- อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินระยะสั้นไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากความต้องการกู้ยืม/ลงทุนของธนาคารพาณิชย์ โดยอัตรดอกเบี้ย R/P 7 วัน เคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 3.21875 - 3.25 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลเกือบไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
- เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ โดยมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อยตามค่าเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีปัจจัยบวกจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate และแถลงการณ์ของ FOMC ที่สนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป ตลอดจนเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สหรัฐฯ ในเดือน ก.ค. ที่ปรับสูงขึ้น แม้ว่าจะยังมีปัจจัยลบจากพายุเฮอร์ริเคนลูกใหม่ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เพิ่มเติม
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การสำรองเงินเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพฤหัสบดีของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์จึงลดการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นลง อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการปิดสำรองสภาพคล่องมาลงทุนระยะสั้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.1875 3.21875 และ 3.25 ต่อปี ตามลำดับ สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ และธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.21875 - 3.25 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิม นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ในวันอังคารถึงวันศุกร์ ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.28125 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3 - 3.3 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 3.18 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 32,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 7 และ 14 ปี วงเงินรวม 5,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท ตราสารเกือบทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี ที่ไม่ได้เปิดประมูลในสัปดาห์ก่อน ขณะที่ตราสารระยะสั้นอายุไม่เกิน 3 เดือน มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีพันธบัตรครบกำหนด 22,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 10,500 ล้านบาท การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 59,048 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 11,810 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.2 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 74 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ส่วนใหญ่ในสัปดาห์นี้ปรับลดลง 1-10 basis points ยกเว้นพันธบัตรอายุ 2 ปีที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 9 basis points เนื่องจากมีการเปิดประมูลและนำพันธบัตร ธปท. มาซื้อขายในตลาดรองหลังจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดัชนีราคา(Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่หุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 5 basis points US Treasury Yield เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยปรับตัวสูงขึ้นในวันที่ FED ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และปรับลดลงเล็กน้อย ก่อนที่จะปรับสูงขึ้นอีกในวันศุกร์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield อายุน้อยกว่า 3 เดือน และมากกว่า 10 ปี ปรับตัวลดลง ในขณะที่ US Treasury Yield ช่วงอายุ 6 เดือนถึง 10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค. 48 41.15
เฉลี่ย 12 - 16 ก.ย. 48 40.89
19 ก.ย. 48 41.02
20 ก.ย. 48 41.04
21 ก.ย. 48 41.04
22 ก.ย. 48 41.00
23 ก.ย. 48 41.02
เฉลี่ย 19 - 23 ก.ย. 48 41.02
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 41.00 - 41.04 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.02 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน เนื่องจากแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมาก หลังจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันอังคารที่ 20 ก.ย. ซึ่ง FOMC ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี ตามการ
คาดการณ์ของตลาด และยังคงส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป โดยมองว่าผลกระทบจากพายุแคทรินาเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ สรอ. ยังมีปัจจัยบวกจากตัวเลขเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกรกฎาคม ที่ปรับสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดและสูงกว่าการขาดดุลการค้าในเดือนเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การประกาศตัวเลขดุลการค้าในเดือนสิงหาคมที่กลับมาเกินดุล 9.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ช่วยพยุงค่าเงินบาทไม่ให้อ่อนค่าลงมากนัก สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรหลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ประกอบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการเกิดพายุเฮอร์ริเคนลูกใหม่ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงอีก ครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ แม้จะมีข่าวการประกาศเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนเมื่อเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักอื่นๆ นอกจากเงินดอลลาร์ สรอ. ของทางการจีน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลเกือบไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
- เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ โดยมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อยตามค่าเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีปัจจัยบวกจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate และแถลงการณ์ของ FOMC ที่สนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป ตลอดจนเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สหรัฐฯ ในเดือน ก.ค. ที่ปรับสูงขึ้น แม้ว่าจะยังมีปัจจัยลบจากพายุเฮอร์ริเคนลูกใหม่ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เพิ่มเติม
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การสำรองเงินเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพฤหัสบดีของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์จึงลดการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นลง อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการปิดสำรองสภาพคล่องมาลงทุนระยะสั้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.1875 3.21875 และ 3.25 ต่อปี ตามลำดับ สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ และธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.21875 - 3.25 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิม นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ในวันอังคารถึงวันศุกร์ ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.28125 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3 - 3.3 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 3.18 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 32,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 7 และ 14 ปี วงเงินรวม 5,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท ตราสารเกือบทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี ที่ไม่ได้เปิดประมูลในสัปดาห์ก่อน ขณะที่ตราสารระยะสั้นอายุไม่เกิน 3 เดือน มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีพันธบัตรครบกำหนด 22,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 10,500 ล้านบาท การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 59,048 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 11,810 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.2 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 74 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ส่วนใหญ่ในสัปดาห์นี้ปรับลดลง 1-10 basis points ยกเว้นพันธบัตรอายุ 2 ปีที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 9 basis points เนื่องจากมีการเปิดประมูลและนำพันธบัตร ธปท. มาซื้อขายในตลาดรองหลังจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดัชนีราคา(Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่หุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 5 basis points US Treasury Yield เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยปรับตัวสูงขึ้นในวันที่ FED ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และปรับลดลงเล็กน้อย ก่อนที่จะปรับสูงขึ้นอีกในวันศุกร์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield อายุน้อยกว่า 3 เดือน และมากกว่า 10 ปี ปรับตัวลดลง ในขณะที่ US Treasury Yield ช่วงอายุ 6 เดือนถึง 10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค. 48 41.15
เฉลี่ย 12 - 16 ก.ย. 48 40.89
19 ก.ย. 48 41.02
20 ก.ย. 48 41.04
21 ก.ย. 48 41.04
22 ก.ย. 48 41.00
23 ก.ย. 48 41.02
เฉลี่ย 19 - 23 ก.ย. 48 41.02
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 41.00 - 41.04 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.02 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน เนื่องจากแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมาก หลังจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันอังคารที่ 20 ก.ย. ซึ่ง FOMC ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี ตามการ
คาดการณ์ของตลาด และยังคงส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป โดยมองว่าผลกระทบจากพายุแคทรินาเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ สรอ. ยังมีปัจจัยบวกจากตัวเลขเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกรกฎาคม ที่ปรับสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดและสูงกว่าการขาดดุลการค้าในเดือนเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การประกาศตัวเลขดุลการค้าในเดือนสิงหาคมที่กลับมาเกินดุล 9.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ช่วยพยุงค่าเงินบาทไม่ให้อ่อนค่าลงมากนัก สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรหลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ประกอบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการเกิดพายุเฮอร์ริเคนลูกใหม่ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงอีก ครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ แม้จะมีข่าวการประกาศเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนเมื่อเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักอื่นๆ นอกจากเงินดอลลาร์ สรอ. ของทางการจีน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-