เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เดินทางไปติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ของกลุ่มจังหวัดในภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่
ในโอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายว่า ให้ทุกจังหวัดสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา และร่วมกันคิดแก้ปัญหาชุมชน โดยประชาชนในชุมชน และให้จังหวัดและอำเภอเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนการแก้ปัญหาหลักของชุมชน สำหรับปีงบประมาณ 2550 ให้กระจายเงินสู่ชุมชนให้เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม 2550
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ กล่าวว่า การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดให้ประสบความสำเร็จ ผู้มีหน้าที่ดำเนินงานต้องยึดหลักการสำคัญในการทำงาน 3 ประการ คือ หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ หลักการบริหารจัดการให้เกิดความเชื่อมโยงและมีบูรณาการ และการยึดแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่มีสุขระดับจังหวัด ซึ่งมี 5 แผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง แผนงานพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน แผนงานการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน แผนงานสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ และแผนงานบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา เน้นการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ทำให้ประชาชนและชุมชนรับรู้แต่ไม่ได้เรียนรู้ จึงไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การพึ่งตนเองต้องเกิดจากกระบวนการชุมชนที่มาจากการร่วมคิด มองปัญหา และแสวงหาความรู้ที่จะนำไปแก้ไข แล้วนำไปทดลองปฏิบัติ ซึ่งเป็นวิธีการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน ยุทธศาสตร์นี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักที่จะไปสนับสนุนให้ชุมชนร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา ตลอดจนการร่วมกันคิดหาวิธีแก้ปัญหาของชุมชน โดยประชาชนในชุมชนเอง เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ แทนการยึดความต้องการเป็นตัวตั้ง อันเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือประสิทธิภาพการ
บริหารจัดการของแต่ละจังหวัด
นายโฆสิต กล่าวว่า ทุกอย่างเป็นกระบวนการ การเริ่มต้นจากการคำนึงถึงประสิทธิภาพ จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ว่าแผนและโครงการที่ดีเป็นอย่างไร โดยขอให้ชุมชนเรียนรู้การทำแผนที่มีประสิทธิภาพจากชุมชนที่มีแผนในระดับที่ดีกว่าของตนเองและพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลักการสำคัญของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นี้คือการสร้างกระบวนการพัฒนาที่เป็นความคิดในเชิงพัฒนาการ ไม่ใช่แค่การกระจายการพัฒนาแต่เพียงอย่างเดียว บางชุมชนมีความพร้อม มีความสามารถ ส่วนมากชุมชนยังไม่พร้อม ต้องไปสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นก่อน
สำหรับกลไกการดำเนินงานนั้น อำเภอเป็นจุดแรกในการบูรณาการและเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดช่วยกำกับให้เป็นไปตามหลักการในการสนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่มีประสิทธิภาพ
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยุทธศาสตร์นี้เป็นฐานการพัฒนาที่รากแก้ว ถ้าฐานเข้มแข็งไปถึงระดับที่มีการพัฒนาที่มีคุณภาพ การบริหารจัดการก็จะมุ่งไปสู่มูลค่าเพิ่ม โดยงบประมาณจากโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (คพพ.) จะมาเสริมการพัฒนาตามยุทธศาสตร์นี้ ในการต่อยอดการพัฒนาในชุมชนที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ โดยแผนชุมชนจะเป็นตัวชี้ระดับการพัฒนาว่าอยู่ในเกรดใด โดยขอให้จังหวัดและอำเภอพิจาณาการจัดเกรดของแผนชุมชนให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนาที่เป็นจริง ซึ่งองค์ประกอบของแผนชุมชนที่ดีประกอบด้วย กระบวนการช่วยกันคิดและช่วยกันทำในชุมชน เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองและแก้ปัญหาของชุมชนได้
“การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นี้ให้น้ำหนักที่การพัฒนาไปสู่คุณภาพและประสิทธิภาพ โดยเน้น2 เรื่อง คือ ความเชื่อมโยงกับจุดต่างๆ และความเข้มแข็งของชุมชน จังหวัดนับเป็นหน่วยงานสำคัญในการสนับสนุนความคิดของชุมชน ส่วนอำเภอจะต้องมีวิสัยทัศน์ในการช่วยจังหวัดดำเนินการให้บรรลุผล
สำหรับการกระจายเงินลงชุมชนนั้น ขอให้ทุกจังหวัดรีบดำเนินการกระจายเงินปีงบประมาณ 2550 ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม 2550 สำหรับแผนและข้อเสนองบประมาณ ตามยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ปี 2551 ขอให้จังหวัดส่งข้อเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภายในเดือนสิงหาคม 2550” นายโฆสิต กล่าวในที่สุด
การติดตามงานครั้งนี้ เป็นการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ฯ ครอบคลุมทุกจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน และในวันที่ 1 มิถุนายน 2550 รองนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปติดตามงานของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก พิจิตร นครสวรรค์อุทัยธานี เพชรบูรณ์ และกำแพงเพชร ณ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก และศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ในโอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายว่า ให้ทุกจังหวัดสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา และร่วมกันคิดแก้ปัญหาชุมชน โดยประชาชนในชุมชน และให้จังหวัดและอำเภอเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนการแก้ปัญหาหลักของชุมชน สำหรับปีงบประมาณ 2550 ให้กระจายเงินสู่ชุมชนให้เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม 2550
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ กล่าวว่า การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดให้ประสบความสำเร็จ ผู้มีหน้าที่ดำเนินงานต้องยึดหลักการสำคัญในการทำงาน 3 ประการ คือ หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ หลักการบริหารจัดการให้เกิดความเชื่อมโยงและมีบูรณาการ และการยึดแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่มีสุขระดับจังหวัด ซึ่งมี 5 แผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง แผนงานพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน แผนงานการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน แผนงานสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ และแผนงานบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา เน้นการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ทำให้ประชาชนและชุมชนรับรู้แต่ไม่ได้เรียนรู้ จึงไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การพึ่งตนเองต้องเกิดจากกระบวนการชุมชนที่มาจากการร่วมคิด มองปัญหา และแสวงหาความรู้ที่จะนำไปแก้ไข แล้วนำไปทดลองปฏิบัติ ซึ่งเป็นวิธีการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน ยุทธศาสตร์นี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักที่จะไปสนับสนุนให้ชุมชนร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา ตลอดจนการร่วมกันคิดหาวิธีแก้ปัญหาของชุมชน โดยประชาชนในชุมชนเอง เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ แทนการยึดความต้องการเป็นตัวตั้ง อันเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือประสิทธิภาพการ
บริหารจัดการของแต่ละจังหวัด
นายโฆสิต กล่าวว่า ทุกอย่างเป็นกระบวนการ การเริ่มต้นจากการคำนึงถึงประสิทธิภาพ จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ว่าแผนและโครงการที่ดีเป็นอย่างไร โดยขอให้ชุมชนเรียนรู้การทำแผนที่มีประสิทธิภาพจากชุมชนที่มีแผนในระดับที่ดีกว่าของตนเองและพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลักการสำคัญของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นี้คือการสร้างกระบวนการพัฒนาที่เป็นความคิดในเชิงพัฒนาการ ไม่ใช่แค่การกระจายการพัฒนาแต่เพียงอย่างเดียว บางชุมชนมีความพร้อม มีความสามารถ ส่วนมากชุมชนยังไม่พร้อม ต้องไปสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นก่อน
สำหรับกลไกการดำเนินงานนั้น อำเภอเป็นจุดแรกในการบูรณาการและเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดช่วยกำกับให้เป็นไปตามหลักการในการสนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่มีประสิทธิภาพ
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยุทธศาสตร์นี้เป็นฐานการพัฒนาที่รากแก้ว ถ้าฐานเข้มแข็งไปถึงระดับที่มีการพัฒนาที่มีคุณภาพ การบริหารจัดการก็จะมุ่งไปสู่มูลค่าเพิ่ม โดยงบประมาณจากโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (คพพ.) จะมาเสริมการพัฒนาตามยุทธศาสตร์นี้ ในการต่อยอดการพัฒนาในชุมชนที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ โดยแผนชุมชนจะเป็นตัวชี้ระดับการพัฒนาว่าอยู่ในเกรดใด โดยขอให้จังหวัดและอำเภอพิจาณาการจัดเกรดของแผนชุมชนให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนาที่เป็นจริง ซึ่งองค์ประกอบของแผนชุมชนที่ดีประกอบด้วย กระบวนการช่วยกันคิดและช่วยกันทำในชุมชน เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองและแก้ปัญหาของชุมชนได้
“การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นี้ให้น้ำหนักที่การพัฒนาไปสู่คุณภาพและประสิทธิภาพ โดยเน้น2 เรื่อง คือ ความเชื่อมโยงกับจุดต่างๆ และความเข้มแข็งของชุมชน จังหวัดนับเป็นหน่วยงานสำคัญในการสนับสนุนความคิดของชุมชน ส่วนอำเภอจะต้องมีวิสัยทัศน์ในการช่วยจังหวัดดำเนินการให้บรรลุผล
สำหรับการกระจายเงินลงชุมชนนั้น ขอให้ทุกจังหวัดรีบดำเนินการกระจายเงินปีงบประมาณ 2550 ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม 2550 สำหรับแผนและข้อเสนองบประมาณ ตามยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ปี 2551 ขอให้จังหวัดส่งข้อเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภายในเดือนสิงหาคม 2550” นายโฆสิต กล่าวในที่สุด
การติดตามงานครั้งนี้ เป็นการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ฯ ครอบคลุมทุกจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน และในวันที่ 1 มิถุนายน 2550 รองนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปติดตามงานของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก พิจิตร นครสวรรค์อุทัยธานี เพชรบูรณ์ และกำแพงเพชร ณ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก และศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-