สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขอแถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไตรมาสที่ 4 ปี
2549 ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งปี 2549 และคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจปี 2550 โดยสรุป ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 4/2549 ขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสแรก ร้อย
ละ 5.0 ในไตรมาสสอง และร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่สามของปี 2549 และเมื่อรวมทั้งปี 2549 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5.0 สูงกว่าร้อย
ละ 4.5 ของทั้งปี 2548
1.1 เศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 4.2 โดยเป็นการชะลอตัวของการลงทุนและการบริโภคทั้งของภาคเอกชนและ
รัฐบาล อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 5.0 สูงกว่าร้อยละ 4.5 ในปี 2548 โดยแรงกระตุ้นจากด้านต่างประเทศยังเป็น
แรงขับเคลื่อนหลักที่ผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากปริมาณการส่งออกขยายตัวได้ดี ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าลดลง และการท่องเที่ยวฟื้น
ตัว
1.2 ด้านการผลิตในไตรมาสที่สี่ปี 2549 ภาคเกษตรขยายตัวเพียงร้อยละ 0.9 เนื่องจาก ผลกระทบภาวะน้ำท่วมในหลายจังหวัดที่
กระทบผลผลิตข้าวและพืชผักผลไม้อื่น ๆ และการผลิตไก่เนื้อที่ชะลอลงเนื่องจากจากการระบาดของไข้หวัดนกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม
การผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.6 ใกล้เคียงกับการขยายตัวในไตรมาสที่สาม การผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการเกือบทุก
สาขาขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างทรงตัว ยกเว้นสาขาก่อสร้างซึ่งมีการปรับตัวต่อการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงก่อนหน้าที่ได้ส่งผลให้ความต้องการที่อยู่
อาศัยชะลอลง
นอกจากนี้ภาคการเงินก็ชะลอตัวลงเช่นกัน เนื่องจากการให้สินเชื่อขยายตัวช้าลงและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลดลง กลุ่ม
สินค้าที่มีการผลิตชะลอลงมากได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานยนต์ รองเท้าหนัง และเครื่องใช้ไฟฟ้าบางรายการเป็นต้น
1.3 ด้านการใช้จ่ายในไตรมาสที่สี่ปี 2549 การใช้จ่ายของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากร้อยละ 2.8 ในไตรมาสที่
สาม การใช้จ่ายของรัฐบาลลดลงร้อยละ 4.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเนื่องจากอยู่ในช่วงรอการอนุมัติ พ.ร.บ. งบประมาณ ประจำปี
2550 ในเดือนมกราคม 2550 การลงทุนรวมขยายตัวเพียงร้อยละ 2.4 โดยเป็นการชะลอตัวการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน
2. แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2550: คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 และอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 2.5-3.0
2.1 ปัจจัยบวกในปี 2550
(1) แรงกดดันด้านราคาและภาวะการเงินลดลง จะเป็นปัจจัยบวกต่อกำลังซื้อของประชาชน
- ราคาน้ำมันดิบค่อนข้างทรงตัว โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 55.10 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล ในเดือน มค.-กพ.
2550 และคาดว่าจะเฉลี่ยประมาณ 55.0-60.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรลในปี 2550 เทียบกับเฉลี่ย 61.52 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล ในปี
2549
- แรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะลดลงจากร้อยละ 4.7 ในปี 2549 เป็นประมาณร้อยละ 2.5-3.0 ในปี 2550
- นโยบายการเงินผ่อนคลายลง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 basis points ในช่วง
เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ เหลือร้อยละ 4.50 เนื่องจากแรงกดดันต่อเงินเฟ้อลดลง ประกอบกับสภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้
เงินบาทมีเสถียรภาพ
(2) การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะไม่ขยายตัวได้มากเช่น ในปี 2549 เนื่องจากข้อจำกัดของ
เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป แต่ก็คาดว่าจะมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวประมาณร้อยละ 8-9 เทียบ
กับร้อยละ 17.4 ในปี 2549
(3) การท่องเที่ยวยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว
ต่างชาติประมาณร้อยละ 8.0 (จากจำนวน 13.78 ล้านคนในปี 2549) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนภาคการโรงแรมและภัตตาคารในประเทศ
(4) แรงสนับสนุนจากงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ จากวงเงินงบประมาณรายจ่ายและกรอบวงเงินลงทุนรัฐ
วิสาหกิจที่สูงกว่าในปี 2549 โดยที่วงเงินงบประมาณรัฐบาลเท่ากับ 1,566,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี 2549 ร้อยละ 15.2 (เป็นงบลง
ทุนประมาณ 374,721 ล้านบาท) และกรอบวงเงินลงทุนรัฐวิสาหกิจที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้วเท่ากับ 369,302 ล้านบาท สูงกว่าการกำหนดกรอบวงเงิน
ลงทุน 303,430 ล้านบาท ในปี 2549
2.2 ประเด็นที่ต้องระมัดระวัง
(1) ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 ในปี 2549 เป็นประมาณร้อยละ 4.2 ในปี 2550 แต่
เนื่องจากยังมีปัญหาเรื่องการขาดดุลแฝดของสหรัฐฯ ที่อาจจะทำให้เกิดการปรับตัวรุนแรงกว่าที่คาดได้และมีแรงกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์ อ่อนลงต่อ
เนื่อง และทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวเร็วกว่าที่คาดและส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งจะต้องหาตลาดส่งออกใหม่ที่ยังมีการขยายตัว
ได้ดีในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมอยู่ในช่วงชะลอตัว พร้อมกับการสร้างความเข้าใจและดูแลความปลอดภัยด้านท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
(2) ในปี 2550 งบประมาณที่ถูกจัดสรรตรงสู่ชุมชนและพื้นที่จะลดลง เช่น งบประมาณผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ
(CEO) และ SML ซึ่งในปี 2549 มีการเบิกจ่ายเป็นจำนวนรวม 37,206.4 ล้านบาท ประกอบกับราคาสินค้าเกษตร สำคัญที่จะชะลอลงและราคา
สินค้าเกษตรโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มที่จะลดลงในปี 2550 อาจจะกระทบต่อรายได้และการบริโภคของประชาชน
(3) โครงการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์การลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในปี 2549 ลดลง (วง
เงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมลดลงร้อยละ 34.6) จึงจะส่งผลถึงการลงทุนจริงในปี 2550 ประกอบกับนักลงทุนยังรอดูสถานการณ์การเมืองและการ
ดำเนินมาตรการเศรษฐกิจต่าง ๆ จึงอาจส่งผลให้การลงทุนยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่
2.3 แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2550
(1) คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 โดยมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวได้น้อยกว่าในปี
2549 หากไม่สามารถเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณที่ส่งผลต่อประชาชนผู้รายได้น้อย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จะสร้างความมั่นใจแก่นักลง
ทุน
(2) เศรษฐกิจยังมีเสถียรภาพดี โดยอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะลดลงเหลือร้อยละ 2.5-3.0 ในขณะที่มีการเกินดุลบัญชีเดิน
สะพัดประมาณร้อยละ 1.0-1.3 ของ GDP
3. มาตรการเศรษฐกิจที่ต้องดำเนินการในปี 2550 เพื่อสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจและช่วยการปรับตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว
3.1 เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจปี 2550 เพื่อให้อัตราการเบิกจ่ายภาครัฐอย่างต่ำร้อยละ 80
ของกรอบวงเงินงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณประมาณตามกรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด (5,000 ล้านบาท) และโครงการพัฒนาหมู่บ้าน
ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (5,000 ล้านบาท) รวมถึงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาโลจิสติกส์ระยะเร่งด่วน และการลงทุน
ในโครงการรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามกำหนดการ
3.2 ดูแลประชาชนในท้องถิ่น โดยรักษาราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพ และเตรียมมาตรการเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ที่
อาจเกิดขึ้นในช่วงกลางปี
3.3 ส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยการหาตลาดส่งออกใหม่ที่ยังมีการขยายตัวได้ดีในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมอยู่ใน
ช่วงชะลอตัว พร้อมกับการสร้างความเข้าใจและดูแลความปลอดภัยด้านท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
3.4 ดำเนินมาตรการประหยัดพลังงาน และการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขยายการบริการและส่งเสริม
การใช้ NGV และแก็สโซฮอล์
3.5 สร้างความเข้าใจและความมั่นใจของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและดำเนินมาตรการที่
จะสร้างโอกาสในการค้าและลงทุนเพิ่มขึ้น เช่น การเจรจาและลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan- Thailand Economic
Partnership Agreement: JTEPA) การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและระบบโลจิสติกส์ การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ การเพิ่มโอกาสการ
ลงทุนในด้านพลังงานและพลังงานทดแทน การลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การเตรียมพื้นที่เศรษฐกิจใหม่สำหรับการขยายการผลิตและการลงทุน เป็น
ต้น
ตารางที่ 1 GDP ด้านการผลิต
หน่วย : ร้อยละ 2548 2549 2549
(ณ ราคาปีฐาน 2531) Q1 Q2 Q3 Q4
เกษตร -3.2 4.4 7.6 7.1 4.0 0.9
นอกภาคเกษตร 5.3 5.0 6.0 4.9 4.7 4.6
อุตสาหกรรม 5.2 6.1 7.6 5.7 5.5 5.8
ไฟฟ้าและประปา 5.3 5.1 3.9 3.5 6.6 6.6
ก่อสร้าง 6.0 4.9 5.0 5.3 5.1 4.0
การขนส่งและสื่อสาร 4.8 5.7 6.1 4.7 5.8 6.0
การเงิน 7.5 2.9 4.0 3.4 2.4 1.9
โรงแรมและภัตตาคาร 2.1 10.5 15.8 11.0 7.9 8.1
GDP 4.5 5.0 6.1 5.0 4.7 4.2
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมกากรพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 มีนาคม 2550
ตารางที่ 2 GDP ด้านการใช้จ่าย
หน่วย : ร้อยละ 2549
(ณ ราคาปีฐาน 2531) 2548 2549 Q1 Q2 Q3 Q4
การใช้จ่ายของครัวเรือน 4.3 3.1 3.9 3.3 2.8 2.5
การใช้จ่ายบริโภคของรัฐบาล 13.7 3.4 7.4 5.7 4.3 -4.2
การลงทุนรวม 11.1 4.0 6.6 4.0 3.2 2.4
ภาคเอกชน 10.9 3.9 7.0 3.3 2.9 2.3
ภาครัฐ 11.3 4.5 5.3 6.4 3.8 2.5
การส่งออก 4.3 8.5 14.4 9.0 4.7 6.8
สินค้า 4.3 9.0 13.9 9.2 4.9 8.7
บริการ 4.3 6.7 16.4 8.2 3.8 -0.9
การนำเข้า 9.3 1.6 1.9 -1.7 5.2 1.0
สินค้า 8.8 -0.8 -2.9 -3.7 3.9 -0.5
บริการ 12.1 14.3 29.6 10.3 11.5 8.0
GDP 4.5 5.0 6.1 5.0 4.7 4.2
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 มีนาคม 2550
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2550
ประมาณการ
ข้อมูลจริง
ปี 2550_f
2547 2548 2549_p 4 ธ.ค. 49 6 มี.ค. 50
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 6,489.8 7,087.7 7,813.1 8,474.6 8,438.1
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 101,017.2 109,318.4 120,497.4 129,697.7 129,139.3
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 161.0 176.0 206.1 229.0 237.7
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,507 2,715 3,179 3,505.3 3,637.7
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 6.3 4.5 5.0 4.0-5.0 4.0-5.0
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 13.2 11.1 4.0 6.2 4.8
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 16.2 10.9 3.9 7.0 5.0
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) 5.0 11.3 4.5 4.0 4.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 6.1 5.5 3.2 3.8 4.0
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.2 4.3 3.1 3.8 3.8
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 5.6 13.7 3.4 4.0 5.0
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 9.6 4.3 8.5 5.4 5.5
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 94.9 109.2 128.2 139.0 138.3
อัตราการขยายตัว (%) 21.6 15.0 17.4 9.0 7.9
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 8.4 4.3 9.0 5.0 5.4
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 13.4 9.3 1.6 5.6 5.6
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 93.5 117.7 126.0 139.8 136.1
อัตราการขยายตัว (%) 25.7 25.9 7.0 9.6 8.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 12.3 8.9 -0.8 4.6 5.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1.5 -8.5 2.2 -0.8 2.3
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1/ 2.8 -7.9 3.2 0.2 3.1
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 1.7 -4.4 1.5 0.1 1.3
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 2.7 4.5 4.7 3.0-3.5 2.5-3.0
GDP Deflator 3.2 4.5 5.0 4.0 3.5
อัตราการว่างงาน 2.1 1.8 1.5 1.8 1.5-2.0
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 มีนาคม 2550
หมายเหตุ : 1/ Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account, and its contra
entry recorded as income on equity in current account.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
2549 ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งปี 2549 และคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจปี 2550 โดยสรุป ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 4/2549 ขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสแรก ร้อย
ละ 5.0 ในไตรมาสสอง และร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่สามของปี 2549 และเมื่อรวมทั้งปี 2549 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5.0 สูงกว่าร้อย
ละ 4.5 ของทั้งปี 2548
1.1 เศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 4.2 โดยเป็นการชะลอตัวของการลงทุนและการบริโภคทั้งของภาคเอกชนและ
รัฐบาล อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 5.0 สูงกว่าร้อยละ 4.5 ในปี 2548 โดยแรงกระตุ้นจากด้านต่างประเทศยังเป็น
แรงขับเคลื่อนหลักที่ผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากปริมาณการส่งออกขยายตัวได้ดี ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าลดลง และการท่องเที่ยวฟื้น
ตัว
1.2 ด้านการผลิตในไตรมาสที่สี่ปี 2549 ภาคเกษตรขยายตัวเพียงร้อยละ 0.9 เนื่องจาก ผลกระทบภาวะน้ำท่วมในหลายจังหวัดที่
กระทบผลผลิตข้าวและพืชผักผลไม้อื่น ๆ และการผลิตไก่เนื้อที่ชะลอลงเนื่องจากจากการระบาดของไข้หวัดนกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม
การผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.6 ใกล้เคียงกับการขยายตัวในไตรมาสที่สาม การผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการเกือบทุก
สาขาขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างทรงตัว ยกเว้นสาขาก่อสร้างซึ่งมีการปรับตัวต่อการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงก่อนหน้าที่ได้ส่งผลให้ความต้องการที่อยู่
อาศัยชะลอลง
นอกจากนี้ภาคการเงินก็ชะลอตัวลงเช่นกัน เนื่องจากการให้สินเชื่อขยายตัวช้าลงและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลดลง กลุ่ม
สินค้าที่มีการผลิตชะลอลงมากได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานยนต์ รองเท้าหนัง และเครื่องใช้ไฟฟ้าบางรายการเป็นต้น
1.3 ด้านการใช้จ่ายในไตรมาสที่สี่ปี 2549 การใช้จ่ายของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากร้อยละ 2.8 ในไตรมาสที่
สาม การใช้จ่ายของรัฐบาลลดลงร้อยละ 4.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเนื่องจากอยู่ในช่วงรอการอนุมัติ พ.ร.บ. งบประมาณ ประจำปี
2550 ในเดือนมกราคม 2550 การลงทุนรวมขยายตัวเพียงร้อยละ 2.4 โดยเป็นการชะลอตัวการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน
2. แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2550: คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 และอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 2.5-3.0
2.1 ปัจจัยบวกในปี 2550
(1) แรงกดดันด้านราคาและภาวะการเงินลดลง จะเป็นปัจจัยบวกต่อกำลังซื้อของประชาชน
- ราคาน้ำมันดิบค่อนข้างทรงตัว โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 55.10 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล ในเดือน มค.-กพ.
2550 และคาดว่าจะเฉลี่ยประมาณ 55.0-60.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรลในปี 2550 เทียบกับเฉลี่ย 61.52 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล ในปี
2549
- แรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะลดลงจากร้อยละ 4.7 ในปี 2549 เป็นประมาณร้อยละ 2.5-3.0 ในปี 2550
- นโยบายการเงินผ่อนคลายลง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 basis points ในช่วง
เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ เหลือร้อยละ 4.50 เนื่องจากแรงกดดันต่อเงินเฟ้อลดลง ประกอบกับสภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้
เงินบาทมีเสถียรภาพ
(2) การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะไม่ขยายตัวได้มากเช่น ในปี 2549 เนื่องจากข้อจำกัดของ
เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป แต่ก็คาดว่าจะมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวประมาณร้อยละ 8-9 เทียบ
กับร้อยละ 17.4 ในปี 2549
(3) การท่องเที่ยวยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว
ต่างชาติประมาณร้อยละ 8.0 (จากจำนวน 13.78 ล้านคนในปี 2549) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนภาคการโรงแรมและภัตตาคารในประเทศ
(4) แรงสนับสนุนจากงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ จากวงเงินงบประมาณรายจ่ายและกรอบวงเงินลงทุนรัฐ
วิสาหกิจที่สูงกว่าในปี 2549 โดยที่วงเงินงบประมาณรัฐบาลเท่ากับ 1,566,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี 2549 ร้อยละ 15.2 (เป็นงบลง
ทุนประมาณ 374,721 ล้านบาท) และกรอบวงเงินลงทุนรัฐวิสาหกิจที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้วเท่ากับ 369,302 ล้านบาท สูงกว่าการกำหนดกรอบวงเงิน
ลงทุน 303,430 ล้านบาท ในปี 2549
2.2 ประเด็นที่ต้องระมัดระวัง
(1) ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 ในปี 2549 เป็นประมาณร้อยละ 4.2 ในปี 2550 แต่
เนื่องจากยังมีปัญหาเรื่องการขาดดุลแฝดของสหรัฐฯ ที่อาจจะทำให้เกิดการปรับตัวรุนแรงกว่าที่คาดได้และมีแรงกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์ อ่อนลงต่อ
เนื่อง และทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวเร็วกว่าที่คาดและส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งจะต้องหาตลาดส่งออกใหม่ที่ยังมีการขยายตัว
ได้ดีในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมอยู่ในช่วงชะลอตัว พร้อมกับการสร้างความเข้าใจและดูแลความปลอดภัยด้านท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
(2) ในปี 2550 งบประมาณที่ถูกจัดสรรตรงสู่ชุมชนและพื้นที่จะลดลง เช่น งบประมาณผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ
(CEO) และ SML ซึ่งในปี 2549 มีการเบิกจ่ายเป็นจำนวนรวม 37,206.4 ล้านบาท ประกอบกับราคาสินค้าเกษตร สำคัญที่จะชะลอลงและราคา
สินค้าเกษตรโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มที่จะลดลงในปี 2550 อาจจะกระทบต่อรายได้และการบริโภคของประชาชน
(3) โครงการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์การลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในปี 2549 ลดลง (วง
เงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมลดลงร้อยละ 34.6) จึงจะส่งผลถึงการลงทุนจริงในปี 2550 ประกอบกับนักลงทุนยังรอดูสถานการณ์การเมืองและการ
ดำเนินมาตรการเศรษฐกิจต่าง ๆ จึงอาจส่งผลให้การลงทุนยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่
2.3 แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2550
(1) คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 โดยมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวได้น้อยกว่าในปี
2549 หากไม่สามารถเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณที่ส่งผลต่อประชาชนผู้รายได้น้อย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จะสร้างความมั่นใจแก่นักลง
ทุน
(2) เศรษฐกิจยังมีเสถียรภาพดี โดยอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะลดลงเหลือร้อยละ 2.5-3.0 ในขณะที่มีการเกินดุลบัญชีเดิน
สะพัดประมาณร้อยละ 1.0-1.3 ของ GDP
3. มาตรการเศรษฐกิจที่ต้องดำเนินการในปี 2550 เพื่อสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจและช่วยการปรับตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว
3.1 เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจปี 2550 เพื่อให้อัตราการเบิกจ่ายภาครัฐอย่างต่ำร้อยละ 80
ของกรอบวงเงินงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณประมาณตามกรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด (5,000 ล้านบาท) และโครงการพัฒนาหมู่บ้าน
ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (5,000 ล้านบาท) รวมถึงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาโลจิสติกส์ระยะเร่งด่วน และการลงทุน
ในโครงการรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามกำหนดการ
3.2 ดูแลประชาชนในท้องถิ่น โดยรักษาราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพ และเตรียมมาตรการเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ที่
อาจเกิดขึ้นในช่วงกลางปี
3.3 ส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยการหาตลาดส่งออกใหม่ที่ยังมีการขยายตัวได้ดีในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมอยู่ใน
ช่วงชะลอตัว พร้อมกับการสร้างความเข้าใจและดูแลความปลอดภัยด้านท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
3.4 ดำเนินมาตรการประหยัดพลังงาน และการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขยายการบริการและส่งเสริม
การใช้ NGV และแก็สโซฮอล์
3.5 สร้างความเข้าใจและความมั่นใจของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและดำเนินมาตรการที่
จะสร้างโอกาสในการค้าและลงทุนเพิ่มขึ้น เช่น การเจรจาและลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan- Thailand Economic
Partnership Agreement: JTEPA) การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและระบบโลจิสติกส์ การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ การเพิ่มโอกาสการ
ลงทุนในด้านพลังงานและพลังงานทดแทน การลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การเตรียมพื้นที่เศรษฐกิจใหม่สำหรับการขยายการผลิตและการลงทุน เป็น
ต้น
ตารางที่ 1 GDP ด้านการผลิต
หน่วย : ร้อยละ 2548 2549 2549
(ณ ราคาปีฐาน 2531) Q1 Q2 Q3 Q4
เกษตร -3.2 4.4 7.6 7.1 4.0 0.9
นอกภาคเกษตร 5.3 5.0 6.0 4.9 4.7 4.6
อุตสาหกรรม 5.2 6.1 7.6 5.7 5.5 5.8
ไฟฟ้าและประปา 5.3 5.1 3.9 3.5 6.6 6.6
ก่อสร้าง 6.0 4.9 5.0 5.3 5.1 4.0
การขนส่งและสื่อสาร 4.8 5.7 6.1 4.7 5.8 6.0
การเงิน 7.5 2.9 4.0 3.4 2.4 1.9
โรงแรมและภัตตาคาร 2.1 10.5 15.8 11.0 7.9 8.1
GDP 4.5 5.0 6.1 5.0 4.7 4.2
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมกากรพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 มีนาคม 2550
ตารางที่ 2 GDP ด้านการใช้จ่าย
หน่วย : ร้อยละ 2549
(ณ ราคาปีฐาน 2531) 2548 2549 Q1 Q2 Q3 Q4
การใช้จ่ายของครัวเรือน 4.3 3.1 3.9 3.3 2.8 2.5
การใช้จ่ายบริโภคของรัฐบาล 13.7 3.4 7.4 5.7 4.3 -4.2
การลงทุนรวม 11.1 4.0 6.6 4.0 3.2 2.4
ภาคเอกชน 10.9 3.9 7.0 3.3 2.9 2.3
ภาครัฐ 11.3 4.5 5.3 6.4 3.8 2.5
การส่งออก 4.3 8.5 14.4 9.0 4.7 6.8
สินค้า 4.3 9.0 13.9 9.2 4.9 8.7
บริการ 4.3 6.7 16.4 8.2 3.8 -0.9
การนำเข้า 9.3 1.6 1.9 -1.7 5.2 1.0
สินค้า 8.8 -0.8 -2.9 -3.7 3.9 -0.5
บริการ 12.1 14.3 29.6 10.3 11.5 8.0
GDP 4.5 5.0 6.1 5.0 4.7 4.2
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 มีนาคม 2550
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2550
ประมาณการ
ข้อมูลจริง
ปี 2550_f
2547 2548 2549_p 4 ธ.ค. 49 6 มี.ค. 50
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 6,489.8 7,087.7 7,813.1 8,474.6 8,438.1
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 101,017.2 109,318.4 120,497.4 129,697.7 129,139.3
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 161.0 176.0 206.1 229.0 237.7
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,507 2,715 3,179 3,505.3 3,637.7
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 6.3 4.5 5.0 4.0-5.0 4.0-5.0
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 13.2 11.1 4.0 6.2 4.8
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 16.2 10.9 3.9 7.0 5.0
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) 5.0 11.3 4.5 4.0 4.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 6.1 5.5 3.2 3.8 4.0
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.2 4.3 3.1 3.8 3.8
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 5.6 13.7 3.4 4.0 5.0
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 9.6 4.3 8.5 5.4 5.5
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 94.9 109.2 128.2 139.0 138.3
อัตราการขยายตัว (%) 21.6 15.0 17.4 9.0 7.9
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 8.4 4.3 9.0 5.0 5.4
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 13.4 9.3 1.6 5.6 5.6
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 93.5 117.7 126.0 139.8 136.1
อัตราการขยายตัว (%) 25.7 25.9 7.0 9.6 8.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 12.3 8.9 -0.8 4.6 5.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1.5 -8.5 2.2 -0.8 2.3
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1/ 2.8 -7.9 3.2 0.2 3.1
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 1.7 -4.4 1.5 0.1 1.3
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 2.7 4.5 4.7 3.0-3.5 2.5-3.0
GDP Deflator 3.2 4.5 5.0 4.0 3.5
อัตราการว่างงาน 2.1 1.8 1.5 1.8 1.5-2.0
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 มีนาคม 2550
หมายเหตุ : 1/ Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account, and its contra
entry recorded as income on equity in current account.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-