(ต่อ1)ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 3/2549

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 21, 2007 16:09 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ด้านการผลิต                          
- การผลิตขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอลงทั้งภาคเกษตรและภาคนอกเกษตร
การผลิตขยายตัวในอัตราชะลอลงต่อเนื่องร้อยละ 4.7 จากร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อน ชะลอลงทั้งภาคเกษตรและภาคนอกเกษตร โดย
ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากร้อยละ 7.1 ในขณะที่ภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.9 ในไตรมาส
ก่อน เป็นผลจากการผลิตสาขาหลักชะลอตัวลงเช่น อุตสาหกรรม การก่อสร้าง การค้าส่งค้าปลีก โรงแรมและภัตตาคาร และตัวกลางทางการเงิน
สาขาเกษตร
- พืชผลและปศุสัตว์ขยายตัวชะลอลง ส่วนประมงขยายตัวสูงขึ้น
การผลิตขยายตัวร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 7.1 ในไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากหมวดพืชผลและหมวดปศุสัตว์ที่ขยายตัว
ชะลอลงร้อยละ 5.5 และร้อยละ 6.5 จากร้อยละ 9.7 และ 8.5 ตามลำดับ ในขณะที่หมวดประมงขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.8 จากร้อยละ 1.8
ในไตรมาสก่อน
* หมวดพืชผล ขยายตัวร้อยละ 5.5 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 9.7 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากในเดือนสิงหาคมและกันยายน
ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง ร่วมกับอิทธิพลพายุฝนในทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีฝนตกหนัก กระทบต่อผลผลิตพืชหลักบางชนิด
ออกสู่ตลาดน้อยลง เช่น ข้าวโพด ยางพารา ในขณะที่ อ้อยไม่มีผลผลิตออกสู่ตลาดในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ตามพืชบางชนิดยังคงมีผลผลิตสูง เช่น
ข้าว มันสำปะหลัง สับปะรด และปาล์มน้ำมัน
* หมวดปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 8.5 ในไตรมาสก่อน โดยการผลิตไก่เนื้อชะลอลง เพราะมี
การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในช่วงเดือนกรกฎาคม แต่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ ทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อไก่อยู่ในภาวะปกติ การผลิตจึง
ยังขยายตัวแม้ว่าจะมีอัตราที่ชะลอลง ในขณะที่การผลิตสุกรชะลอลงเช่นกัน เนื่องจากช่วงปลายปีที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรบางส่วนประสบปัญหาโรค
ทางเดินหายใจ (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome: PRRS) ระบาดในสุกร ทำให้ได้รับความเสียหายทั้งสุกรแม่พันธุ์ ลูก
สุกร และสุกรขุน
* หมวดประมง ขยายตัวร้อยละ 4.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่มีการขยายตัวร้อยละ 1.8 เนื่องจากมีการผลิตและการส่งออกกุ้งเพิ่ม
ขึ้น แม้ว่าเกษตรกรและผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำมันแพงและค่าเงินบาทที่แข็งตัวก็ตาม โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น แคนาดา สหภาพยุโรป และเกาหลีใต้
* ระดับราคาสินค้าเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ชะลอลงมากจากไตรมาสก่อน เป็นผลจากราคาของพืชเกษตรหลักบางชนิดมีราคาลดลง
เช่น มันสำปะหลัง สับปะรดและปาล์มน้ำมัน เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ประกอบกับราคายางพาราชะลอตัวลงมากในไตรมาสนี้ โดยขยายตัวเพียง
ร้อยละ 16.2 เทียบกับร้อยละ 23.0 ในไตรมาสที่แล้ว นอกจากนั้นราคาของปศุสัตว์ลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะ ไก่ ไข่ไก่ และสุกร
สาขาอุตสาหกรรม
" อุตสาหกรรมวัตถุดิบขยายตัวชะลอลง อุตสาหกรรมทุนและเทคโนโลยีขยายตัวต่อเนื่องแต่เริ่มชะลอลง ส่วนอุตสาหกรรมเบาขยายตัว
สูงขึ้น "
การผลิตขยายตัวร้อยละ 5.4 ชะลอลงจากร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากอุตสาหกรรมวัตถุดิบขยายตัวชะลอลง ในขณะที่
อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีที่พึ่งพิงตลาดส่งออกเป็นหลักเริ่มขยายตัวชะลอลงเช่นกัน แม้ว่ายังขยายตัวได้ในระดับที่ดี ส่วนอุตสาหกรรมเบาการ
ผลิตรวมขยายตัวสูงขึ้น อุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวได้ดีในไตรมาสนี้ประกอบด้วย อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิกส์
และอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
อัตราการขยายตัวสาขาอุตสาหกรรม (ร้อยละ)
2548 2549
2548 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
อุตสาหกรรมเบา 0.7 -1.6 2.8 0.7 1.2 5.0 2.1 4.2
อุตสาหกรรมวัตถุดิบ 3.2 4.8 4.9 4.9 -1.4 2.4 2.7 1.2
อุตสาหกรรมสินค้าทุน และเทคโนโลยี 9.7 6.6 9.2 11.2 11.7 12.8 10.4 8.9
อุตสาหกรรมรวม 5.2 3.0 6.2 6.5 5.2 7.6 5.7 5.4
อุตสาหกรรมเบา ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.2 จากร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
อุตสาหกรรมยาสูบ ขยายตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมอื่นๆ ในกลุ่มนี้โดยส่วนใหญ่การผลิตชะลอหรือลดลง อุตสาหกรรมที่สำคัญในกลุ่มนี้ประกอบ
ด้วย
* อาหารและเครื่องดื่ม ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 13.0 จากร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากอุตสาหกรรมผลไม้กระป๋องขยายตัว
ได้ดีจากการส่งออกที่ขยายตัวสูง และอุตสาหกรรมน้ำมันพืชที่ขยายตัวสูงเนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณมากและราคาถูกลง ในขณะเดียวกันการผลิตเครื่องดื่ม
ขยายตัวสูงในอุตสาหกรรมเบียร์ที่ผลิตเพื่อสะสมสินค้าคงคลังสำหรับเตรียมจำหน่ายในช่วงปลายปี ประกอบกับฐานการผลิตในช่วงปีก่อนต่ำ
* ยาสูบ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากที่ผลิตลดลงมา 5 ไตรมาสติดต่อกันในช่วงที่มีการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต
* สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมในกลุ่มสิ่งทอลดลงร้อยละ 1.1 และกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปชะลอตัวลงร้อยละ 2.1 เป็นผลจาก
การส่งออกต่างประเทศปรับตัวลดลง
อุตสาหกรรมวัตถุดิบ ขยายตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 1.2 จากร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อน อุตสาหกรรมสำคัญในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย
* เคมีและผลิตภัณฑ์เคมี ลดลงร้อยละ 0.1 เป็นผลจากการผลิตของอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีลดลง เนื่องจากได้มีการปิดซ่อมบำรุงโรง
งานในบางเดือนของไตรมาสนี้
* โรงกลั่นน้ำมัน ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องร้อยละ 0.2 จากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากการจำหน่ายในประเทศหดตัวต่อ
เนื่องจากภาวะราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง
(ยังมีต่อ).../*อโลหะ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ