รายงานผลการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 22, 2007 11:28 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          คณะรัฐมนตรี รัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์  จุลานนท์ ได้เข้ามาบริหารประเทศภายหลังจากการปฏิรูปการปกครองและเป็นช่วงเวลาที่ประเทศ
ประสบปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ปัญหาความขัดแย้งในสังคม ปัญหาความเชื่อมั่นในระบบตรวจสอบการทุจริตของภาครัฐ และ
ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ดีเนื่องจากระยะเวลาการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลมีจำกัด รัฐบาลได้มุ่งเน้นการ
วางรากฐาน การพัฒนาในด้านเศรษฐกิจสังคม และการเมือง เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในระยะยาวควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน
ช่วงก่อนเข้ามารับหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน และการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาการบริหารงาน ทั้งนี้ การวางรากฐานการพัฒนา
ประเทศในระยะยาวนั้น รัฐบาลให้ความสำคัญกับการสร้างระบบธรรมาภิบาล และระบบคุณธรรมในการบริหารงานทุกระดับ และการวางรากฐานด้าน
เศรษฐกิจและสังคมที่ทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเอง และมีภูมิคุ้มกันตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
โดยในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมีผลการดำเนินงานตามนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล สรุปได้ดังนี้
๑. นโยบายการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหารรัฐบาลได้ตระหนักว่าสถานการณ์ทางการเมืองและการบริหารในช่วงเวลาที่
ผ่านมาเกิดวิกฤติในศรัทธาของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจึงเร่งแก้ไขวิกฤติการณ์ดังกล่าวโดยผลการดำเนินงานด้านการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และ
การบริหารของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา สรุปได้ดังนี้
๑.๑ สนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวรรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการเมืองที่เน้นให้ประชาชนมีส่วน
ร่วมในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญทุกระดับ โดยในช่วงที่ผ่านมามีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
๑.๑.๑ การมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
โดยในส่วนของสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วม 34 รายงานผลการดำเนินการตามนโยบายของคณะ
รัฐมนตรี รัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และการประชามติ ดำเนินงานร่วมกับส่วนราชการอื่น ได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์ และกระทรวง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนรวม ๘๗ เวทีทั่วประเทศ และจัดทำแบบสอบถามรายบุคคล เพื่อ
ประกอบการร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นมีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน และการให้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตย เพื่อรับข้อเสนอแนะ ข้อ
คิดเห็นการร่างรัฐธรรมนูญตลอดจนการผลิตสื่อโฆษณา บทความ ข่าว สารคดี ผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงและสื่อวิทยุโทรทัศน์เผยแพร่ทั่วประเทศ ตลอด
จนขอความร่วมมือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชนได้รับทราบข้อมูล รวมทั้งได้จัดทำผลสำรวจประเด็นในการจัดทำร่างรัฐ
ธรรมนูญปี ๒๕๕ เพื่อนำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนต่อไป
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕ อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
พ.ศ. .... และจัดส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พิจารณาโดยด่วนต่อไปสำหรับค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่กระบวนการและขั้นตอนการออกเสียงประชามติ และการจัดการออกเสียงประชามติ
นั้น รัฐบาลได้จัดเตรียม งบประมาณเพื่อรองรับการทำประชามติไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕ แล้ว และได้จัดเตรียมงบประมาณในปีงบประมาณ พ.
ศ. ๒๕๕๑ สำหรับรองรับการจัดการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในโอกาสต่อไปแล้ว
๑.๑.๒ ผลการดำเนินการของคณะกรรมการอำนวยการการมีส่วนร่วมของประชาชนและคณะอนุกรรมการต่างๆรัฐบาลได้แต่ง
ตั้งคณะกรรมการอำนวยการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร เพื่อจัดทำกรอบแนวทาง แผนงานที่
รัฐบาลส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญฯ และคณะกรรมการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ๔ คณะ คือ คณะอนุกรรมการ
บริหารแผนงาน คณะอนุกรรมการสนับสนุนการมีส่วนร่วมและรณรงค์ คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ และคณะอนุกรรมการวิชาการและข้อมูล
คณะกรรมการอำนวยการการ มีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร ได้จัดเวที
สัมมนาระดมความคิดเห็นของประชาชน ๔๕ เวที และจัดสัมมนา เชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ ๗ - ๙ มีนาคม ๒๕๕
โดยสรุปประเด็นเสนอคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕ และได้จัดเวทีเสียงประชาชนเพื่อรับฟัง ความคิดเห็นของ
ประชาชนในต่างจังหวัดทั่วประเทศ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕ นอกจากนั้นยังได้จัดทำแผนประชาสัมพันธ์เร่งด่วน ผลิตวัสดุประชาสัมพันธ์คู่มือให้ความรู้
แก่ประชาชน พร้อมทั้งเปิดรับความเห็นผ่านเว็บไซต์ www.cppc.thaigov.go.th ตู้ ปณ.๙๙๙๙ ปณ.ทำเนียบรัฐบาล และทางโทรศัพท์หมายเลข
๑๑๑๑ โดยจะรวบรวม ประมวลข้อคิดเห็น เสนอคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
(ยังมีต่อ).../๑.๒ เสริมสร้าง..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ