- เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การส่งออก การท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี และการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งรายได้ของเกษตรกรที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับอัตราการว่างงานอยู่ในอัตราที่ต่ำ
- หากปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยขยายตัวจากไตรมาสที่ 4 ปี 2553 ร้อยละ2.0 (%QoQ SA) เป็นการขยายตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน
- การประมาณการแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ3.5 — 4.5 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 17.0 การบริโภคและการลงทุนเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.7 และ 8.5 ตามลำดับ ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ3.0 — 3.8 อัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 3.1ของ GDP
- ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2554 ได้แก่ (1) สร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงของรายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศและสร้างเศรษฐกิจในประเทศให้มีความเข้มแข็ง โดยเน้นมาตรการเสริมทางด้านการเพิ่มผลิตภาพการผลิตอาหาร การแปรรูปสินค้าเกษตร การตลาดเชิงรุกสำหรับภาคเกษตร และการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพและผลิตภาพของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ (2) การดูแลราคาสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นให้เป็นธรรมทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต โดยให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลข่าวสารราคาสินค้ากับผู้บริโภค และเสริมด้วยมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการประหยัดหรือปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น (3) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการเร่งรัดโครงการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ การพัฒนาพลังงานทดแทน การปรับโครงสร้างภาษีเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การผลิตและพัฒนาคุณภาพกำลังคนเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและ (4) การเร่งรัดแผนการเชื่อมโยงเศรษฐกิจทั้งด้านคมนาคมขนส่งและด้านการอำนวยความสะดวกสินค้าข้ามพรมแดนในระบบบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวของอาเซียน(ASEAN Single Window) และเตรียมความพร้อมของภาครัฐ ภาคเอกชน และประเทศในการใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงดังกล่าว
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2554 ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
(% YOY) 2553 2554 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 ประมาณการปี 2554 GDP (ณ ราคาคงที่) 6.6 3.8 7.8 3.0 3.5-4.5 การลงทุนรวม(ณ ราคาคงที่) 7.9 6.4 9.4 9.3 7.3 ภาคเอกชน 14.6 9.2 13.8 12.6 8.5 ภาครัฐ -5.4 -3.1 -2.2 -1.4 3.5 การบริโภครวม(ณ ราคาคงที่) 4.8 3.8 5.1 2.9 3.6 ภาคเอกชน 5.0 3.9 4.8 3.4 3.7 ภาครัฐบาล 3.7 3.2 6.4 0.6 3.2 มูลค่าการส่งออกสินค้า (US$) 22.2 21.1 28.5 27.4 17.0 ปริมาณ 13.1 12.2 17.3 18.6 9.8 มูลค่าการนำเข้าสินค้า(US$) 30.7 18.8 36.8 25.6 20.5 ปริมาณ 24.9 12.0 26.5 18.5 12.0 ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อGDP (%) 2.5 6.4 4.6 7.6 3.1 เงินเฟ้อ 3.3 2.8 3.3 3.0 3.0-3.8 อัตราการว่างงาน 0.9 0.8 1.0 0.8 0.8 ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกและแนวโน้มปี 2554
เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ต่างประเทศ ส่งผลให้ภาคการส่งออกขยายตัวได้ดี ประกอบกับความมั่นใจของนักลงทุน และผู้บริโภคภายในประเทศ ทำให้การลงทุน และการบริโภคของภาคเอกชนยังคงขยายตัว และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว ขยายตัวร้อยละ2.0 (%QoQ SA) เมื่อเทียบกับไตรมาสสี่ของปี 2553
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก ปี 2554
(1) ภาคการส่งออก มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาสนี้สูงถึง 56,002 ล้านดอลลาร์สหรัฐสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยขยายตัวร้อยละ 27.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า การส่งออกในรูปเงินบาทมีมูลค่า 1.71 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.6 เป็นผลมาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.9เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สินค้าหลัก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ยานพาหนะและชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า และยางพารา ขยายตัวร้อยละ 119.7 23.0 27.4 และ 86.3 ตามลำดับ ตลาดส่งออกหลักได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (EU15) ยังคงขยายตัวร้อยละ 24.8 21.3 30.2 และ 24.2ตามลำดับ
(2) ภาคเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 6.7 เป็นผลจากผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 โดยเฉพาะข้าวอ้อย ข้าวโพด และยางพารา รวมทั้งราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 ทำให้รายได้เกษตรกรในไตรมาสแรกของปีขยายตัวร้อยละ 41.0 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 19.0 ในไตรมาสที่ผ่านมา
(3) ภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยในไตรมาสแรกของปี มีจำนวน 5.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากทวีปเอเชียเป็นหลัก เช่น จีน เกาหลีใต้ มาเลเซีย และอินเดีย ที่ขยายตัวร้อยละ 29.5 17.9 14.7 และ 14.1ตามลำดับ อัตราเข้าพักเฉลี่ยไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 64.6 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 61.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ GDP ในสาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 8.1
(4) การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 3.4 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลหลัก เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.4 55.8 และ90.6 ตามลำดับ ประกอบกับภาวะการจ้างงานอยู่ในเกณฑ์ดี มีจำนวนผู้ว่างงาน 3.1 แสนคน อัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 71.9 ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 71.3 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจว่าภาวะเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นจากการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ อย่างไรก็ตามแนวโน้มราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น
(5) การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 12.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 9.2 ในไตรมาสที่ผ่านมา เป็นการขยายตัวทั้งการลงทุนในเครื่องจักรเครื่องมือและสิ่งก่อสร้าง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนจากการนำเข้าสินค้าทุนและยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ขยายตัวร้อยละ 24.5 และ 17.5 ตามลำดับ ประกอบกับพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 7.8 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ (Business Sentiment Index: BSI) เฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ในเกณฑ์ดีที่ระดับ 53.1 เพิ่มขึ้นจาก 51.4 ในไตรมาสที่ผ่านมา
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2554
สศช. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 — 4.5 (คงการประมาณการเดิมเมื่อครั้งแถลงข่าวเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแรงส่งให้ภาคการผลิตและบริการที่เกี่ยวข้องขยายตัวได้ดี ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการลงทุนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยที่ต้องระมัดระวังหลายประการจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันอยู่ในระดับที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา
โดยคาดว่าในปี 2554 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.0 — 3.8 การบริโภคของภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.7 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 7.3 มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 17.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 3.1 ของ GDP ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 4.6 ของ GDP ในปี 2553
ด้านการใช้จ่าย
การใช้จ่ายครัวเรือน: ในไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 3.4 สอดคล้องกับการขยายตัวของภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ในไตรมาสแรกซึ่งขยายตัวร้อยละ 10.6 และ 16.7 โดยปัจจัยที่สนับสนุนการใช้จ่ายครัวเรือน ได้แก่ (1) อัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ (2) รายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้น และ (3) อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้การบริโภคสินค้าคงทนขยายตัวร้อยละ 23.7 โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง ส่วนความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้เท่ากับ 71.9 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ระดับ 71.3 เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจว่าภาวะเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำและเงินเดือนข้าราชการประกอบกับราคาผลผลิตทางการเกษตรที่อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ ค่าครองชีพที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นด้วย
การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 12.6 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.2 เป็นผลมาจากการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 14.7 โดยการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 24.5 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน เพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 17.5 เป็นผลมาจากการผ่อนคลายเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนรายได้เกษตรกร และความเชื่อมั่นของทั้งผู้บริโภคและนักลงทุนที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนการลงทุนในสิ่งก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 5.8 โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอยู่ที่ระดับ 53.1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.4 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 3 เดือนข้างหน้าได้ปรับตัวลดลงจากระดับ 55.5 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 54.5 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งข้อจำกัดในการปรับราคาสินค้ายังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในระยะต่อไป
การส่งออก: มูลค่าการส่งออกสินค้าไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสูงสุดในประวัติศาสตร์ คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 56,002 ล้านดอลลาร์ สรอ. (1,710,590 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 27.4 โดยปริมาณและราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 และ 6.7 ตามลำดับ เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลมาจากอุปทานสินค้าเกษตรที่สำคัญในตลาดโลกลดลงเนื่องจากหลายพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ ส่งผลทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทยขยายตัว เช่น ข้าว รวมทั้งยางพาราที่ขยายตัวสูงตามอุปสงค์จากจีน จึงทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 51.4 โดยราคาการส่งออกขยายตัวร้อยละ 22.7 และปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวทั้งปริมาณและมูลค่า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 และ 25.6จากไตรมาสที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 และ 20.1 ตามลำดับ ส่วนราคาเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.0 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะและชิ้นส่วน และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 23.0และ 27.4 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนลดลงร้อยละ 9.7 จากมูลค่าฐานการส่งออกในไตรมาสแรกของปี 2553 ที่อยู่ในระดับสูงจากการฟื้นตัวของความต้องการสินค้าในตลาดโลก เมื่อแยกตามประเภทอุตสาหกรรมส่งออก พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 และ 16.3 ตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นขยายตัวสูงถึงร้อยละ 66.5 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ49.2 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2553 ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
ตลาดส่งออก: ขยายตัวทั้งในตลาดหลักและตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะตลาดอาเซียน (9) มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 เร่งตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17.6 ในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับจีน สหรัฐอเมริกาญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (EU 15) ที่ขยายตัวร้อยละ 24.8 21.3 30.2 และ 24.2 ตามลำดับ สำหรับตลาดอื่นๆ ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฮ่องกง และเกาหลีใต้ที่ขยายตัวร้อยละ 70.3 และ 36.3 ตามลำดับ ส่วนตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง คือ ออสเตรเลียหดตัวร้อยละ 1.1 เทียบกับไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ 11.1 เป็นผลมาจากมูลค่าฐานการส่งออกที่สูงในช่วงปลายปี 2552 ถึงต้นปี 2553 โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร รวมทั้งการส่งออกเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เพื่อก่อสร้างโรงแยกก๊าซ
การนำเข้า: ทั้งมูลค่า ปริมาณ และราคาขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรกของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 25.6 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 18.8 ปริมาณการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 18.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.0 ในไตรมาสก่อน ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของการนำเข้าในไตรมาสนี้เป็นผลมาจากอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป และเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นเพิ่มมากขึ้น
เมื่อปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว และพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า สินค้านำเข้าทุกหมวดขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นทั้งมูลค่า ปริมาณ และราคา โดยสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 36.2 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 17.8ในไตรมาสก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นในสินค้าคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบและอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะ เป็นต้น สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 24.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 21.8 ตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 20.7 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 17.3 สอดคล้องกับการใช้จ่ายของครัวเรือนที่ยังขยายตัว ส่วนสินค้าเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นขยายตัวร้อยละ 41.9 สูงกว่าร้อยละ 22.4 ในไตรมาสก่อน (ปริมาณ และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 และ 25.2 ตามลำดับ) เนื่องจากความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น รวมถึงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความต้องการใช้ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น รวมถึงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความต้องการใช้น้ำมันดิบที่มากขึ้นในช่วงฤดูหนาวและความไม่สงบในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง
อัตราการค้า (Term of Trade) ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ขณะที่ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 ทำให้อัตราการค้าในไตรมาสแรกของปี 2554 หดตัวร้อยละ 2.0 เป็นการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ไตรมาส โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ดุลการค้า: เกินดุลลดลง โดยเกินดุล 3,334 ล้านดอลลาร์ สรอ. (101,845 ล้านบาท) ต่ำกว่าการเกินดุล 4,072 ล้านดอลลาร์ สรอ. (122,001 ล้านบาท) ในไตรมาสก่อน
ด้านการผลิต
สาขาเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 6.7 ตามผลผลิตข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และยางพารา ที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 71.7 75.3 และ 10.2 ตามลำดับ เป็นผลมาจากเกษตรกรได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกตามแรงจูงใจของโครงการประกันรายได้เกษตรกรและราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนผลผลิตปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลังลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.1 และ 1.1 ตามลำดับ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะอุทกภัยต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2553 จนถึงต้นปี 2554 ทำให้พื้นที่เพาะปลูกปาล์มถูกน้ำท่วมขังยาวนานและการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง
ด้านราคาพืชผลขยายตัวสูงถึงร้อยละ 30.0 ตามราคาปาล์มน้ำมัน ยางแผ่นดิบชั้น 3 และมันสำปะหลัง ที่ขยายตัวร้อยละ 90.6 61.4 และ 55.8 ตามลำดับ เนื่องจากอุปสงค์ทั้งตลาดโลกและภายในประเทศยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเกิดภาวะขาดแคลนปาล์มน้ำมันภายในประเทศ เนื่องจากปริมาณผลผลิตต่ำกว่าระดับความต้องการบริโภค ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.8 เนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงในตลาดโลก ประกอบกับการระบายสต็อกข้าวของรัฐในช่วงปลายปี 2553 ส่งผลให้ราคาลดลง
ราคาปศุสัตว์ทั้งไข่ไก่ และไก่เนื้อขยายตัวร้อยละ 14.5 และ 6.7 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศร้อนทำให้ผลผลิตลดลง ส่วนราคาสุกรลดลงร้อยละ 1.7 จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรขยายการผลิตตามแรงจูงใจของราคาที่อยู่ในเกณฑ์ดีในปีก่อนหน้า ส่วนราคาในหมวดประมงขยายตัวร้อยละ 23.7 ตามราคากุ้งที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากอุปทานกุ้งในตลาดโลกลดลงจากปัญหาโรคระบาดในประเทศอินโดนีเซียที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญ การที่ผลผลิตและและราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นส่งผลให้รายได้เกษตรกรในไตรมาสนี้ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 41.0
สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.7 ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 เนื่องจากอุตสาหกรรมบางประเภทชะลอตัวลงและบางกลุ่มหดตัว โดยการผลิตน้ำตาล ผลิตภัณฑ์พลาสติก และยานยนต์ ยังคงขยายตัวร้อยละ 16.5 3.0 และ 11.0 ตามลำดับ ตามอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงผู้ผลิตมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นประหยัดพลังงาน (Eco Car) ออกสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศและอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก หดตัวร้อยละ 0.9 และ6.5 ตามลำดับ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเลียมหดตัวร้อยละ 7.3 เนื่องจากหยุดการผลิตเพื่อซ่อมโรงกลั่นน้ำมันเป็นเวลานานกว่า 3 สัปดาห์ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดลง เนื่องจากการดำเนินมาตรการ Anti-dumping จากจีน การผลิตปูนซีเมนต์ลดลงร้อยละ 0.2 ตามการหดตัวของการก่อสร้างรวมทั้งการผลิต Hard Disk Drive ที่ลดลงร้อยละ 13.8 จากฐานการผลิตที่ขยายตัวสูงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
อัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 62.6 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 62.8 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังมีการใช้กำลังการผลิตสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์(ร้อยละ 83.9) จักรยานยนต์ (ร้อยละ 89.7) เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน (ร้อยละ 87.8) เครื่องดื่ม (ร้อยละ 93.7)ยางและผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 82.5) และเม็ดพลาสติก (ร้อยละ 76.4)
สาขาก่อสร้าง หดตัวร้อยละ 1.3 เป็นผลมาจากการก่อสร้างภาครัฐที่หดตัวร้อยละ 8.8 เนื่องจากการดำเนินงานในโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ส่วนใหญ่สิ้นสุดลงหรือใกล้แล้วเสร็จส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.8 สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง เช่นปูนซีเมนต์ และผลิตภัณฑ์เหล็ก ขยายตัวร้อยละ 3.7 และ 16.0 ตามลำดับ พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลขยายตัวร้อยละ 7.8 โดยทั้งพื้นที่ก่อสร้างที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์และเพื่อการอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.4 8.5 และ 21.4 ตามลำดับ เป็นผลจากการขยายตัวของที่อยู่อาศัยทั้งบ้านเดี่ยวทาวน์เฮ้าส์ และคอนโดมิเนียม รวมถึงการเพิ่มการลงทุนเพื่อขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีก และการขยายกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์มูลฐานและการผลิตเครื่องจักรเพื่อใช้งานทั่วไปอื่นๆ
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 6.2 เป็นผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้างทุกหมวด โดยเฉพาะราคาเหล็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาในตลาดโลก ส่วนราคาซีเมนต์และหมวดไม้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 และ 4.5 ตามลำดับ การเพิ่มขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้างส่งผลให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น โดยดัชนีค่าก่อสร้างมาตรฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1
สาขาอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวร้อยละ 4.6 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์ในอสังหาริมทรัพย์ยังมีอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลที่ขยายตัวร้อยละ 8.4 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในไตรมาสนี้มีค่าเท่ากับ 51.2 ลดจาก 55.0 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 52.1 ลดลงจาก 59.7 และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการนอกตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 50.2 ลดลงเล็กน้อยจาก 50.3 จากไตรมาสที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลงเนื่องจากอุปทานในตลาดยังมีอยู่มาก ในขณะที่อุปสงค์เริ่มมีแนวโน้มชะลอลง ประกอบกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 8.1 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ไตรมาสนี้มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยจำนวน 5.4 ล้านคน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากทวีปเอเชียและยุโรป โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน เกาหลีฝรั่งเศส และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 17.9 17.0 และ 14.7 ตามลำดับ ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 64.6 ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมาที่ร้อยละ 61.0 และ 54.3 ตามลำดับ
การจ้างงาน ไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีการจ้างงาน 37.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตามการจ้างงานของภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เนื่องจากผลตอบแทนในภาคเกษตรที่อยู่ในระดับสูงจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตร เป็นปัจจัยดึงดูดแรงงานในภาคการผลิตอื่นๆ เข้าสู่ภาคเกษตรมากขึ้น ส่งผลให้การจ้างงานนอกภาคเกษตรลดลงร้อยละ 0.6 โดยเฉพาะในสาขาขนส่ง สาขาโรงแรมและภัตตาคาร และสาขาค้าส่งและค้าปลีก ลดลงร้อยละ 16.6 9.3 และ 3.2 ตามลำดับ
สำหรับผู้ว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสนี้มีจำนวน 3.1 แสนคน ลดลงจำนวน 1.3 แสนคนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือลดลงร้อยละ 28.3 โดยที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.8
สัดส่วนของตำแหน่งงานว่างทั้งประเทศต่อผู้สมัครงานใหม่ เท่ากับ 1.0 สะท้อนถึงสถานการณ์ตึงตัวของตลาดแรงงานต่อเนื่องจากปี 2553 ที่เท่ากับ 1.0 0.7 1.0 และ 1.2 ในไตรมาสที่ 1 - 4 ตามลำดับ การขาดแคลนแรงงานดังกล่าวส่งผลให้สถานประกอบการเพิ่มชั่วโมงการทำงานมากขึ้น จะเห็นได้จากในไตรมาสนี้มีแรงงานทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9
ภาวะการคลัง
ในไตรมาสสองปีงบประมาณ 2554 (มกราคม — มีนาคม 2554) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 397,203.5 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 60,345.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.9 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2553 และเมื่อรวมครึ่งปีแรกของปีงบประมาณรัฐบาลจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการแล้ว 104,842.0 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15.3 สำหรับภาษีสำคัญที่จัดเก็บได้สูง ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิตรถยนต์เป็นต้น ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการขยายตัวต่อเนื่องของการบริโภคของภาคเอกชน ราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นประกอบกับผลประกอบการของภาคธุรกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตามคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังการจัดเก็บรายได้จะชะลอตัวลงแต่ยังคงเป็นไปตามประมาณการที่คาดไว้ จากผลของการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ประกอบกับแนวโน้มความสามารถในการผลิตของอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลต่อปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณมีจำนวนทั้งสิ้น 599,969.1 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 จำนวน 516,672.5 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 25.0 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 24.0 โดยเป็นการเบิกจ่ายในส่วนของรายจ่ายประจำ 409,982.1 ล้านบาท เท่ากับร้อยละ 23.8 ของรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุน 106,690.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.0 ของรายจ่ายลงทุนซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 25.0 เนื่องจากมีการเร่งการเบิกจ่ายงบอุดหนุนในช่วงเดือนมกราคม 2554 (2) งบประมาณเหลื่อมปีจำนวน 43,296.6 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 26.4 ของงบประมาณเหลื่อมปี ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 11.9 สำหรับในช่วงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ2554 คาดว่าจะชะลอตัวเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งปีคงจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 93.0 ของงบประมาณทั้งหมด
โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ 2554 มีการเบิกจ่ายรวม 14,350.1 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 79.7 ซึ่งเป็นผลมาจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณในส่วนของเงินอุดหนุนทั่วไป สาขาประกันรายได้เกษตรกร ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเป็นสำคัญ ขณะที่ ณ สิ้นสุดไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลได้มีการจัดสรรงบประมาณรวม 341,493.4 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 271,411.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 79.5 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรแล้ว ทั้งนี้ การเบิกจ่ายมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการส่วนใหญ่มีความคืบหน้าในการดำเนินการแล้วฐานะการคลังในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2554 ดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุล 259,627.4ล้านบาท เป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 171,168.7 ล้านบาท และเงินนอกงบประมาณ 88,458.7 ล้านบาทรัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน รวมทั้งสร้างความมั่นคงของฐานะทางการคลัง โดยการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 60,584.0 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล)ขาดดุล 199,043.4 ล้านบาท ส่งผลให้สถานะเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2554 มีจำนวนทั้งสิ้น 114,386 ล้านบาท หนี้สาธารณะ ยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2554 มีจำนวน 4,246,114.1 ล้านบาท ลดลง 35,989.0 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.8 จากสิ้นไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2554 (ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553)โดยเมื่อเทียบสัดส่วนต่อ GDP คิดเป็นร้อยละ 41.3 ของ GDP ลดลงจากร้อยละ 42.4 ของ GDP ณ สิ้นไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2554
ภาวะการเงิน
อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกของปี 2554 คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง รวมร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 2.00 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และเป็นการลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงการคาดการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นภายใต้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับหลายประเทศในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น จีน อินเดีย เกาหลีใต้ บราซิลและรัสเซีย ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาและอังกฤษยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งประเทศญี่ปุ่นที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิล่าสุดในเดือนเมษายน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี จากแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสหภาพยุโรป จีน และไต้หวัน
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มตามทิศทางของอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยของ 4 ธนาคารใหญ่ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งไตรมาสตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เฉลี่ยของ 4 ธนาคารใหญ่ ณ สิ้นไตรมาสแรก เพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาสที่แล้วเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.87 และ 6.54 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อ ณ สิ้นไตรมาสปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ 3.1 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากติดลบน้อยลงอยู่ที่ร้อยละ 3.40 และ -1.27 ต่อปีตามลำดับ ล่าสุดในเดือนเมษายน อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 4.0ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากที่แท้จริงปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.17 และ -1.89 ตามลำดับ
เงินฝากและการลงทุนในตั๋วแลกเงิน (B/E) ของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 12.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.9 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากสถาบันการเงินเร่งระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ โดยตั๋วแลกเงินขยายตัวที่ร้อยละ 59.1 ในขณะที่เงินฝากขยายตัวร้อยละ 9.1 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากตาม พรบ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่จะเริ่มบังคับใช้ในเดือนสิงหาคม 25541ทำให้ผู้ฝากเงินมีการกระจายเงินฝากไปยังบัญชีเงินฝากขนาดไม่เกิน 50 ล้านบาท รวมทั้ง ปรับรูปแบบการออมจากการฝากเงินหรือมาเป็นการลงทุนในตั๋วแลกเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
ในขณะที่สินเชื่อภาคเอกชน (ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ) ขยายตัวร้อยละ 15.0 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 12.6 ในไตรมาสที่แล้ว จากการขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นของสินเชื่อธุรกิจตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อการซื้อ/เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ในขณะที่สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยชะลอตัวลง จำนวนบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น แต่ยอดสินเชื่อคงค้างลดลงจากปริมาณการใช้จ่ายของคนไทยที่ชะลอลง สัดส่วน NPLs2 ต่อสินเชื่อคงค้างลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ1.7 จากร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลจากการรับชำระหนี้เพิ่มขึ้น การปรับโครงสร้างหนี้ และตัดหนี้สูญ เป็นสำคัญ
สัดส่วนสินเชื่อ (ไม่รวมเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร) ต่อเงินฝากที่รวมตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2554 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 92.2 อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจาก 1.24 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2553 เป็น 1.46 ล้านล้านบาท ซึ่งมีศักยภาพในการสนับสนุนการขยายตัวของสินเชื่อในอนาคต
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อย อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยไตรมาสแรกของปี 2554 เท่ากับ 30.554 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 1.9 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2553 โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งแรกของไตรมาสจากความกังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อในภูมิภาคที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทในครึ่งหลังของไตรมาสปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางที่เริ่มคลี่คลายลง ส่งผลให้เงินทุนไหลกลับมายังตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรไทยอีกครั้ง เมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่นๆ ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยเช่นกัน โดยดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate: NEER) ลดลงร้อยละ 2.75 และดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (Real Effective Exchange Rate: REER) ลดลงร้อยละ 2.80
ล่าสุดในเดือนเมษายน 2554 ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากเดือนมีนาคม โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 30.054 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และเฉลี่ยในวันที่ 1-19 พฤษภาคมเท่ากับ 30.091 บาทต่อดอลลาร์สรอ.
เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้าสุทธิ ในไตรมาสแรก ปี 2554 เงินทุนเคลื่อนย้ายเกินดุล 1.1 พันล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงอย่างมากจาก 3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการขาดดุลของภาคนอกธนาคาร 967 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของธุรกรรมการให้สินเชื่อการค้าแก่คู่ค้าต่างชาติของผู้ส่งออกไทยเป็นสำคัญ และภาครัฐวิสาหกิจที่ขาดดุล 2.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการให้กู้ในเครือของบริษัทน้ำมันของไทย
ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 6,795 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 207,903 ล้านบาท) เกินดุลต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่เกินดุล 5,509 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นผลจากการเกินดุลการค้า 3,335 ล้านดอลลาร์ สรอ.และการเกินดุลบริการ รายได้ และเงินโอน 3,460 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 25544 เท่ากับ 181.58 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และมี Net Forward Position อีก 21.03 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งคิดเป็นประมาณ 3.9 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้นและเท่ากับมูลค่าการนำเข้า 9.4 เดือน
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสแรกของปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.8เป็นผลมาจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาอาหารสดประเภทผักผลไม้ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 สาเหตุหลักมาจากราคาผักและผลไม้สด เนื่องจากความต้องการสินค้าเกษตรขยายตัวได้ดี ประกอบกับผลผลิตทางการเกษตรทั้งในและต่างประเทศลดลงจากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่วนดัชนีราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ตามการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อน และมีแนวโน้มขยับเข้าสู่ช่วงกลางของกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ร้อยละ 0.5 — 3.0 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.5 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553ซึ่งแสดงถึงราคาสินค้าทั่วไป (นอกเหนือจากราคาอาหารสดและพลังงาน) ได้เริ่มสูงขึ้น และเป็นสาเหตุให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อชะลอแรงกดดันต่อเงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงขึ้น และเพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคาภายในประเทศ
ดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสแรกของปี 2554 เท่ากับร้อยละ 6.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.3 ในไตรมาสก่อนหน้าสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยเฉพาะราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ซึ่งเป็นการเพิ่มสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะราคาวัตถุดิบที่มิใช่อาหาร
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2554 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ปิดที่ 1,047.5 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากไตรมาสสี่ของปี 2553 โดยตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของไตรมาสจากการปรับฐานการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเพื่อลดความเสี่ยงการลงทุนเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางยังมีความไม่แน่นอน อย่างไรก็ตามจากปริมาณเงินลงทุนในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจและผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคเอเชียรวมถึงไทยที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทยอยปรับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของไตรมาส โดยยอดซื้อ/ขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติปรับตัวจากการขายสุทธิที่ 28.6 พันล้านบาท ในเดือนมกราคม เป็นการซื้อสุทธิที่ 28.1 พันล้านบาท ในช่วงที่เหลือของไตรมาส ส่วนมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงมาอยู่ที่ 30.8 พันล้านบาท จาก 35.9 พันล้านบาทในไตรมาสสี่ของปี 2553
ในเดือนเมษายน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาปิดที่ 1,093.6 จุด โดยมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นเป็น 35.1 พันล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิถึง 29.5 พันล้านบาท
ปริมาณการซื้อพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก มูลค่าการซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาด (Outright Transaction) ในไตรมาสแรกของปี 2554 อยู่ที่ 80.8 พันล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก 77.0พันล้านบาทต่อวัน ในไตรมาสสี่ของปี 2553 โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 292.7 พันล้านบาทจาก 126.5 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า เป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 105.8 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของภูมิภาคเอเชีย ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และเอเชียคาดว่าจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของสหรัฐฯ:(Quantitative Easing: QE2)
ในเดือนเมษายน มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาดปรับเพิ่มขึ้นเป็น 96.7 พันล้านบาทต่อวัน และนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นอีก 152.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ยอดซื้อสุทธิสะสมของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายนอยู่ที่ 445.6 พันล้านบาท สูงกว่ามูลค่าซื้อสุทธิในปี 2553 ที่เท่ากับ 322.4 พันล้านบาท
การระดมทุนของภาคเอกชนยังคงเพิ่มขึ้นตามทิศทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การระดมทุนของภาคเอกชนในไตรมาสนี้มีมูลค่ารวม 421.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 221.0 พันล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนในตราสารหนี้ 382.5 พันล้านบาท จากภาคการธนาคาร เงินทุนประกันภัย และเช่าซื้อ ส่วนการระดมทุนในตราสารทุน 38.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 250.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่มีแนวโน้มขยายการลงทุนในภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ความเคลื่อนไหวราคาน้ำมันในไตรมาสแรก ปี 2554
ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก: ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงปลายฤดูหนาวรวมถึงปัญหาความไม่สงบในแอฟริกาเหนือ และตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อ โดยในไตรมาสแรกของปี 2554 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และ WTI) อยู่ที่ 100.02 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่อยู่ที่ราคาเฉลี่ย 76.95 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในปี 2554
ราคาน้ำมันดิบดูไบโดยเฉลี่ยในปี 2554 คาดว่าจะอยู่ที่ 98-107 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลสูงกว่าราคาเฉลี่ยที่ 77.91 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2553 โดยในไตรมาสแรกของปี 2554 ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเท่ากับ 100.17 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล และ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2554 อยู่ที่ราคา 106.60 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล
ทั้งนี้ หลายหน่วยงานได้ประมาณการราคาน้ำมัน WTI ปี 2554 โดย Energy Information Administration(EIA) ประเทศสหรัฐอเมริกาคาดว่าราคาจะอยู่ที่ 103 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล Business Monitor International (BMI) ของประเทศอังกฤษ คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบ WTI จะอยู่ที่ 81.93 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในขณะที่ Morgan Stanley และ Goldman Sachs คาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI จะมีราคาสูงกว่า100 และ 105 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ตามลำดับ ส่วน JP Morgan และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) คาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI จะอยู่ที่ 109.5 และ 107.16 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่คาดว่าราคาน้ำมัน WTI ในปี 2554 จะสูงกว่าราคาเฉลี่ยในปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 79.41 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล
ปัจจัยสำคัญที่มีผลให้ราคาน้ำมันในปี 2554 มีแนวโน้มสูงขึ้น ได้แก่ (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก (2) ความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่ง EIA คาดว่าในปี 2554 จะมีความต้องการใช้น้ำ มันเท่ากับ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน (3) การลดกำ ลังการผลิตน้ำ มันของกลุ่มผู้ผลิตน้ำ มัน และ (4) สถานการณ์ความไม่สงบในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อ
เศรษฐกิจโลกในไตรมาสแรกของปี 2554 ส่วนใหญ่ยังขยายตัวได้ดี แต่ชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยเฉพาะญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อาเซียน จีน รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ในขณะที่กลุ่มยูโรโซนขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัวชะลอตัว เกิดจากปัจจัยทั้งภายใน และภายนอก โดยปัจจัยภายในมาจากการใช้มาตรการการเงินแบบเข้มงวดเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ในขณะที่การปรับขึ้นของราคาพลังงาน และผลจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศ เป็นปัจจัยภายนอกซึ่งส่งผลต่อการชะลอตัวของการบริโภค การลงทุน และการค้าในหลายประเทศ สำหรับการขยายตัวที่ดีขึ้นของกลุ่มยูโรโซนมาจากการส่งออกของประเทศหลักโดยเฉพาะเยอรมนี และการขยายตัวของการบริโภคในประเทศ โดยสรุปภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญๆ มีดังนี้
- เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 2.3 (%YoY) ชะลอลงจากร้อยละ 2.8 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2553 และเมื่อปรับฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 1.8 (%QoQ, s.a.) ชะลอลงจากร้อยละ 3.1 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2553เป็นผลจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น การบริโภคภาคครัวเรือนและการลงทุนนอกภาคที่อยู่อาศัยชะลอตัว การใช้จ่ายภาครัฐลดลงมากกว่าในไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งการส่งออกที่ลดลง อย่างไรก็ดีการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing manager index: PMI) ในไตรมาสแรกของปีอยู่ที่ระดับ 61.1 สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.9 โดยในเดือนเมษายน 2554 ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ60.4 เป็นผลจากการลดลงของดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ การผลิต และการจ้างงานภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากไตรมาสที่แล้ว การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 8.9 ลดลงจากร้อยละ 9.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี โดยเมื่อสิ้นไตรมาสแรก 2554 มีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 13.5 ล้านคน มีการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 216,000 คน สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่มีจำนวน 152,000 คน อย่างไรก็ดีในเดือนเมษายน อัตราการว่างงานกลับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.0 มีจำนวนผู้ว่างงาน 13.7 ล้านคน ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 244,000 คน จากอัตราการว่างงานในระดับสูงคาดว่าสหรัฐจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อให้การจ้างงานกลับสู่ระดับปกติ ในเดือนมีนาคม สแตนดาร์ด แอนด์พัว (S&P) ได้ปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือระยะยาว (Outlook) ของสหรัฐอเมริกาเป็น "เชิงลบ" แต่ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวและระยะสั้นของสหรัฐฯไว้ที่ AAA และ A1+ ตามลำดับ ทั้งนี้โดยรวมคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาทั้งปี 2554 จะขยายตัวร้อยละ 2.8 ชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 (% YoY)
- เศรษฐกิจกลุ่มยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 2.5 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสที่แล้ว (%YoY) และเมื่อปรับฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 0.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่แล้ว (%QoQ, s.a.) กลุ่มประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่เยอรมนี ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากการบริโภคในประเทศ และการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่กลุ่ม PIIGS (โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ กรีซ และสเปน) ซึ่งมีปัญหาการขาดดุลงบประมาณเรื้อรังและมีสัดส่วนหนี้สาธารณะในระดับสูง ส่วนใหญ่ขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะกรีซขยายตัวเป็นบวกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2551 มีเพียงโปรตุเกสประเทศเดียวที่ยังหดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สองเนื่องจากวิกฤตหนี้สาธารณะ สำหรับการว่างงานเฉลี่ยยังคงทรงตัวที่ระดับร้อยละ 9.9 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 10.0 ในไตรมาสที่แล้ว ส่วนสเปนยังคงมีอัตราการว่างงานสูงที่สุดที่ร้อยละ 20.6 เงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.5 สูงกว่าเป้าหมายระยะปานกลางของธนาคารกลางยุโรป ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.0 และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นแรงผลักดันให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรปอย่างต่อเนื่องหรือใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) ในบางประเทศได้ อย่างไรก็ตามความแตกต่างของอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศยูโรโซนทำให้การใช้มาตรการทางการเงินโดยการปรับอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางยุโรปเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อมียังข้อจำกัด
- เศรษฐกิจญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 1.0 (%YoY) ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสที่สี่ของปี2553 และเมื่อปรับฤดูกาลแล้วหดตัวร้อยละ 0.9 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 0.8 (%QoQ, s.a.) ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นการหดตัวสองไตรมาสติดต่อกัน ทั้งนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวในช่วงต้นของไตรมาสแรก 2554 โดยสะท้อนได้จากดัชนี Tankan ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของญี่ปุ่นที่วัดความเชื่อมั่นของบริษัทรายใหญ่ในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากระดับ +5 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 เป็น +6 ในไตรมาสแรกปี 2554 และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing PMI) เพิ่มจาก 47.6 ในไตรมาสที่แล้วเป็น 50.2 อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ทำให้เศรษฐกิจกลับมาชะลอตัวอีกครั้ง เห็นได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมได้ลดลงในช่วงท้ายของไตรมาส มาอยู่ที่ระดับ 46.4 และ 45.7 ในเดือนมีนาคม และเมษายน ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบสองปี อีกทั้งผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคมหดตัวลงร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและอัตราการค้าปลีกเดือนมีนาคมหดตัวถึงร้อยละ 8.5 ซึ่งเป็นการหดตัวมากที่สุดในรอบ 13 ปี นอกจากนั้นสแตนดาร์ด แอนด์ พัว (S&P) ยังประกาศลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือระยะยาว (Outlook) ของญี่ปุ่นลงสู่ระดับ "เชิงลบ" แต่ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวไว้ที่ AA- โดย สแตนดาร์ด แอนด์ พัว (S&P) คาดว่าต้นทุนการใช้จ่ายที่เป็นผลมาจากเหตุการณ์ภัยพิบัติดังกล่าวจะทำให้สถานะทางการคลังมีปัญหารุนแรงกว่าที่เคยประเมินไว้
- เศรษฐกิจจีน ขยายตัวร้อยละ 9.7 ชะลอตัวเล็กน้อยจากร้อยละ 9.8 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2553 (%YoY) และเมื่อปรับฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 2.1 (%QoQ, s.a.) แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนยังคงขยายตัวได้ดี แม้จะมีการใช้มาตรการการเงินที่เข้มงวด ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของจีนในไตรมาสแรกอยู่ที่ระดับ 52.8 ลดลงจากระดับ 54.6 ในไตรมาสที่แล้ว โดยในเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ระดับ 52.2 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 6เดือน แต่ได้ปรับตัวขึ้นมาที่ระดับ 53.4 ในเดือนมีนาคม ซึ่งถือเป็นเดือนที่ 25 ติดต่อกันที่ค่าดัชนีอยู่เหนือระดับ 50 ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกของปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 14.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ13.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยในเดือนมีนาคม การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวถึงร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วนเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 4.0 เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้รัฐบาลจีนต้องดำเนินนโยบายทางการเงินแบบเข้มงวด ทั้งเพิ่มอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินสดสำรองทางการของธนาคารพาณิชย์ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 โดยปรับเพิ่มอัตราเงินสดสำรองทางการสำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และขนาดกลางเป็นร้อยละ 21 และ 18ตามลำดับ นับเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่ต้นปี นอกจากนั้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2554 ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 ในช่วงสองไตรมาส ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากระยะ 1 ปี ณ สิ้นไตรมาสแรก ขยับขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.31 และ 3.25ตามลำดับ โดยรวมคาดว่าเศรษฐกิจจีนยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภายในประเทศที่ยังแข็งแกร่ง การค้าระหว่างประเทศที่ยังเกินดุล และการลงทุนที่ยังขยายตัวได้ดี
เศรษฐกิจอินเดีย ในไตรมาสแรกมีแนวโน้มชะลอตัวลง การผลิตภาคอุตสาหกรรมของอินเดียในเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นอัตราการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบห้าเดือน โดยเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวเท่ากันร้อยละ 3.7 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ แต่เมื่อพิจารณาดัชนี PMI ของอินเดีย ที่จัดทำโดยธนาคารฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้ (Hongkong and Shanghai Banking Corporation: HSBC) จะเห็นได้ว่าในไตรมาสแรกของปี ค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 58.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 57.8 ในไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ปัญหาเงินเฟ้อ (Whole Sale Inflation- WPI) ในอินเดียได้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 8.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.7 ในไตรมาสก่อนหน้าโดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมัน อาหาร และสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น ทั้งนี้ทางการอินเดียได้ใช้นโยบายการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ธนาคารกลางอินเดียประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (repo rate) อีกร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 7.25 จากเดิมร้อยละ 6.75เป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 9 นับตั้งแต่ต้นปี 2553 และมีการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายระยะกลางที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 4.0-4.5
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ และฮ่องกง) โดยรวมเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มนี้ชะลอตัวลง โดยเฉพาะสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน ขยายตัวร้อยละ 8.5 4.2 และ 6.2ชะลอจากร้อยละ 12.0 4.8 และ 6.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ สำหรับฮ่องกงมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เทียบกับร้อยละ 6.2 ในไตรมาสก่อนหน้า การขยายตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศนี้มีปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม และการส่งออกสินค้าและบริการ อย่างไรก็ตาม ปัญหาเงินเฟ้อยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศกลุ่มนี้ โดยเฉพาะ ฮ่องกง และเกาหลีใต้ โดยฮ่องกงมีอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมร้อยละ 4.6 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 30 เดือน (นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2551) และเกาหลีใต้มีอัตราเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์ร้อยละ 4.5 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 4.0 ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้มีการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดโดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องโดยธนาคารกลางของเกาหลีใต้ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 3.0 ต่อปี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554 และไต้หวันปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Discount Rate) เป็นร้อยละ1.75 ต่อปี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554
เศรษฐกิจออสเตรเลีย ในไตรมาสแรกมีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากประสบภัยธรรมชาติในประเทศถึงสองครั้ง ประกอบกับปัญหาภัยพิบัติในญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับสองของออสเตรเลีย ส่งผลให้การค้าขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากแรงขับเคลื่อนของการลงทุนภาคเอกชนที่ชดเชยการบริโภคที่ชะลอตัวลง ในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซาต่อเนื่องการว่างงานทรงตัวที่ระดับร้อยละ 5 ต่อเนื่องมาจากไตรมาสที่แล้ว สำหรับเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.3เทียบกับร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีปัจจัยหลักมาจากการปรับอัตราค่าจ้างในภาคเหมืองแร่ รวมทั้งการปรับสูงขึ้นของราคาสินค้าอาหาร และพลังงาน คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปีจะสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นซึ่งอาจส่งผลให้เงินเฟ้อต่ำกว่าที่คาดการณ์ได้
- เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน-4 (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม) ส่วนใหญ่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว โดยเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 5.4 4.6 และ 6.5 ชะลอลงจากร้อยละ 7.3 4.8 และ 6.9 ในไตรมาสที่แล้ว (%YoY) ตามลำดับ โดยเงินเฟ้อเป็นปัญหาสำคัญของเวียดนาม และอินโดนีเซีย ที่สูงขึ้นเป็นร้อยละ 12.8 และ 6.8 ในไตรมาสแรก ตามลำดับ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซียยังอยู่ในระดับร้อยละ 4.0 และ 2.8 ตามลำดับ ปัญหาเงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.เป็นแรงกดดันสำคัญให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มเศรษฐกิจโลก
เศรษฐกิจโลกในไตรมาสหน้า คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี โดยมีประเทศกำลังพัฒนาใหม่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ แต่มีสัญญาณการชะลอตัวในภาคการผลิต ภาคการลงทุน และการบริโภค โดยมีผลกระทบต่อเนื่องจากภัยพิบัติในญี่ปุ่น และภัยธรรมชาติอื่นๆ รวมทั้งปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป และราคาพลังงานเป็นตัวแปรสำคัญ การส่งออกของสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียจะขยายตัวได้ดีขึ้นในไตรมาสหน้าส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำหรับราคาอาหารและพลังงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนั้น เพิ่มแรงกดดันให้หลายประเทศใช้มาตรการการเงินแบบเข้มงวดต่อเนื่อง โดยเฉพาะจีน อินเดีย เวียดนาม และประเทศในกลุ่มละตินอเมริกา ในขณะที่การหดตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ในญี่ปุ่น และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ สร้างแรงกดดันต่อการใช้มาตรการการคลังแบบผ่อนคลายเพื่อแก้ไขปัญหาเงินฝืด โดยรวมคาดว่าเศรษฐกิจโลกทั้งปียังสามารถขยายตัวได้ดีในอัตราที่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 3.0 โดยได้รับแรงส่งจากการขยายตัวทั้งอุปสงค์และอุปทาน ด้านอุปสงค์มีแรงขับเคลื่อนจากการขยายตัวสูงของการลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียที่มีการขยายตัวได้ดีด้านอุปทานเป็นการขยายตัวของภาคเกษตร โรงแรมและภัตตาคาร และการเงินและธนาคาร ส่วนสาขาอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราชะลอลง
แนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 คาดว่าสาขาอุตสาหกรรมมีแนวโน้มชะลอลง โดยมีปัจจัยหลักคือ (1) อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอลงของเศรษฐกิจญี่ปุ่นและ (2) แนวโน้มการชะลอลงของการผลิต ฮาร์ด ดิสค์ ไดรฟ์ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ขณะที่สาขาเกษตรมีแนวโน้มชะลอตัวลงเช่นกัน เนื่องจากฐานของปริมาณผลผลิตซึ่งอยู่ในระดับสูง ประกอบกับการเร่งเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงเดือนมีนาคม ทำให้คาดว่าผลผลิตในไตรมาส 2 จะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านเงินเฟ้อคาดว่ามีแนวโน้มปรับตัวสูงกว่าไตรมาสที่ 1
อย่างไรก็ตามในไตรมาส 2 ของปีนี้ยังมีปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวประกอบด้วย (1) จำนวนนักท่องเที่ยวเดือนเมษายนสูงถึง 1.49 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 35.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) การลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวครั้งแรกหลังจากหดตัวต่อติดต่อกัน 4 ไตรมาส และ (3) การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
แนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งหลังของปีคาดว่าจะขยายตัวได้สูงกว่าในครึ่งแรกของปี เป็นผลมาจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการผลิตทั้งภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการขยายตัวของการท่องเที่ยวและการส่งออก นอกจากนั้นภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนชิ้นส่วนจากญี่ปุ่นจะเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติและเร่งการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจจะได้รับผลกระทบจากแรงกดดันของเงินเฟ้อและราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(1) การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ในไตรมาสแรกของปีมีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 5.36 ล้านคน และเดือนเมษายน 2554 มีจำนวน 1.49 ล้านคน รวม 4 เดือนแรกมีจำนวนนักท่องเที่ยว 6.85 ล้านคน ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงภายในประเทศ และเศรษฐกิจเอเซียยังคงขยายตัวได้ดี คาดว่าทั้งปี 2554 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 18.0 ล้านคน ซึ่งจะเป็นแรงส่งให้ภาคการผลิตและบริการที่เกี่ยวข้องขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง
(2) ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอุปสงค์ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง ซึ่งการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าเกษตรจะส่งผลให้รายได้เกษตรกรปรับตัวสูงขึ้น และจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การบริโภคภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นด้วย
(3) สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจและการขยายตัวของสินเชื่อยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยสภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 อยู่ในเกณฑ์สูงถึง 1.46 ล้านล้านบาท ประกอบกับเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อยังไม่เข้มงวดมากนัก และการสนับสนุนสินเชื่ออย่างต่อเนื่องจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจปัจจัยเหล่านี้จะเอื้ออำนวยต่อการปล่อยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคต
(4) ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการลงทุนอยู่ในเกณฑ์ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่เกณฑ์สูงประกอบกับปัจจัยอื่นๆ เช่น (1) การเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและเงินเดือนข้าราชการ (2) ราคาสินค้าภาคเกษตรยังขยายตัวสูง และ (3) อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.8 จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศ ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นภาคธุรกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเมื่อรวมกับปัจจัยอื่นๆเช่น (1) อุปสงค์ของสินค้ายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (2) การขออนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนยังขยายตัวได้ดี ในไตรมาสแรกของปีที่มีการขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 451 โครงการ มูลค่า 117.8 พันล้านบาท ซึ่งขยายตัวร้อยละ 57.7 และ 12.8 ตามลำดับและ (3) อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มแข็งค่า เป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิต
(5) ศักยภาพการแข่งขันด้านการส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ดี จากการที่ค่าเงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย ปรับตัวสูงขึ้น ตามภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และแม้ว่าราคาส่งออกของไทยจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม แต่เป็นการกระจุกตัวในราคาส่งออกสินค้าเกษตรเท่านั้น โดยขยายตัวถึงร้อยละ 22.7 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554ขณะที่ราคาสินค้าส่งออกอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนมากที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัด
(1) เศรษฐกิจโลกมีความผันผวน โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว IMF ยังคงประมาณการเศรษฐกิจโลกไว้ที่ร้อยละ 4.4 แต่ได้ปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วจากร้อยละ 2.5 เหลือร้อยละ2.4 โดยที่ สหรัฐอเมริกา ขยายตัวดีในครึ่งปีแรก แต่ยังคงมีความไม่แน่นอน หลังจากยุติการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายรอบ 2 (Quantitative Easing: QE2) โดยอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง ภาคอสังหาริมทรัพย์มีความเปราะบาง หนี้ภาครัฐและภาคครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง สหภาพยุโรป หนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง และการดำเนินนโยบายการคลังไม่เอื้อต่อการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ปัญหาเศรษฐกิจของกรีซยังไม่ยุติ ญี่ปุ่น ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและสึนามิ ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 2 และ 3 จีน อัตราเงินเฟ้อไตรมาสแรกอยู่ที่ร้อยละ 5.0 และร้อยละ 5.3 ในเดือนเมษายน 2554 ส่งผลให้เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีอยู่ที่ร้อยละ 5.1 จึงมีการดำ เนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(2) ราคาน้ำมัน และเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าปี 2553 โดยเฉพาะการที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งจากต้นทุนราคาน้ำมัน ราคาสินค้าเกษตร และอุปสงค์ต่อสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่จะสิ้นสุดในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นวงกว้าง ด้านอุปสงค์อาจจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนลดลง ด้านอุปทานจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้การวางแผนเพื่อการผลิตและการลงทุนต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันจะส่งผลให้ดุลการค้ามีแนวโน้มลดลง
(3) อัตราดอกเบี้ยอยู่ในวัฎจักรขาขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและนักลงทุน โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมทั้งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กมีขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง เนื่องจากจะมีต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นมากกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่
(4) ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งผู้ประกอบการคาดว่าการผลิตรถยนต์จะชะลอลงอย่างรุนแรงในช่วงเดือนมิถุนายนและกรกฏาคม 2554 ส่งผลให้การผลิตรถยนต์ลดลงประมาณ 1.5 แสนคัน คิดเป็นร้อยละ 10.7 ของปริมาณการผลิตในปี 2553 หรือลดลงร้อยละ 8.3 ของเป้าหมายการผลิตในปี 2554 ที่คาดว่าจะมีจำนวน 1.8 ล้านคัน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปี 2554 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์มีแนวโน้มหดตัวอย่างรุนแรง และจะส่งผลให้ผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมโดยรวมชะลอลงไปด้วย
ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2554
(1) เศรษฐกิจโลกในปี 2554 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.8 - 4.2 เป็นการคงประมาณการจากครั้งก่อนขณะที่ปริมาณการค้าโลกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.7-7.7 เป็นการเพิ่มประมาณการจากครั้งก่อนที่คาดว่าปริมาณการค้าโลกจะขยายตัวร้อยละ 6.6-7.6
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 1.8 จากไตรมาสก่อนหน้า (qoq, sa annualized) ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ อัตราการว่างงานในไตรมาสแรกของปีปรับลดลง แต่ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ระดับร้อยละ 9.0อีกครั้งในเดือนเมษายน 2554 สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ว่ายังมีความเปราะบาง ส่วนตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงอยู่ระดับต่ำอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน ซึ่งจากสถานการณ์ในปัจจุบันและตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจโดยรวมยังคงอยู่ในกรอบที่คาดการณ์ไว้ในครั้งก่อน ดังนั้นจึงคงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ร้อยละ 2.8
เศรษฐกิจสหภาพยุโรป ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่เศรษฐกิจกลุ่มประเทศ PIIGS บางประเทศยังคงหดตัว โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่างๆ เช่น(1) หนี้สาธารณะยังคงอยู่ในระดับสูงและการดำเนินการแก้ไขปัญหาค่อนข้างช้า ซึ่งส่งผลให้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือปรับลดความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ของกลุ่มประเทศดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง (2) อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง และ (3) แรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น จนนำไปสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยภาพรวมสถานกาณ์ทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในกรอบที่คาดการณ์เดิม และเมื่อรวมกับการขยายตัวได้ดีของเศรษฐกิจเยอรมันและฝรั่งเศส ดังนั้นจึงปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหภาพยุโรปเป็นร้อยละ 1.6 จากเดิมที่ร้อยละ 1.4
เศรษฐกิจญี่ปุ่น เศรษฐกิจไตรมาสที่ 1 ปี 2554 หดตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากผลกระทบอย่างรุนแรงจากภัยพิบัตทางธรรมชาติในวันที่ 11 มีนาคม 2554 และคาดว่าในไตรมาสที่ 2 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง ส่วนในครึ่งหลังของปี 2554 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวอีกครั้ง โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาครัฐในการใช้จ่ายเพื่อซ่อมแซมและสร้างสาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ (1) ภาคการบริโภคและการผลิตยังคงอ่อนแอ (2) อัตราการว่างงานสูง และ (3) หนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูงเกินร้อยละ 200 ต่อ GDP ดังนั้นจึงคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวที่ต่ำกว่าคาดการณ์เดิมจึงปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเหลือเพียงร้อยละ 1.1 จากร้อยละ 1.3เศรษฐกิจจีน ในไตรมาส 1 ขยายตัวร้อยละ 9.7 แม้ว่าจะเผชิญแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการดำเนินมาตรการการเงินแบบเข้มงวด ซึ่งคาดว่าช่วงที่เหลือของปีแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นคาดว่าจะอยู่มีอย่างจำกัด อย่างไรก็ตามอุปสงค์ภายในประเทศยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ประกอบกับเศรษฐกิจคู่ค้าที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง จึงคงประมาณการเศรษฐกิจจีนที่ร้อยละ 9.0
(2) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2554 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 98-107 ดอลลาร์ สรอ. ปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่ 85-95 ดอลลาร์ สรอ. โดยในไตรมาสที่ 1 ราคาน้ำมันอยู่ที่ 100.17 ดอลลาร์สรอ.ต่อ บาร์เรล และเดือนเมษายนราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 115.93 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ บาร์เรล ส่งผลให้เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีราคาน้ำมันอยู่ที่ 104.11 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ บาร์เรล และคาดว่าราคาน้ำมันยังมีความผันผวนในช่วงที่เหลือของปี โดยปัจจัยหลักๆ ได้แก่ (1) การปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของประเทศพัฒนาของ IMF ทำให้อุปสงค์น้ำมันมีแนวโน้มลดลง ซึ่งเป็นการลดแรงกดดันในการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และ (2) การคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 86.81 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2553 เป็น 87.81 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2554 ทำให้อุปทานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจาก (1) เหตุการณ์ความไม่สงบของประเทศผู้ผลิตน้ำมันในแอฟริกาเหนือและตะวันออกลาง และ (2) การเก็งกำไรจากราคาน้ำมันของกองทุนต่างๆ
(3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 7.2 ปรับเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 5.7 ด้านราคานำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ8.5 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.5 เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน รวมถึงการคาดว่าราคาส่งออกสินค้าเกษตรจะอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง
(4) อัตราแลกเปลี่ยน คาดว่าจะอยู่ที่ 29.5-30.5 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เป็นการคงประมาณการไว้เท่ากับครั้งก่อน โดยคาดว่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีจะแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย และเมื่อรวมกับในไตรมาสแรกของปี 2554อยู่ที่ 30.55 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่คาดการณ์ไว้เดิม
(5) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2554 คาดว่าจะมีประมาณ 18.0 ล้านคน ปรับเพิ่มขึ้นจากการประมาณการครั้งก่อนที่ 16.8-17.0 ล้านคน เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของจำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสแรกที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 5.4 ล้านคน และเดือนเมษายน 2554 มีนักท่องเที่ยวจำนวน 1.49 ล้านคน ส่งผลให้ 4 เดือนแรกมีจำนวนนักท่องเที่ยว 6.85 ล้านคน สะท้อนถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีความเชื่อมั่นสูงในการเดินทางมาประเทศไทย รวมถึงสถานการณ์การเมืองภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2554:
ในการแถลงข่าววันที่ 23 พฤษภาคม 2554 สศช. คงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้เท่ากับการประมาณการในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 แต่ได้ปรับองค์ประกอบการขยายตัวของเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับข้อสมมติฐาน โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-4.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.8 ในปี 2553 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.0-3.8 เทียบกับร้อยละ 3.3 ในปี 2553 และและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 3.1 ของ GDP ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 4.6 ของ GDP ในปี 2553
องค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2554
(1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.6 ปรับลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.9 เป็นผลมาจากการปรับลดการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคครัวเรือนจากร้อยละ 4.0 เป็นร้อยละ 3.7 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตามคาดว่าผลกระทบสุทธิที่เกิดขึ้นยังไม่ชะลอลงมากนัก (ในกรณีที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีไม่สูงกว่า 107 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ บาร์เรล) แม้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงดำเนินอยู่ รวมทั้งการขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสที่ 1 ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้เดิม แต่จากการบริโภคยังมีปัจจัยบวกที่จะสนับสนุนให้ขยายตัวได้ต่อเนื่อง เช่น รายได้ของภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนข้าราชการ และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งฐานรายได้ของครัวเรือนภาคเกษตรยังคงปรับตัวได้ดีขณะที่การบริโภคภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 เป็นการคงประมาณการจากครั้งก่อน เนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำและรายจ่ายเหลื่อมปียังอยู่ในระดับที่คาดการณ์ไว้เดิม
(2) การลงทุนรวมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.3 คงประมาณการจากครั้งก่อนทั้งอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชน โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 8.5 โดยมีแรงส่งจากการขยายตัวสูงของการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 1 ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 12.6และเป็นการขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ และแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออก อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงด้านการลงทุน คือ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย ด้านการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5
(3) การส่งออกสินค้ารูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 17.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.5 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและราคาส่งออกโดยปริมาณการส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.8 ปรับสูงขึ้นจากร้อยละ 6.8 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 18.6 รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจากการปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายการค้าโลก ขณะที่ราคาส่งออกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.2 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากราคาส่งออกสินค้าเกษตรมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาก ขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.7 ปรับตัวสูงขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.3
(4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 20.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากการประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 14.6 เป็นผลมาจากการปรับเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและราคานำเข้า โดยปริมาณการนำเข้าสินค้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.0 เพิ่มจากขยายตัวร้อยละ 8.1 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการขยายตัวสูงในไตรมาส 1 ที่ร้อยละ 18.5 รวมทั้งการปรับเพิ่มการคาดการณ์การส่งออก ด้านราคานำเข้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.5ซึ่งมีผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ด้านปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 8.1
(5) ดุลการค้าคาดว่าจะเกินดุลประมาณ 10.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่ง ปรับลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะเกินดุล 12.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออก โดยคาดว่าดุลบริการจะเกินดุลประมาณ 0.8 พันล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะเกินดุล 0.5 พันล้านดอลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับประมาณการนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ดังนั้นดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลประมาณ 11.2 พันล้านดอลาร์สรอ. หรือร้อยละ 3.1 ของ GDP ซึ่งเป็นการเกินดุลลดลงจาก 12.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในการคาดการณ์ในครั้งก่อน
(6) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจปี 2554 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.0-3.8 ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ2.8-3.8 ส่วนอัตราการว่างงานยังคงระดับต่ำอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.8 สะท้อนถึงภาวะตลาดแรงงานตึงตัว
การประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงและกรณีต่ำ
(1) กรณีสูง เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 ภายใต้เงื่อนไข (1) เศรษฐกิจโลกขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 4.2 โดยที่เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจสหภาพยุโรปขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งได้รับแรงขับเคลื่อนจากการขยายตัวได้ดีของเศรษฐกิจเยอรมันและฝรั่งเศส ปัญหาหนี้สาธารณะสูงได้รับการแก้ไขและควบคุมได้ดี ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัวได้ต่อเนื่อง ปัญหาด้านหนี้สาธารณะระดับสูงและภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ก่อให้เกิดการชะลอตัวอย่างรุนแรง ส่วนเศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถฟื้นตัวได้ดีในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 หลังจากได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในช่วงต้นปี และประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ โดยเฉพาะ จีน ยังคงขยายตัวได้ดี แม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพิ่มขึ้น ทั้ง ราคาน้ำ มัน อัตราดอกเบี้ยและ เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น
(2) สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศของไทยหลังจากการเลือกตั้งดำเนินไปได้อย่างราบรื่น โดยไม่มีความรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักลงทุน และการท่องเที่ยว (3) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน 107 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล (4) การผลิตรถยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และทำการผลิตได้ตามเป้าหมาย และ(5) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่สูงกว่าร้อยละ 3.5(2) กรณีต่ำ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 3.5 ในกรณีที่ (1) เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ต่ำกว่าร้อยละ3.8 (2) ราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่า 107 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ทำให้อัตราการขยายตัวของการบริโภค และการลงทุนต่ำกว่าที่คาดการณ์ นอกจากนี้ยังมีผลให้ดุลการค้าลดลงมากกว่าที่คาดการณ์
(3) การดำเนินนโยบายด้านการคลังไม่ต่อเนื่องส่งผลต่อการเบิกจ่ายงบลงทุนและรายจ่ายประจำไม่เป็นไปตามเป้าหมาย (4) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าร้อยละ 3.5 ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน และ (5) ปัญหาภัยธรรมชาติรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของผลผลิตภาคการเกษตรที่สำคัญ ทั้ง ข้าว ยางพารา อ้อย และปาล์มน้ำมัน
(1) เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสองปัจจัยหลัก คือ กำลังซื้อในชนบทอันเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายดูแลรายได้เกษตรกรและเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร และกำลังซื้อจากการเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ดังนั้น ในระยะต่อไป จึงควรสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงของรายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเน้นมาตรการเสริมทางด้านการเพิ่มผลิตภาพการผลิต การแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหาร และการตลาดเชิงรุกสำ หรับภาคเกษตร และการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพและผลิตภาพของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ
(2) แนวโน้มของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับสูงแม้จะลดลงในช่วงสั้นๆ ซึ่งยังคงมีผลกระทบต่อราคาสินค้าและค่าครองชีพของประชาชนส่วนใหญ่ จึงควรดูแลราคาสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นให้เป็นธรรมทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต ทั้งนี้โดยให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลข่าวสารราคาสินค้ากับผู้บริโภคและเสริมด้วยมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการประหยัดหรือปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น
(3) ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวสู่ภาวะปกติ ควรจะให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการเร่งรัดโครงการพัฒนาด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ การพัฒนาพลังงานทดแทน การปรับโครงสร้างภาษีเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การผลิตและพัฒนาคุณภาพกำลังคนเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต และการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(4) เนื่องจากปริมาณการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านและการค้ากับประเทศในอาเซียนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นในอนาคต จึงควรเร่งรัดแผนการเชื่อมโยงเศรษฐกิจทั้งด้านคมนาคมขนส่งและด้านการอำนวยความสะดวกสินค้าข้ามพรมแดนในระบบบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window) และเตรียมความพร้อมของภาครัฐ ภาคเอกชน และประเทศในการใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงดังกล่าว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--