- สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากปริมาณเงินที่ไหลออกไปในช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่ทยอยไหลกลับเข้าสู่
ระบบ แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินระยะสั้นทุกประเภทยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวสูงขึ้น ดัชนีราคาปรับตัวขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield )
ของพันธบัตรระยะสั้นและยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะปานกลางปรับตัวลดลง
- เงินบาทในสัปดาห์แรกของปียังคงแข็งค่าขึ้นตามทิศทางค่าเงินในกูมิภาคและเงินเยน แม้ว่าจะมีเหตุการณ์การวางระเบิดในกทม. ในวัน
สิ้นปี แต่เงินบาทในตลาด offshore ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุล
หลักจากความต้องการขายดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรของนักลงทุน
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นหลังจากช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่ทรงตัวในระดับสูงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากปริมาณเงินที่ไหลออกไป
ในช่วงวันหยุดทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ธนาคารพาณิชย์จึงนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ
ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้เผื่อการปิดสำรองรายปักษ์ในวันศุกร์มาลงทุน หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ
1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.9375 5 และ 5 ต่อปี
ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างร้อยละ 4.6 - 5.05 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยน
แปลงที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 48,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตร ธปท. อายุ 8 และ 13 วัน วงเงินรวม
45,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารทั้งสองประเภทปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน
ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 61,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 12,500 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 153,915 ล้านบาท หรือคิดเป็น 51,305 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 6 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 90 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นและระยะยาวยังคงปรับตัวสูงขึ้น เนื่อง
จากกระทรวงการคลังได้อนุมัติแผนก่อหนี้เพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 1.46 ล้านบาท ทำให้นักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุนในช่วงนี้ เพื่อเตรียมที่จะ
ลงทุนในพันธบัตรระยะยาวที่จะออกในไตรมาสแรกประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาท แต่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะปานกลางปรับตัวลดลง จากความ
ต้องการซื้อที่มีเข้ามามากขึ้น โดยอัตราผลตอบแทน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี และอายุ 12 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น
1-4 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุระหว่าง 2-10 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 6-10 basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้
เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 10และ 18 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลง โดยมีปัจจัยจากตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนที่ลดต่ำลง และความเห็นของ
Fed เกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ รวมทั้งราคาน้ำมันที่ลดลง ซึ่งจะลดแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ ถึงแม้ว่าในปลายสัปดาห์ตัวเลขการจ้าง
งานภาคเกษตรที่ออกมาสูงกว่าที่คาด จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับสูงขึ้น แต่ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ยังคงปรับตัวลด
ลง 2-7 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ธ.ค. 49 35.78
เฉลี่ย 25 - 29 ธ.ค. 49 36.25
3 ม.ค. 50 36.05
4 ม.ค. 50 35.93
5 ม.ค. 50 35.92
เฉลี่ย 3 - 5 ม.ค. 50 35.96
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.96 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.7 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ท่ามกลางปริมาณ
ซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจในความมั่นคงของประเทศ หลังจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดหลายจุดในกรุงเทพฯ ในวันสิ้นปี โดยค่า
เงินบาทในวันทำการแรกของสัปดาห์หลังจากช่วงวันหยุดในเทศกาลปีใหม่ค่อนข้างทรงตัวจากปลายสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวัน
ทำการที่เหลือของสัปดาห์ ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปตามเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับแข็งค่าขึ้นหลังจากมีการคาดการณ์ว่า
ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ม.ค. แต่เงินบาทในตลาดต่างประเทศปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์
เนื่องจากนักลงทุนขาดความมั่นใจในทิศทางเศรษฐกิจไทย ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก จาก
ความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรของนักลงทุน ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนในช่วงปลายสัปดาห์เพื่อรอตัวเลขการจ้างงาน
นอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ประจำเดือน ธ.ค. โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ประกาศในคืนวันที่ 5 ม.ค. 50 ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์
ของตลาดค่อนข้างมาก ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์หน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ระบบ แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินระยะสั้นทุกประเภทยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวสูงขึ้น ดัชนีราคาปรับตัวขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield )
ของพันธบัตรระยะสั้นและยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะปานกลางปรับตัวลดลง
- เงินบาทในสัปดาห์แรกของปียังคงแข็งค่าขึ้นตามทิศทางค่าเงินในกูมิภาคและเงินเยน แม้ว่าจะมีเหตุการณ์การวางระเบิดในกทม. ในวัน
สิ้นปี แต่เงินบาทในตลาด offshore ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุล
หลักจากความต้องการขายดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรของนักลงทุน
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นหลังจากช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่ทรงตัวในระดับสูงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากปริมาณเงินที่ไหลออกไป
ในช่วงวันหยุดทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ธนาคารพาณิชย์จึงนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ
ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้เผื่อการปิดสำรองรายปักษ์ในวันศุกร์มาลงทุน หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ
1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.9375 5 และ 5 ต่อปี
ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างร้อยละ 4.6 - 5.05 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยน
แปลงที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 48,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตร ธปท. อายุ 8 และ 13 วัน วงเงินรวม
45,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารทั้งสองประเภทปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน
ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 61,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 12,500 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 153,915 ล้านบาท หรือคิดเป็น 51,305 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 6 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 90 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นและระยะยาวยังคงปรับตัวสูงขึ้น เนื่อง
จากกระทรวงการคลังได้อนุมัติแผนก่อหนี้เพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 1.46 ล้านบาท ทำให้นักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุนในช่วงนี้ เพื่อเตรียมที่จะ
ลงทุนในพันธบัตรระยะยาวที่จะออกในไตรมาสแรกประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาท แต่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะปานกลางปรับตัวลดลง จากความ
ต้องการซื้อที่มีเข้ามามากขึ้น โดยอัตราผลตอบแทน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี และอายุ 12 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น
1-4 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุระหว่าง 2-10 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 6-10 basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้
เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 10และ 18 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลง โดยมีปัจจัยจากตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนที่ลดต่ำลง และความเห็นของ
Fed เกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ รวมทั้งราคาน้ำมันที่ลดลง ซึ่งจะลดแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ ถึงแม้ว่าในปลายสัปดาห์ตัวเลขการจ้าง
งานภาคเกษตรที่ออกมาสูงกว่าที่คาด จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับสูงขึ้น แต่ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ยังคงปรับตัวลด
ลง 2-7 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยปี 2549 37.89
เฉลี่ยเดือน ธ.ค. 49 35.78
เฉลี่ย 25 - 29 ธ.ค. 49 36.25
3 ม.ค. 50 36.05
4 ม.ค. 50 35.93
5 ม.ค. 50 35.92
เฉลี่ย 3 - 5 ม.ค. 50 35.96
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.96 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.7 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ท่ามกลางปริมาณ
ซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจในความมั่นคงของประเทศ หลังจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดหลายจุดในกรุงเทพฯ ในวันสิ้นปี โดยค่า
เงินบาทในวันทำการแรกของสัปดาห์หลังจากช่วงวันหยุดในเทศกาลปีใหม่ค่อนข้างทรงตัวจากปลายสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวัน
ทำการที่เหลือของสัปดาห์ ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปตามเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับแข็งค่าขึ้นหลังจากมีการคาดการณ์ว่า
ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ม.ค. แต่เงินบาทในตลาดต่างประเทศปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์
เนื่องจากนักลงทุนขาดความมั่นใจในทิศทางเศรษฐกิจไทย ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก จาก
ความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรของนักลงทุน ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนในช่วงปลายสัปดาห์เพื่อรอตัวเลขการจ้างงาน
นอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ประจำเดือน ธ.ค. โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ประกาศในคืนวันที่ 5 ม.ค. 50 ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์
ของตลาดค่อนข้างมาก ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์หน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-