การศึกษาในส่วนนี้จะนำเสนอถึงบทบาทและหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การศึกษาพัฒนาการของตลาด ตลาดหลักทรัพย์กับการพัฒนาเศรษฐกิจ ทิศทางอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและแนะนำ
1. บทบาทและหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ส่งเสริมการออมและการระดมทุน
- สร้างสภาพคล่อง
- เป็นตัวช่วยในการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ
- เป็นแหล่งกลางซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์อย่างมีระเบียบ
- สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการ
- ให้ความคุ้มครองผลประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องในตลาด
- สร้างข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์ต่อระบบภาคเศรษฐกิจ
- ขยายฐานข้อมูลภาษีให้กกับภาครัฐบาล
- เป็นดัชนีการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ
2. พัฒนาการของตลาดหลักทรัพย์
ในเชิงปริมาณจะพบว่าตลาดมีการพัฒนาในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งพิจารณาได้จากอัตราส่วนต่าง ๆ ที่เทียบกับรายได้ประชาชาติ แต่ภายใต้การเจริญเติบโตนั้น มีภาวะความผันผวนเป็นองค์ประกอบอยู่มาก โดยที่ปัจจัยที่สร้างความผัวผวนนั้นมาจากองค์ประกอบหลัก คือ สภาพเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และอีกปัจจัยคือ สภาพเศรษฐกิจของโลก ซึ่งการปรับตัวจะทำได้ช้ากว่า และหากเมื่อเทียบกับการพัฒนาของต่างประเทศจะพบว่ากระบวนการพัฒนาของตลาดไทยยังตามหลังอยู่ทั้งในด้านขนาดและสภาพคล่อง เพราะอัตราการเติบโตที่มีการเทียบกันนั้นมีค่าต่ำกว่าการกระจุกตัวของตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และความผันผวนในอัตราผลตอบแทนซึ่งย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพของตลาดและการพัฒนาประเทศ
ในเชิงคุณภาพจะพบว่า เกณฑ์ขั้นต่ำที่ควรจะเป็นในระดับสากลนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสามารถผ่านเกณฑ์เหล่านั้นได้ แต่จุดอ่อนอย่างหนึ่งที่ต้องให้ความสนใจคือ เรื่องของการมีนวัตรกรรมและตราสารที่รองรับต่อการดำเนินธุรกรรมในอนาคต อีกประการหนึ่งคือ ในด้านของสถาบันที่เกี่ยวข้องต้องมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโดยการรวม ซึ่งหากประเมินจากองค์ประกอบในด้านนี้พบว่าพัฒนาการของตลาดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
3. ตลาดหลักทรัพย์กับการพัฒนาเศรษฐกิจ
แม้ว่าหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์จากงานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศบ่งชี้ว่าการมีตลาดหลักทรัพย์จะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ หากระบบการเงินและปัจจัยต่าง ๆ ได้มีความเกื้อหนุนกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งในกรณีของประเทศไทย บางช่วงเวลาก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ว่าการที่ตลาดหลักทรัพย์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วก็ได้สร้างความเจริญทางเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย ทำให้เกิดการระดมทุน เกิดการขยายกิจการ และเกิดการจ้างงานที่เพิ่มสูงขึ้น ก็ได้สร้างอุปสรรคต่อการพัฒนาตลาดและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นส่งผลเป็นรูปธรรมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมเช่นเดียวกับภาคธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับผลกระทบจากภวะวิกฤต
4. ข้อเสนอแนะ
ด้านผู้ลงทุน ควรใช้ความรู้ความเข้าใจในแนวนโยบายของตลาดหลักทรัพย์ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
ด้านสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง พัฒนาประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการดำเนินงาน และจัดหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินมารองรับการทำธุรกรรมในอนาคต
ด้านผลิตภัณฑ์ การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จะต้องพิจารณาถึงภาพรวมของตลาดประกอบด้วยว่าจะทำลายเสถียรภาพหรือไม่
ด้านดำเนินงาน พัฒนาประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนและรองรับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในอนาคต สร้างระบบประเมินผลงานที่ยอมรับจากทุกฝ่าย
ด้านความสามารถในการแข่งขัน การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ควรคำนึงถึงความเชื่อมั่น เสถียรภาพ ประสิทธิภาพและกระบวนการสร้างความยอมรับสู่ต่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
1. บทบาทและหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ส่งเสริมการออมและการระดมทุน
- สร้างสภาพคล่อง
- เป็นตัวช่วยในการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ
- เป็นแหล่งกลางซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์อย่างมีระเบียบ
- สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการ
- ให้ความคุ้มครองผลประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องในตลาด
- สร้างข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์ต่อระบบภาคเศรษฐกิจ
- ขยายฐานข้อมูลภาษีให้กกับภาครัฐบาล
- เป็นดัชนีการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ
2. พัฒนาการของตลาดหลักทรัพย์
ในเชิงปริมาณจะพบว่าตลาดมีการพัฒนาในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งพิจารณาได้จากอัตราส่วนต่าง ๆ ที่เทียบกับรายได้ประชาชาติ แต่ภายใต้การเจริญเติบโตนั้น มีภาวะความผันผวนเป็นองค์ประกอบอยู่มาก โดยที่ปัจจัยที่สร้างความผัวผวนนั้นมาจากองค์ประกอบหลัก คือ สภาพเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และอีกปัจจัยคือ สภาพเศรษฐกิจของโลก ซึ่งการปรับตัวจะทำได้ช้ากว่า และหากเมื่อเทียบกับการพัฒนาของต่างประเทศจะพบว่ากระบวนการพัฒนาของตลาดไทยยังตามหลังอยู่ทั้งในด้านขนาดและสภาพคล่อง เพราะอัตราการเติบโตที่มีการเทียบกันนั้นมีค่าต่ำกว่าการกระจุกตัวของตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และความผันผวนในอัตราผลตอบแทนซึ่งย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพของตลาดและการพัฒนาประเทศ
ในเชิงคุณภาพจะพบว่า เกณฑ์ขั้นต่ำที่ควรจะเป็นในระดับสากลนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสามารถผ่านเกณฑ์เหล่านั้นได้ แต่จุดอ่อนอย่างหนึ่งที่ต้องให้ความสนใจคือ เรื่องของการมีนวัตรกรรมและตราสารที่รองรับต่อการดำเนินธุรกรรมในอนาคต อีกประการหนึ่งคือ ในด้านของสถาบันที่เกี่ยวข้องต้องมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโดยการรวม ซึ่งหากประเมินจากองค์ประกอบในด้านนี้พบว่าพัฒนาการของตลาดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
3. ตลาดหลักทรัพย์กับการพัฒนาเศรษฐกิจ
แม้ว่าหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์จากงานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศบ่งชี้ว่าการมีตลาดหลักทรัพย์จะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ หากระบบการเงินและปัจจัยต่าง ๆ ได้มีความเกื้อหนุนกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งในกรณีของประเทศไทย บางช่วงเวลาก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ว่าการที่ตลาดหลักทรัพย์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วก็ได้สร้างความเจริญทางเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย ทำให้เกิดการระดมทุน เกิดการขยายกิจการ และเกิดการจ้างงานที่เพิ่มสูงขึ้น ก็ได้สร้างอุปสรรคต่อการพัฒนาตลาดและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นส่งผลเป็นรูปธรรมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมเช่นเดียวกับภาคธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับผลกระทบจากภวะวิกฤต
4. ข้อเสนอแนะ
ด้านผู้ลงทุน ควรใช้ความรู้ความเข้าใจในแนวนโยบายของตลาดหลักทรัพย์ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
ด้านสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง พัฒนาประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการดำเนินงาน และจัดหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินมารองรับการทำธุรกรรมในอนาคต
ด้านผลิตภัณฑ์ การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จะต้องพิจารณาถึงภาพรวมของตลาดประกอบด้วยว่าจะทำลายเสถียรภาพหรือไม่
ด้านดำเนินงาน พัฒนาประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนและรองรับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในอนาคต สร้างระบบประเมินผลงานที่ยอมรับจากทุกฝ่าย
ด้านความสามารถในการแข่งขัน การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ควรคำนึงถึงความเชื่อมั่น เสถียรภาพ ประสิทธิภาพและกระบวนการสร้างความยอมรับสู่ต่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-