(ต่อ1)บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 7, 2005 16:31 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด ปี 2546
1. เศรษฐกิจส่วนรวม
ภาวะเศรษฐกิจไทยปี2546ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณราคาคงที่ (Gross Domestic Product at 1988 Prices) ขยายตัวร้อยละ 6.9 สูงกว่าร้อยละ 5.3 ของปี ที่ ผ่านมา โดยมีปัจจัยมาจากทั้งอุปสงค์ในประเทศและจากต่างประเทศ การบริโภคและอุปโภค ของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 6.4 การสะสมทุนถาวรขยายตัวร้อยละ 11.9 รวมทั้งกระใช้จ่ายของรัฐสูงขึ้นเล็กน้อย จากร้อยละ 1.8 ในปีที่แล้วเป็นร้อยละ 2.0 ในปีปัจจุบันอย่างไรก็ตาม การส่งออกสุทธิขยายตัวร้อยละ 4.9 ลดลงจากร้อยละ 6.6 ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากการส่งออกบริการสุทธิ ลด ลงร้อยละ 2.7 เป็นผลมาจากกระแพร่ระบาดของโรค ทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome :SARS)การผลิตในภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 8.7 สูงกว่า เมื่อเทียบกับร้อยละ 1.0 ในปี 2545
สาขาเกษตรกรรมกรล่าสัตว์และการป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 9.7 สูงกว่าร้อยละ 1.3 ของปีก่อน เป็นผลจาก
การปลูกพืชผล ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.3 สาเหตุสำคัญเกิดจากพืชหลัก ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์ม มีผลผลิตเพิ่ มขึ้นร้อยละ 9.6 32.6 22.5 และ 23.7 ตามลำดับ เนื่องจากเกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก และ สภาพอากาศเอื้ออำนวยแก่การเพาะปลูก
การเลี้ยงปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 8.0 เป็นผลมาจากการผลิตไก่เนื้อขยายตัวร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับ ร้อยละ 3.5 ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของตลาดในยุโรปเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้การผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว ส่วนผลผลิตโค กระบือ ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 6.5 และ 9.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผลผลิตสุกรชะลอลงร้อยละ 5.11
สาขาการประมง ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากที่หดตัวร้อยละ 0.2 ในปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากทั้งประมงทะเลและประมงน้ำจืดขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และ 5.2 ตามลำดับ
การผลิตภาคนอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 6.7 สูงขึ้นจากร้อยละ 5.8 ในปีที่ผ่านมาโดยสาขาหลักที่สำคัญมีภาวะการผลิตดังนี้
สาขาการทำเห มื องแร่แ ละเหมืองหิน ขยายตัวร้อยละ 6.8 ลดลงจากร้อยละ 11.0 ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากการผลิตแร่อื่นๆ ชะลอลงจากปีก่อนเหลือร้อยละ 4.0 ในปีนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการผลิตหินปูนเร่งการผลิตก่อนที่สัมปทานบัตรเหมืองหินปูนจะหมดอายุลงในปีนี้ การผลิตก๊าซธรรมชาติขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 อย่างไรก็ตาม การผลิตน้ำมันดิบขยายตัวร้อยละ 29.3
สาขาการผลิตอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีสัดส่วนต่อ GDP สูงที่สุด คือ ร้อยละ 37.9 การผลิตในปีนี้ขยายตัวร้อยละ 10.4 สูงขึ้นต่อเนื่องจากเมื่อปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 เป็น ผลจากการบริโภคและการลงทุนในประเทศที่ขยายตัวสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น การส่งออกยังขยายตัวได้ดีแม้ว่าจะชะลอลงเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา การผลิตหมวดที่สำคัญมีดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 13.7 เป็นผลมาจากหมวดอาหารขยายตัวร้อยละ 11.0 เนื่องจากความต้องการในประเทศเริ่มอิ่มตัวและมีปัญหาด้านและ อุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องขยายตัวตามการส่งออกที่สูงขึ้น ส่วนหมวดเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 18.0 โดยมีสาเหตุหลักจากการผลิตเบียร์ขยายตัวสูงขึ้นเนื่องจาก ผู้ประกอบการแนะนำผลิตภัณฑ์เบียร์ใหม่ๆ และผลิตเบียร์ราคาถูกออกสู่ตลาดเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด
หมวดหนังและผลิตภัณฑ์จากหนัง ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากที่หดตัวร้อยละ 7.8 ในปีก่อนหน้าเนื่องจาก การส่งออกปรับตัวดีขึ้น
หมวดการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัว ร้อยละ 2.0 ตามภาวะการบริโภคในประเทศที่ขยายตัวสูงขึ้น
หมวดเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ขยายตัวร้อยละ 12.2 เนื่องจากรายการปิโตรเคมี โดยเฉพาะการผลิตเม็ดพลาสติกขยายตัวสูงตามการส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้น
หมวดผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติกขยายตัวร้อยละ 13.6 มาจากรายการการผลิตพลาสติกขยายตัวสูงขึ้นตามการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี รวมทั้งการผลิตยาง รถยนต์ที่ขยายตัวตามอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์
หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากการใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องแลการก่อสร้าง ภาคเอกชนที่ยังขยายตัวดี
หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขยายตัวร้อยละ 11.9 เนื่องจากการใช้จ่ายลงทุนของภาคเอกชนในเครื่องมือเครื่องจักรสูงขึ้น
หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า ขยายตัว สูงถึงร้อยละ 24.6 เป็นผลจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องและการลงทุนในประเทศที่ขยายตัวได้ดี
หมวดยานยนต์ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 40.1 เนื่องจากการผลิตเพื่อสนองความต้องการในประเทศขยายตัวสูง และเพื่อการส่งออกที่มียอดเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมหลายหมวดปรับตัวชะลอลง ได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ชะลอลงเนื่องจากปริมาณไม้ที่
เป็นวัตถุดิบเข้าโรงเลื่อยลดลง หมวดผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะชะลอลงเนื่องจากการผลิตปูนซีเมนต์ชะลอตัวลง หมวดโลหะขั้นมูลฐานลดลงเนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ผู้ผลิตจึงลด การผลิตลง หมวดวิทยุ โทรทัศน์และอุปกรณ์การสื่อสาร ลดลงเนื่องจากการผลิตน้ำตาลขยายตัวสูงตามปริมาณอ้อยเข้าหีบ ราคาที่ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ เช่น จีน เวียดนาม เป็นต้น และหมวดอุปกรณ์การขนส่งอื่นๆ ลดลงตามความต้องการในประเทศที่เริ่มชะลอลง ส่วนหมวดที่ การผลิตหดตัวลง ได้แก่ หมวดเครื่องแต่งกาย เนื่องจากการ ส่งออกชะลอลงมาก หมวดอุปกรณ์ ทางการแพทย์ฯ และ หมวดเครื่องเรือนและอุตสาหกรรมอื่นๆ รายการอัญมณีและเครื่องประดับได้รับผลกระทบจากราคาทองคำที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ความต้องการในประเทศลดลง
สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา ขยายตัว ร้อยละ 4.6 ชะลอลงจากร้อยละ 6.0 ในปีที่ ผ่านมา โดยที่ หมวดหลักคือการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 4.8 ชะลอลงจากร้อยละ 6.9 ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในกิจการเฉพาะอย่างและอื่นๆ ชะลอลง ประกอบกับมีมาตรการประหยัดการใช้พลังงานในส่วนราชการด้วย โรงแยกก๊าซธรรมชาติลดลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ส่วนการประปาขยายตัวร้อยละ 6.6 สูงขึ้นจากร้อยละ 2.5 ใน ปีที่ผ่านมาตามภาวะการใช้น้ำในภาคธุรกิจและครัวเรือน
(ยังมีต่อ).../สาขาการก่อ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ