพระราชพิธีว่า"พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐"
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ว่างานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕้ สำหรับชื่อภาษาอังกฤษใช้เพียงชื่อเดียว ซึ่งหมายรวมถึงชื่อ พระราชพิธี และชื่อการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ว่า "The Celebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King๛s 80th Birthday Anniversary 5th December 2007"
สำหรับระยะเวลาการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕ และรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ
ในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ รัฐบาลได้วางแผนและเตรียมการจัดงานให้ยิ่งใหญ่ ถูกต้องตามพระราชประเพณีและสมพระเกียรติทั้งงานพระราชพิธีงานรัฐพิธี งานศาสนพิธี และกิจกรรมเฉลิมฉลองต่าง ๆ ทั้งในด้านพระราชประวัติส่วนพระองค์ และด้านนวัตกรรม อาทิ โครงการอนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์และภาพนิ่งส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการจัดทำเพลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการจัดทำเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โครงการจัดงานอันยิ่งใหญ่ "รวมพลังไทย เทิดไท้องค์ราชันย์" โครงการ
Thailand Rice Convention 2007 โดยโครงการประกวดผลงานสิทธิบัตรการประดิษฐ์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกระทรวงพาณิชย์โครงการทำความดีถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยการบริจาคโลหิต โครงการจัดทำมาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการทำงานฉบับเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกระทรวงแรงงาน โครงการจัดสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยกองทัพเรือ โครงการรณรงค์ก่อสร้างและซ่อมแซมฝายต้นน้ำลำธาร (Check Dam) ตามแนวพระราชดำริ โครงการ ๘๐ พรรษา ๘๐ พันฝาย และโครงการเปิดทองหลังพระ รวมทั้งจัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ภายใต้ชื่อโครงการ ๘๐ พรรษา สืบสานพระเมตตาพัฒนาผู้สูงวัยซึ่งจะให้บริการแก่ผู้สูงวัยอย่างครบวงจร และยังได้จัดสร้างโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ ๙ แห่ง ใน ๙ จังหวัด เป็นต้น
๑.๒ การผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ รัฐบาลได้ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้จัดทำรายการ ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง้ เผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ และจัดทำโครงการ พ.ศ.พอเพียงเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักและแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชาชน ให้เกิดความความเข้าใจ เกิดจิตสำนึก และน้อมนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแท้จริงและได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรภาครัฐและเอกชน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ และผู้สื่อข่าว ประมาณ ๗๐๐ คน เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ในการปฏิบัติงาน และกำหนดแนวทางการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐได้กำหนดกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง โดยในช่วงแรกได้ดำเนินการจัดทำร่างกรอบการดำเนินงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเด็กและเยาวชนในช่วงปี ๒๕๔๙ - ๒๕๕๐ โดยกำหนดกิจกรรมไว้ ๓ ด้าน ได้แก่ การเชื่อมโยงประสานเครือข่าย การพัฒนาวิชาการ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้เยาวชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต และได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบูรณาการแผนงาน/โครงการด้านการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับจังหวัด และคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ และจัดทำโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ นอกจากนี้ รัฐบาลได้จัดทำโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พพพ.) เพื่อสร้างความเข้าใจให้ชุมชนต่าง ๆ และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการสร้างอาชีพ และการดำรงชีวิตต่อไป
๑.๓ วาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ นอกเหนือจากผลการดำเนินงานที่ได้รายงานไว้ในการดำเนินงานข้อ ๑.๒ เรื่องการเสริมสร้างมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบแล้ว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ เห็นชอบในหลักการและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตามที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเสนอ และให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์) ประสานการดำเนินการในเรื่องนี้ร่วมกับหน่วยงานในทุกภาคส่วนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์) ได้บูรณาการการทำงาน โดยได้มีการประชุมร่วมกับ
รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ และส่วนราชการต่าง ๆ จัดประชุมสัมมนาและปรึกษาหารือแก้ไขหลายวาระ กล่าวคือ
วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ นายกรัฐมนตรี (พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์) ได้ประกาศวาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาคราชการ เพื่อประกาศเจตนารมณ์ให้หน่วยงานของรัฐร่วมในการขับเคลื่อนวาระแห่งชาตินี้ต่อไป
วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๙ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบข้อเสนอให้การยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมธรรมาภิบาลในภาครัฐ เพื่อวางรากฐานการดำเนินการเรื่องนี้อย่างยั่งยืน และกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ รวม ๗ ยุทธศาสตร์ เพื่อให้ทุกส่วนราชการผนึกกำลังบูรณาการการทำงานเรื่องนี้ให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๐ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมธรรมาภิบาลในภาครัฐ พ.ศ..... โดยมี
สาระสำคัญเป็นการวางระบบธรรมาภิบาลและธรรมนูญจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับ และส่งเสริมจิตสำนึกและจริยธรรมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีองค์กรกลางเพื่อบูรณาการการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีประสิทธิภาพ คุณภาพและคุณธรรม รวมทั้งกำหนดรูปแบบการตรวจสอบและประเมินจริยธรรมทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล เพื่อเป็นหลักประกันว่าหลักธรรมาภิบาลจะได้รับการปลูกฝังและกลายเป็นค่านิยมของสังคมอย่างยั่งยืนตลอดไป โดยเป็นการส่งเสริมจรรยาบรรณและธรรมาภิบาลทั้งในระดับหน่วยงานของรัฐและระดับเจ้าหน้าที่ซึ่งครอบคลุมเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ทุกฝ่าย ได้แก่ คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองตามกฎหมายระเบียบข้าราชการการเมือง ข้าราชการ
ฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ผู้พิพากษา ตุลาการ ข้าราชการพนักงาน และลูกจ้าง ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและคณะกรรมการต่าง ๆ ของภาครัฐด้วย ซึ่งให้แต่ละองค์กร/หน่วยงานมีอิสระและความรับผิดชอบในการกำหนดจรรยาบรรณ และข้อกำหนดทางวินัยที่ชัดเจน และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
๑.๔ การให้และอาสาช่วยเหลือสังคม รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเอื้ออาทรต่อกัน และการให้ความช่วยเหลือต่อสังคมโดยส่วนรวม ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินการรณรงค์สร้างจิตสำนึก การให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม โดยดำเนินการจัดทำเว็บไซต์คนใจดี เพื่อใช้ในการรณรงค์ให้ความรู้และเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับ และดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการต่าง ๆ โดยจัดทำแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคมที่เอื้อต่อการส่งเสริมการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการเป็นผู้ให้และยินดีปฏิบัติงานอาสาช่วยเหลือสังคม และกำหนดให้ข้าราชการเจ้าหน้าที่ของรัฐ และพนักงานเอกชนสามารถลาไปปฏิบัติงานเป็นอาสาสมัครได้โดยไม่ถือเป็นวันลา ทั้งนี้ ได้กำหนดจัดงานประกาศเป็นวาระแห่งชาติในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
นอกจากนี้ ได้ทำการพัฒนากลไกในการส่งเสริมเรื่องการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคมทั้งในภาวะปกติและในภาวะวิกฤติ โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคมเพื่อกำกับ ติดตาม ประสานการดำเนินงานตามวาระแห่งชาติดังกล่าว และการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการให้และอาสาสมัครในสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้เป็นหน่วยปฏิบัติในการดำเนินงานตามวาระแห่งชาติในส่วนกลางและระดับจังหวัด
๑.๕ การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมในสังคม รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของรัฐ ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในชนบทนั้น รัฐบาลเล็งเห็นว่า การลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้โดยการดำเนินนโยบายอัดฉีดเม็ดเงินโดยตรงไปยังประชาชนในชนบท เป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ยั่งยืน
ดังนั้น รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ที่มุ่งเน้นการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนและชุมชนในการสร้างรายได้ ภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข การพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พพพ.) และการสนับสนุนด้านการตลาดทั้งในระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และชุมชนในชนบท โดยในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินการต่าง ๆ ข้างต้น ไปแล้วกว่า ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการจัดนิทรรศการเพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของชุมชนหลายครั้ง ซึ่งก่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่นประมาณ ๔๐๐ ล้านบาท
สำหรับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของรัฐนั้น รัฐบาลได้ดำเนินการขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้เด็กทุกคนได้เข้าเรียนอย่างทั่วถึง และผลักดันการสร้างสมดุลของระบบบริการสุขภาพ โดยพัฒนานโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างต่อเนื่อง และประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๐ เพื่อใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการสุขภาพของรัฐ นอกจากนี้ รัฐบาลได้จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมไทย เพื่อสร้างความมั่นคงและขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางสังคมของประชาชน
(ยังมีต่อ).../นอกจากนี้..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ