เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปี 2545 ยังมีความเสี่ยงจากการที่เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดไว้ และสินค้าบางประเภทอาจถูกแข่งขันจากสินค้าจีนที่เริ่มขยายตลาดมากขึ้นเมื่อได้เข้าเป็นสมาชิก WTO แล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 ขอจำกัดดังกล่าวอาจส่งผลกระทบให้ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคขยายตัวได้น้อยกว่าปี 2544 ซึ่งสำหรับประเทศไทยนอกจากปัญหาคนจนและคนตกงานที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจยังมีคนใกล้เส้นความยากจน และแรงงานทำงานต่ำระดับอีกมากที่มีความเสี่ยงจะกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นการพยายามสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ให้ชะลอตัวมากจนเกินไปและสร้างงานจึงเป็นเรื่องจำเป็น นอกจากนั้นควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันและการแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และนโยบายรัฐบาล มาตรการที่ควรพิจารณาดำเนินการในปี 2545 มีดังนี้
1. มาตรการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
(1) ธนาคารประชาชน เป็นมาตรการที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่มีรายได้น้อยได้ดี แต่ควรระมัดระวังหนี้เสียไม่ให้เกินระดับที่ธนาคารออมสินจะต้องใช้รายได้อื่น ๆ มาชดเชย ทั้งนี้ควรมีมาตรการดูแลลูกค้า ติดตามและแนะนำลูกค้า เพื่อไม่ให้เกิดหนี้เสียซึ่งจะทำให้โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ให้ผลตอบแทนที่ดีต่อธนาคารออมสินเอง และเป็นตัวอย่างแก่ธนาคารอื่น ๆ ให้เพิ่มการปล่อยสินเชื่อระดับจุลภาค
(2) ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารและการใช้ประโยชน์ของการทุนหมู่บ้าน โดยการให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนที่ต้องการช่วยสร้างงานและรายได้อย่างยั่งยืน และเตรียมสนับสนุนให้เกิดความพร้อม ความเข้าใจและความเข้มแข็งของประชาชนในหมู่บ้านพอให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านได้เพิ่มขึ้น
(3) โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ยังมีความก้าวหน้าน้อย เนื่องจากยังขาดระบบสนับสนุนด้านการออกแบบและพัฒนาสินค้า การผลิต การเงิน การตลาด และการเพิ่มขีดความสามารถการบริหารธุรกิจอย่างครบวงจร นอกจากนั้นยังต้องมีการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วประเทศนิยมใช้สินค้าท้องถิ่นให้สำเร็จ โดยควรคัดเลือกสินค้าในโครงการเป็นตัวอย่าง
2. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการว่างงาน
(1) งบสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณปี 2545 คาดว่าจะอนุมัติได้เรียบร้อยและมีการเริ่มจ่ายอย่างเต็มที่ในสามไตรมาสของปี 2545 ดังนั้นจึงต้องเตรียมเร่งรัดการใช้จ่ายให้ได้ตามเวลาที่กำหนด พร้อมกับเตรียมป้องกันการใช้เงินอย่างผิดวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งนี้เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างฐานการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายของโครงการ
(2) โครงการสินเชื่อพิเศษเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ ซึ่งขณะเป็นการร่วมดำเนินการของธนาคารอาคารสงเคราะห์และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นมาตรการที่ยังมีความต้องการจากผู้อยู่ในข่าวขอสินเชื่อได้อีกมากและเป็นมาตรการที่ช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคก่อสร้างในอนาคต จึงควรมีการพิจารณาสนับสนุนใหม่โครงการต่อเนื่อง
(3) การดำเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ในปี 2545 บสท. จะต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้โดยให้ความสำคัญกับกิจการที่สามารถฟื้นฟูได้ และการแก้ไขปัญหาหนี้รายกลุ่มการผลิตซึ่งหากมีมาตรการของรัฐระดับสาขาการผลิตที่สอดคล้องกันจะสามารถช่วยลูกหนี้และส่งเสริมเศรษฐกิจบางสาขาของประเทศที่มีผลต่อการจ้างงานและการสร้างกิจกรรมต่อเนื่องได้ เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ และสิ่งทอ เป็นต้น
(4) การพัฒนาสาขาการท่องเที่ยว เป็นสาขาที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากหลายแห่งในปี 2544 และ 2545 ทั้งจากเงินงบประมาณและนอกงบประมาณ โดยการใช้จ่ายจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การดำเนินการด้านการตลาด และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ดังนั้นควรมีการประเมินผลมาตรการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า และเพิ่มการวิจัยกลุ่มลูกค่าและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เห็นผลเพิ่มขึ้น โครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนแล้ว เป็นวงเงินรวมประมาณ 3,300 ล้านบาท และควรเร่งรัดให้เกิดผล ได้แก่ Be My Guest Campaign กองทุน Matching Fund for MICE การพัฒนาเกาะช้างและหมู่เกาะใกล้เคียง การพัฒนานักท่องเที่ยวที่พำนักระยะยาว (long stay) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในอุทยาน การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เมืองหลัก-เมืองเสริม-เมืองศักยภาพ-เมืองชายแดน การพัฒนากิจกรรมและประเพณีของท้องถิ่นให้เกิดศักยภาพในการดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่องทุกเดือน เป็นต้น
3. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขัน
(1) การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจและการนำหุ้นรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจทั้งหมด โดยเฉพาะการสร้างให้เกิดการแข่งขันในระดับที่เหมาะสม การจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลการให้บริการรายสาขา และการแยกบทบาทการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแลและผู้ประกอบการออกจากกันอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันรัฐบาลมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินทรัพย์ภาครัฐวิสาหกิจ โดยนำหุ้นรัฐวิสาหกิจเข้าระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ และจะมีการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติชึ้นมาเพื่อบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ ขณะนี้ สศช.ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล กำลังพิจารณาทบทวนการจัดกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่มีความเหมาะสมและความพร้อมสำหรับนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ และกลุ่มที่ไม่มีศักยภาพดึงดูดนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเสนอยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงานขึ้นต่อไป
(2) จัดทำโครงการตัวอย่างในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระดับประเทศ โดยให้รัฐวิสาหกิจดำเนินมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานทุกด้านอย่างเป็นระบบทั้งในด้านคุณภาพการให้บริการ ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารที่ทันสมัย เป็นต้น เพื่อให้การจัดหาบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศตั้งอยู่บนพื้นฐานต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ มีบริการที่ได้มาตรฐานสากลและรัฐวิสาหกิจมีการบริหารจัดการที่คำนึงถึงการแข่งขัน รวมทั้งกำหนดเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับอย่างชัดเจนเพื่อรายงานต่อประชาชน
(3) ให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับการลงทุนและสร้างขีดความสามรถในการแข่งขันของประเทศ โครงการที่ควรเร่งรัดและให้ความสำคัญ ได้แก่ โครงการสนามบินสุวรรณภูมิและระบบต่อเชื่อมการคมนาคมกับกรุงเทพฯ โครงการพัฒนารถไฟทางคู่รอบ กทม. 234 กม.โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (หัวลำโพง-ศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์-บางซื่อ) โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพส่วนต่อขยาย โครงการก่อสร้างและปรับปรุงระบบเสริมจำหน่าย ส่วนที่ 2 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น
(4) จัดทำโครงการนำร่องด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจัดทำเป็นระบบ cluster เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มสินค้าเซรามิค เป็นต้น โดยมี การประสานงานระหว่างหน่วยราชการ ภาคเอกชน และสถาบันวิชาการ ให้เกิดความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด
3. การแก้ไขปัญหาความยากจน
(1) โครงการที่มีเป้าหมายคนยากจน (poverty target) ในการจัดทำงบประมาณของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2546 ควรมีการจัดทำโครงการที่มีเป้าหมายคนยากจน (poverty target) ที่ชัดเจนให้เป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณ และพิจารณาให้เงินงบประมาณโดยตรงแก่ภาคีการพัฒนาที่ไม่ใช่ส่วนราชการสามารถดำเนินโครงการแก้ไขความยากจนได้ดีและจัดระบบประเมินผล
(2) การลดความผันผวน หรือป้องกันความเสี่ยงของราคาสินค้าเกษตร ควรเร่งสนับสนุนการใช้กลไกตลาดโดยการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า วางระบบกำกับดูแลที่ดี และให้ความรู้และดูแลให้ประโยชน์ที่เกิดขนส่งผลถึงกลุ่มเกษตรกร
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
1. มาตรการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
(1) ธนาคารประชาชน เป็นมาตรการที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่มีรายได้น้อยได้ดี แต่ควรระมัดระวังหนี้เสียไม่ให้เกินระดับที่ธนาคารออมสินจะต้องใช้รายได้อื่น ๆ มาชดเชย ทั้งนี้ควรมีมาตรการดูแลลูกค้า ติดตามและแนะนำลูกค้า เพื่อไม่ให้เกิดหนี้เสียซึ่งจะทำให้โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ให้ผลตอบแทนที่ดีต่อธนาคารออมสินเอง และเป็นตัวอย่างแก่ธนาคารอื่น ๆ ให้เพิ่มการปล่อยสินเชื่อระดับจุลภาค
(2) ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารและการใช้ประโยชน์ของการทุนหมู่บ้าน โดยการให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนที่ต้องการช่วยสร้างงานและรายได้อย่างยั่งยืน และเตรียมสนับสนุนให้เกิดความพร้อม ความเข้าใจและความเข้มแข็งของประชาชนในหมู่บ้านพอให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านได้เพิ่มขึ้น
(3) โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ยังมีความก้าวหน้าน้อย เนื่องจากยังขาดระบบสนับสนุนด้านการออกแบบและพัฒนาสินค้า การผลิต การเงิน การตลาด และการเพิ่มขีดความสามารถการบริหารธุรกิจอย่างครบวงจร นอกจากนั้นยังต้องมีการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วประเทศนิยมใช้สินค้าท้องถิ่นให้สำเร็จ โดยควรคัดเลือกสินค้าในโครงการเป็นตัวอย่าง
2. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการว่างงาน
(1) งบสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณปี 2545 คาดว่าจะอนุมัติได้เรียบร้อยและมีการเริ่มจ่ายอย่างเต็มที่ในสามไตรมาสของปี 2545 ดังนั้นจึงต้องเตรียมเร่งรัดการใช้จ่ายให้ได้ตามเวลาที่กำหนด พร้อมกับเตรียมป้องกันการใช้เงินอย่างผิดวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งนี้เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างฐานการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายของโครงการ
(2) โครงการสินเชื่อพิเศษเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ ซึ่งขณะเป็นการร่วมดำเนินการของธนาคารอาคารสงเคราะห์และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นมาตรการที่ยังมีความต้องการจากผู้อยู่ในข่าวขอสินเชื่อได้อีกมากและเป็นมาตรการที่ช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคก่อสร้างในอนาคต จึงควรมีการพิจารณาสนับสนุนใหม่โครงการต่อเนื่อง
(3) การดำเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ในปี 2545 บสท. จะต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้โดยให้ความสำคัญกับกิจการที่สามารถฟื้นฟูได้ และการแก้ไขปัญหาหนี้รายกลุ่มการผลิตซึ่งหากมีมาตรการของรัฐระดับสาขาการผลิตที่สอดคล้องกันจะสามารถช่วยลูกหนี้และส่งเสริมเศรษฐกิจบางสาขาของประเทศที่มีผลต่อการจ้างงานและการสร้างกิจกรรมต่อเนื่องได้ เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ และสิ่งทอ เป็นต้น
(4) การพัฒนาสาขาการท่องเที่ยว เป็นสาขาที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากหลายแห่งในปี 2544 และ 2545 ทั้งจากเงินงบประมาณและนอกงบประมาณ โดยการใช้จ่ายจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การดำเนินการด้านการตลาด และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ดังนั้นควรมีการประเมินผลมาตรการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า และเพิ่มการวิจัยกลุ่มลูกค่าและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เห็นผลเพิ่มขึ้น โครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนแล้ว เป็นวงเงินรวมประมาณ 3,300 ล้านบาท และควรเร่งรัดให้เกิดผล ได้แก่ Be My Guest Campaign กองทุน Matching Fund for MICE การพัฒนาเกาะช้างและหมู่เกาะใกล้เคียง การพัฒนานักท่องเที่ยวที่พำนักระยะยาว (long stay) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในอุทยาน การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เมืองหลัก-เมืองเสริม-เมืองศักยภาพ-เมืองชายแดน การพัฒนากิจกรรมและประเพณีของท้องถิ่นให้เกิดศักยภาพในการดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่องทุกเดือน เป็นต้น
3. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขัน
(1) การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจและการนำหุ้นรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจทั้งหมด โดยเฉพาะการสร้างให้เกิดการแข่งขันในระดับที่เหมาะสม การจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลการให้บริการรายสาขา และการแยกบทบาทการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแลและผู้ประกอบการออกจากกันอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันรัฐบาลมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินทรัพย์ภาครัฐวิสาหกิจ โดยนำหุ้นรัฐวิสาหกิจเข้าระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ และจะมีการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติชึ้นมาเพื่อบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ ขณะนี้ สศช.ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล กำลังพิจารณาทบทวนการจัดกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่มีความเหมาะสมและความพร้อมสำหรับนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ และกลุ่มที่ไม่มีศักยภาพดึงดูดนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเสนอยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงานขึ้นต่อไป
(2) จัดทำโครงการตัวอย่างในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระดับประเทศ โดยให้รัฐวิสาหกิจดำเนินมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานทุกด้านอย่างเป็นระบบทั้งในด้านคุณภาพการให้บริการ ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารที่ทันสมัย เป็นต้น เพื่อให้การจัดหาบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศตั้งอยู่บนพื้นฐานต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ มีบริการที่ได้มาตรฐานสากลและรัฐวิสาหกิจมีการบริหารจัดการที่คำนึงถึงการแข่งขัน รวมทั้งกำหนดเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับอย่างชัดเจนเพื่อรายงานต่อประชาชน
(3) ให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับการลงทุนและสร้างขีดความสามรถในการแข่งขันของประเทศ โครงการที่ควรเร่งรัดและให้ความสำคัญ ได้แก่ โครงการสนามบินสุวรรณภูมิและระบบต่อเชื่อมการคมนาคมกับกรุงเทพฯ โครงการพัฒนารถไฟทางคู่รอบ กทม. 234 กม.โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (หัวลำโพง-ศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์-บางซื่อ) โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพส่วนต่อขยาย โครงการก่อสร้างและปรับปรุงระบบเสริมจำหน่าย ส่วนที่ 2 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น
(4) จัดทำโครงการนำร่องด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจัดทำเป็นระบบ cluster เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มสินค้าเซรามิค เป็นต้น โดยมี การประสานงานระหว่างหน่วยราชการ ภาคเอกชน และสถาบันวิชาการ ให้เกิดความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด
3. การแก้ไขปัญหาความยากจน
(1) โครงการที่มีเป้าหมายคนยากจน (poverty target) ในการจัดทำงบประมาณของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2546 ควรมีการจัดทำโครงการที่มีเป้าหมายคนยากจน (poverty target) ที่ชัดเจนให้เป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณ และพิจารณาให้เงินงบประมาณโดยตรงแก่ภาคีการพัฒนาที่ไม่ใช่ส่วนราชการสามารถดำเนินโครงการแก้ไขความยากจนได้ดีและจัดระบบประเมินผล
(2) การลดความผันผวน หรือป้องกันความเสี่ยงของราคาสินค้าเกษตร ควรเร่งสนับสนุนการใช้กลไกตลาดโดยการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า วางระบบกำกับดูแลที่ดี และให้ความรู้และดูแลให้ประโยชน์ที่เกิดขนส่งผลถึงกลุ่มเกษตรกร
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-