แท็ก
อัตราเงินเฟ้อ
เครื่องชี้ด้านการใช้จ่ายและด้านการผลิตของภาคต่างๆ ในช่วงไตรมาสแรก มีการปรับตัวดีขึ้นในทิศทางที่สอดคล้องกับภาพรวมของประเทศ และอัตราการว่างงานลดลงในทุกภาค โดยที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้เกิดขึ้นทั่วถึงในทุกภูมิภาค โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายครัวเรือน การใช้จ่ายภาครัฐ และการลงทุนภาคเอกชน สำหรับแนวโน้มในช่วงที่เหลือของปีคาดว่าจะขยายต้วได้ต่อไป โดยข้อมูลที่ชี้นำในทางบวกคือ ปริมาณพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นในทุกภาค มีการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ และดอกเบี้ยที่ลดลงและการปรับตัวดีขึ้นของการจ้างงานจะช่วยสนับสนุนให้การใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวต่อไปได้ ส่วนสภาพคล่องทางการเงินยังอยู่ในระดับสูงในทุกภาค
1. โครงสร้างเศรษฐกิจรายภูมิภาค
1.1 ก่อนวิกฤต การพัฒนาที่กระจุกตัวตั้งแต่อดีตทำให้เศรษฐกิจของเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนกระทั่งวิกฤต โดยเฉพาะในช่วงปี 2530-2536 ซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวสูง จากการส่งเสริมการส่งออกและการลงทุน สัดส่วนของเศรษฐกิจในเขตนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 46.2 ต่อ GDP ในปี 2530 เป็นร้อยละ 53.0 ในปี 2536 หรือเฉลี่ยร้อยละ 50.7 ในช่วงปี 2530-2536
1.2 หลังวิกฤต วิกฤตที่เกิดขึ้นกระทบกับภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ การเงินและการค้า ซึ่งเป็นเศรษฐกิจเมืองมากกว่าเศรษฐกิจชนบท สัดส่วนของเศรษฐกิจกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจึงลดลงเป็นร้อยละ 48.3 ของ GDP ในปี 2542 และภาคที่มีสัดส่วนขนาดเศรษฐกิจเพิ่มคือ ภาคกลางรวมกับภาคตะวันออกและภาคตะวันตก
2. สถานการณ์เศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 2545
2.1 ภาคเหนือ : หลายสาขามีการขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสาขานอกภาคเกษตรกรรม ในขณะที่ภาคเกษตรมีผลผลิตลดลงจากภาวะความแห้งแล้งที่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากภาวะราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รายได้ของเกษตรกรไม่ได้รับผลกระทบมากตามภาวะผลผลิตที่ลดต่ำลง
- เกษตรกรรม ผลผลิตลดเพราะอากาศแห้งแล้ว แต่ราคาพืชผลหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง กระเทียม หอมแดง และอ้อยโรงงาน
- อุตสาหกรรม ผลผลิตน้ำตาลและสังกะสีเพิ่มขึ้น และมูลค่าการส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการจดทะเบียนโรงงานใหม่เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนรายและเงินลงทุน โดยจำนวนรายเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 และเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 350.6 จากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ขยายตัวดีกว่าช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นในด้านการใช้จ่ายของภาครัฐและการบริโภคของภาคเอกชน เนื่องอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้พิจารณาจากจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีรวมที่จัดเก็บได้ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ยอดจดทะเบียนรถยนต์และจักรยานยนต์ และรายจ่ายเพื่อการลงทุนในภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ภาวะการค้าโดยทั่วไปในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ดีขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ภาวะการค้าชายแดนไท-ลาวลดลง
- เกษตรกรรม ขยายตัวได้น้อยลง โดยการเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตอ้อยและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น แต่ข้าวนาปรังและมันสำปะหลังลดลง
- อุตสาหกรรม มีการขยายตัวเมื่อพิจารณาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าในหมวดธุรกิจอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น
2.3 ภาคใต้ : ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายครัวเรือน การลงทุน และการใช้จ่ายภาครัฐ
- เกษตรกรรม อยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตทางกสิกรรมส่วนใหญ่ลดลง อย่างไรก็ตามยางพาราซึ่งเป็นผลผลิตหลักที่มีมูลค่าสูงที่สุด มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จะเห็นได้ว่าปริมาณการส่งออกยางพารามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสที่ 1/2545 สำหรับประมงมีการหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประมงทะเลและการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ซึ่งมีปัญหาโรคระบาด การพบสารตกค้าง และราคาในตลาดโลกตกต่ำ
- อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การค้า มีการขยายตัวสูงขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
1. โครงสร้างเศรษฐกิจรายภูมิภาค
1.1 ก่อนวิกฤต การพัฒนาที่กระจุกตัวตั้งแต่อดีตทำให้เศรษฐกิจของเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนกระทั่งวิกฤต โดยเฉพาะในช่วงปี 2530-2536 ซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวสูง จากการส่งเสริมการส่งออกและการลงทุน สัดส่วนของเศรษฐกิจในเขตนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 46.2 ต่อ GDP ในปี 2530 เป็นร้อยละ 53.0 ในปี 2536 หรือเฉลี่ยร้อยละ 50.7 ในช่วงปี 2530-2536
1.2 หลังวิกฤต วิกฤตที่เกิดขึ้นกระทบกับภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ การเงินและการค้า ซึ่งเป็นเศรษฐกิจเมืองมากกว่าเศรษฐกิจชนบท สัดส่วนของเศรษฐกิจกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจึงลดลงเป็นร้อยละ 48.3 ของ GDP ในปี 2542 และภาคที่มีสัดส่วนขนาดเศรษฐกิจเพิ่มคือ ภาคกลางรวมกับภาคตะวันออกและภาคตะวันตก
2. สถานการณ์เศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 2545
2.1 ภาคเหนือ : หลายสาขามีการขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสาขานอกภาคเกษตรกรรม ในขณะที่ภาคเกษตรมีผลผลิตลดลงจากภาวะความแห้งแล้งที่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากภาวะราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รายได้ของเกษตรกรไม่ได้รับผลกระทบมากตามภาวะผลผลิตที่ลดต่ำลง
- เกษตรกรรม ผลผลิตลดเพราะอากาศแห้งแล้ว แต่ราคาพืชผลหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง กระเทียม หอมแดง และอ้อยโรงงาน
- อุตสาหกรรม ผลผลิตน้ำตาลและสังกะสีเพิ่มขึ้น และมูลค่าการส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการจดทะเบียนโรงงานใหม่เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนรายและเงินลงทุน โดยจำนวนรายเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 และเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 350.6 จากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ขยายตัวดีกว่าช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นในด้านการใช้จ่ายของภาครัฐและการบริโภคของภาคเอกชน เนื่องอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้พิจารณาจากจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีรวมที่จัดเก็บได้ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ยอดจดทะเบียนรถยนต์และจักรยานยนต์ และรายจ่ายเพื่อการลงทุนในภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ภาวะการค้าโดยทั่วไปในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ดีขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ภาวะการค้าชายแดนไท-ลาวลดลง
- เกษตรกรรม ขยายตัวได้น้อยลง โดยการเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตอ้อยและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น แต่ข้าวนาปรังและมันสำปะหลังลดลง
- อุตสาหกรรม มีการขยายตัวเมื่อพิจารณาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าในหมวดธุรกิจอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น
2.3 ภาคใต้ : ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายครัวเรือน การลงทุน และการใช้จ่ายภาครัฐ
- เกษตรกรรม อยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตทางกสิกรรมส่วนใหญ่ลดลง อย่างไรก็ตามยางพาราซึ่งเป็นผลผลิตหลักที่มีมูลค่าสูงที่สุด มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จะเห็นได้ว่าปริมาณการส่งออกยางพารามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสที่ 1/2545 สำหรับประมงมีการหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประมงทะเลและการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ซึ่งมีปัญหาโรคระบาด การพบสารตกค้าง และราคาในตลาดโลกตกต่ำ
- อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การค้า มีการขยายตัวสูงขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-