รายงานฉบับนี้เป็นสรุปผลการศึกษาของ JETRO เพื่อรายงานสถานการณ์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศปี 2549 โดยเฉพาะ
ในส่วนของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
1. แนวโน้มเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนของโลก และญี่ปุ่น
1.1 เศรษฐกิจโลก
* ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2547 เติบโตร้อยละ 5.3 ชะลอตัวลงที่ร้อยละ 4.8 ในปี 2548 และคาดการว่าจะอยู่ในระดับร้อย
ละ 4.9 ในปี 2549 หรือขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5 ในช่วงระยะเวลา 3 ปี โดยเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาเติบโตร้อยละ 7.2 ซึ่งเป็นครั้งแรก
ในระยะเวลา 30 ปีที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องสูงกว่าร้อยละ 7 ทั้งนี้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกขยายตัวร้อยละ 8.3 หรือร้อยละ
37.4 ของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และคาดว่าจะยังคงขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 ในปี 2549 แม้ว่าน้ำมันดิบในตลาดโลกมีราคาสูงมาก แต่
การพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำมันในประเทศพัฒนาแล้วสามารถช่วยลดภาวะเงินเฟ้อจากผลกระทบของราคาน้ำมัน สำหรับประเทศกำลัง
พัฒนาที่นำเข้าน้ำมัน พบว่าปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสามารถชดเชยกับต้นทุนการนำเข้าน้ำมัน ซึ่งช่วยป้องกันการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทั้งนี้
การลดการอุดหนุนต้นทุนด้านพลังงานสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะปานกลาง แต่จะก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้ในระยะสั้น โดยเฉพาะใน
ประเทศไทยและอินโดนีเซีย
* JETRO ประมาณการว่า ในปี 2549 การค้าโลกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 หรือ 10,338 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยประเทศกำลัง
พัฒนามีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 42.7 และนำเข้าร้อยละ 38.9 อีกทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.7 ทั้งนี้ร้อยละ 30.9 มาจากประเทศในตะวันออกกลาง สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4
หรือ 2,136.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 20.7 ของการส่งออกของโลก ในขณะที่กลุ่มประเทศ BRICs ซึ่งประกอบด้วยบราซิล รัส
เซีย อินเดีย และจีน มีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.9 ในสินค้าประเภทเครื่องจักรกล สิ่งทอ สินค้าอุตสาหกรรม พลังงาน และสินค้าขั้นต้นอื่นๆ
(Primary-Sector items) โดยการส่งออกของจีนมีการขยายตัวร้อยละ 28.4 หรือ 762 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
17.6 หรือ 660.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
*******************************************************************************************************
หมายเหตุ สรุปจาก 2006 JETRO White Paper on International Trade and Foreign Direct Investment โดย สำนักพัฒนา
ขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ. มกราคม 2550
*******************************************************************************************************
ตาราง World trade indices
Unit 2544 2545 2546 2547 2548
World Merchandise Trade (Based on Exports) US$ billion 6,132 6,429 7,465 9,067 10,339
Nominal Growth Rate % -3.9 4.8 16.1 21.5 13.2
Real Growth Rate % 0.0 4.0 6.0 12.6 13.2
Export Price Growth Rate % -3.8 0.8 10.2 8.8 5.6
World Trade in Service US$ billion 1,495 1,601 1,834 2,180 2,415
Nominal Growth Rate % 0.2 7.2 14.5 18.8 10.8
World Real GDP Growth Rate % 2.6 3.1 4.1 5.3 4.8
Growth in mining and manufacturing industrial
production index (Industrialized economies) % -3.0 -0.5 1.1 3.4 1.9
Crude Price (Average) US$/Barrel 24.3 25.0 28.9 37.8 53.4
Oil Demand Million 77.4 77.8 79.4 82.5 83.6
Barrel/Day
Change in nominal effective exchange rate of U.S. Dollar % 5.9 -1.6 -12.3 -8.2 -1.5
Source: IMF, IFS and WEO; WTO; IEA; and national trade statistic
* ภาวะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 หรือ 964 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยการลงทุนในจีน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.7 หรือ 79.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และการลงทุนในเอเซียตะวันออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 หรือ 152.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิด
เป็นสัดส่วนร้อยละ 15.8 ของการลงทุนของโลก ส่วนการลงทุนนอกประเทศชะลอตัวลงร้อยละ 8.2 หรือ 759.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้เป็นผล
จากการชะลอการลงทุนนอกประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งบริษัทสาขาในต่างประเทศต่างส่งเงินกลับบริษัทแม่เพื่อเป็นการลดภาษี ทำให้ปริมาณการนำ
กำไรไปลงทุนใหม่ (Reinvestment) ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจาก 157.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2547 เหลือเพียง 11.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในปี 2548 ในขณะที่การควบรวมกิจการ (M&A) ขยายตัวร้อยละ 84.9 หรือ 819.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเฉพาะในยุโรป
ตาราง FDI of major economies (net flows based on balance of payment)
(หน่วย : US$ million, %)
Inward FDI Outward FDI
2547 2548 Growth Contribution Share 2547 2548 Growth rate Contribution Share
U.S.A. 133,162 109,754 -17.6 -3.0 11.4 244,128 9,072 -96.3 -28.4 1.2
Canada 1,533 33,822 2105.7 4.1 3.5 43,254 34,083 -21.2 -1.1 4.5
EU 25 308,897 493,175 59.7 23.5 51.1 379,300 575,297 51.7 23.7 75.7
EU 15 280,469 458,487 63.5 22.7 47.5 374,719 569,430 52.0 23.5 75.0
Luxembourg 77,215 70,638 -8.5 -0.8 7.3 81,664 80,703 -1.2 -0.1 10.6
France 54,095 76,104 40.7 2.8 7.9 18,297 50,185 174.3 3.9 6.6
Germany -15,114 32,662 n.a. 6.1 3.4 1,883 45,633 2323.6 5.3 6.0
Italy 16,815 19,921 18.5 0.4 2.1 19,262 41,754 116.8 2.7 5.5
Netherlands 442 44,277 9916.6 5.6 4.6 17,282 120,830 599.2 12.5 15.9
Spain 24,761 22,987 -7.2 -0.2 2.4 60,532 38,772 -35.9 -2.6 5.1
Sweden 12,609 13,389 6.2 0.1 1.4 20,985 25,938 23.6 0.6 3.4
UK 77,659 159,501 105.4 10.5 16.5 98,559 102,799 4.3 0.5 13.5
10 new EU members 28,429 34,687 22.0 0.8 3.6 4,581 5,867 28.1 0.2 0.8
Czech 4,974 10,991 121.0 0.8 1.1 1,014 856 -15.6 0.0 0.1
Hungary 4,661 6,485 39.1 0.2 0.7 1,111 1,282 15.5 0.0 0.2
Poland 12,873 8,241 -36.0 -0.6 0.9 794 1,525 92.1 0.1 0.2
Australia 42,022 -36,903 n.a. -10.1 n.a. 17,483 -39,889 n.a. -6.9 n.a.
Japan 7,809 3,223 -58.7 -0.6 0.3 30,968 45,461 46.8 1.8 6.0
East Asia 122,685 152,452 24.3 3.8 15.8 70,611 63,165 -10.5 -0.9 8.3
China 54,936 79,127 44.0 3.1 8.2 1,805 11,306 526.4 1.1 1.5
Asian NIEs 60,000 61,952 3.3 0.2 6.4 66,041 48,442 -26.6 -2.1 6.4
Rep. of Korea 9,246 4,339 -53.1 -0.6 0.4 4,658 4,312 -7.4 0.0 0.6
Taiwan 1,898 1,625 -14.4 0.0 0.2 7,145 6,028 -15.6 -0.1 0.8
Hong Kong 34,036 35,905 5.5 0.2 3.7 45,726 32,582 -28.7 -1.6 4.3
Singapore 14,820 20,083 35.5 0.7 2.1 8,512 5,519 -35.2 -0.4 0.7
ASEAN4 7,749 11,374 46.8 0.5 1.2 2,765 3,417 23.6 0.1 0.4
Thailand 1,414 4,008 183.4 0.3 0.4 125 284 126.9 0.0 0.0
Malaysia 4,624 3,976 -14.0 -0.1 0.4 2,061 2,971 44.2 0.1 0.4
Indonesia 1,023 2,258 120.8 0.2 0.2 n.a. n.a. n.a. n.a. n.a.
Philippines 688 1,132 64.5 0.1 0.1 579 162 -72.0 -0.1 0.0
India 5,474 6,598 20.5 0.1 0.7 2,024 1,364 -32.6 -0.1 0.2
Latin America (20 60,658 67,093 10.6 0.8 7.0 16,192 18,068 11.6 0.2 2.4
Mexico 18,674 18,055 -3.3 -0.1 1.9 4,432 6,171 39.2 0.2 0.8
Brazil 18,146 15,066 -17.0 -0.4 1.6 9,807 2,517 -74.3 -0.9 0.3
Argentina 4,274 4,730 10.7 0.1 0.5 442 1,151 160.5 0.1 0.2
Colombia 3,117 10,378 232.9 0.9 1.1 142 4,623 3145.6 0.5 0.6
Venezuela 1,144 2,957 158.5 0.2 0.3 -158 1,460 n.a. 0.2 0.2
Russia 15,444 14,183 -8.2 -0.2 1.5 13,782 12,393 -10.1 -0.2 1.6
Turkey 2,837 9,686 241.4 0.9 1.0 859 1,048 22.0 0.0 0.1
Israel 1,757 5,585 217.9 0.5 0.6 4,544 2,491 -45.2 -0.2 0.3
South Africa 798 6,382 699.8 0.7 0.7 1,350 68 -95.0 -0.2 0.0
World 782,839 964,744 23.2 23.2 100.0 827,368 759,643 -8.2 -8.2 100.0
Notes: 1. JETRO estimates for the world.
2. The ten new EU members are Czech, Hungary, Poland, Slovakia, Slovenia, Estonia, Latvia, Lithuania, Cyprus,
and Malta.
3. The twenty Central and South American nations are Argentina, Bolivia, Brazil, Chile, Colombia, Costa Rica,
Dominica, Ecuador, El Salvador, Honduras, Jamaica, Mexico, Nicaragua, Panama, Paraguay, Peru, Trinidad,
Tobago, Uruguay, and Venezuela.
Sources: IMF; OECD; UN ECLAC; and national and regional balance of payment statistics.
1.2 เศรษฐกิจญี่ปุ่น
* ปี 2548 มูลค่าการส่งออกโดยรวมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 หรือ 598.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การนำเข้าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.1 หรือ 518.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ปริมาณการ ส่งออกขยายตัวร้อยละ 0.8 และการนำเข้าร้อยละ 2.9 ซึ่งลดลงอย่างเห็นได้
ชัดจากร้อยละ 10.6 และ ร้อยละ 7 ในปี 2547 โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน และเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และ
สิงคโปร์ มีปริมาณลดลง เนื่องจากผู้ส่งออกรายอื่นต่างพยายามลดปริมาณสินค้าคงคลังและกระจายสินค้าออกสู่ตลาดโลก แต่ปริมาณการส่งออกรถยนต์ไป
ยังสหรัฐอเมริกายังอยู่ในเกณฑ์ดี มูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาขยายตัวร้อยละ 6.4 หรือ 134.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ มูลค่าการนำ
เข้าขยายตัวร้อยละ 3.3 หรือ 64.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ เอเซียตะวันออกขยายตัวร้อยละ 5.5 หรือ 279.4 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 11.9 หรือ 219.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และการส่งออกไปยังจีนขยายตัวร้อยละ 8.8 หรือ 80.3
พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้าขยายตัวถึงร้อยละ 15.8 หรือ 109.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตารางแสดงแนวโน้มการค้าในประเทศญี่ปุ่น
(หน่วย : US$ million, %)
2548 2549
2547 2548 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
Exports 565,039 598,215 144,301 147,373 150,649 155,892 151,243
YoY change (%) 20.3 5.9 7.0 6.5 6.3 3.9 4.8
Imports 454,669 518,638 121,480 127,887 133,325 135,946 137,887
YoY change (%) 19.2 14.1 13.7 16.6 15.8 10.5 13.5
Trade balance 110,370 79,577 22,821 19,486 17,324 19,947 13,356
YoY change (%) 22,035 -30,792 -5,164 -9,256 -9,302 -7,070 -9,465
Export volume index 113.4 114.4 107.1 112.6 116.0 121.4 119.2
YoY change (%) 10.6 0.8 -2.0 -1.0 0.9 5.1 11.2
Import volume index 114.6 117.9 114.8 116.6 119.1 120.8 121.0
YoY change (%) 7.0 2.9 3.1 3.6 4.1 0.7 5.4
Crude oil import price (US$/barrel) 36.4 51.1 40.7 49.7 56.1 57.3 59.5
YoY change (%) 24.5 40.5 29.6 42.6 45.9 41.3 46.1
Ratio of oil imports 12.3 15.4 13.0 14.2 17.1 17.1 17.5
Ratio of manufactured imports 61.3 58.6 60.8 58.9 57.5 57.2 56.5
Exchange rate (/$ avg.) 108.2 110.2 104.5 107.6 111.2 117.3 116.9
YoY change (%) 7.2 -1.8 2.6 1.9 -1.2 -9.7 -10.6
Real GDP growth rate 2.3 2.6 1.3 1.3 0.3 1.1 0.8
Notes: 1. The base year for volume indices is 2000.
2. Exchange rates are the interbank central rate averages for the period.
3. Quarterly growth rates are YoY comparisons.
4. Real GDP growth rates per quarter are seasonally adjusted YoY comparisons
Sources: Ministry of Finance, Trade Statistics; Cabinet Office, The System of National Accounts ;
and Bank of Japan, Economic Statistics Monthly
* การลงทุนภายนอกประเทศของญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 46.8 หรือ 45.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการลงทุนในการตั้งฐานการ
ผลิตถึง 26.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ยอดขายของรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วน
การขยายตัวของการลงทุนในเอเซียตะวันออกเป็นผลจากความต้องการขยายตลาด สำหรับการลงทุนในภาคการเงินและประกันภัยในสหรัฐอเมริกาขยาย
ตัวร้อยละ 53.4 หรือ 16.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และร้อยละ 61.1 หรือ 12.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
* การกระจายตัวของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอยู่ในภาคการขนส่ง การเงิน และการค้าปลีก ทั้งนี้การลงทุนโดยตรงจากต่าง
ประเทศลดลงถึงร้อยละ 7.1 หรือ 30.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณเงินทุนไหลออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 หรือ 26.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่ง
ผลให้มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายทุนของต่างชาติอันเป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างของ
บริษัทญี่ปุ่น เช่น การขายหุ้นของกลุ่ม Lone Star ใน Tokyo Star Bank และการย้ายฐานการผลิตของบริษัทต่างชาติ เช่น การถอนการลงทุนของ
บริษัทคาร์ฟูร์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของฝรั่งเศส เป็นต้น
1.3 การปลอมแปลงสินค้า (Counterfeiting)
* ศุลกากรของญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป ต่างรายงานถึงการขยายตัวของปริมาณสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ โดยการตรวจพบสินค้า
ละเมิดลิขสิทธิ์ในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 47.3 หรือ 13,500 กรณี ซึ่งเป็นแนวโน้มเดียวกันกับในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ทั้งนี้ OECD ประมาณการว่า
การค้าสินค้าปลอมแปลง และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์มีสัดส่วนร้อยละ 5 - 7 ของการค้าโลก หรือประมาณ 600 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2548 โดยจีน
เป็นแหล่งผลิตสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ที่สำคัญ
* ญี่ปุ่นได้ดำเนินมาตรการการควบคุมสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่องทั้งสินค้านำเข้าและส่งออก และกลุ่มประเทศยุโรป 25
ประเทศ ได้มีการกำหนดกฎระเบียบและบทลงโทษที่ใช้ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ขณะเดียวกันจีนได้ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับข้อ
ตกลง TRIPs (Trade Related Intellectual Properties) หากแต่การบังคับใช้กฎหมายยังไม่ชัดเจนเพียงพอ อย่างไรก็ดี ได้มีความพยายาม
ที่จะจัดการกับปัญหานี้ โดยจัดตั้ง International Intellectual Property Protection Forum (IIPPF) และได้จัดตั้ง Intellectual
Property Research Group (IPGs) ในปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว เพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านการดำเนินมาตรการการต่อต้านสินค้าละเมิด
ลิขสิทธิ์ และการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ แก่รัฐบาลจีน
1.4 กรอบการค้าพหุภาคี และทวิภาคี (WTO และ Free Trade Agreements)
* การประชุมกลุ่มประเทศสมาชิก WTO รอบ Doha Round ในปี 2544 พบว่า มีประเด็นสำคัญที่ยังไม่สามารถนำไปสู่ข้อสรุปได้
ได้แก่ การเจรจาต่อรองการเข้าสู่ตลาดสินค้าเกษตรกับกลุ่มประเทศ EU และ G10 การอุดหนุนสินค้าเกษตรภายในประเทศของสหรัฐอเมริกา และ
การต่อต้านการเข้าสู่ตลาดสินค้านอกภาคการเกษตร (Non-Agriculture) ของประเทศกำลังพัฒนา
* นับตั้งแต่เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2544 จีนได้ดำเนินการลดภาษีศุลกากรจากร้อยละ 13.6 เหลือร้อย
ละ 9.9 ในปี 2549 รวมทั้งตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิทางการค้า การลงทุน และบริการ อย่างไรก็ดี ยังพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้
กฎหมายดังกล่าว ได้แก่ ความโปร่งใส ความไม่สอดคล้องกันของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น และการตีความกฎหมายเพื่อประยุกต์ใช้
* ปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้ดำเนินการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกันแล้วถึง 148 ข้อตกลง (ณ 15 มิถุนายน
2549) ทั้งนี้ ญี่ปุ่นได้ทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (EPA) กับสิงคโปร์ แมกซิโก และมาเลเซีย นอกจากนี้ยังเตรียมขยายไปสูประเทศชิลี อินเดีย
ออสเตรเลีย และสวิสเซอร์แลนด์ โดยวัตถุประสงค์หลักคือ การขยายโอกาสทางธุรกิจและการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ โดยประเทศที่ญี่ปุ่นได้ทำความตกลง
แล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการเจรจาตกลง มีสัดส่วนการค้าระหว่างกันถึงร้อยละ 32 ของการค้าทั้งหมด ทั้งนี้กรอบความร่วมมือในภูมิภาคเอเซีย
ตะวันออกคาดว่าจะเกิดขึ้นในรูปแบบของความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (EPA) เช่น ASEAN plus 3
2. โอกาสใหม่ที่ท้าทายทางเศรษฐกิจ
2.1 ในช่วงปี 2533-2543 อำนาจซื้อตกอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่หลังจากปี 2543 เป็นต้นมา การขยายตัวของอุปสงค์การ
บริโภคอยู่ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น บราซิล อินเดีย รัสเซีย และเอเซียตะวันออก ตัวอย่างของการเพิ่มขึ้นของยอดขายรถยนต์ขับเคลื่อนสี่
ล้อในตลาดโลก จำนวน 7 ล้านคัน ในช่วงปี 2542-2547 ซึ่งเป็นยอดจำหน่ายในจีนสูงถึงร้อยละ 50 และอินเดียร้อยละ 7
2.2 ประเทศอินเดียมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ระดับรายได้ของประชากรเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดย
อำนาจซื้ออยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ การลดกฎระเบียบต่างๆ ทำให้โอกาสทางธุรกิจในอินเดียมีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี สิ่งอำนวย
ความสะดวกทางการตลาด และการกระจายสินค้าที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา รวมทั้งความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่นับเป็นประเด็น
ท้าทายสำหรับตลาดอินเดีย
2.3 การลงทุนของเกาหลีใต้ในจีนมีการขยายตัวสูง รวมทั้งการลงทุนในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ด้วย โดยมีลักษณะเด่นคือ การเสี่ยง
ลงทุนในระยะแรก เพื่อจัดตั้งและดำเนินธุรกิจในระยะสั้นและมีการบริหารจัดการในลักษณะ Top-Down บริษัทเกาหลีประสบความสำเร็จทั้งในตลาด
คุณภาพ และปริมาณ โดยปรับปรุงคุณลักษณะของสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
2.4 การลงทุนของธุรกิจจีนเคลื่อนย้ายสู่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะอินเดีย รัสเซีย และกลุ่มประเทศอาเซียน ในธุรกิจด้าน
เครื่องใช้ในบ้าน รถจักรยานยนต์ โทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และจักรยาน เนื่องจากตลาดภายในประเทศอยู่ในภาวะอิ่มตัวและมีการแข่งขันสูง ทั้งนี้ ผู้
ประกอบการจีนจะใช้กลยุทธ์การแข่งขันทางด้านราคาและมุ่งเจาะตลาดประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจาก ตราสินค้า (Brand) ยังไม่เป็นที่ยอมรับและรู้จัก
ในระดับสากล
2.5 การดำเนินธุรกิจของบริษัทตุรกีในรัสเซียประสบความสำเร็จ เนื่องจากการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ อันเป็นผลมาจากความได้
เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งในการเข้าสู่ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน และคุณภาพของสินค้า นอกจากนี้ยังมุ่งที่จะแข่งขันกับสินค้าจากจีนโดยการลงทุนตั้งฐาน
การผลิตในรัสเซีย ปัจจุบันตุรกีมีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจเบียร์ในรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS มากเป็นอันดับ 4 นอกจากนี้ยังขยายการลงทุนไปสู่
อุตสาหกรรมแก้ว/กระจก ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจค้าปลีก
2.6 การลงทุนของบราซิลในละตินอเมริกามุ่งเน้นที่การลงทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ อุตสาหกรรมแปรรูป ในขณะที่ให้ความสำคัญกับการ
สร้างความเข้มแข็งในตลาดอเมริกา บราซิลยังมุ่งเปิดใหม่ในอาเซียนด้วย ทั้งนี้ การลงทุนโดยมากเป็นการร่วมทุนกับบริษัทในประเทศเป้าหมายเนื่อง
จากบริษัทของบราซิลยังขาดชื่อเสียงและการยอมรับในระดับนานาชาติ
2.7 บริษัทญี่ปุ่นมีความรอบคอบในการดำเนินธุรกิจในตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งเป็นผู้นำในธุรกิจโดยมีการดำเนิน
กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด เช่น การผลิตสินค้าต้นทุนต่ำบนพื้นฐานของการวิจัยตลาด การผลิตสินค้าขนาดเล็กเพื่อความสะดวกของผู้
บริโภคในบราซิล การขายสินค้าในลักษณะ Door-to-Door ของ Yakult เป็นต้น
3. ความสัมพันธ์ของธุรกิจญี่ปุ่นกับเอเซียตะวันออก
3.1 เขตการค้าเสรีอาเซียน
* การเจรจาเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเริ่มในปลายปี 2548 โดยคาดว่าจะสำเร็จในปี 2558 ทั้งนี้ 9 ประเทศในเศรษฐกิจเอ
เซียตะวันออก ประกอบด้วย อาเซียน5 จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวัน มีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวมกันร้อยละ 9.8 ของ
โลก หรือร้อยละ 22.3 ในด้านอำนาจซื้อ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออก (9 ประเทศข้างต้น รวมอินเดีย และญี่ปุ่น)
โดยมีสัดส่วน GDP ถึงร้อยละ 47 ในขณะที่จีนมีสัดส่วนร้อยละ 23.3 และอินเดียร้อยละ 7.9 สำหรับอุปสงค์ในภูมิภาคนี้ประกอบด้วย การบริโภคภาค
ครัวเรือนร้อยละ 52.9 และการลงทุนร้อยละ 28.2 ญี่ปุ่นมีสัดส่วนการบริโภคภาคครัวเรือนถึงร้อยละ 50 และการลงทุนประมาณร้อยละ 40 นอกจาก
(ยังมีต่อ)