การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ นำไปสู่ภัยพิบัติที่รุนแรง เช่น ไต้ฝุ่น เฮอริเคน และน้ำท่วมฉับพลัน จะสร้างความสูญเสียต่อสิ่งก่อสร้าง
ต่างๆ ประเทศแถบละติจูดเหนือเผชิญกับสภาพพื้นผิวดินที่เป็นน้ำแข็งที่อุ่นขึ้น ทำให้โครงสร้างดินอ่อนตัวลง ถนน และอาคารที่ก่อสร้างอยู่บนเพอร์มา
ฟรอส ในประเทศแคนาดา รัสเซีย แม้แต่ทางรถไฟสู่ทิเบต ต้องออกแบบอย่างซับซ้อนมีราคาแพง เพื่อรองรับชั้นดินที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ แต่สิ่ง
ก่อสร้างอีกหลายแห่งไม่มีการออกแบบที่ดีพอ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายได้
4.7 พื้นที่ชายฝั่งทะเล:
พื้นที่ชายฝั่งทะเลจะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น หลายพื้นที่จะถูกน้ำท่วม สูญเสียที่ดินชายฝั่งที่จะนำไปสู่การอพยพประชากรที่
อยู่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลจำนวนมาก พื้นที่ชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่มีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างเข้มข้น เช่น เขตท่องเที่ยว เขต
อุตสาหกรรม ท่าเรือ โรงกลั่นน้ำมัน มีประชากรราว 200 ล้านคน และมีสินทรัพย์ราว 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ตั้งอยู่ในเขตชายฝั่งที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล
ไม่เกิน 1 เมตร เมืองใหญ่และมหานคร 22 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตเสี่ยงภัยจากน้ำทะเลท่วมถึง ประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งเอเชียใต้ และเอเชีย
ตะวันออกมีความเสี่ยงสูงสุด รองลงมาได้แก่ ชายฝั่งแอฟริกา และประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
4.8 ภาวะโลกร้อนกับปัญหาความยากจน: กลุ่มคนยากจนได้รับผลกระทบรุนแรง
ถึงแม้ว่าภาวะโลกร้อน จะมีผลกระทบที่แผ่ขยายไปทั่วโลก ไม่มีพื้นที่หรือภูมิภาคใดที่ไม่ได้รับผลกระทบ แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับเงื่อนไขด้าน
เศรษฐกิจ สังคม ประชากร การเมือง และสิ่งแวดล้อม บางภูมิภาคจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่า โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีประชากรยากจนอยู่เป็น
จำนวนมาก เช่น sub-Saharan หรือ เอเชียใต้ มีการประเมินว่า ภายในปี 2100 จะมีประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 2$ ต่อวัน เพิ่มขึ้นประมาณ
145-220 ล้านคน กลุ่มคนยากจนเหล่านี้เผชิญกับปัญหาและความเสี่ยงต่างๆ มีขีดความสามารถในการปรับตัวต่ำ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ทำ
ให้ปัญหาซับซ้อนทบทวี ซ้ำเติมกลุ่มคนที่ยากจนอ่อนแออยู่แล้ว จนยากที่จะรับมือได้
ภาวะโลกร้อนได้สร้างปัญหาหลายด้านพร้อมๆ กัน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในเขตพื้นที่หนึ่งๆ อาจทำให้เกิดความสูญเสียชนิดพันธุ์ของ
แมลงที่ทำหน้าที่ผสมพันธุ์ เพิ่มการระบาดของแมลงศัตรูพืช เกิดภัยแล้ง และปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งหมดย่อมนำไปสู่การลดลงของผลผลิตอาหาร
อย่างมหาศาล และหากสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในภูมิภาคที่มีประชากรยากจน ผลกระทบก็จะรุนแรงมากขึ้น
4.9 มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ:
รายงานการศึกษาของ Integrated Assessment Models (IAMs) ระบุว่าภาวะโลกร้อน และอุณหภูมิที่สูงขึ้นประมาณ 2.5 องศา
จะก่อให้เกิดความเสียหาย คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 1.5-2.0 ของ GDP โลก โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีมูลค่าความเสียหายคิด
เป็นร้อยละ 1.0-1.5 และประเทศที่กำลังพัฒนาจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-9 การประเมินความเสียหายนี้เป็นการประเมินเบื้องต้น ในเวลาต่อมามี
การนำโมเดลที่คำนึงถึงปัจจัยประกอบต่างๆ ที่มีความละเอียดมากขึ้น เช่น Mendelsohn model (รวมมูลค่าการตลาดของ เกษตร ป่าไม้ พลังงาน
และชายฝั่ง), The Tol model (รวมมูลค่าตลาด และ non-market sector เช่นการสูญเสียชีวิต), The Nordhaus model (รวมมูลค่าทาง
เศรษฐกิจของสาขาอื่น เช่น น้ำ การก่อสร้าง ประมง นันทนาการ ชายฝั่ง มลพิษ ระบบนิเวศ และการสูญเสียชีวิต เป็นต้น)
ผลการคำนวณของแต่ละโมเดลให้ค่าตัวเลขที่ต่างกันเท่านั้น แต่แนวโน้มสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน คือ อุณหภูมิที่สูงขึ้น 2-3 องศา
จะลดความอยู่ดีมีสุขของประชาคมโลก โดยประเทศร่ำรวยอาจได้รับผลกระทบน้อยกว่า แต่สำหรับประเทศยากจน ภาวะโลกร้อนจะสร้างความสูญเสีย
และซ้ำเติมความยากลำบากในการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างน่าวิตกกังวล โดยเฉพาะกลุ่มประเทศแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้
แต่ถ้าอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกินกว่า 3 องศา ทุกภูมิภาคทั่วโลกจะได้รับผลกระทบทางลบที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง
5. ประชาคมโลก: มีทั้งความร่วมมือ และการต่อรองผลประโยชน์ (North-South Politic)
ปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นเรื่องที่ต้องการความร่วมมือของประชาคมโลกอย่างยิ่ง หากไม่มีการดำเนินงานใดๆ มูลค่าความสูญเสียอาจสูง
ถึงร้อยละ 5 ของ GDP โลก หรือเท่ากับการสูญเสียในสงครามโลกครั้งที่สอง อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (UN Framework
Convention on Climate Change; UN FCCC) พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) และกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development
Mechanism; CDM) เป็นความร่วมมือที่สำคัญของประชาคมโลก โดยมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณให้ได้ร้อยละ 25 ในปี
2050 โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องรับผิดชอบการลดก๊าซเรือนกระจกราวร้อยละ 60-80
Kyoto Protocal Commitments
EU -8% Hungary -6%
USA -7% Russia 0%
Japan -6% Norway +1%
Switzerland -8% Australia +8%
Czech Republic -8% Iceland +10%
Goals on climate change and clean energy adopted by 10 largest economies
Brazil - National objective to increase the share of alternative renewable energy
sources (biomass, wind and small hydro) to 10% by 2030 Programmes to
protect public forests from deforestation by designating some areas that must
remain unaltered and others only for sustainable use
China - The 11th Five Year Plan contains stringent national objectives including
- 20% reduction in energy intensity of GDP from 2005 to 2010 - 10%
reduction in emission of air pollutants - 15% of energy from renewables
within the next ten years
France - Kyoto Protocol commitment to cap GHG emissions at 1990 levels by the
period 2008-2012 - National objective for 25% reduction from 1990 levels of
GHGs by 2020 and fourfold reduction (75-80%) by 2050
Germany - Kyoto Protocol commitment to reduce GHG emissions by 21% on 1990
levels by the period 2008-2012 - Offered to set a target of 40% reduction
below 1990 levels by 2020 if EU accepts a 30% reduction target - National
objective to supply 20% of electricity from renewable sources by 2020
India - The 11th Five Year Plan contains mandatory and voluntary measures to
increase efficiency in power generation and distribution, increase the use of
nuclear power and renewable energy, and encourage mass transit programmes.
- The Integrated Energy Policy15 estimates that these initiatives could
reduce the GHG intensity of the economy by as much as one third.
Italy - Kyoto Protocol commitment to reduce GHG emissions by 6.5% on 1990
levels by the period 2008-2012 - National objective to increase share of
electricity from renewable resources to 20% by 2010
Japan - Kyoto Protocol commitment to reduce GHG emissions by 6% on 1990
levels by the period 2008-2012 - National objective for 30% reduction in
energy intensity of GDP from 2003 to 2030
Russian - Kyoto Protocol commitment to cap GHG emissions at 1990 levels by the
Federation period 2008-2012
United - Kyoto Protocol commitment to reduce GHG emissions by 12.5% on 1990
Kingdom levels by the period 2008-2012 -National objectives to reduce CO2
emissions by 20% on 1990 levels by 2010 and by 60% on 2000 levels by 2050
United States - Voluntary federal objective to reduce GHG intensity level by 18% on 2002
of America levels by 2012 - California, the largest state, in the USA, has an objective to
reduce CO2 emissions by 80% on 1990 levels by 2050. - States in the
North-East and mid-Atlantic have set up the Regional Greenhouse Gas Initiative
to cut emissions to 2005 levels between 2009 and 2015, and by a further 10%
between 2015 and 2018.
ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการตอบสนองด้วยดี หลายประเทศมีการดำเนินงานก้าวหน้ากว่าข้อกำหนดตามพันธกรณี ระดับความรู้ความเข้าใจ
ของสาธารณชนเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนดีขึ้นกว่าเดิม แม้จะมีช่องว่างเรื่องข้อมูลและองค์ความรู้ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว กับประเทศยากจน เกิด
ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ การลดสาร CFC ทีส่งผลต่อโอโซนในชั้นบรรยากาศเป็นไปตามเป้าหมาย มีการพัฒนาเครื่องมือที่เป็นแรงจูงใจ
ทางเศรษฐศาสตร์จำนวนมาก โดยเฉพาะกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) และตลาดคาร์บอนเครดิต ในขณะเดียวกัน ยังมีข้อโต้แย้งถึงปัญหาทาง
ปฏิบัติของ CDM ว่าอาจเป็นการทุ่มเททรัพยากร และการจัดการที่ซับซ้อน แต่ผิดทิศทางได้
North-South Politic เวทีระหว่างประเทศยังมีข้อถกเถียงต่อรองกันระหว่างกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา
ประเด็นที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงมีหลายประเด็น เช่น ความรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา การที่ประเทศอุตสาหกรรม
และประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ ได้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปจากเดิม การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไม่จำเป็นต้องพึ่ง
พาพลังงานแบบเดิม ทำให้มีการประเมินว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศพัฒนาแล้วจะลดลงในอนาคต ส่วนประเทศกำลังพัฒนาที่มี
ประชากรยากจนจำนวนมาก จำเป็นต้องใช้พลังงานราคาถูก จะเผชิญกับข้อจำกัดและข้อเรียกร้องที่อาจเป็นอุปสรรคและขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศ นอกจากนั้น ยังมีประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฐานเศรษฐกิจและเป็นแหล่ง
อาหารของประชากรที่ยากจนของโลก ประเด็นเหล่านี้ ทำให้การพิจารณาเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่สามารถแยกออกเป็นเอกเทศ แต่จะ
ต้องคำนึงถึงปัญหาที่ซับซ้อนของ North-South Politic ด้วย
6. เครื่องมือทางนโยบาย : กรณีประเทศสวีเดน
ประเทศสวีเดนกำหนดยุทธศาสตร์ด้านภูมิอากาศตั้งแต่ปี 2001 ยุทธศาสตร์ใหม่จัดทำขึ้นในปี 2007 และมีเป้าหมายที่จะเป็นประเทศ CO2
Free ในอนาคต ภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ประเทศสวีเดนใช้เครื่องทางนโยบายที่สำคัญ ได้แก่
* เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ : ภาษีคาร์บอน การปรับโครงสร้างภาษีพลังงาน ภาษีการใช้ถนน ค่าธรรมเนียม โควต้า
และใบอนุญาต
* เครื่องมือทางการบริหาร (กฎระเบียบ มาตรฐาน)
* เครื่องมือด้านการสื่อสาร (แคมเปญ การให้การศึกษา การรณรงค์ประชาสัมพันธ์)
* เครื่องมือด้านการวางแผน (การวางแผนภาคและเมือง)
- การกำหนดนโยบายรายสาขานโยบายพลังงาน สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจในการผลิตพลังงานจากทรัพยากรหมุนเวียน กำหนดเป้า
หมายการผลิตพลังงานลม ขยายการผลิตพลังงานชีวภาพ ไบโอก๊าซ กำหนดมาตรการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและจำกัดการใช้พลังงานถ่านหิน
ทบทวนแผนการใช้พลังงานของท้องถิ่น
- นโยบายการคมนาคมขนส่ง สาขาคมนาคมขนส่งมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 40 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นโยบายที่
สำคัญ เช่น การลงทุนการขนส่งระบบราง การทำข้อตกลงโดยสมัครใจกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ในการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานของรถยนต์ให้มี
ประสิทธิภาพหรือใช้เอทานอล พิจารณาภาษีระยะทางขนส่งสำหรับพาหนะขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ ภาษีสิ่งแวดล้อมสำหรับการใช้ถนนในเขตเมือง ส่ง
เสริมการขับขี่ที่ประหยัดพลังงาน และริเริ่มการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบิน
- นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการจัดทำข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างรัฐกับ ภาคเอกชน นโยบายสิ่งแวดล้อมสำหรับการก่อ
สร้างบ้านอยู่อาศัย อุตสาหกรรม และภาคบริการ สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้กลไกของพิธีสารเกีย
วโต เช่น การซื้อขายคาร์บอนเครดิต การส่งเสริมบทบาทของธุรกิจเอกชนโดยสมัครใจ ส่งเสริมพลังงานทางเลือก โดยลดภาษีสำหรับโครงการ
นำร่อง วางระบบการลดภาษีอย่างถาวร รถภาษีรถยนต์สำหรับรถที่ใช้เชื้อเพลิงสะอาด
- นโยบายด้านการก่อสร้าง ให้มีการทบทวนการวางแผนพัฒนาเมือง โดยสนับสนุนเทคโนโลยีและแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best
Practices)
- นโยบายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทน โดยการออกกฎระเบียบในการสร้างระบบปิดสำหรับขยะมูลฝอย ติดตามการปล่อยก๊าซมีเทน
ของหลุมกลบฝังขยะ เชื่อมโยงนโยบายด้านการเกษตรกับเรื่องการปล่อยก๊าซมีเทน
ประเทศสวีเดนตระหนักว่า นโยบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไม่สามารถแยกออกจากนโยบายด้านอื่นได้ นโยบายต่างๆ
เกี่ยวข้องและต้องเชื่อมโยงประสานกันอย่างเป็นเอกภาพ แต่ในทางปฏิบัติหลายกรณีกลับเกิดความขัดแย้งเชิงนโยบายมากกว่าการประสานพลัง
นอกจากนั้น การดำเนินนโยบายที่มีประสิทธิภาพยังต้องพิจารณาความเชื่อมโยงทั้ง 2 ระนาบ คือ เชิงพื้นที่ (ท้องถิ่น เมือง ภูมิภาค
โลก) และรายสาขา (ภูมิอากาศ ระบบนิเวศ การจัดการน้ำ ฯลฯ) รวมทั้งการสร้างประโยชน์จากความร่วมมือกันภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ
7. ประเด็นสำคัญและข้อเสนอแนะ
7.1 ข้อมูล องค์ความรู้ และการใช้ประโยชน์
แม้ว่าองค์ความรู้ที่มาจากข้อมูลและรายงานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก จะทำให้ประชาคมโลกตื่นตัวและตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน
มากขึ้น แต่ข้อมูลและการศึกษาเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังมีช่องว่าง ทั้งเรื่องการเข้าถึง เนื้อหาสาระ และวิธีการ ที่ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาหรือ
ประเทศยากจน ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติได้ โดยมีสาเหตุสำคัญ ดังนี้
- องค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศยากจนมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมุมมองและการให้ลำดับความสำคัญที่แตก
ต่างกัน ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว กำลังเอาใจใส่กับสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน หาวิธีการวัดและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่
เรื่องที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับประเทศยากจน ไม่ใช่ประเด็นเรื่องอุณหภูมิหรือระดับ น้ำทะเลที่สูงขึ้น แต่เป็นเรื่องความไม่แน่นอนของทรัพยากรน้ำ
ภัยพิบัติ และผลผลิตอาหาร เพราะเป็นเรื่องของความอยู่รอด และการดำรงชีวิตประจำวัน
- ฐานข้อมูลระดับโลกเป็นข้อมูลที่กว้างเกินไป ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น การจัดเก็บ
สถิติ ข้อมูล และแบบจำลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการคาดการณ์ผลกระทบส่วนใหญ่เป็นฐานข้อมูลระดับโลก แต่ข้อมูลที่สามารถ
ใช้ประโยชน์จริงระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ ยังขาดการจัดเก็บรวบรวม และมีช่องว่างที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับ
ประเทศที่กำลังพัฒนา
- ประเทศกำลังพัฒนาต้องการข้อมูลและการศึกษาที่ลงลึก ชี้เฉพาะ เพื่อบ่งชี้พื้นที่เสี่ยงภัย (Hot Spot) กลุ่มผู้ที่เสี่ยงภัย รวมทั้ง
ประเด็นปัญหาที่จะต้องเผชิญอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ซึ่งจะต้องเก็บข้อมูลจริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ โดยวิเคราะห์ร่วมกับ
สถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และขีดความสามารถในการปรับตัว กระบวนการดังกล่าว ต้องการทรัพยากร บุคลากร และการ
จัดการ ซึ่งยังเป็นข้อจำกัดของประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย และเป็นสาเหตุให้การดำเนินงานด้านการปรับตัวและการเตรียมพร้อมในกลุ่มประเทศ
กำลังพัฒนาที่มีความเสี่ยงสูง ขับเคลื่อนไปได้ช้ามาก
7.2 แนวทางการปรับตัวและลดผลกระทบสำหรับประเทศไทย
- การปรับตัวเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อนยังไม่ได้รับความสำคัญในเชิงนโยบาย ประเทศไทยให้ความสำคัญกับมาตรการลดก๊าซ
เรือนกระจก ซึ่งเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของประชาคมโลก นโยบายหลายด้านได้รับการผลักดันในทางปฏิบัติ เช่น นโยบายพลังงาน ซึ่งส่งผล
ต่อความพยายามในการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศ อย่างไรก็ตาม มาตรการด้าน
การปรับตัวและเตรียมพร้อม นับเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่ยังไม่มีความสำคัญในเชิงนโยบาย สาเหตุสำคัญเพราะยังขาดข้อมูล และการศึกษาเพื่อ
ประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรม
- พัฒนาการจัดเก็บข้อมูล และการประเมินความเสี่ยง เพื่อบ่งชี้ Hot Spot ของประเทศ ทั้งมิติเชิงพื้นที่ และกิจกรรมรายสาขา
ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการคาดการณ์ เป็นข้อมูลระดับโลก แต่การรับมือเป็นเรื่องที่ต้องชี้เฉพาะ การศึกษารายละเอียดทั้งระดับ
พื้นที่ และ Sectors จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น นอกจากนั้น การทำงานร่วมกัน ก็จะช่วยยกระดับ
ความรู้ความเข้าใจ เป็นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และขีดความสามารถในการปรับตัว ที่จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับทุกฝ่าย ในประเทศอาฟริกา
ใต้ นักวิชาการทำงานเก็บข้อมูลร่วมกับชุมชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่องมากกว่า 20 ปี ทำการเชื่อมโยงข้อมูลระดับโลกกับข้อมูลระดับพื้นที่ ทำให้สามารถ
คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และวางระบบแจ้งเตือนภัยกับประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่หรือ
กิจกรรมที่มีความเสี่ยง ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียที่ไม่จำเป็นได้
- บริหารและกระจายความเสี่ยง โดยอาจใช้ข้อมูลการประเมินความเสี่ยงจากภัยน้ำท่วมและภัยแล้ง เป็นพื้นฐานสำหรับการวางแผน
มาตรการปรับตัวที่สำคัญคือการสร้างทางเลือก ปรับแบบแผนการเพาะปลูกให้มีความหลากหลาย เลือกชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาและคัดเลือกพันธุ์พื้นถิ่นที่
แข็งแรง ทนแล้งและภาวะน้ำท่วมได้ดี กระจายแหล่งที่มาของรายได้ สร้างความมั่นคงด้านอาหารตัวอย่าง เช่น ประเทศนามิเบีย จัดทำ
โครงการพัฒนาปศุสัตว์ โดยส่งเสริมให้ชุมชนศึกษาความสมบูรณ์ของทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และประเมินความเสี่ยงจากภัยแล้ง เพื่อวางแผนจัดการปศุสัตว์
ให้สามารถเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ในระยะยาว
- มาตรการด้านโครงสร้าง การออกแบบสิ่งก่อสร้าง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และพัฒนาระบบชลประทาน ส่วนใหญ่มาตรการด้านโครง
สร้างเป็นมาตรการที่มีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น แนวทางที่จะได้รับการยอมรับนำไปปฏิบัติ ควรเน้นเรื่องการออกแบบที่เกิดประโยชน์หลายด้านทั้งในระยะ
สั้นและระยะยาว คุ้มค่าสำหรับการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และมีความยืดหยุ่นที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงและภาวะโลกร้อนในอนาคตได้ โดยทั่วไป
มาตรการด้านโครงสร้าง จะรวมถึงการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ทีดินโดยหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่น้ำท่วม พื้นที่ที่มีการกัดเซาะชายฝั่ง หรือน้ำ
ทะเลท่วมถึง การออกแบบสิ่งก่อสร้างโดยคำนึงถึงความเสี่ยงภัยประเภทต่างๆ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ ออกแบบบ้านลอยน้ำ ประเทศสวีเดน
ออกแบบและวางทิศทางของบ้านที่ป้องกันความเย็นในฤดูหนาว และระบายอากาศในฤดูร้อน ประเทศไทยอาจออกแบบบ้านจากภูมิปัญญาดั้งเดิม เช่น
บ้านใต้ถุนสูงในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม เป็นต้น
- เพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความตื่นตัวและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยสนับสนุนการเข้าถึง
และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารเชื่อมโยงจากระดับโลก สู่ระดับภูมิภาคและชุมชน เรียนรู้และสรุปบทเรียนจากการเผชิญภัยพิบัติที่ผ่านมา เชื่อมโยงและ
ใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ฝึกอบรมและสร้างบุคลากรที่เป็นผู้นำในท้องถิ่น
7.3 บทบาทของหน่วยงานวางแผน
สำหรับประเทศไทย การรับมือกับภาวะโลกร้อนในบริบทการวางแผนพัฒนาประเทศ เน้นเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นบทบาทใน
การให้ความร่วมมือกับประชาคมโลก แต่ยังให้ความสำคัญน้อยกับแนวทางการปรับตัว และเตรียมการเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโลก
ร้อน ทั้งที่ภาพรวมจากผลการวิเคราะห์แบบจำลองระดับโลกประเมินว่าประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศหรือภูมิภาคที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจาก
ภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะภาคการเกษตร จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลเพาะปลูก ภัยแล้ง และน้ำท่วม ควรมีการวางแผนระยะ
ยาวเพื่อปรับเปลี่ยนแบบแผนและชนิดพันธุ์การเพาะปลูก
นอกจากนั้น ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง เนื่องจากน้ำ
ในมหาสมุทรอุ่นขึ้น มีความผันแปรของกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็น น้ำทะเลมีความเป็นกรดสูงขึ้น จะเพิ่มความรุนแรงของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวม
ทั้งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวของประเทศได้ ทั้งหมดนี้ ต้องการงานศึกษาวิจัยเชิงลึกทางวิทยาศาสตร์ มีข้อมูลละเอียดระดับพื้นที่ ที่
ติดตามการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและระบบนิเวศ เพื่อให้ทราบถึงพื้นที่เสี่ยงภัย (Hot Spot) และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น สามารถนำองค์ความรู้ดัง
กล่าวมาใช้ในการวางระบบแจ้งเตือนภัยสำหรับประชาชน และกำหนดแนวทางการปรับตัวสำหรับภาคการผลิต และการดำเนินกิจกรรมในสาขาต่างๆ
ได้
เนื่องจากภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อทุกภาคส่วน การวางแผนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ต้องดำเนิน
การหลายด้านไปพร้อมกัน ยุทธศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศ ที่กำลังอยู่ระหว่างการนำเสนอของกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ยังไม่บูรณาการกับแผนของกระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้อง แต่ละองค์กรจัดทำข้อเสนอแผนงาน/โครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน
เช่น กระทรวงเกษตร กรมชลประทาน ศูนย์เตือนภัยพิบัติ กรมอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งองค์กรก๊าซเรือนกระจกที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ ดังนั้น ควรมีกระบวน
การที่สามารถบูรณาการนโยบาย และประสานการดำเนินงานให้เกิดเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตอบสนองปัญหาที่มีความสำคัญเร่งด่วนของ
ประเทศ โดยเฉพาะการวางระบบแจ้งเตือนภัยกับประชาชน เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อมและการปรับตัว ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียที่ไม่จำเป็น ทั้งใน
ระยะสั้น และระยะยาว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ต่างๆ ประเทศแถบละติจูดเหนือเผชิญกับสภาพพื้นผิวดินที่เป็นน้ำแข็งที่อุ่นขึ้น ทำให้โครงสร้างดินอ่อนตัวลง ถนน และอาคารที่ก่อสร้างอยู่บนเพอร์มา
ฟรอส ในประเทศแคนาดา รัสเซีย แม้แต่ทางรถไฟสู่ทิเบต ต้องออกแบบอย่างซับซ้อนมีราคาแพง เพื่อรองรับชั้นดินที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ แต่สิ่ง
ก่อสร้างอีกหลายแห่งไม่มีการออกแบบที่ดีพอ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายได้
4.7 พื้นที่ชายฝั่งทะเล:
พื้นที่ชายฝั่งทะเลจะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น หลายพื้นที่จะถูกน้ำท่วม สูญเสียที่ดินชายฝั่งที่จะนำไปสู่การอพยพประชากรที่
อยู่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลจำนวนมาก พื้นที่ชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่มีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างเข้มข้น เช่น เขตท่องเที่ยว เขต
อุตสาหกรรม ท่าเรือ โรงกลั่นน้ำมัน มีประชากรราว 200 ล้านคน และมีสินทรัพย์ราว 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ตั้งอยู่ในเขตชายฝั่งที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล
ไม่เกิน 1 เมตร เมืองใหญ่และมหานคร 22 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตเสี่ยงภัยจากน้ำทะเลท่วมถึง ประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งเอเชียใต้ และเอเชีย
ตะวันออกมีความเสี่ยงสูงสุด รองลงมาได้แก่ ชายฝั่งแอฟริกา และประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
4.8 ภาวะโลกร้อนกับปัญหาความยากจน: กลุ่มคนยากจนได้รับผลกระทบรุนแรง
ถึงแม้ว่าภาวะโลกร้อน จะมีผลกระทบที่แผ่ขยายไปทั่วโลก ไม่มีพื้นที่หรือภูมิภาคใดที่ไม่ได้รับผลกระทบ แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับเงื่อนไขด้าน
เศรษฐกิจ สังคม ประชากร การเมือง และสิ่งแวดล้อม บางภูมิภาคจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่า โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีประชากรยากจนอยู่เป็น
จำนวนมาก เช่น sub-Saharan หรือ เอเชียใต้ มีการประเมินว่า ภายในปี 2100 จะมีประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 2$ ต่อวัน เพิ่มขึ้นประมาณ
145-220 ล้านคน กลุ่มคนยากจนเหล่านี้เผชิญกับปัญหาและความเสี่ยงต่างๆ มีขีดความสามารถในการปรับตัวต่ำ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ทำ
ให้ปัญหาซับซ้อนทบทวี ซ้ำเติมกลุ่มคนที่ยากจนอ่อนแออยู่แล้ว จนยากที่จะรับมือได้
ภาวะโลกร้อนได้สร้างปัญหาหลายด้านพร้อมๆ กัน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในเขตพื้นที่หนึ่งๆ อาจทำให้เกิดความสูญเสียชนิดพันธุ์ของ
แมลงที่ทำหน้าที่ผสมพันธุ์ เพิ่มการระบาดของแมลงศัตรูพืช เกิดภัยแล้ง และปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งหมดย่อมนำไปสู่การลดลงของผลผลิตอาหาร
อย่างมหาศาล และหากสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในภูมิภาคที่มีประชากรยากจน ผลกระทบก็จะรุนแรงมากขึ้น
4.9 มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ:
รายงานการศึกษาของ Integrated Assessment Models (IAMs) ระบุว่าภาวะโลกร้อน และอุณหภูมิที่สูงขึ้นประมาณ 2.5 องศา
จะก่อให้เกิดความเสียหาย คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 1.5-2.0 ของ GDP โลก โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีมูลค่าความเสียหายคิด
เป็นร้อยละ 1.0-1.5 และประเทศที่กำลังพัฒนาจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-9 การประเมินความเสียหายนี้เป็นการประเมินเบื้องต้น ในเวลาต่อมามี
การนำโมเดลที่คำนึงถึงปัจจัยประกอบต่างๆ ที่มีความละเอียดมากขึ้น เช่น Mendelsohn model (รวมมูลค่าการตลาดของ เกษตร ป่าไม้ พลังงาน
และชายฝั่ง), The Tol model (รวมมูลค่าตลาด และ non-market sector เช่นการสูญเสียชีวิต), The Nordhaus model (รวมมูลค่าทาง
เศรษฐกิจของสาขาอื่น เช่น น้ำ การก่อสร้าง ประมง นันทนาการ ชายฝั่ง มลพิษ ระบบนิเวศ และการสูญเสียชีวิต เป็นต้น)
ผลการคำนวณของแต่ละโมเดลให้ค่าตัวเลขที่ต่างกันเท่านั้น แต่แนวโน้มสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน คือ อุณหภูมิที่สูงขึ้น 2-3 องศา
จะลดความอยู่ดีมีสุขของประชาคมโลก โดยประเทศร่ำรวยอาจได้รับผลกระทบน้อยกว่า แต่สำหรับประเทศยากจน ภาวะโลกร้อนจะสร้างความสูญเสีย
และซ้ำเติมความยากลำบากในการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างน่าวิตกกังวล โดยเฉพาะกลุ่มประเทศแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้
แต่ถ้าอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกินกว่า 3 องศา ทุกภูมิภาคทั่วโลกจะได้รับผลกระทบทางลบที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง
5. ประชาคมโลก: มีทั้งความร่วมมือ และการต่อรองผลประโยชน์ (North-South Politic)
ปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นเรื่องที่ต้องการความร่วมมือของประชาคมโลกอย่างยิ่ง หากไม่มีการดำเนินงานใดๆ มูลค่าความสูญเสียอาจสูง
ถึงร้อยละ 5 ของ GDP โลก หรือเท่ากับการสูญเสียในสงครามโลกครั้งที่สอง อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (UN Framework
Convention on Climate Change; UN FCCC) พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) และกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development
Mechanism; CDM) เป็นความร่วมมือที่สำคัญของประชาคมโลก โดยมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณให้ได้ร้อยละ 25 ในปี
2050 โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องรับผิดชอบการลดก๊าซเรือนกระจกราวร้อยละ 60-80
Kyoto Protocal Commitments
EU -8% Hungary -6%
USA -7% Russia 0%
Japan -6% Norway +1%
Switzerland -8% Australia +8%
Czech Republic -8% Iceland +10%
Goals on climate change and clean energy adopted by 10 largest economies
Brazil - National objective to increase the share of alternative renewable energy
sources (biomass, wind and small hydro) to 10% by 2030 Programmes to
protect public forests from deforestation by designating some areas that must
remain unaltered and others only for sustainable use
China - The 11th Five Year Plan contains stringent national objectives including
- 20% reduction in energy intensity of GDP from 2005 to 2010 - 10%
reduction in emission of air pollutants - 15% of energy from renewables
within the next ten years
France - Kyoto Protocol commitment to cap GHG emissions at 1990 levels by the
period 2008-2012 - National objective for 25% reduction from 1990 levels of
GHGs by 2020 and fourfold reduction (75-80%) by 2050
Germany - Kyoto Protocol commitment to reduce GHG emissions by 21% on 1990
levels by the period 2008-2012 - Offered to set a target of 40% reduction
below 1990 levels by 2020 if EU accepts a 30% reduction target - National
objective to supply 20% of electricity from renewable sources by 2020
India - The 11th Five Year Plan contains mandatory and voluntary measures to
increase efficiency in power generation and distribution, increase the use of
nuclear power and renewable energy, and encourage mass transit programmes.
- The Integrated Energy Policy15 estimates that these initiatives could
reduce the GHG intensity of the economy by as much as one third.
Italy - Kyoto Protocol commitment to reduce GHG emissions by 6.5% on 1990
levels by the period 2008-2012 - National objective to increase share of
electricity from renewable resources to 20% by 2010
Japan - Kyoto Protocol commitment to reduce GHG emissions by 6% on 1990
levels by the period 2008-2012 - National objective for 30% reduction in
energy intensity of GDP from 2003 to 2030
Russian - Kyoto Protocol commitment to cap GHG emissions at 1990 levels by the
Federation period 2008-2012
United - Kyoto Protocol commitment to reduce GHG emissions by 12.5% on 1990
Kingdom levels by the period 2008-2012 -National objectives to reduce CO2
emissions by 20% on 1990 levels by 2010 and by 60% on 2000 levels by 2050
United States - Voluntary federal objective to reduce GHG intensity level by 18% on 2002
of America levels by 2012 - California, the largest state, in the USA, has an objective to
reduce CO2 emissions by 80% on 1990 levels by 2050. - States in the
North-East and mid-Atlantic have set up the Regional Greenhouse Gas Initiative
to cut emissions to 2005 levels between 2009 and 2015, and by a further 10%
between 2015 and 2018.
ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการตอบสนองด้วยดี หลายประเทศมีการดำเนินงานก้าวหน้ากว่าข้อกำหนดตามพันธกรณี ระดับความรู้ความเข้าใจ
ของสาธารณชนเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนดีขึ้นกว่าเดิม แม้จะมีช่องว่างเรื่องข้อมูลและองค์ความรู้ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว กับประเทศยากจน เกิด
ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ การลดสาร CFC ทีส่งผลต่อโอโซนในชั้นบรรยากาศเป็นไปตามเป้าหมาย มีการพัฒนาเครื่องมือที่เป็นแรงจูงใจ
ทางเศรษฐศาสตร์จำนวนมาก โดยเฉพาะกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) และตลาดคาร์บอนเครดิต ในขณะเดียวกัน ยังมีข้อโต้แย้งถึงปัญหาทาง
ปฏิบัติของ CDM ว่าอาจเป็นการทุ่มเททรัพยากร และการจัดการที่ซับซ้อน แต่ผิดทิศทางได้
North-South Politic เวทีระหว่างประเทศยังมีข้อถกเถียงต่อรองกันระหว่างกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา
ประเด็นที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงมีหลายประเด็น เช่น ความรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา การที่ประเทศอุตสาหกรรม
และประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ ได้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปจากเดิม การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไม่จำเป็นต้องพึ่ง
พาพลังงานแบบเดิม ทำให้มีการประเมินว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศพัฒนาแล้วจะลดลงในอนาคต ส่วนประเทศกำลังพัฒนาที่มี
ประชากรยากจนจำนวนมาก จำเป็นต้องใช้พลังงานราคาถูก จะเผชิญกับข้อจำกัดและข้อเรียกร้องที่อาจเป็นอุปสรรคและขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศ นอกจากนั้น ยังมีประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฐานเศรษฐกิจและเป็นแหล่ง
อาหารของประชากรที่ยากจนของโลก ประเด็นเหล่านี้ ทำให้การพิจารณาเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่สามารถแยกออกเป็นเอกเทศ แต่จะ
ต้องคำนึงถึงปัญหาที่ซับซ้อนของ North-South Politic ด้วย
6. เครื่องมือทางนโยบาย : กรณีประเทศสวีเดน
ประเทศสวีเดนกำหนดยุทธศาสตร์ด้านภูมิอากาศตั้งแต่ปี 2001 ยุทธศาสตร์ใหม่จัดทำขึ้นในปี 2007 และมีเป้าหมายที่จะเป็นประเทศ CO2
Free ในอนาคต ภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ประเทศสวีเดนใช้เครื่องทางนโยบายที่สำคัญ ได้แก่
* เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ : ภาษีคาร์บอน การปรับโครงสร้างภาษีพลังงาน ภาษีการใช้ถนน ค่าธรรมเนียม โควต้า
และใบอนุญาต
* เครื่องมือทางการบริหาร (กฎระเบียบ มาตรฐาน)
* เครื่องมือด้านการสื่อสาร (แคมเปญ การให้การศึกษา การรณรงค์ประชาสัมพันธ์)
* เครื่องมือด้านการวางแผน (การวางแผนภาคและเมือง)
- การกำหนดนโยบายรายสาขานโยบายพลังงาน สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจในการผลิตพลังงานจากทรัพยากรหมุนเวียน กำหนดเป้า
หมายการผลิตพลังงานลม ขยายการผลิตพลังงานชีวภาพ ไบโอก๊าซ กำหนดมาตรการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและจำกัดการใช้พลังงานถ่านหิน
ทบทวนแผนการใช้พลังงานของท้องถิ่น
- นโยบายการคมนาคมขนส่ง สาขาคมนาคมขนส่งมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 40 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นโยบายที่
สำคัญ เช่น การลงทุนการขนส่งระบบราง การทำข้อตกลงโดยสมัครใจกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ในการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานของรถยนต์ให้มี
ประสิทธิภาพหรือใช้เอทานอล พิจารณาภาษีระยะทางขนส่งสำหรับพาหนะขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ ภาษีสิ่งแวดล้อมสำหรับการใช้ถนนในเขตเมือง ส่ง
เสริมการขับขี่ที่ประหยัดพลังงาน และริเริ่มการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบิน
- นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการจัดทำข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างรัฐกับ ภาคเอกชน นโยบายสิ่งแวดล้อมสำหรับการก่อ
สร้างบ้านอยู่อาศัย อุตสาหกรรม และภาคบริการ สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้กลไกของพิธีสารเกีย
วโต เช่น การซื้อขายคาร์บอนเครดิต การส่งเสริมบทบาทของธุรกิจเอกชนโดยสมัครใจ ส่งเสริมพลังงานทางเลือก โดยลดภาษีสำหรับโครงการ
นำร่อง วางระบบการลดภาษีอย่างถาวร รถภาษีรถยนต์สำหรับรถที่ใช้เชื้อเพลิงสะอาด
- นโยบายด้านการก่อสร้าง ให้มีการทบทวนการวางแผนพัฒนาเมือง โดยสนับสนุนเทคโนโลยีและแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best
Practices)
- นโยบายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทน โดยการออกกฎระเบียบในการสร้างระบบปิดสำหรับขยะมูลฝอย ติดตามการปล่อยก๊าซมีเทน
ของหลุมกลบฝังขยะ เชื่อมโยงนโยบายด้านการเกษตรกับเรื่องการปล่อยก๊าซมีเทน
ประเทศสวีเดนตระหนักว่า นโยบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไม่สามารถแยกออกจากนโยบายด้านอื่นได้ นโยบายต่างๆ
เกี่ยวข้องและต้องเชื่อมโยงประสานกันอย่างเป็นเอกภาพ แต่ในทางปฏิบัติหลายกรณีกลับเกิดความขัดแย้งเชิงนโยบายมากกว่าการประสานพลัง
นอกจากนั้น การดำเนินนโยบายที่มีประสิทธิภาพยังต้องพิจารณาความเชื่อมโยงทั้ง 2 ระนาบ คือ เชิงพื้นที่ (ท้องถิ่น เมือง ภูมิภาค
โลก) และรายสาขา (ภูมิอากาศ ระบบนิเวศ การจัดการน้ำ ฯลฯ) รวมทั้งการสร้างประโยชน์จากความร่วมมือกันภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ
7. ประเด็นสำคัญและข้อเสนอแนะ
7.1 ข้อมูล องค์ความรู้ และการใช้ประโยชน์
แม้ว่าองค์ความรู้ที่มาจากข้อมูลและรายงานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก จะทำให้ประชาคมโลกตื่นตัวและตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน
มากขึ้น แต่ข้อมูลและการศึกษาเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังมีช่องว่าง ทั้งเรื่องการเข้าถึง เนื้อหาสาระ และวิธีการ ที่ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาหรือ
ประเทศยากจน ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติได้ โดยมีสาเหตุสำคัญ ดังนี้
- องค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศยากจนมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมุมมองและการให้ลำดับความสำคัญที่แตก
ต่างกัน ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว กำลังเอาใจใส่กับสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน หาวิธีการวัดและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่
เรื่องที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับประเทศยากจน ไม่ใช่ประเด็นเรื่องอุณหภูมิหรือระดับ น้ำทะเลที่สูงขึ้น แต่เป็นเรื่องความไม่แน่นอนของทรัพยากรน้ำ
ภัยพิบัติ และผลผลิตอาหาร เพราะเป็นเรื่องของความอยู่รอด และการดำรงชีวิตประจำวัน
- ฐานข้อมูลระดับโลกเป็นข้อมูลที่กว้างเกินไป ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น การจัดเก็บ
สถิติ ข้อมูล และแบบจำลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการคาดการณ์ผลกระทบส่วนใหญ่เป็นฐานข้อมูลระดับโลก แต่ข้อมูลที่สามารถ
ใช้ประโยชน์จริงระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ ยังขาดการจัดเก็บรวบรวม และมีช่องว่างที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับ
ประเทศที่กำลังพัฒนา
- ประเทศกำลังพัฒนาต้องการข้อมูลและการศึกษาที่ลงลึก ชี้เฉพาะ เพื่อบ่งชี้พื้นที่เสี่ยงภัย (Hot Spot) กลุ่มผู้ที่เสี่ยงภัย รวมทั้ง
ประเด็นปัญหาที่จะต้องเผชิญอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ซึ่งจะต้องเก็บข้อมูลจริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ โดยวิเคราะห์ร่วมกับ
สถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และขีดความสามารถในการปรับตัว กระบวนการดังกล่าว ต้องการทรัพยากร บุคลากร และการ
จัดการ ซึ่งยังเป็นข้อจำกัดของประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย และเป็นสาเหตุให้การดำเนินงานด้านการปรับตัวและการเตรียมพร้อมในกลุ่มประเทศ
กำลังพัฒนาที่มีความเสี่ยงสูง ขับเคลื่อนไปได้ช้ามาก
7.2 แนวทางการปรับตัวและลดผลกระทบสำหรับประเทศไทย
- การปรับตัวเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อนยังไม่ได้รับความสำคัญในเชิงนโยบาย ประเทศไทยให้ความสำคัญกับมาตรการลดก๊าซ
เรือนกระจก ซึ่งเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของประชาคมโลก นโยบายหลายด้านได้รับการผลักดันในทางปฏิบัติ เช่น นโยบายพลังงาน ซึ่งส่งผล
ต่อความพยายามในการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศ อย่างไรก็ตาม มาตรการด้าน
การปรับตัวและเตรียมพร้อม นับเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่ยังไม่มีความสำคัญในเชิงนโยบาย สาเหตุสำคัญเพราะยังขาดข้อมูล และการศึกษาเพื่อ
ประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรม
- พัฒนาการจัดเก็บข้อมูล และการประเมินความเสี่ยง เพื่อบ่งชี้ Hot Spot ของประเทศ ทั้งมิติเชิงพื้นที่ และกิจกรรมรายสาขา
ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการคาดการณ์ เป็นข้อมูลระดับโลก แต่การรับมือเป็นเรื่องที่ต้องชี้เฉพาะ การศึกษารายละเอียดทั้งระดับ
พื้นที่ และ Sectors จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น นอกจากนั้น การทำงานร่วมกัน ก็จะช่วยยกระดับ
ความรู้ความเข้าใจ เป็นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และขีดความสามารถในการปรับตัว ที่จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับทุกฝ่าย ในประเทศอาฟริกา
ใต้ นักวิชาการทำงานเก็บข้อมูลร่วมกับชุมชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่องมากกว่า 20 ปี ทำการเชื่อมโยงข้อมูลระดับโลกกับข้อมูลระดับพื้นที่ ทำให้สามารถ
คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และวางระบบแจ้งเตือนภัยกับประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่หรือ
กิจกรรมที่มีความเสี่ยง ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียที่ไม่จำเป็นได้
- บริหารและกระจายความเสี่ยง โดยอาจใช้ข้อมูลการประเมินความเสี่ยงจากภัยน้ำท่วมและภัยแล้ง เป็นพื้นฐานสำหรับการวางแผน
มาตรการปรับตัวที่สำคัญคือการสร้างทางเลือก ปรับแบบแผนการเพาะปลูกให้มีความหลากหลาย เลือกชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาและคัดเลือกพันธุ์พื้นถิ่นที่
แข็งแรง ทนแล้งและภาวะน้ำท่วมได้ดี กระจายแหล่งที่มาของรายได้ สร้างความมั่นคงด้านอาหารตัวอย่าง เช่น ประเทศนามิเบีย จัดทำ
โครงการพัฒนาปศุสัตว์ โดยส่งเสริมให้ชุมชนศึกษาความสมบูรณ์ของทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และประเมินความเสี่ยงจากภัยแล้ง เพื่อวางแผนจัดการปศุสัตว์
ให้สามารถเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ในระยะยาว
- มาตรการด้านโครงสร้าง การออกแบบสิ่งก่อสร้าง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และพัฒนาระบบชลประทาน ส่วนใหญ่มาตรการด้านโครง
สร้างเป็นมาตรการที่มีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น แนวทางที่จะได้รับการยอมรับนำไปปฏิบัติ ควรเน้นเรื่องการออกแบบที่เกิดประโยชน์หลายด้านทั้งในระยะ
สั้นและระยะยาว คุ้มค่าสำหรับการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และมีความยืดหยุ่นที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงและภาวะโลกร้อนในอนาคตได้ โดยทั่วไป
มาตรการด้านโครงสร้าง จะรวมถึงการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ทีดินโดยหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่น้ำท่วม พื้นที่ที่มีการกัดเซาะชายฝั่ง หรือน้ำ
ทะเลท่วมถึง การออกแบบสิ่งก่อสร้างโดยคำนึงถึงความเสี่ยงภัยประเภทต่างๆ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ ออกแบบบ้านลอยน้ำ ประเทศสวีเดน
ออกแบบและวางทิศทางของบ้านที่ป้องกันความเย็นในฤดูหนาว และระบายอากาศในฤดูร้อน ประเทศไทยอาจออกแบบบ้านจากภูมิปัญญาดั้งเดิม เช่น
บ้านใต้ถุนสูงในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม เป็นต้น
- เพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความตื่นตัวและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยสนับสนุนการเข้าถึง
และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารเชื่อมโยงจากระดับโลก สู่ระดับภูมิภาคและชุมชน เรียนรู้และสรุปบทเรียนจากการเผชิญภัยพิบัติที่ผ่านมา เชื่อมโยงและ
ใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ฝึกอบรมและสร้างบุคลากรที่เป็นผู้นำในท้องถิ่น
7.3 บทบาทของหน่วยงานวางแผน
สำหรับประเทศไทย การรับมือกับภาวะโลกร้อนในบริบทการวางแผนพัฒนาประเทศ เน้นเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นบทบาทใน
การให้ความร่วมมือกับประชาคมโลก แต่ยังให้ความสำคัญน้อยกับแนวทางการปรับตัว และเตรียมการเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโลก
ร้อน ทั้งที่ภาพรวมจากผลการวิเคราะห์แบบจำลองระดับโลกประเมินว่าประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศหรือภูมิภาคที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจาก
ภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะภาคการเกษตร จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลเพาะปลูก ภัยแล้ง และน้ำท่วม ควรมีการวางแผนระยะ
ยาวเพื่อปรับเปลี่ยนแบบแผนและชนิดพันธุ์การเพาะปลูก
นอกจากนั้น ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง เนื่องจากน้ำ
ในมหาสมุทรอุ่นขึ้น มีความผันแปรของกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็น น้ำทะเลมีความเป็นกรดสูงขึ้น จะเพิ่มความรุนแรงของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวม
ทั้งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวของประเทศได้ ทั้งหมดนี้ ต้องการงานศึกษาวิจัยเชิงลึกทางวิทยาศาสตร์ มีข้อมูลละเอียดระดับพื้นที่ ที่
ติดตามการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและระบบนิเวศ เพื่อให้ทราบถึงพื้นที่เสี่ยงภัย (Hot Spot) และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น สามารถนำองค์ความรู้ดัง
กล่าวมาใช้ในการวางระบบแจ้งเตือนภัยสำหรับประชาชน และกำหนดแนวทางการปรับตัวสำหรับภาคการผลิต และการดำเนินกิจกรรมในสาขาต่างๆ
ได้
เนื่องจากภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อทุกภาคส่วน การวางแผนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ต้องดำเนิน
การหลายด้านไปพร้อมกัน ยุทธศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศ ที่กำลังอยู่ระหว่างการนำเสนอของกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ยังไม่บูรณาการกับแผนของกระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้อง แต่ละองค์กรจัดทำข้อเสนอแผนงาน/โครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน
เช่น กระทรวงเกษตร กรมชลประทาน ศูนย์เตือนภัยพิบัติ กรมอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งองค์กรก๊าซเรือนกระจกที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ ดังนั้น ควรมีกระบวน
การที่สามารถบูรณาการนโยบาย และประสานการดำเนินงานให้เกิดเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตอบสนองปัญหาที่มีความสำคัญเร่งด่วนของ
ประเทศ โดยเฉพาะการวางระบบแจ้งเตือนภัยกับประชาชน เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อมและการปรับตัว ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียที่ไม่จำเป็น ทั้งใน
ระยะสั้น และระยะยาว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-